Page 145 – AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

RSV คืออะไร

RSV คืออะไร? ตรวจหา RSV ทำอย่างไร? ราคาเท่าไหร่?

โรค RSV คืออะไร? อยากรู้ว่าลูกป่วยเป็นหวัดธรรมดาหรือ RSV กันแน่ ต้องตรวจหาเชื้อโดยแพทย์เท่านั้น ตรวจอย่างไร? ราคาเท่าไหร่? อ่านได้ที่นี่

RSV คืออะไร? ตรวจหา RSV ทำอย่างไร? ราคาเท่าไหร่?

คุณพ่อคุณแม่ทราบกันอยู่แล้วถึงความร้ายแรงของโรค RSV ว่าเป็นโรคที่อันตรายสำหรับเด็กเล็ก ก่อให้เกิดอาการรุนแรง เชื้อไวรัสลงปอดไว อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ IPD ติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งโรคเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่อันตรายต่อลูกน้อยถึงชีวิตได้ทั้งสิ้น มาทำความรู้จักกับโรค RSV กันแบบคร่าว ๆ ก่อนดีกว่าค่ะ

RSV คืออะไร? มีอาการอย่างไร? ร้ายแรงแค่ไหน?

RSV คืออะไร? RSV คือไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม ชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus มีสองสายพันธุ์ คือ RSV-A และ RSV-B เป็นไวรัสก่อการติดเชื้อทางเดินหายใจของเด็กทั่วโลก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และมีการระบาดเกือบทุกปี

โดยอาการในช่วงแรกจะมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่แข็งแรงดีอาการมักไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่สำหรับเด็กเล็ก (ต่ำกว่า 2 ป๊) ที่ติดเชื้อครั้งแรกพบร้อยละ 20-30 ที่มีอาการโรคลุกลามไปทางเดินหายใจส่วนล่าง (หลอดลม เนื้อปอด) ทำให้เกิดหลอดลมใหญ่อักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบและปอดอักเสบตามมาได้ โดยมักแสดงอาการไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีดหวิว หรือ เสียงครืดคราดในลำคอ โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 1-2 ปี เด็กที่ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เด็กที่คลอดก่อนกำหนด โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่น หูอักเสบ ไซนัสหรือปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ซึ่งจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรค RSV ได้ที่นี่

RSV คือ อะไร? เตรียมรับมือกับไวรัสอันตรายในหน้าฝน

ระวัง! โรค RSV รักษาไม่ถูกวิธี อาจติดเชื้อซ้ำซ้อน

สงสัยว่าลูกอาจเป็นโรค RSV ต้องทำอย่างไร?

ก่อนอื่น เมื่อลูกมีน้ำมูก ไอ ให้คอยสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย หากลูก มีเสมหะจำนวนมาก มีไข้สูง หายใจเหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงหวีด หรือ เสียงครืดคราดในลำคอ ซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าหลอดลมตีบ หรือหลอดลมฝอยอักเสบ หรืออยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่โรค RSV กำลังระบาด หากลูกมีอาการที่กล่าวไปนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปหาคุณหมอเพื่อทำการตรวจหาเชื้อไวรัส RSV เพื่อทำการรักษาได้อย่างถูกวิธีต่อไป

ตรวจ RSV
ตรวจ RSV

วิธีตรวจหาเชื้อไวรัส RSV

การตรวจหาเชื้อไวรัส RSV ต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น แพทย์จะทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้น โดยการป้ายสารคัดหลั่งน้ำมูกในจมูก (Nasal Swab) โดยจะมีอุปกรณ์คล้าย ๆ สำลีก้านเช็ดหู (แต่ยาวกว่ามาก) แพทย์จะทำการแหย่เข้าไปในจมูกของลูก (ค่อนข้างลึก ในขั้นตอนนี้ลูกอาจจะร้องไห้ได้ คุณแม่ควรให้พยาบาลหรือจับลูกไว้ให้แน่น ใช้เวลาป้ายสารคัดหลั่งเพียงไม่กี่วินาทีก็เสร็จค่ะ) เมื่อได้สารคัดหลั่ง (น้ำมูก) แล้วแพทย์ก็จะนำไปทำการตรวจแบบด่วน (RSV rapid test) ซึ่งจะใช้เวลาในการหาเชื้อประมาณ 15-30 นาที ก็จะทราบผล ในปัจจุบันมักจะสั่งตรวจควบคู่ไปกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

ตรวจหาเชื้อไวรัส RSV ราคาเท่าไหร่?

เนื่องจากการตรวจหาเชื้อไวรัส RSV ต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น การตรวจจึงต้องทำในโรงพยาบาลหรือคลีนิค คุณพ่อคุณแม่สามารถโทรไปสอบถามที่โรงพยาบาลหรือคลีนิคที่ใกล้บ้านว่ารับตรวจหาเชื้อไวรัส RSV หรือไม่ โดยราคาค่าตรวจจะขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลและคลีนิค ทีมแม่ ABK จึงได้ประมาณราคาค่าตรวจไว้ดังนี้

  • คลีนิคเอกชน – ค่าตรวจหาเชื้อประมาณ 400 – 700 บาท ไม่รวมค่าแพทย์ ค่าบริการ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
  • โรงพยาบาลรัฐ – ค่าตรวจหาเชื้อประมาณ 400 – 700 บาท ไม่รวมค่าแพทย์ ค่าบริการ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
  • โรงพยาบาลเอกชน – ค่าตรวจหาเชื้อประมาณ 600 – 2,000 บาท ไม่รวมค่าแพทย์ ค่าบริการ และอุปกรณ์ต่าง ๆ

แต่เนื่องจากการรักษาโรค RSV นั้นยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ มีแค่รักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ แก้ไอละลายเสมหะ เป็นต้น สำหรับรายที่มีอาการไม่รุนแรงมาก จึงยังไม่มีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ เพราะแนวทางในการรักษาคือการรักษาตามอาการเท่านั้น แต่สำหรับรายที่มีอาการรุนแรง การตรวจหาเชื้อ เพื่อให้แพทย์ได้ทำการตรวจรักษาและพยากรณ์อาการของโรคได้ดีขึ้น ก็จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพได้มากขึ้นนั่นเอง

โรค RSV
โรค RSV

อาการอย่างไรต้องนอนโรงพยาบาล?

เมื่อผู้ป่วยไข้สูง ไม่กิน ไม่เล่น หายใจเร็วกว่าปกติ หายใจมีเสียงหวีด หงุดหงิดง่าย หรือเซื่องซึม ผู้ปกครองควรจะพามาพบแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสม เช่น การพ่นยาขยายหลอดลมหรือน้ำเกลือผ่านทางออกซิเจนละอองฝอย เคาะปอดและดูดเสมหะออก และการให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่มีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เป็นต้น

สรุปแล้วเมื่อสงสัยว่าลูกอาจติดเชื้อไวรัส RSV สิ่งสำคัญที่สุดคือให้สังเกตอาการ หากลูกมีอาการรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อและทำการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป และอีกสิ่งหนึ่งที่ควรระวังไว้คือ โรค RSV สามารถเป็นได้หลายครั้งเนื่องจากไวรัส RSV มี 2 สายพันธุ์และกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากร่างกายอ่อนแอ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรป้องกันไม่ให้ลูกไปรับเชื้อ RSV โดยการล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากเมื่อออกนอกบ้าน และทำให้ร่างกายแข็งแรง สิ่งเหล่านี้ก็จะลดโอกาสในการติดเชื้อ  RSV ได้ค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

พ่อแม่ระวัง! ลูกติดเชื้อRSV เพราะเครื่องเล่นที่ห้าง

โรคหน้าฝนในเด็ก ที่พ่อแม่ควรระวัง

6 พาหะนำโรค หน้าฝนที่พ่อแม่ต้องระวังให้ดี!

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A รุนแรงและอันตรายกว่าทุกสายพันธุ์

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย, โรงพยาบาลเวชธานี

ขอบคุณรูปประกอบจาก : www.researchgate.net

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

    ลักษณะทารกคลอดก่อนกำหนด

    ลักษณะทารกคลอดก่อนกำหนด การดูแลและวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูก

    อายุครรภ์เท่าไหร่   ถึงเรียกว่าคลอดก่อนกำหนด?    ลูกคลอดก่อนกำหนด แม่ต้องดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย เติบโตอย่างแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี?   ทีมแม่ ABK มีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากค่ะ

    ทารกคลอดก่อนกำหนด Logan Ray หัวใจนักสู้ไซส์มินิ

    ทารกคลอดก่อนกำหนด ต้องอาศัยหัวใจที่แข็งแกร่ง ตลอดจนการดูแลรักษาอย่างดีที่สุด เพื่อให้หนูน้อยเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง เช่นเดียวกับกรณีของ Logan Ray ที่คลอดก่อนกำหนด ออกมาในวัย 23 สัปดาห์ ขนาดขณะคลอดออกมาเท่ากับตุ๊กตาซุปเปอร์แมน

    ขนาดของ Logan ที่อายุเพียง 23 สัปดาห์ มีความยาวของลำตัว 12 นิ้ว น้ำหนักแค่ 1.5 ปอนด์ หรือราว ๆ 0.68 กิโลกรัม ไซส์จึงพอ ๆ กับตุ๊กตาซุปเปอร์แมน จากภาพที่เห็นตุ๊กตาซุปเปอร์แมนอยู่เคียงข้าง Logan นั้น เกิดจากพยาบาลแนะนำให้หาบางอย่างมาวางไว้ข้าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบขนาดตัวของเด็ก Rob ผู้เป็นพ่อวัย 42 ปี จึงปรึกษากับคุณแม่และเลือกตุ๊กตาซุปเปอร์แมน

     

    ย้อนกลับไปในช่วงการตั้งครรภ์ที่ 21 สัปดาห์ Val ผู้เป็นแม่วัย 34 ปี กำลังตั้งครรภ์ลูกคนแรก ขณะนั้นเองคุณหมอเริ่มตรวจพบความผิดปกติ ภายหลังทำการอัลตราซาวด์พบว่าเธอมีภาวะปากมดลูกหลวม (incompetent cervix) ความผิดปกติของปากมดลูก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ จึงรีบนำตัวคุณแม่ไปเย็บผูกปากมดลูกเพื่อลดความเสี่ยงการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ Rob และ Val ต้องเตรียมตัวเตรียมใจยอมรับถึงกรณีที่เลวร้ายที่สุด

    คุณหมอพูดถึงเรื่องการแท้ง แต่ผู้เป็นพ่อและแม่ก็ปรึกษาคุณหมอ พร้อมยืนยันที่จะให้กำเนิดลูกน้อย Val จึงจำเป็นต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาล โดยหนุนเท้าให้สูงกว่าหัว ห้ามขยับเขยื้อนไปไหน นอนอยู่นิ่ง ๆ นาน 20 กว่าวัน หลังจากนั้นเธอก็น้ำเดิน โดยใช้เวลาทำคลอด 32 ชั่วโมง จากนั้นทารกน้อยที่คลอดก่อนกำหนด ก็ถูกนำตัวส่งเข้าห้อง NICU พอตรวจร่างกายของ Logan พบว่า มีเลือดออกภายในสมอง 2 จุด มีรูรั่ว 2 รูที่หัวใจ เป็นไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (inguinal hernia) รวมทั้งพบการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และเพียง 5 สัปดาห์หลังคลอด Logan ได้ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลเด็ก (Randall Children’s Hospital) โชคดีที่ Logan ไม่จำเป็นต้องฟอกไต แต่ก็ต้องทำเลเซอร์ดวงตาเมื่ออายุ 11 สัปดาห์ เพื่อรักษาภาวะจอตาผิดปกติในเด็กคลอดก่อนกำหนด

    ลักษณะทารกคลอดก่อนกำหนด
    ลักษณะทารกคลอดก่อนกำหนด

    “เขาเป็นฮีโร่ตัวน้อย ตั้งแต่วันที่ตัวเขามีน้ำหนักแค่ปอนด์ครึ่ง ” ผู้เป็นแม่ เล่าถึงลูกตัวน้อยหัวใจนักสู้ และเธอมักจะเรียกลูกน้อยว่า “tough guy” สะท้อนถึงหัวใจอันแข็งแกร่งของ Logan ไม่ว่าคุณหมอจะพูดอย่างไร เธอก็ยังเชื่อมั่นในตัวของ Logan เสมอว่าจะฝ่าฟันทุกอย่างไปได้ จนทุกวันนี้คุณหมอยังคงส่งข้อความถามถึง Logan อยู่เสมอว่า “tough guy ตัวน้อยของพวกเราเป็นอย่างไรบ้าง”

    Logan ต้องรับการดูแลและรักษาตัวอยู่ภายในโรงพยาบาลนานถึง 105 วัน จึงจะสามารถกลับบ้านได้

    จากวันที่ใคร ๆ ต่างก็บอกพ่อแม่ว่า อย่าคาดหวัง จวบจนวันนี้ ในวัย 4 ปี หนูน้อย Logan Ray ได้ฉลองวันเกิดทุก ๆ ปี กับตุ๊กตาซุปเปอร์แมนตัวเก่า สัญลักษณ์ของหัวใจนักสู้ที่ไม่ท้อถอย พร้อมส่งต่อความกล้าหาญให้กับทารกน้อยคนอื่น ๆ ที่ต้องออกมาดูโลกก่อนกำหนดให้ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา

    ลักษณะทารกคลอดก่อนกำหนด
    ลักษณะทารกคลอดก่อนกำหนด

    การต่อสู้อันยิ่งใหญ่ของทารกคลอดก่อนกำหนด ได้กลายเป็นปาฏิหาริย์ในหลาย ๆ ครอบครัว แต่ใช่ว่า เด็กทุกคนจะเติบโตอย่างแข็งแรง แม่ตั้งครรภ์จึงควรดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันอย่างดีที่สุด และเมื่อลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว ก็ต้องศึกษาหาข้อมูลเพื่อดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด รวมถึงส่งเสริมพัฒนาการให้ทารกแข็งแรงสมวัย

    อายุครรภ์เท่าไรถึงเรียกว่า คลอดก่อนกำหนด

    กำหนดคลอดตามอายุครรภ์ ปกติแล้วจะนับ 40 สัปดาห์ แต่นับว่าทารกครบกำหนดคลอด เมื่อตั้งครรภ์ได้ 37 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ถ้าคลอดก่อน 37 สัปดาห์จะเรียกว่า ทารกคลอดก่อนกำหนด โดยการคลอดทารกออกมาก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ จะนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักของทารกหากน้อยกว่า 2,500 กรัม จะเรียกว่า ทารกน้ำหนักน้อย ถ้าน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม จะเรียกว่า ทารกน้ำหนักน้อยมาก

    สำหรับความเสี่ยงคลอดก่อนกําหนด เช่น

    1. อายุของคุณแม่ตั้งครรภ์ หากมีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือมีอายุมากกว่า 34 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดได้
    2. มีความผิดปกติภายในมดลูก เช่น มีเนื้องอกในมดลูก ปากมดลูกสั้น หรือภาวะปากมดลูกหลวม
    3. รกผิดปกติ เช่น รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือรกฝังตัวผิดปกติ
    4. ตั้งครรภ์แฝด เพิ่มโอกาสการคลอดก่อนกำหนด หรือหากมีประวัติคลอดก่อนกำหนดจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง
    5. พฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำวัน การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่น ใช้สารเสพติด ทำงานหนักหรือยกของหนักบ่อย ๆ
    6. ความเครียดจากปัญหาการทำงาน เรื่องเงิน หรือเรื่องครอบครัว
    7. การรับประทานยาบางชนิด การได้รับสารเคมีหรือสารพิษ
    8. โรคประจำตัวของแม่ตั้งครรภ์ อาทิ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือพบภาวะครรภ์เป็นพิษ
    9. หากมีการติดเชื้ออย่างรุนแรงระหว่างตั้งครรภ์ ก็จะส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดเช่นกัน ทั้งการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ การติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะหรือไต

    สำหรับสาเหตุการคลอดก่อนกำหนดอื่น ๆ ได้แก่ แม่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือมีภาวะทุพโภชนาการก่อนและตอนตั้งครรภ์ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนท้องคลอด มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังตั้งครรภ์ 16 สัปดาห์ พบน้ำคร่ำมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ส่วนสาเหตุจากทารกในครรภ์ เช่น ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน มีความพิการหรือพบโรคทางพันธุกรรม ทารกเจริญเติบโตช้าหรือเสียชีวิตในครรภ์ ก็มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนดเช่นกัน

    ลักษณะทารกคลอดก่อนกำหนด

    สำหรับลักษณะทารกคลอดก่อนกำหนด มักจะตัวเย็นง่าย เพราะน้ำหนักตัวน้อย ตัวเล็ก ทำให้คุณหมอและพยาบาลจึงต้องรีบนำตัวทารกคลอดก่อนกำหนดเข้าตู้อบ เพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทารกคลอดก่อนกำหนดยังหายใจได้ลำบาก เพราะการพัฒนาของอวัยวะในร่างกายยังไม่เต็มที่ ปอดทำงานได้ไม่ดี จึงต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจ หากสังเกตดี ๆ ทารกคลอดก่อนกำหนดมักจะมีอาการตัวเหลือง เพราะการกำจัดสารเหลืองของตับของเด็กคลอดก่อนกำหนดยังไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ตัวเหลืองนานกว่าเด็กทั่วไป การดูดกลืนก็ยังทำได้ไม่ดี ทำให้สำลักนมบ่อย ๆ รวมถึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย พบโอกาสติดเชื้อมากกว่าเด็กปกติ 4 เท่า เด็กคลอดก่อนกำหนดบางคนอาจพบภาวะโรคปอดเรื้อรัง ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มีปัญหาจอประสาทตาเติบโตได้ไม่ดี และอาจพบปัญหาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้

    วิธีดูแลทารกคลอดก่อนกําหนด

    ทารกที่คลอดก่อนกำหนด สามารถเติบโตเป็นเด็กที่แข็งแรง และมีพัฒนาการที่สมวัยได้ เพียงแต่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องอาศัยความอดใจ ใส่ใจ ดูแลลงลึกในรายละเอียด ในช่วงหลังคลอด แม่ควรกอดลูก สัมผัสลูก และกอดแบบเนื้อแนบเนื้อ ซึ่งจะช่วยให้ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ปกติ อัตราการหายใจคงที่ ช่วยให้น้ำหนักตัวทารกเพิ่มขึ้น ดีต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารก และให้ทารกกินนมแม่อย่างสม่ำเสมอที่จะช่วยลดการเกิดลำไส้อักเสบ นอกจากนี้ ยังต้องปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการดูแลลูกเป็นพิเศษ พร้อมกับนัดตรวจอย่างละเอียด เพื่อติดตามอาการและพัฒนาการของทารก

    วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด คุณแม่ตั้งครรภ์หรือวางแผนตั้งครรภ์ควรตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำ ฝากครรภ์ให้เร็วที่สุดและสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพแม่ท้องและทารกในครรภ์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม พร้อมกับหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเองและลูกในท้อง

    อ้างอิงข้อมูล : bangkokhospital, chularat3, ttmed.psu.ac.th และ metro.co.uk

    เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

     

    อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

    วิธีแก้กรดไหลย้อน ขณะตั้งครรภ์ อะไรที่แม่ท้องควรกิน vs ไม่ควรกิน

    น้ำนมน้อยหลังคลอด : เคล็ดลับอาหารบำรุงน้ำนม & ฟื้นฟูร่างกาย

    ตรวจร่างกายหลังคลอด สำคัญมาก! ทั้งแม่และลูกอย่าลืมไปตามนัด

      พาลูกเที่ยว

      5 เทคนิค พาลูกน้อยขับรถเที่ยวต่างจังหวัด ไม่เบื่อ ไม่งอแง

      พาลูกเที่ยว ขับรถยนต์ไปต่างจังหวัดไกลๆ ครั้งแรกกลัวลูกหมดสนุกกลางทาง พอจะมีวิธีแนะนำการเตรียมตัวไหม ? เป็นอีกหนึ่งปัญหาของครอบครัวที่มีลูกเด็กเล็ก ที่ทีมแม่ABK ได้รับรู้อยู่บ่อยๆ ค่ะ วันนี้เลยจะถือโอกาสแนะนำไอเดียง่ายๆ ในการเตรียมตัวลูกให้พร้อมสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวเปิดประสบการณ์เรียนรู้นอกบ้าน ถ้าลูกต้องนั่งโดยสารอยู่ในรถยนต์ส่วนตัวนานๆ ทำอย่างไรให้เด็กๆ ไม่เบื่อ ไม่หมดสนุก ไม่งอแงกันค่ะ

      ก่อนอื่นอย่าหาว่าอวดกันนะคะ แต่จะไม่พูดถึงก็ไม่ได้ เพราะเข้ากับหัวข้อที่กำลังจะพูดถึงในครั้งนี้ค่ะ เราหนึ่งในทีมแม่ABK เพิ่งได้รับโอกาสสุดพิเศษในการทดลองขับรถครอบครัวของ MG ซึ่งเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ NEW MG ZS เป็นรถ SUV เห็นครั้งแรกนี่ร้อง ว้าว!!! เลยค่ะ คือมองจากด้านนอกรถนี่ขนาดใหญ่กำลังดี ส่วนด้านในนี่แม่ชอบมาก เพราะพื้นที่นั่งผู้โดยสารกว้างขวาง เหมาะกับการชวนลูกเล่นกิจกรรมสนุกๆ เวลานั่งรถกันออกไปนานๆ หลายชั่วโมงค่ะ

       

      พาลูกเที่ยว ไปกับรถครอบครัว สนุกกว่า ปลอดภัยกว่า…

      อย่างเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ได้ขับพาเด็กๆ ไปเที่ยวกันที่หัวหิน ด้วยรถ MG SUV ขอบอกว่านอกจากห้องโดยสารจะกว้างแล้ว ยังสามารถขนกระเป๋าเดินทางสัมภาระยิบย่อยที่คนมีลูกต้องเตรียมกันไปอย่างเยอะเวลาที่กระเตงลูกเที่ยวนอกบ้าน ซึ่งรถ SUV ของ MG ก็เอาอยู่หมดค่ะ

      พาลูกเที่ยว

      และความพิเศษที่สัมผัสได้จาก NEW MG ZS แม่รู้สึกถึงความแตกต่างจากรถยนต์ที่ขับอยู่ก่อนหน้านี้ก็คือ ความนุ่มนวลในการขับขี่ค่ะ คือช่วงล่างของรถ SUV จะดูดซับแรงดันที่พื้นผิวถนนได้ดีกว่า ไม่ว่าจะขับขี่บนพื้นถนนที่ขรุขระ หรือขับผ่านลูกระนาด สักกี่สิบลูก บอกเลยว่านุ่มนวลจนไม่รู้สึกว่ามีแรงกระทบอะไรมารบกวนขณะขับรถเลยค่ะ

      และด้วยความที่เป็นรถครอบครัว ตัวถังรถจะถูกออกแบบให้ยกสูงกว่ารถเก๋งทั่วไปค่ะ ฉะนั้นไม่ว่าจะขับขี่บนสภาพถนนที่หลากหลายก็ขับได้สบายมากค่ะ ไม่ว่าจะบนพื้นถนนขรุขระ หรือบนถนนพื้นทราย (แม่ก็ไปลองขับมาแล้วนะ ปังปุริเย่มาก^^) ขอกระซิบบอกดังๆ อีกอย่างคือ สามารถขับผ่านระดับน้ำได้มากกว่ารถเก๋งทั่วไปด้วยนะคะ ต่อไปนี้หน้าฝน หากต้องผ่านจุดที่มีน้ำท่วมขังรอการระบาย แม่ก็ไม่ต้องกังวลแล้วจ๊ะ!!

      ถ้าใครจะบอกว่ารถ SUV เหมาะกับให้ผู้ชายขับมากกว่า ขอให้คิดใหม่ค่ะ เพราะนี่แม่ลองขับเองทั้งขาไป และขากลับ ให้สามีนั่งสบายๆ ไปตลอดทางกับลูก คุณแม่ หรือสาวๆ วัยทำงานคนไหนที่กลัวการขับรถคันใหญ่ ถ้าได้ลองขับ NEW MG ZS คันนี้ จะต้องชอบค่ะ เพราะเขาออกแบบมาเพื่อให้มีทัศนวิสัยในการขับขี่ที่ดีซึ่งลักษณะของ SUV จะช่วยทำให้ผู้ขับขี่สามารถขับขี่ในตำแหน่งที่สูงกว่า และมองเห็นได้ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นหน้ารถและรอบๆ ตัวรถ ที่เพิ่มการมองเห็น และความปลอดภัย ก็ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการขับขี่ที่มากขึ้นด้วยค่ะ

      พาลูกเที่ยว

      จากประสบการณ์การได้ขับรถ NEW MG ZS ถ้าจะลิสต์ความเด่นในคุณสมบัติที่ได้รับจากรถยนต์ MG SUV คันนี้ แม่ขอดึงมา 8 จุดเด่นนะคะ ที่เหลืออยากให้เข้าไปดูศึกษาเพิ่มเติมกันที่นี่ https://www.mgcars.com/th/mg-models/new-mg-zs/overview ครอบครัวไหนที่กำลังมองหารถครอบครัวในราคาเบากระเป๋า ไม่ถึงล้าน!! แต่ได้ความพิเศษที่คุ้มกว่า อยากให้ได้ลอง NEW MG ZS กันค่ะ

      • NEW MG ZS มาพร้อมกับเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 114 แรงม้า และแรงบิดที่ 150 นิวตันเมตร ทำงานร่วมกันกับระบบเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT 8 Speed ที่ช่วยให้การขับขี่นุ่มนวลและตอบสนองดีขึ้น
      • เป็น SUV ดีไซน์สวยงาม โฉบเฉี่ยว หน้าแบบ LED Projector ที่ควบคุมการเปิด-ปิดอัตโนมัติ พร้อม Daytime Running Lights ล้ออัลลอยด์ขนาด 17 นิ้ว
      • ห้องโดยสารมีการออกแบบให้ดูหรูหรา เป็นสีทูโทนน้ำตาล-ดำ ตกแต่งด้วยวัสดุ Soft touch ให้ความรู้สึกพรีเมียม พร้อม Panoramic Sunroof เพิ่มความโปร่งและมุมมองที่กว้างขึ้น
      • ที่นั่งคนขับปรับไฟฟ้าได้ 6 ทิศทาง พร้อมที่พักแขนด้านหน้า สตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยปุ่ม Push Start พร้อมกุญแจรีโมทอัจฉริยะ (Smart Key) ยกระดับความสะดวกสบายในการขับขี่
      • กล้องมองภาพรอบทิศทาง Around View Monitor ที่แสดงมุมมองเป็นภาพสามมิติ และยังเลือกภาพจากมุมกล้องที่อยู่รอบตัวรถได้อีกด้วย จึงมั่นใจทุกครั้งที่ถอยจอดหรือขับขี่ในที่แคบ
      • ระบบ i-SMART มีฟังก์ชั่นมากมายให้ใช้งานผ่านหน้าจอในรถ สามารถดูพยากรณ์อากาศรายวัน ฟังเพลงออนไลน์ที่มีมากกว่า 1,000,000 เพลง เข้าถึงทุกข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการใช้งานระบบทางแบบ Real Time Navigation
      • การสั่งการด้วยเสียงภาษาไทย “Hello MG” ตามด้วยคำสั่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งเปิด-ปิดซันรูฟ เปิด-ปิดแอร์หรือปรับระดับความเย็น ตลอดจนถึงการสั่งวิทยุ
      • สามารถเช็กและสั่งการระบบต่างๆ ผ่าน i-SMART Application บนมือถือได้ อย่างง่ายดาย โดยสามารถสั่งล็อคหรือ-ปลดล็อคประตูรถ สั่งเปิดแอร์ของรถไว้ล่วงหน้าเพื่อปรับอุณหภูมิภายในห้องโดยสาร ให้พร้อมสำหรับการเดินทาง รวมไปถึงระบบ Find My Car ที่ช่วยระบุตำแหน่งของรถช่วยให้อุ่นใจมากยิ่งขึ้น

      พาลูกเที่ยว

      มีรถครอบครัวคู่ใจ ที่ขับขี่ได้อย่างสะดวกสบาย และให้ความปลอดภัยกับทุกสมาชิกในครอบครัวกันไปแล้ว ทีนี้เรามาดูกันว่า 5 เทคนิคที่ทีมแม่ABK ใช้กับลูกเพื่อเตรียมตัว เตรียมพร้อม พาลูกเที่ยว นอกบ้าน สำหรับการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับเด็กๆ กันค่ะ

      1. เกม หรือกิจกรรม ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของสมอง

      ระหว่างทางที่กำลังมุ่งหน้าไปยังจุดหมายปลายทาง คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นความสนใจของลูกๆ ให้สนุก เพลิดเพลินได้ค่ะ ด้วยการเตรียมเกม หรือจะเป็นกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก เช่น ให้ลูกช่วยนับรถที่เจอบนท้องถนนว่ามีสีอะไรบ้าง รถยนต์ยี่ห้ออะไรบ้าง ใครนับ หรือจดได้จำนวนรถยนต์ที่มากกว่า ก็ได้คะแนนไปค่ะ

      ทิปส์ : อาจเพิ่มเติมให้ลูกเขียนทั้งภาษา ภาษาอังกฤษ (สี ยี่ห้อ จำนวน) เพื่อเพิ่มเติมทักษะการอ่าน เขียนให้ลูกเพิ่มขึ้นค่ะ

      2. การ์ตูนสนุกสุดหรรษา

      จริงๆ ไม่ได้สนับสนุนให้ลูกเล่นโซเซียลนะคะ แต่ในกรณีที่ต้องเดินทางกันไกลหลายชั่วโมง กิจกรรมที่คุณแม่เตรียมไปเพื่อเอนเตอร์เทนความสนใจลูก ให้ไม่เบื่อ อาจจะอนุโลมให้ลูกได้ดูการ์ตูนเรื่องโปรดจากอุปกรณ์ไอแพดได้ค่ะ โดยที่มีคุณแม่หรือคุณพ่อนั่งดูไปกับลูกด้วยค่ะ ตลอดการเดินทางควรทำการตกลงกับลูกว่าจะอนุญาตให้ดูการ์ตูนได้แค่เรื่องเดียว เพื่อลดการใช้สายตาจดจ่ออยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากเกินกว่า 1 ชั่วโมงค่ะ

      3. หยุดพักยืดเส้นยืดสายเป็นช่วงๆ

      เดินทางกับเด็กๆ ไม่ว่าจะเด็กเล็ก เด็กโต ความอดทนในการนั่งรถได้นานหลายชั่วโมง อาจยังไม่ได้เท่าผู้ใหญ่ค่ะ ฉะนั้นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งคือ ควรจอดพักรถเป็นระยะๆ อาจจะเข้าห้องน้ำที่ปั๊ม , พักรับประทานอาหารเที่ยง หรือระหว่างทางหากมีสถานที่วิวสวยๆ ให้จอดถ่ายรูปเล่นได้ ก็ควรพาลูกลงจากรถ ให้ได้ออกมาเดินยืดเส้นยืดสายกัน จะได้ไม่เบื่อก่อนที่จะถึงสถานที่เที่ยวค่ะ

      4. เตรียมน้ำ ขนมขบเคี้ยว

      น้ำเปล่า น้ำผลไม้ ขนมขบเคี้ยว ธัญพืชอบกรอบ ฯลฯ ที่ลูกๆ ชอบ ให้เตรียมไปกินระหว่างทางค่ะ อย่าปลอยให้หิว เพราะความหิวก่อเกิดอารมณ์หงุดหงิด งอแงได้ค่ะ

      5. คาร์ซีทสำหรับเด็ก

      กฎอย่างหนึ่งของการนั่งรถยนต์เมื่อต้องเดินทางไม่ว่าจะใกล้ หรือไกล ในเด็กเล็กๆ จำเป็นต้องนั่งอยู่บนคาร์ซีท ไม่แนะนำให้เอาลูกมานั่งตักคุณแม่ตรงที่นั่งเบาะหน้าข้างคนขับเด็ดขาด เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุ อันตรายถึงชีวิตค่ะ ดังนั้นเด็กเล็กต้องนั่งคาร์ซีทที่มีระบบขาดนิรภัย ส่วนเด็กโตที่เลยวัยนั่งคาร์ซีท แต่ก็จำเป็นต้องนั่งขาดเข็มขัดนิรภัยไปตลอดทางเช่นกันค่ะ

      จะวันหยุดนี้ หรือวันหยุดหน้า หากจะ “พาลูกเที่ยว” อย่าลืมหา “รถครอบครัว” คุณภาพเยี่ยมสักคัน ขับไปด้วยกัน ถึงที่หมายปลอดภัย ลูกได้สนุก พ่อแม่ก็สุขใจค่ะ อ่อ..ที่สำคัญป้องกันลูกเบื่อเวลาต้องเดินทางนั่งรถนานๆ อย่าลืมนำเทคนิคที่ให้ไปใช้กันนะคะ…HAVE A GOOD TRIP…

      พาลูกเที่ยว

        ให้นมลูก เผาผลาญ แคลอรี่

        พุงยุบหุ่นปัง!งานวิจัยเผยแม่ให้นมเผาผลาญ500 แคลอรี่ /วัน

        ความสวยกับผู้หญิงเป็นของคู่กัน แม่หลังคลอดจึงไม่ต้องกังวล ร่างกายหลังคลอดจะเผาผลาญ แคลอรี่ ได้มากกว่าปกติในทุกกิจกรรมของหน้าที่ความเป็นแม่ยืนยันด้วยผลวิจัย

        พุงยุบหุ่นปัง!งานวิจัยเผยแม่ให้นมเผาผลาญ500 แคลอรี่ /วัน

        หลังคลอดลูก ปัญหาที่คุณแม่ทุกคนต้องประสบพบเจอ นั่นคือ น้ำหนักตัวส่วนเกินที่ยังคงหลงเหลือทิ้งไว้กับร่างกายของเรามากบ้าง น้อยบ้าง แตกต่างกันไปตามการบำรุงของแต่ละบ้าน แต่หากคุณแม่ยังคงอยู่ในช่วงตั้งครรภ์อยู่อยากขอเตือนไว้สักหน่อยว่า ในขณะที่ท้องนั้น ก็ควรระมัดระวังเรื่องการกินไว้บ้าง เพราะการกินอาหารบำรุงลูกในท้องนั้นจะต้องคำนึงถึงสารอาหารจำเป็นที่ลูกจะได้รับจากเรา ส่วนเกินอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลจากชีส เค้ก ไอศครีมรสโปรด หรือแม้แต่นมที่มีปริมาณมากเกินความต้องการของแม่และลูกในท้อง สิ่งเหล่านี้จะยังคงหลงเหลืออยู่ที่ตัวคุณแม่หลังคลอด กลายเป็นความอ้วนที่ทำให้เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ทั้งระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดไปแล้ว เช่น เบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น ซ้ำร้ายยังมีผลการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับกันแล้วด้วยว่าการที่แม่รับประทานอาหารแบบเดียวกันมากเกินไประหว่างท้อง จะส่งผลให้ลูกที่เกิดมาเป็นโรคแพ้อาหารชนิดนั้นได้ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นอาหารจำพวก นม ทำให้ลูกแพ้นมวัว แพ้ไข่ที่เป็นอาการที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเด็กทารกปัจจุบัน

        "บำรุงมากเกินระหว่างท้อง

        น้ำหนักช่วงตั้งครรภ์สำคัญนะ…

        อย่างที่กล่าวไปแล้วนั้นว่า คุณแม่ควรระมัดระวังในเรื่องอาหารการกินในช่วงตั้งครรภ์ให้ดี เพราะอาจทำให้หลงเหลือน้ำหนักส่วนเกินหลังคลอดที่มากเกินไป และจากผลการวิจัยก็ระบุว่า น้ำหนักแม่ในช่วงตั้งครรภ์ส่งผลต่อการลดลงของน้ำหนักตัวหลังคลอดด้วยเช่นกัน โดยตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 12 กก. โดยในช่วงไตรมาสแรกน้ำหนักตัวต้องไม่ขึ้นเลย ในส่วนไตรมาสที่ 2 คือช่วง 3 เดือนถัดมาน้ำหนักควรขึ้นได้ไม่เกิน 6 กก. และในไตรมาสสุดท้าย น้ำหนักขึ้นได้ไม่เกิน 6 กก. ถึงจะทำให้น้ำหนักหลังคลอดลูกแล้ว เมื่อคุณแม่ให้นมลูกด้วยนมแม่ น้ำหนักจะลดลงมาเป็นปกติภายใน 1-6 เดือนโดยไม่ต้องออกกำลังกาย หรือแม้แต่ต้องซื้อคอร์สลดน้ำหนักใด ๆ เลยทีเดียว

        การให้นมแม่ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกิน

        มีงานวิจัยจาก University of Oxford พบว่า การให้นมลูกช่วยให้น้ำหนักตัวลดลงได้ ซึ่งมีการสำรวจข้อมูลจากผู้หญิงมากกว่า 700,000 คน และสามารถยืนยันได้ว่าการให้นมลูกช่วยเผาผลาญแคลอรีต่อวันโดยเฉลี่ย 500 แคลอรี จากผลการวิจัยอาจกล่าวได้ว่า การให้นมลูกนั้นช่วยลดน้ำหนักได้จริง แต่หากแม่ต้องการลดน้ำหนักส่วนเกินโดยใช้วิธีการให้นมแม่เพียงอย่างเดียว อาจต้องใช้เวลาสักหน่อย และที่สำคัญแม้การให้นมลูกจะสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้ แต่การที่น้ำหนักตัวแม่จะลดลงหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับอาหารที่เรารับประทานเข้าไปด้วย ว่ามีปริมาณสอดคล้องกับที่สูญเสียเผาผลาญมาใช้กันหรือไม่

        น้ำหนักส่วนเกิน แคลอรี่เกิน
        น้ำหนักส่วนเกิน แคลอรี่เกิน

        ดังนั้นหากคุณแม่กำลังวางแผนที่จะลดน้ำหนักหลังคลอด การให้นมลูกนอกจากจะไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มแล้วยังเป็นผลดีต่อการลดน้ำหนักของคุณแม่อีกด้วย โดยอาจต้องใส่ใจในเรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากนี้นักวิจัยยังพบด้วยว่า การให้นมลูกช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ปัญหาที่เกี่ยวกับหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงเบาหวานประเภท 2 และมดลูกยังสามารถกลับสู่สภาพปกติได้เร็วขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนออกซิโทนซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาขณะให้นมบุตรอีกด้วย เห็นประโยชน์มากมายของการให้นมลูก ทั้งต่อตัวคุณแม่ และลูกน้อยแบบนี้คงปฎิเสธการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ได้แล้วใช่ไหมละ

        ปริมาณแคลอรี่ที่แนะนำระหว่างให้นมบุตร

        อ้างอิงจากงานวิจัยข้างต้น ที่กล่าวไปแล้วว่า แม่จะต้องสูญเสียพลังงานไป 500 แคลอรี่ต่อวันในการผลิตน้ำนม นั่นหมายความว่า ในผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวปกติต้องการพลังงาน 2,000 แคลอรี่ต่อวัน ดังนั้นผู้หญิงที่ให้นมบุตรจึงควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นจากปกติ 500 แคลอรี่ต่อวัน ซึ่งในความเป็นจริงเท่ากับเราต้องการอาหารเพิ่มขึ้นอีกเพียง 15-25% จากปกติเท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับ อายุ ระดับกิจกรรม และความถี่ในการนมบุตรของแม่แต่ละคนด้วยว่าต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีกเท่าใด การทานอาหารให้สมดุลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ สำหรับอาหารที่เราอยากแนะนำให้คุณแม่ที่ให้นมลูกและต้องการลดน้ำหนัก มีดังนี้

        เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์
        เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์
        • ทานอาหารที่มีโปรตีนอย่างอกไก่ เนื้อวัว และถั่วลูกไก่
        • เพิ่มการทานผักและผลไม้สด
        • จำกัดการทานพาสต้า ขนมปัง หรืออาหารชนิดอื่นๆ ที่มีคาร์บสูง
        • หลีกเลี่ยงการทานอาหารแปรรูปและอาหารที่มีน้ำตาลสูง
        • เสริมอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก และแคลเซียม เช่น ธัญพืช ผลไม้อบแห้ง ผักใบเขียวเข้ม ไข่ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ถั่ว เป็นต้น
        • ลดอาหารหวาน มัน ทอด เพราะจะเป็นสาเหตุให้ท่อน้ำนมตันได้ หากเกิดอาการคัดตึงเต้า ให้ประคบอุ่น (อย่าร้อนจัด) แล้วค่อย ๆ บีบนวด บีบน้ำนมให้หายคัดตึงจะช่วยได้
        • ระวังอย่าให้ขาดน้ำ คุณแม่ที่ให้นมลูกควรดื่มน้ำบ่อย ๆ หากสังเกตเห็นว่าปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มแสดงว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลนอกจากจะไม่ให้คุณค่าทางโภชนาการแก่ลูกน้อย และแม่แล้ว ยังส่งผลต่อการเพิ่มของน้ำหนักตัวของแม่อีกด้วย

        หากคุณแม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามที่แนะนำเหล่านี้แล้ว ก็จะช่วยให้น้ำนมหลั่งได้ดี เป็นน้ำนมที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อย และช่วยให้ร่างกายของคุณแม่มีพลังเพียงพอต่อการเลี้ยงลูก เพราะอย่างลืมว่าการเลี้ยงเด็กนั้นจำเป็นต้องใช้พลังงานมากอยู่เช่นกัน หากเรามัวแต่คำนึงถึงแต่เรื่องน้ำหนักตัวก็อาจทำให้ไม่มีแรงเพียงพอต่อการรับมือกับลูกได้จนจบวัน

        กิจวัตรของแม่ เผาผลาญพลังงานได้แค่ไหนกัน…

          งานบ้าน  

        เผาผลาญพลังงานได้ถึงประมาณ 150-250 แคลอรี่

        นอกจากการเลี้ยงลูกแล้ว หน้าที่ประจำของบรรดาแม่ทั้งหลายคงหนีไม่พ้นเรื่องของงานบ้าน เพราะบ้านที่สกปรกย่อมส่งผลร้ายต่อสุขภาพของลูกรัก ถึงจะเหนื่อยไปสักหน่อย แต่การทำความสะอาดบ้าน ก็ช่วยเผาผลาญพลังงานให้คุณแม่ได้มากทีเดียว โดยสามารถเผาผลาญพลังงานได้ถึง 150-250 แคลอรี่ โดยในแต่ละงานบ้านนั้นก็สามารถเผาผลาญพลังงานได้แตกต่างกันไป ดังนี้

        ลูกจอมรื้อ ยิ่งต้องทำงานบ้านx2
        ลูกจอมรื้อ ยิ่งต้องทำงานบ้านx2
        • การซักผ้าด้วยมือ เผาผลาญพลังงานได้ถึงประมาณ 240 cal
        • กวาดพื้น เผาผลาญพลังงานได้ถึงประมาณ 225 cal
        • รีดผ้า เผาผลาญพลังงานได้ถึงประมาณ 150 cal
        • ปัดฝุ่น เผาผลาญพลังงานได้ถึงประมาณ 191 cal
        • ทำกับข้าว เผาผลาญพลังงานได้ถึงประมาณ 176 cal

        อย่างไรก็ตาม การเป็นคุณแม่หลังคลอดก็อาจจะต้องใช้พลังงานมากกว่านี้ ยิ่งเมื่อลูกกลายร่างเป็นเด็กน้อยจอมรื้อแล้วล่ะก็ คุณแม่อาจจะต้องเสียพลังงานไปอีกเยอะเลย

         แปลงร่างเป็นเพื่อนเล่นกับลูก 

        เผาผลาญพลังงานได้ถึงประมาณ 422 แคลอรี่ ต่อชั่วโมง

        เมื่อลูกน้อยเริ่มโตจนเดินได้ การเล่นกับลูกก็ช่วยให้แม่เผาผลาญพลังงานได้ดีมาก โดยเฉลี่ยแล้วเราจะสูญเสียพลังงานในการเล่นกับเจ้าตัวเล็กถึงประมาณ 422 แคลอรี่ต่อชั่วโมง เพราะเด็ก ๆ มีพลังเยอะมาก ยิ่งได้เล่นกับลูก ยิ่งสูญเสียพลังงานมากขึ้นไปอีก เปรียบได้กับการที่เราไปออกกำลังกายเลยเชียว นอกจากจะดีต่อการลดน้ำหนักของแม่แล้ว การเล่นกับลูกยังทำให้เราได้ทำหน้าที่แม่ที่ดีอีกด้วย เพราะในปัจจุบันมีผลงานวิจัย และคำแนะนำจากคุณหมอมากมายให้ลูกเรียนรู้ผ่านการเล่น ดังคำที่ว่า “ยิ่งเลอะ ยิ่งเยอะประสบการณ์” ซึ่งจากคำนี้ ทำให้แม่อย่างเรา ๆ ต้องวนหน้าที่กลับไปที่ข้อแรก คือ งานบ้านอีกแน่นอน แต่ซุปเปอร์มัมอย่างเราเพื่อลูกน้อยย่อมได้เสมอ แถมยังได้การลดน้ำหนักเป็นของแถมด้วยนะ

        "เล่นกับลูก

        การเลี้ยงลูกแม้บางครั้งจะรู้สึกเหนื่อยไปบ้าง แต่แม่ทุกคนก็ทำไปพร้อมกับความสุขที่ได้เห็นลูกน้อยเติบโต อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี การเติมพลังให้กับตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่ามัวแต่ห่วงเรื่องรูปร่างความผอมเพียงอย่างเดียว เพราะเราต้องมีร่างกายที่แข็งแรง มีพลังงานที่พร้อมในการดูแลลูกรักของเราให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ และเชื่อเถอะว่าหากคุณแม่ทำตามคำแนะนำที่ให้ไว้รับรอง  หุ่นเพรียวสวยเป๊ะ!เหมือนดั่งแต่ก่อนของคุณแม่ต้องกลับมาในไม่ช้า มาร่วมหุ่นดีไปพร้อมกับลูกน้อยของเราด้วยกันเถอะนะ

        ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก breastfeedingthai.com/ นมแม่แฮปปี้ /healthline.com/happymom/hd.co.th

        อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

        หมอตอบชัด!!แม่ให้นมกินน้ำอัดลม ชา กาแฟ คาเฟอีนส่งถึงลูกไหม

        เทคนิค 5 ดูดให้ทารก ดูดนม จากเต้าได้ดี ลูกแข็งแรง แม่น้ำนมเยอะ

        พังผืดใต้ลิ้น ทารก สาเหตุทำลูกดูดนมแม่ยาก

        เมนู อาหารลดน้ำหนัก แม่หลังคลอดผอมไว..ได้คุณค่า

        เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

          โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ

          โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ จัดงาน Meet the Heads

          เมื่อเร็วๆ นี้ โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ (King’s College International School Bangkok) จัดงาน Meet the Heads พร้อมร่วมเปิดประสบการณ์ทางการศึกษาในหัวข้อ “จุดเริ่มต้นของหัวใจที่ยิ่งใหญ่” โดยมีผู้ปกครองและบุตรหลานเข้าร่วมกว่า 1,000 คน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง นักเรียน และโรงเรียนได้ทำความรู้จักกันมากขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการมอบการศึกษาและการเลี้ยงดูให้เด็กๆ เติบโตอย่างดีที่สุด ภายใต้แนวคิด ‘A Great Heart Takes You Further’ หัวใจที่ยิ่งใหญ่ พาลูกคุณไปได้ไกลกว่า ซึ่งนับเป็น Signature ของโรงเรียน King’s Bangkok โดยมีคณาจารย์และบุคลากรชั้นนำจากโรงเรียนต้นแบบอย่าง King’s Wimbledon ประเทศอังกฤษ เป็นผู้ถ่ายทอดและทำงานอย่างใกล้ชิดกับบุคลากรที่ King’s Bangkok เพื่อให้โรงเรียนที่ไทยมีคุณภาพและจิตวิญญาณเป็นมาตรฐานเดียวกันกับโรงเรียนแม่ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครองในการให้บุตรหลานเรียนในโรงเรียนนานาชาติที่มี “หลักสูตร” ดีที่สุด และ “ครู” ที่มีหัวใจของความเป็นครู ซึ่งใส่ใจดูแลเด็กๆ ตั้งแต่วันแรกที่เข้าสู่รั้วโรงเรียนจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของสังคมและโลก

          มร. แอนดรูว์ ฮอลส์
          มร. แอนดรูว์ ฮอลส์ OBE ครูใหญ่โรงเรียนคิงส์คอลเลจ วิมเบิลดัน

          มร. แอนดรูว์ ฮอลส์ OBE ครูใหญ่โรงเรียนคิงส์คอลเลจ วิมเบิลดัน ครูใหญ่ โรงเรียนเอกชนดีเด่นจากนิตยสาร Tatler ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า “ในการร่วมก่อตั้ง King’s Bangkok เราไม่เพียงต้องการสร้างโรงเรียนแห่งนี้ให้เป็นโรงเรียนนานาชาติที่ดีที่สุดในไทย แต่ยังยกระดับเป็นโรงเรียนชั้นนำของเอเชีย โดยมีจิตวิญญาณของความเป็น King’s College School ครบถ้วนในทุกมิติ ทั้งด้านวิชาการ (Academic Excellence) จากความเป็นโรงเรียนชั้นนำของ King’s Wimbledon ซึ่ง 25% ของนักเรียนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัย Oxford หรือ Cambridge ได้, นอกจากนี้ ยังโดดเด่นด้วยระบบการดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดโดยครูผู้มีความใส่ใจและรู้จักนักเรียนในทุกมิติผ่านทั้งห้องเรียนและกิจกรรมต่างๆ (Pastoral Care) และหลักสูตรร่วมผสม (Co-curricular Programme) ซึ่งหมายถึงการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ออกแบบให้เป็นกิจกรรมที่อยู่นอกห้องเรียน เน้น 3 สิ่งสำคัญคือ ความคิดสร้างสรรค์ วิชาการ และกีฬาหรือศิลปะ ด้วยองค์ประกอบที่ครบถ้วนรอบด้านเหล่านี้ เราเชื่อว่าจะสามารถดึงศักยภาพของนักเรียนที่ King’s Bangkok และบ่มเพาะให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่คุณภาพ เพื่อตัวของพวกเขาเอง และเพื่อสังคมรวมถึงโลกที่พวกเขาจะต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาในอนาคต”

          มร. ธอมัส บานยาร์ด
          มร. ธอมัส บานยาร์ด ครูใหญ่โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ

          มร. ธอมัส บานยาร์ด ครูใหญ่ โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ กล่าวว่า “รู้สึกภูมิใจกับทีมคุณครูและบุคลากรทุกคน ที่ทำให้การเปิดเรียนครั้งแรกของโรงเรียนประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เด็กนักเรียนกระตือรือร้น อยากมาโรงเรียนและร่วมสนุกกับกิจกรรมที่ทางโรงเรียนเตรียมไว้ ที่สำคัญที่สุดคือเราสร้างให้สังคมของ King’s Bangkok เป็นสังคมที่มีค่านิยมร่วมกันอย่างแท้จริง ในวันนี้เรารู้สึกยินดีที่ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับพ่อแม่ในหลายๆ ด้าน อันดับหนึ่งคือเรื่องครูและบุคลากรที่เราให้ความสำคัญมากที่สุด คุณครูของ King’s เป็นครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู ซึ่งนอกเหนือไปจากความสามารถด้านวิชาการแขนงต่างๆ ครูที่นี่คือผู้บ่มเพาะและดูแลเส้นทางความเติบโตของนักเรียนแต่ละคนอย่างใกล้ชิดด้วยระบบ Pastoral Care ของเรา สำหรับการคัดเลือกครูและบุคลากรที่ King’s Bangkok นั้น มีกระบวนการคัดเลือกอย่างเข้มข้นโดยโรงเรียนแม่คือ King’s Wimbledon เป็นผู้คัดเลือกครูในขั้นตอนสุดท้าย จึงมั่นใจได้ว่าจะมีคุณภาพและมาตราฐานเดียวกันกับที่ King’s Wimbledon โดยในปีแรกนี้ได้คัดเลือกครู 38 คน จากผู้สมัครทั้งสิ้นกว่า 1,500 คน นอกจากนี้ยังเสริมทัพความแข็งแกร่งด้วยครูที่ส่งตรงจาก King’s Wimbledon อีกส่วนหนึ่งด้วย”

          “อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ปกครองให้ความสำคัญคือ เราเชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนอยากรู้แนวทางว่าโรงเรียนจะนำพาเด็กๆ ให้เติบโตไปในทิศทางไหน คำตอบไม่ได้อยู่แค่ในหลักสูตรวิชาการ แต่อยู่ที่ ‘A Great Heart’ ที่จะทำให้เด็กๆ เป็นคนที่มีความสมบูรณ์พร้อมในด้านความประพฤติและมารยาทที่นอบน้อม (Good Manners) จิตใจที่เปี่ยมด้วยความเมตตา (Kindness) และจิตวิญญาณแห่งการใฝ่รู้สู่ปัญญา (Wisdom) ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำพาให้พวกเขาเติบโตอย่างมีคุณภาพในเส้นทางที่พวกเขาเลือก” มร. บานยาร์ด กล่าว

          ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สาคร สุขศรีวงศ์
          ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สาคร สุขศรีวงศ์ ประธานบริหารโรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ

          ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สาคร สุขศรีวงศ์ ประธานบริหาร โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ กล่าวว่า “ในฐานะพ่อของลูกชาย 4 คน การส่งลูกเรียนโรงเรียนนานาชาติเป็นการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งของครอบครัวของผม ผมจึงเข้าใจดีถึงความเป็นห่วงต่างๆ ของผู้ปกครอง อีกทั้งผมยังมีประสบการณ์ในการส่งให้ลูกได้เรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ ทำให้ผมได้ประจักษ์กับสายตาถึงพัฒนาการด้านต่างๆ ที่ลูกของผมได้รับมาจากโรงเรียนของอังกฤษ นี่จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผมริเริ่มสร้างโรงเรียนที่มีหลักสูตรและวิถีปฏิบัติต่างๆ ที่ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกับโรงเรียนที่อังกฤษ และเราไม่ต้องการแค่ ‘ชื่อ’ ของโรงเรียนต้นแบบมาเปิดเป็นเหมือนแฟรนไชส์ แต่เราตั้งใจสร้างให้โรงเรียนนี้มีมาตรฐานเดียวกับโรงเรียนแม่ทุกประการ ดังนั้น จึงนับเป็นความโชคดีที่เราได้เจอกับโรงเรียน King’s Wimbledon ที่เป็นโรงเรียนเช้าไปเย็นกลับ และเปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงเด็กโต และยังมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายตรงกันกับเราทุกประการ เพื่อให้เด็กๆ ของเรามีความเป็นเลิศรอบด้าน (Well-Rounded Excellence) ซึ่งการก่อตั้ง King’s Bangkok เป็นความร่วมแรงร่วมใจอย่างไร้รอยต่อ (Seamless Cooperation) ของทีมบุคลากรที่อังกฤษและทีมที่ไทย การส่งบุตรหลานมาเรียนที่นี่มีคุณภาพเหมือนได้ส่งลูกไปเรียนอังกฤษ โดยที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจริงๆ ทำให้ยังคงมีเวลาอยู่กับครอบครัว อีกทั้งโรงเรียนของเราตั้งอยู่บนโลเคชั่นที่ดีเยี่ยมบนถนนรัชดา-พระราม 3ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมากนัก นอกจากนี้ แนวทางของ King’s นั้นสามารถปรับให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยได้อย่างลงตัว ถ้าพ่อแม่ต้องการเลี้ยงดูให้ลูกเติบโตขึ้นมาพร้อม Good Manners, Kindness และ Wisdom ซึ่งเป็นคุณค่าที่บุคลากรที่ King’s Bangkok ทุกคนให้ความสำคัญ ผมเชื่อว่า โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ คือโรงเรียนที่เหมาะสมในการดูแลลูกหลานของท่านให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าต่อไป”

          king's-college
          บรรยากาศงาน Meet the Head โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ

          โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ เป็นโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นเด็กเล็ก Pre-nursery ถึง Year 13 โดยในปี 2564 จะเปิดรับสมัครนักเรียนชั้น Pre-nursery ถึง Year 10 และจะเปิดเพิ่มเติมจนครบถึง Year 13 ในปีต่อๆ ไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือยื่นใบสมัครที่ www.kingsbangkok.ac.th หรือ โทร. 02-481-9955

            ไวรัส RSV

            เพจหมอชื่อดังเผย! 10 ข้อเท็จจริง ของ ไวรัส RSV โรคระบาดหนักในเด็กเล็ก

            ไวรัส RSV โรคร้ายสุดฮิตระบาดหนักในหมู่เด็กเล็ก โดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาว พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด เพราะหากพลาดไปสักนิดอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

            พ่อแม่ควรรู้! 10 ข้อเท็จจริง ไวรัส RSV เด็กเป็นเยอะมาก ทุกปี

            ในช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้ อีกหนึ่งโรคระบาดในเด็กที่พ่อแม่ต้องระวัง คือ ไวรัส RSV ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องจริง เพราะในกรุ๊ปที่เกี่ยวกับแม่ลูก หลายกรุ๊ป มีคุณแม่ออกมาโพสต์บอกเล่า กล่าวเตือน ถึง อาการป่วยติดเชื้อ RSV ของลูกน้อยกันมากมายทั้งนี้ยังมีเพจคุณหมอออกมาเตือนว่า โรคติดเชื้อไวรัส RSV นั้นระบาดหนักกว่า โควิด 19 ด้วย

            ซึ่งทางเพจ “Infectious ง่ายนิดเดียว” ได้ออกมาข้อมูลพบคนไข้เด็กทั่วประเทศป่วยด้วยไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส RSV (อาร์เอสวี) แน่นทุก รพ. โดยคนไข้เด็กบางรายมีอาการรุนแรงถึงขนาดต้องเข้าไอซียูได้

            และล่าสุด เพจ “Infectious ง่ายนิดเดียว” ก็ได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับไวรัสอาร์เอสวีเพิ่มเติม โดยระบุว่า ..  10 ข้อเท็จจริงเรื่องไวรัส RSV กำลังระบาดหนัก ทางการแพทย์ เตียงเต็มทุก รพ. สำหรับแพทย์ พยาบาล เภสัช MT และเจ้าหน้าที่

            1. ไวรัส RSV ชื่อเต็มคือ Respiratory syncitial virus อยู่ในกลุ่ม Pneumoviridiae ลักษณะเป็น single stranded RNA ค้นพบปี พ.ศ.2498 ครั้งแรกพบในลิงชิมแปนซีพบการระบาดในคนช่วงปลายฤดูฝนต่อต้นฤดูหนาวประเทศไทยพบช่วงเดือน มิถุนายน-ตุลาคม มี 2 subgroup คือ A และ B

            2. ทำให้เกิดโรคปอดบวม (Pneumonia) หรือ หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ส่วนใหญ่พบในคนไข้เด็กโดยเฉพาะน้อยกว่า 2 ปี จนถึง 5 ปี มีอาการน้อย ไข้ น้ำมูก หวัด จนถึงอาการรุนแรง ปอดอักเสบ

            3. พยาธิกำเนิดสำคัญ 3 อย่าง

            -เมื่อติดเชื้อในทางเดินหายใจไวรัสจะทำลายเยื่อบุภายในระบบทางเดินหายใจ (ciliated epithelial cell)

            -ทำให้เกิดเมือกหรือเสมหะ (mucus) และเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจที่ตาย (sloughed epithelial cell debris) ในทางเดินหายใจ

            -และมีปริมาณ neutrophil มาก/ 3 อย่างได้แก่ 3 S (Swelling Spasm Secretion) โดยภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ใช้คือเม็ดเลือดขาวชนิด Tcell lymphocyte (CD8)

            ไวรัส RSV

            4. ระยะฝักตัว 2- 8 วัน ติดต่อทางการสัมผัสสารคัดหลั่งน้ำมูกเสมหะ และละอองฝอย อาการมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรง ได้แก่ทางเดินหายใจส่วนบนอักเสบ ไข้ ไอ เสมหะ ไข้อาจพบสูงหรือต่ำ ไอ น้ำมูก เสมหะ อาจไม่ต้องแอดมิท หรือ นอน รพ. ถ้าอาการไม่รุนแรง หรือทางเดินหายใจส่วนล่างอักเสบ จะมีอาการ ไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย หน้าอกบุ๋ม เขียว ถ้ารุนแรงอาจพบภาวะหายใจล้มเหลว ออกซิเจนในเลือดต่ำและต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือใช้เครื่องช่วยหายใจออกซิเจนชนิดพิเศษ

            5. การส่งตรวจเพื่อวินิจฉัย ส่วนใหญ่หมอเด็ก หมอทั่วไป จะอาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกาย พบลักษณะมีเสียงเสมหะในทางเดินหายใจ (coarse/fine crepitation) และหลอดลมตีบได้ยินเสียงหวีด (wheezing)

            ถ้าจะตรวจยืนยัน (ไม่สามารถตรวจได้ทุก รพ.) ป้ายคอหอยหรือโพรงจมูกตรวจหาเชื้อ

            6. การรักษา ไม่มียารักษาเฉพาะเจาะจง มียากลุ่มต้านไวรัสชื่อ Ribavrin มีฤทธิ์ในหลอดทดลอง มีการนำมาใช้เป็นชนิดยาพ่นแต่ไม่แพร่หลาย ไม่มีใช้ในไทย ส่วนยาปฏิชีวนะไม่มีความจำเป็น ยกเว้นมีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เด็กจะมีอาการ ไข้สูงลอย ไอหอบมาก ซึม ตรวจเลือดพบ WBC สูงและ neutrophil เด่น ทำ CXR พบ patchy หรือ alveolar infiltration บ่งว่าเป็นแบคทีเรีย

            7. การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ ที่เป็นมาตราฐาน ได้แก่

            • ให้สารน้ำ ระวังภาวะขาดน้ำ
            • ให้ออกซิเจน (มีหลายชนิด ให้แบบทางสายจมูก ให้แบบออกซิเจน mask ให้แบบ high flow)
            • ดูดเสมหะ เคาะปอดเพื่อระบายเสมหะ
            • มีการศึกษายาหลายชนิดพบว่ายังเป็นที่ถกเถียงเช่น montelucast Hypertronic saline, steroid, epinephrine, anticholinergic ยังไม่ได้ใช้ยาเหล่านี้เป็นยามาตรฐาน

            ไวรัส RSV

            8. การป้องกัน ไวรัส RSV

            8.1) ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ไวรัส RSV (เคสศึกษาตั้งแตปี พ.ศ.2512 เป็นวัคซีน formaline-inactivated: หลังฉีดพบว่าเพิ่มการติดเชื้อมากขึ้นเรียกว่า immunopotentiation หรือ vaccine enhanced disease จึงยกเลิกการใช้ไป) ปัจจุบันกำลังศึกษาวัคซีนใหม่อยู่

            8.2) หลีกเลี่ยงการติดต่อจากคนที่ป่วย ถ้ามีอาการไข้หวัดไม่ดีขึ้นใน 3 วันหรือมีอาการไอ หายใจหอบเหนื่อย ให้มาพบแพทย์ มาตรการป้องกันโควิด ช่วยได้เพราะติดต่อทางเสมหะ ไอ จาม ได้แก่ ล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

            8.3) เนื่องจากอาจพบภาวะติดเชื้อร่วมกับเชื้ออื่นได้

            -แนะนำฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

            หรือ

            -วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี (เชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae) โดยเฉพาะคนไข้กลุ่มเสี่ยงได้แก่ อายุน้อยกว่า 2 ปี มีโรคประจำตัว อ้วน ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ มีโรคปอด หอบหืด คลอดก่อนกำหนด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

            8.4) ในต่างประเทศในเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เมื่อติดเชื้อจะรุนแรงได้แก่ เด็กคลอดก่อนกำหนด (น้อยกว่า 29 สัปดาห์) มีโรคปอดเรื้อรัง หรือ หัวใจพิการแต่กำเนิด มีการให้ภูมิคุ้มกันชื่อ Palivizumab เป็น  monoclonal antibody IgG ซึ่งเป็น passive immune โดยให้เดือนละ 1 ครั้งในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จะให้ป้องกันก่อนหน้าที่จะถึงฤดูระบาด ในประเทศไทยยังไม่มียาชนิดนี้ [ราคาต่อคอร์สเกือบ 2 แสนบาท] มีการศึกษาอีกชนิดคือ Motavizumab แต่ FDA ยังไม่รับรอง

            9. สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ มีหลายการศึกษาพบว่าถ้ามีประวัติในครอบครัวเป็นภูมิแพ้หรือหอบหืด อนาคตเด็กอาจเป็นหอบหืดตามมาได้ บางการศึกษาพบว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดหอบหืดในอนาคต แต่กลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อแล้วรุนแรง ได้แก่ คลอดก่อนกำหนด อายุน้อย มีโรคประจำตัว ปอด หรือ หัวใจพิการ

            10. ไวรัส RSV พบพยาธิสภาพ

            จำชื่อย่อ 3 S

            Spasm หลอดลมไวและตีบเมื่อได้สิ่งกระตุ้นเช่นควันบุหรี่ สารที่แพ้

            Swelling หลอดลมบวม ทำให้อุดตัน หายใจเสียงหวีด

            Secretion เสมหะ น้ำมูกมาก

            ไวรัส RSV
            ข้อควรรู้เกี่ยวกับ โดรคติดเชื้อ ไวรัส RSV

             


            ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : เพจ Infectious ง่ายนิดเดียว

             

            เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

             

            อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

            รวม 20 อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย แบบนี้..! กำลังป่วยเป็นโรคอะไร?

            โรคหัดระบาด ช่วงไหน ไข้ออกผื่นแบบนี้ ลูกเป็นโรคหัดหรือเปล่า?

            ระวัง! โรค RSV รักษาไม่ถูกวิธี อาจติดเชื้อซ้ำซ้อน

            โรคคาวาซากิ อาการ ที่ต้องระวัง อันตรายจากภาวะแทรกซ้อนถึงชีวิต

              โรค RSV

              ระวัง! โรค RSV รักษาไม่ถูกวิธี อาจติดเชื้อซ้ำซ้อน

              โรค RSV เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รู้หรือไม่ว่านอกจากลูกจะมีอาการหนักจากตัวโรคแล้ว เจ้าไวรัส RSV ยังเปิดประตูให้เชื้อโรคตัวอื่น ๆ มาทำร้ายลูกเราซ้ำได้อีก!!

              ระวัง! โรค RSV รักษาไม่ถูกวิธี อาจติดเชื้อซ้ำซ้อน

              รู้จักไวรัส RSV

              โรค RSV คือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ชื่อภาษาอังกฤษคือ Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจได้ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ทำให้ร่างกายผลิตเสมหะออกมาจำนวนมาก ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้มีมานานหลาย 10 ปีแล้ว แต่ปัจจุบันเริ่มมาเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ มักจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงในเด็กเล็ก

              RSV ติดต่อกันได้อย่างไร?

              การติดต่อระหว่างคนสู่คนของเชื้อไวรัสชนิดนี้ก็เหมือนกับเชื้อไวรัสหวัดทั่วไป คือ ติดต่อผ่านทางการ ไอ จาม รวมถึงการสัมผัสโดยตรงจากสารคัดหลั่ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ แต่เนื่องจากเชื้อไวรัส RSV เป็นเชื้อไวรัสที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกาย จึงทำให้มีการติดต่อกันได้ง่ายกว่า โดยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ก็สามารถติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ หากเกิดในผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่มีสุขภาพแข็งแรง อาการป่วยจะหายได้เอง แต่ถ้าหากเกิดในเด็กเล็ก ๆ ที่ภูมิคุ้มกันยังต่ำ อาจทำให้มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจ ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นเดียวกัน

              ปัจจุบันเปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตของเด็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV โดยตรงนั้นน้อยมาก เพราะไวรัส RSV ไม่ใช่เชื้อโรคที่ร้ายแรงแต่สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่มักมาจากการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กมาก ๆ หรือเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด เด็กที่คลอดก่อนกำหนด และมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจจะเกิดภาวะรุนแรงถึงขั้นการหายใจล้มเหลว ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเสียชีวิตได้

              RSV
              RSV

              RSV พ่วงติดเชื้อแบคทีเรียลงปอด ฝันร้ายที่พ่อแม่ไม่อยากเจอ

              ทีมแม่ ABK ขอนำคำเตือนจากประสบการณ์จริง ของคุณหมอ นพ.จิรรุจน์ กุมารแพทย์โรคระบบหายใจ ที่ได้ออกมาเตือนว่า

              เรื่องหนึ่งที่เรามักจะเจอ ที่ทำให้การรักษาเด็กที่ติดเชื้อ rsv ทำได้ยากขึ้น และอาจมีอาการทรุดลงจนถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิต นั่นก็คือ ปอดบวมหรือปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักจะเป็นเชื้อที่พบได้ ในท้องถิ่นของเราอยู่แล้ว นั่นคือ” เชื้อไอพีดี” ( IPD-Invasive Pneumococcal Disease) ซึ่งพบได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ RSV!!!
              ซึ่งเจ้าเชื้อแบคทีเรียนี้ ก็มักจะมาพร้อมกันกับตอนที่เราได้รับเชื้อ RSV นี่แหละครับ ผู้ที่มีการติดเชื้อปอดบวม ต่อเนื่องจากการติดเชื้อ RSV นั้น ก็จะมีอาการ ไข้สูงอย่างต่อเนื่อง หายใจเร็ว หอบเหนื่อย อาการไม่ดีขึ้นแม้เวลาจะผ่านไป บางรายมีการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดภาวะช็อกและเสียชีวิต
              โชคดีนะครับ เรายังพอมีวัคซีนป้องกัน เชื้อไอพีดี ให้ได้ฉีดกัน ซึ่งสามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนเป็นต้นไป อย่างน้อยก็ช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้
              เห็นไหมครับ อาการติดเชื้อ RSV บางครั้งมันไม่ได้จบแค่การติดเชื้อไวรัสเพียงอย่างเดียว (ซึ่งนั่นก็หนักพออยู่แล้ว) ดังนั้น นอกจาก การสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ ไม่พาไปเล่นในที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อ จะเป็นวิธีป้องกันที่ดีแล้ว การรับวัคซีนป้องกัน เชื้อไอพีดี ก็ยังช่วยบรรเทาเบาบาง เรื่องของการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนลง หากเกิดการติดเชื้อไวรัส เพราะถึงอย่างไรตอนนี้ ก็ยัง #ไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อRSV นะครับ
              ด้วยความปรารถนาดี
              #หมอจิรรุจน์ เข้าใจโรคเข้าใจลูก
              กุมารแพทย์เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจ
              จะเห็นได้ว่าที่ลูกป่วยจนมีอาการหนักมากนั้น ไม่ได้เกิดจาก โรค RSV เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากโรคร้ายแรงอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นไวรัสลงปอดจนปอดบวม ติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด หรือ เชื้อ IPD จึงกล่าวได้ว่า โรค RSV จึงมีความรุนแรงตรงที่พาเชื้อร้ายตัวอื่นมาทำร้ายลูกเราซ้ำนั่นเอง ดังนั้น จึงควรป้องกันไม่ให้ลูกติดเชื้อ RSV คอยสังเกตอาการว่าลูกเป็น โรค RSV หรือไม่ เพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้ทันก่อนที่โรคร้ายอื่น ๆ จะมาซ้ำเติม รวมถึงฉีดวัคซีนป้องกันโรคร้ายชนิดอื่น ๆ ด้วย

              รู้จัก RSV ให้ดี กับแพทย์หญิง พัชรินทร์ มีศักดิ์

              ป้องกัน RSV อย่างไร?

              หลักในการป้องกัน RSV นั้นก็เหมือนกันป้องกันไวรัสชนิดอื่น ๆ คือ การพยายามให้เด็ก ๆ ล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดต่อทางการสัมผัส ใส่หน้ากากอนามัยในที่ที่คนพลุกพล่าน ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ ให้เด็กดื่มน้ำอย่างเพียงพอเพื่อลดภาวะขาดน้ำและช่วยขับเสมหะออกจากร่างกาย แต่ถ้าหากเป็นเด็กเล็กที่ยังไม่หย่านม ก็สามารถให้เด็กดูดนมได้มากที่สุดตามต้องการ แยกอุปกรณ์และภาชนะต่าง ๆ ของเด็กแต่ละคน ไม่ควรใช้ร่วมกัน

              จับสังเกต RSV มีอาการต่างจากหวัดอย่างไร?

              อาการติดเชื้อไวรัส RSV นั้น มักจะไม่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาในผู้ใหญ่หรือเด็กโต โดย RSV ใช้เวลาในการฟักตัว 3-6 วัน หลังจากรับเชื้อ เมื่อเริ่มมีอาการจะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา คือ มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม ดังนั้นจะแยกได้ค่อนข้างยาก แต่ก็มีจุดให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้ว่าลูกอาจจะเป็น RSV ดังนี้

              • มีเสมหะจำนวนมาก
              • มีไข้สูง
              • หายใจเหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงหวีด หรือ เสียงครืดคราดในลำคอ ซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าหลอดลมตีบ หรือหลอดลมฝอยอักเสบ
              • ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ช่วงปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่โรค RSV กำลังระบาด
              ไวรัส RSV
              ไวรัส RSV

              วิธีรักษา

              เบื้องต้นไวรัส RSV ไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกัน ดังนั้นแพทย์จึงใช้วิธีการรักษาไปตามอาการ รักษาประคับประคอง ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาลดไข้ หรือในเด็กบางรายที่มีลักษณะของหลอดลมตีบ ก็อาจจะมีการให้ยาพ่นเพิ่มเพื่อขยายหลอดลม รวมถึงการเคาะปอดและดูดเสมหะ

              อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

              RSV คือ อะไร? เตรียมรับมือกับไวรัสอันตรายในหน้าฝน

              พ่อแม่ระวัง! ลูกติดเชื้อRSV เพราะเครื่องเล่นที่ห้าง

              แม่เตือน ลูกเป็น RSV เกือบลงปอด คิดว่าเป็นหวัดธรรมดา

              โรคหน้าฝนในเด็ก ที่พ่อแม่ควรระวัง

               

              ขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.จิรรุจน์ กุมารแพทย์โรคระบบหายใจ, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต, อ. พญ.โสภิดา บุญสาธร สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

               

              เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

                โรคหัดระบาด

                โรคหัดระบาด ช่วงไหน ไข้ออกผื่นแบบนี้ ลูกเป็นโรคหัดหรือเปล่า?

                รู้ไว้ก่อนระวังได้ทัน โรคหัดระบาด ช่วงไหน อาการเด่น ๆ ของโรคหัดที่สะท้อนถึงสัญญาณอันตรายในร่างกายของลูก

                โรคหัดระบาด ช่วงไหน อาการเป็นอย่างไร?

                โรคหัดเป็นโรคอันตรายที่แฝงอยู่ในเมืองไทย มีผู้คนที่ติดโรคหัดอยู่ทุก ๆ ปี โดยสถานการณ์โรคหัด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-30 กันยายน 2563 มีรายงานว่า พบผู้ป่วยในประเทศไทย ที่มีอาการไข้ออกผื่นหรือสงสัยหัด หัดเยอรมัน 1,726 ราย โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันหัดทางห้องปฏิบัติการ 327 ราย และผู้ป่วยที่มีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา 111 ราย อัตราป่วยจึงอยู่ที่ 0.65 ต่อแสนประชากร แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคหัดในทางห้องปฏิบัติการ และผู้ป่วยที่มีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา พบอัตราป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุน้อยกว่า 1 ปี กลุ่มอายุ 1-4 ปี กลุ่มอายุ 20-29 ปี กลุ่มอายุ 30-39 ปี และกลุ่มอายุ 15-19 ปี ตามลำดับ และจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัดจากทั่วโลก 134,200 ราย คิดเป็นประมาณ 367 รายต่อวัน หรือ 15 รายต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากังวล ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัดอยู่ในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ร่างกายยังไม่แข็งแรง

                สำหรับเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหัด (Measles หรือ Rubeola) มีชื่อว่า เชื้อไวรัสรูบิโอลา (rubeola virus) ไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) เป็นโรคที่แพร่เชื้อและติดต่อกันได้ผ่านทางอากาศหรือการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง การติดเชื้อโรคหัดจึงติดต่อได้อย่างง่ายดาย เพียงไอ จาม หายใจรดกัน หรือใช้สิ่งของร่วมกัน ก็สามารถติดเชื้อโรคหัดได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสรูบิโอลาพบมากในน้ำลายของผู้เป็นโรคหัด โดยเชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจก่อนแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย

                จังหวัดที่พบอัตราป่วยต่อแสนประชากรสะสมสูง 5 อันดับแรก ได้แก่

                1. นราธิวาส
                2. ภูเก็ต
                3. เชียงใหม่
                4. สตูล
                5. ระยอง
                โรคหัดระบาด ช่วงไหน
                โรคหัดระบาด ช่วงไหน

                โรคหัดระบาดหน้าไหน

                จริง ๆ แล้วโรคหัดพบได้ตลอดทั้งปี แต่โรคหัดเป็นโรคที่มักมีการแพร่ระบาดอย่างมากในช่วงหน้าหนาว หรือช่วงที่มีอากาศเย็น โดยมีลักษณะอาการสำคัญ ดังนี้

                • อาการช่วงแรกหลังร่างกายได้รับเชื้อโรคหัดเข้าไปประมาณ 7 วัน จะคล้ายกับเป็นไข้หวัด
                • พบไข้สูงตลอดเวลา ไข้ไม่ลด แม้รับประทานยาลดไข้แล้ว อาจมีไข้ขึ้นสูงถึง 40 องศาเซลเซียส
                • ร่างกายผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย
                • ทารกหรือเด็กเล็กจะซึม ร้องกวน งอแง
                • ลูกจะมีอาการกระสับกระส่าย เบื่ออาหาร
                • น้ำตาไหล ไม่สู้แสง หนังตาบวม
                • มีน้ำมูกใส ๆ ไอแห้ง ๆ เจ็บคอ ตาเยิ้มแดง
                • เกิดตุ่มคอพลิค (Koplik Spots) หรือตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็ก ๆ ตรงกลางขึ้นในกระพุ้งแก้ม
                • อาจถ่ายเหลวคล้ายอาการท้องเดิน
                • ถ้าไข้สูงมากอาจมีอาการชักร่วมด้วย ลักษณะเฉพาะของโรคหัดคือมีไข้สูง 3 ถึง 4 วันแล้วจึงเริ่มมีผื่นขึ้น
                • ลักษณะผื่นที่ขึ้นเป็นจุดแดงเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ผื่นมักขึ้นบริเวณตีนผมและซอกคอก่อน จากนั้นจะลุกลามตามใบหน้า ลำตัว แขนขา และมือเท้า ผื่นจะใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 3 วันนับจากวันแรก หรืออาจนานได้ถึง 5 วัน หลังจากผื่นจางลงมักเปลี่ยนเป็นสีคล้ำในช่วงแรก ๆ
                • ผิวหนังโดยรอบเป็นสีแดงระเรื่อ
                • อาจมีอาการคันเล็กน้อย
                โรคหัดระบาด ช่วงไหน
                โรคหัดระบาด ช่วงไหน

                อาการแทรกซ้อนของโรคหัดที่ต้องระวัง

                • การติดเชื้อที่ตา สาเหตุของตาแดงเยิ้มแฉะ หูชั้นกลางติดเชื้อ และกล่องเสียงอักเสบ
                • โรคปอดอักเสบ ปอดบวม หลอดลมอักเสบ หรือกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจอักเสบ (Croup) เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและปอด
                • โรคอุจจาระร่วง ท้องเสียและอาเจียน ต้องระวังอาการขาดน้ำ
                • โรคแทรกซ้อนที่รุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิต โรคสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

                เมื่อเป็นโรคหัด ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะลดลง เสี่ยงต่อวัณโรคปอด แต่อาการหรือโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ มักเกิดกับคนที่มีร่างกายไม่แข็งแรง สำหรับโรคหัดจัดเป็นโรคติดต่อที่มีโอกาสติดเชื้อได้สูง ช่วง 4 วันทั้งก่อนและหลังเกิดผื่นนั้นถือเป็นระยะเวลาของการแพร่เชื้อ โดยเชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจและแพร่ไปทั่วร่างกาย

                กลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคหัด

                1. เด็กหรือทารกที่ขาดสารอาหาร และไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกัน รวมถึงมีร่างกายอ่อนแอ จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ได้รับสารอาหารจำพวกวิตามินเอ จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเสียชีวิตได้
                2. คนท้องที่ไม่ได้รับวัคซีน หากได้รับเชื้อ จะมีความเสี่ยงแท้ง หรือทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด
                3. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากภูมิต้านทานถูกทำลายอย่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์
                4. คนที่ขาดสารอาหารจะป่วยเป็นโรคหัดอย่างรุนแรงได้เมื่อรับเชื้อเข้าไปในร่างกาย
                โรคหัดระบาด
                เครดิตภาพ : mostlymicrobes.com/measles-resources

                วิธีป้องกันโรคหัด

                วัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles Vaccine) ครบตามกำหนด ด้วยวัคซีน Measles-Mumps-Rubella Vaccine (MMR) ซึ่งครอบคลุมทั้งโรคหัด (Measles) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella) ทารกสามารถรับวัคซีนได้ครั้งแรกเมื่ออายุครบ 9-12 เดือน และรับวัคซีนครั้งต่อไปเมื่ออายุ 4-6 ปี ส่วนเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน สามารถรับวัคซีนได้ 2 เข็ม โดยเว้นช่วงการรับวัคซีนแต่ละรอบให้ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน ด้านผลข้างเคียงของวัคซีนอาจพบอาการไข้ 6-12 วันหลังจากได้รับวัคซีน หรือมีผื่นขึ้นคล้ายผื่นโรคหัด ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงเกิดขึ้นได้น้อยมาก

                วัคซีน Measles-Mumps-Rubella-Varicella Vaccine (MMRV) ป้องกันโรคได้ทั้ง 3 โรค เพิ่มการป้องกันโรคอีสุกอีใสร่วมด้วย โดยเด็กอายุตั้งแต่ 12 เดือน-12 ปี สามารถรับวัคซีนตัวนี้ได้ แต่การรับวัคซีนนี้ก็มีข้อจำกัดสำหรับบุคคลบางกลุ่ม

                การดูแลและรักษาโรคหัด

                รักษาและปฏิบัติตัวเหมือนโรคไข้หวัด ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย อยู่ในที่แห้งอุณหภูมิพอเหมาะเพื่อลดอาการไอบ่อยและเจ็บคอ และอาจให้วิตามินเอเสริมให้กับร่างกาย หากมีไข้ให้เช็ดตัวลดไข้ ไม่อาบน้ำเย็น กินยารักษาตามอาการ

                หากพบว่าลูกมีไข้สูง เกิดผื่นบนร่างกาย อย่านิ่งนอนใจควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ เพราะความเสี่ยงของโรคหัดอันตรายได้ถึงชีวิต

                อ้างอิงข้อมูล : pidst.or.th และ ddc.moph.go.th

                เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

                 

                อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

                สุดเศร้า! ยายดื้อป้อนกล้วยทารก เกิดมาแค่ 10 วันก็ต้องจบชีวิต

                วิจัยใหม่จากต่างประเทศพบ!! ไมโครพลาสติก รั่วจากขวดนม เพราะต้มก่อนใช้

                ทำยังไงเมื่อลูกตรวจการได้ยินไม่ผ่าน เครื่องช่วยฟัง ช่วยได้

                  ค่าคลอดบุตร รพ.รัฐ63

                  เปิดโพย!! ค่าคลอดบุตร รพ.รัฐ’63พร้อมทริคช่วยประหยัด

                  แม่จ๋า!หนูมาแล้ว เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ คำถามแรกคงจะเป็นคลอดที่ไหนดี ค่าคลอดบุตร แต่ละที่เป็นอย่างไร หยุดข้อสงสัยเพราะเรารวมมาให้แม่มือใหม่ป้ายแดงครบจบที่นี่แล้ว

                  เปิดโพย!! ค่าคลอดบุตร รพ.รัฐ’63พร้อมทริคประหยัดสบายมีอยู่จริง

                  สิ่งหนึ่งที่แม่ส่วนใหญ่ต้องตระเตรียมเมื่อได้รับทราบข่าวดีกับการได้รับสมาชิกใหม่ในครอบครัว นั่นคือ การมองหาโรงพยาบาลที่จะฝากครรภ์ และคลอดลูก ปัจจัยที่คุณแม่นำมาประกอบการพิจารณาเลือกโรงพยาบาลนั้นควรประกอบไปด้วย

                  1. เลือกคุณหมอที่จะทำการฝากครรภ์
                    เพื่อความสบายใจก่อนการฝากครรภ์ การหาประวัติ และการทำงานของสูตินารีแพทย์ท่านนั้น ๆ ว่ามีแนวทาง และประวัติในการดูแลคนไข้อย่างไร ก็จะช่วยให้คุณแม่เพิ่มความมั่นใจในการจะฝากความดูแลตัวเราและลูกน้อยแก่คุณหมอได้ดีกว่า เช่น แพทย์ท่านนั้นเป็นคนชอบอธิบายรายละเอียดให้แก่เราไหม หรือ ตารางเวลาของแพทย์เข้ากับวันหยุดของแม่ที่จะเข้ามารับการตรวจครรภ์ได้ เป็นต้น โดยเราสามารถทำการนัดหมายเพื่อปรึกษากับสูติแพทย์หลายท่านก่อนที่จะตัดสินใจเลือกสูติแพทย์ที่ชอบที่สุดได้
                  2. แนวทางการคลอด
                    โรงพยาบาลบางแห่ง หรือแพทย์บางท่าน มีอัตราการทำคลอดธรรมชาติสูง มีตัวเลือกเพื่อบรรเทาอาการปวด และเครื่องมือเฉพาะทางเพื่อสนับสนุนคุณแม่ที่ต้องการคลอดธรรมชาติ ในขณะที่โรงพยาบาลอื่น อาจมีความเชี่ยวชาญในการทำคลอดด้วยวิธีผ่าตัด หากคุณแม่มีรูปแบบการคลอดที่ต้องการอยู่ในใจแล้ว ควรปรึกษากับสูติแพทย์ของทางโรงพยาบาล ขอความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการคลอดที่เหมาะสม

                    ผ่าคลอด หรือ คลอดธรรมชาติ
                    ผ่าคลอด หรือ คลอดธรรมชาติ
                  3. เครื่องมือและอุปกรณ์ในโรงพยาบาล
                    หากคุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ หรือในระหว่างการคลอดครั้งก่อนหน้านี้ หรือมีปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ควรหาโรงพยาบาลที่สามารถช่วยเหลือคุณแม่ได้ในกรณที่อาจเกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เช่น เลือกโรงพยาบาลที่มีธนาคารเลือด, ห้อง ICU หรือห้อง NICU เครื่องมือและอุปกรณ์เฉพาะทางเหล่านี้อาจไม่ค่อยมีความจำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ แต่สำหรับคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูงอาจมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
                  4. งบประมาณ
                    อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการเลือกโรงพยาบาล คือความสามารถทางการเงิน ลองเช็คแผนประกันสุขภาพของคุณแม่ว่าคุ้มครองเกี่ยวกับการคลอดบุตรหรือไม่ แต่ละโรงพยาบาลอาจให้ราคาแพ็คเกจคลอดหลายๆ รูปแบบ ซึ่งราคาอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เราควรประเมิณจากสถานการณ์ และกำลังทรัพย์ของตัวเองว่าเหมาะกับโรงพยาบาลไหนที่สุด
                  5. ระยะทางจากบ้านไปโรงพยาบาล
                    ระยะทางจากบ้านไปถึงโรงพยาบาลไม่มีผลกระทบต่อการฝากท้อง เพราะเราสามารถกำหนดเวลาวางแผนการเดินทางได้ แต่แม่ควรเผื่อในช่วงใกล้คลอดที่อาจมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น น้ำคร่ำเดิน ต้องรีบทำการคลอดแล้ว ถ้าหากสามารถเลือกโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านได้ก็น่าจะดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่การตั้งครรภ์ของคุณแม่มีความเสี่ยงสูง
                  รอคอย เวลาได้เห็นหน้าลูกน้อย
                  รอคอย เวลาได้เห็นหน้าลูกน้อย

                  รวบรวมโปรแกรม ค่าใช้จ่ายการคลอดบุตรรพ.รัฐมาให้ครบจบที่เดียว

                  ในยุคสมัยที่เราต้องทำการลดค่าใช้จ่าย หรือ ในคุณแม่บางรายที่มิได้เตรียมตัวกับการมีบุตรมาก่อนล่วงหน้า การคำนวณค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นการหาข้อมูลเพื่อมาใช้ในการประกอบการพิจารณาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเลือกโรงพยาบาล ทาง ทีมแม่ ABK เข้าใจในทุกความต้องการของคุณแม่ด้วยกัน วันนี้จึงขอเป็นสื่อกลางในการรวบรวมโปรแกรม แพ็กเกจต่าง ๆ ของโรงพยาบาลของรัฐทั้งคลอดธรรมชาติ และผ่าคลอด ที่เราต่างก็รู้กันดีว่ามีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าของเอกชนอยู่มาก ซึ่งจากประสบการณ์คุณแม่ควรเตรียมตัวหาข้อมูลมาดีก่อน จะได้ไม่งง เพราะส่วนใหญ่โรงพยาบาลของรัฐจะไม่ได้มีแพ็กเกจตายตัว หรือที่เรียกว่าราคาเหมาจ่ายแบบโรงพยาบาลเอกชน จึงอาจเป็นสาเหตุให้เราเข้าใจสับสนได้

                  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

                  สถานที่ : ตึกภปร. ชั้น 8

                  เวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ เวลา 8.00-16.00 น.

                  เบอร์ติดต่อ : 02-256-5282 ถึง  5263

                  ค่าคลอดบุตร รพ.จุฬาลงกรณ์
                  ค่าคลอดบุตร รพ.จุฬาลงกรณ์

                  รายละเอียด ค่าใช้จ่ายในการคลอด ต้องทำการคำนวณรวมจาก

                         ค่าคลอด + ค่าเตียงรอคลอด + (ค่าห้องพัก+ค่าอาหาร) x จำนวนวัน + ค่าใช้จ่ายอื่นๆ       

                  โดยราคาค่าคลอดแบ่งเป็น ค่าคลอดโดยธรรมชาติ(คลอดเองได้) เริ่มต้นที่ 1,000-5,000 บาท ค่าผ่าตัดคลอด 8,000 บาท

                  ราคาค่าเตียงรอคลอด + ค่าบริการในการรักษาพยาบาล ราคา 200+300 บาท

                  ค่าห้องพัก คิดเป็นรายวัน วันละเริ่มต้นที่ 200 -3,000 บาท

                  ค่าอาหาร คิดเป็นรายวัน วันละ 200-400 บาท

                  ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ คือ หากมีกรณีฉุกเฉินพิเศษอื่น ๆ เช่น ค่าห้องอบกรณีลูกตัวเหลือง จ่ายแยกเพิ่มต่างหาก เป็นต้น

                  ทริคช่วยประหยัด หากคุณแม่มีประวัติการบริจาคโลหิตเกิน 7 ครั้ง สามารถขอใบรับรองมาขอลดหย่อนค่าใช้จ่ายได้เพิ่มอีกด้วย

                  โรงพยาบาลตำรวจ

                  ค่าคลอดบุตร รพ.ตำรวจ
                  ค่าคลอดบุตร รพ.ตำรวจ

                  สถานที่ :  อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ 88 พรรษา ชั้น 6 รพ.ตำรวจ 492 1 ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน แขวงปทุมวัน กรุงเทพ 10330

                  เวลาทำการ : เวลาราชการ วันจันทร์- ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ เวลา 8.00-16.00 น. มีคลินิกนอกเวลา ถึง 19.00 น.

                  เบอร์ติดต่อ :  02 -207- 6000

                  รายละเอียด : ค่าใช้จ่ายในการคลอดแบบธรรมชาติ ประมาณ 10,000 บาท แบบผ่าคลอด ประมาณ 20,000-30,000 บาท

                  ทริคช่วยประหยัด  การฝากครรภ์ที่รพ.ตำรวจนี้ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (ในกรณีเป็นการตั้งครรภ์ปกติ) เพียงแค่นำบัตรประชาชน และสมุดฝากครรภ์(ถ้ามี) มาขอรับบริการเท่านั้น

                  โรงพยาบาลราชวิถี

                  สถานที่ : 2 ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400

                  เวลาทำการ : เวลาราชการ วันจันทร์- ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ เวลา 8.00-16.00 น.

                  เบอร์ติดต่อ : 02- 354- 8108

                  รายละเอียด ค่าใช้จ่ายในการคลอดแบบธรรมชาติ ประมาณ 10,000 บาท แบบผ่าคลอด ประมาณ 25,000 บาท

                  โรงพยาบาลภูมิพล

                  ค่าคลอดบุตร รพ.ภูมิพล
                  ค่าคลอดบุตร รพ.ภูมิพล

                  สถานที่ : 171 ถนนพหลโยธิต, เขตสายไหม, กรุงเทพ 10220

                  เวลาทำการ : เวลาราชการ วันจันทร์- ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ เวลา 8.00-16.00 น.

                  เบอร์ติดต่อ : 02- 534- 7000

                  รายละเอียด ค่าฝากครรภ์ใหม่ 1,000-1,500 บาทค่าคลอดแบบธรรมชาติประมาณ 6,000-8,000 บาท ค่าผ่าคลอดประมาณ 18,000-20,000 บาท

                  โรงพยาบาลศิริราช

                  สถานที่ : ถนนพรานนก เขตบางกอกน้อย กทม.10700

                  เวลาทำการ : เปิดในเวลาราชการปกติ และคลินิกนอกเวลา ในวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 07.00 – 15.00 น.ให้บริการต่อเนื่อง ไม่พักรับประทานอาหาร ปิดให้บริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตามประกาศของโรงพยาบาลศิริราช

                  เบอร์ติดต่อ : 02-419-9147

                  รายละเอียด ห้องสามัญ คลอดธรรมชาติ ประมาณ 7,000 บาท ผ่าตัดคลอด 10,000 บาท ห้องพิเศษ

                  • พิเศษรวม 4 เตียง ค่าห้อง 1,100 บาท                คลอดปกติ 24,000 บาท       ผ่าตัดคลอด 36,000 บาท
                  • พิเศษรวม 2 เตียง ค่าห้อง 1,300 บาท                คลอดปกติ 26,000 บาท       ผ่าตัดคลอด 41,000 บาท
                  • พิเศษเดี่ยว         ค่าห้อง 2,500 บาท                คลอดปกติ 37,000 บาท       ผ่าตัดคลอด 53,000 บาท
                  • พิเศษเดี่ยว VIP   ค่าห้อง 3,500 บาท                คลอดปกติ 47,000 บาท       ผ่าตัดคลอด 63,000 บาท

                  นอกจากนี้เรายังได้รวบรวมตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการคลอดของโรงพยาบาลรัฐในแต่ละที่โดยคร่าว ๆ มาไว้ให้ในตารางเพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณแม่เพิ่มเติม แต่หากต้องการรายละเอียดมากกว่านี้ รบกวนโทรปรึกษากับทางโรงพยาบาลเลยจะดีกว่าจะได้รับข้อมูลที่ชัดเจน และตรงกับเคสกรณีของแม่แต่ละท่าน (ข้อมูลรายละเอียดค่าคลอดในเว็ปเพจค่อนข้างน้อย แนะนำให้โทรสอบถามจะชัดเจนที่สุด)

                  ตารางตัวอย่างค่าใช้จ่าย ค่าคลอดบุตร
                  ตารางตัวอย่างค่าใช้จ่าย ค่าคลอดบุตร

                  รู้ไว้…ไม่เสียสิทธิ์

                  สิทธิ์บัตรทอง (สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า)

                  แม่คนไหนที่มีกำลังวางแผนหาโรงพยาบาลในการคลอดลูก อย่าลืมเช็กสิทธิ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองมีกันด้วย โดยสิทธิ์พื้นฐานที่เรามีนั้น เบื้องต้นเลย คือ สิทธิ์บัตรทองที่คนไทยทุกคนสามารถมีได้โดยอัตโนมัติ เพียงแค่มีบัตรประชาชน ยิ่งโดยเฉพาะการไปใช้บริการของทางโรงพยาบาลรัฐด้วยแล้ว ทางโรงพยาบาลจะจัดการสิทธิ์ที่มีให้แก่คุณแม่ทันที ในกรณีที่เราไม่ได้มีกรณีพิเศษใด ๆ เช่น การคลอดแบบธรรมชาติ ปกติ แถมบางแห่งยังสามารถเบิกค่ารักษาของลูกเราโดยใช้สิทธิ์บัตรทองของเด็กได้เลย ในกรณีที่น้องต้องรับการรักษาเพิ่มเติมได้อีกด้วย เช่น ลูกตัวเหลืองต้องเข้าตู้อบ

                  สิทธิ์ประกันสังคม

                  คุณแม่สามารถที่มีสิทธิ์ประกันสังคมสามารถยื่นใช้สิทธิ์ได้ที่โรงพยาบาลที่เลือกไว้ได้เลย โดยยื่นเพียงแค่บัตรประกันสังคม และบัตรประชาชนเท่านั้น ล่าสุดประกันสังคมช่วยค่าฝากครรภ์ 1000 บาททั้งฝากที่รพ.รัฐ และเอกชนได้อีกต่างหาก แต่ไม่ได้เป็นครั้งเดียว เราจะต้องทำเรื่องทั้งหมด 3 ครั้ง โดยต้องใช้ใบเสร็จตัวจริง พร้อมกับเอกสารที่บอกวันที่ ที่ไปตรวจครรภ์ในการเบิก และในเอกสารต้องมีข้อมูลที่รับรองว่าคุณแม่ตั้งครรภ์กี่สัปดาห์ พร้อมลายเซ็นต์ของแพทย์

                  1.  อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตรา 500 บาท
                  2.  อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตรา 300 บาท
                  3.  อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตรา 200 บาท

                  สำหรับแม่ที่สิทธิประกันสังคม อยู่ที่ โรงพยาบาลเอกชน แต่ต้องการประหยัดค่าคลอด โดยอาจเลือกย้ายไปคลอดที่ รพ.รัฐ ก็สามารถทำได้ แต่ขอย้ำว่าต้องไปสอบถามข้อมูลกับทางรพ.รัฐนั้น ๆ ที่คุณแม่เลือกว่าโรงพยาบาลรัฐที่เราจะไปคลอดนั้นรับ หญิงตั้งครรภ์อายุไม่เกินกี่สัปดาห์ เพราะการไม่มีประวัติการฝากครรภ์อาจส่งผลต่อความเสี่ยงตอนคลอดได้ หากเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้น

                  ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง mali.me/ lumpsum/siwika-maternity.com

                  อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

                  รวม แพคเกจคลอดลูก 2563 กว่า 40 รพ.เอกชน ทั่วกทม.

                  เคล็ด(ไม่)ลับ วิธีดูแลแผลผ่าคลอด ให้รอยแผลเป็นอ่อนนุ่ม และสีจางลง

                  น้ำนมน้อยหลังคลอด : เคล็ดลับอาหารบำรุงน้ำนม & ฟื้นฟูร่างกาย

                  คลอดลูกตาย การเสียชีวิตของทารกแรกเกิดหลังคลอด

                  เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

                    ลดหย่อนภาษี

                    แม่ต้องรู้! ลดหย่อนภาษี ฝากครรภ์-คลอดบุตร ได้เท่าไหร่?

                    รู้ยัง? แม่ ๆ สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์และคลอดบุตรไป ลดหย่อนภาษี เพื่อแบ่งเบาภาระในการชำระภาษีได้ด้วยนะ ลดหย่อนได้เท่าไหร่? มีเงื่อนไขอะไรบ้าง? ยื่นลดหย่อนอย่างไร? มาดูกัน

                    แม่ต้องรู้! ลดหย่อนภาษี ฝากครรภ์-คลอดบุตร ได้เท่าไหร่?

                    ราชกิจจานุเบกษา ประกาศประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ได้ประกาศให้นำค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร มาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 60,000 บาทต่อปี โดยมีใจความสำคัญในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้

                    “(99) เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายเป็นค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของตน
                    ตามจํานวนที่จ่ายจริงสําหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวแต่ไม่เกินหกหมื่นบาท หากการจ่ายค่าฝากครรภ์
                    และค่าคลอดบุตรสําหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวมิได้จ่ายในปีภาษีเดียวกัน ให้ได้รับยกเว้นภาษี
                    ตามจํานวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหกหมื่นบาท ทั้งนี้ สําหรับเงินได้
                    พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
                    และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด”

                    อ่านฉบับเต็มได้ที่ ราชกิจจานุเบกษา

                    ตามประกาศ สรุปรายละเอียดได้ว่า สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่ได้เบิกค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์และคลอดบุตรจากแหล่งอื่น เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ สามารถนำค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป มาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

                    ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฝากครรภ์-คลอดบุตร รวมถึงค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

                    จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากโรงพยาบาลรัฐบาล หรือโรงพยาบาลเอกชน อันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร ทั้งตรวจครรภ์ รับฝากครรภ์ ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด ค่ากินอยู่ภายในโรงพยาบาล รวมถึงค่าขูดมดลูก (ในกรณีแท้งบุตร) ทั้งนี้ ไม่ว่าทารกที่คลอดจะมีชีวิตรอดหรือไม่ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

                    ใครที่มีสิทธิหักลดหย่อนภาษี?

                    ผู้มีเงินได้ทุกคนที่ได้ชำระค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร โดยผู้ที่มีสิทธิที่จะได้ ลดหย่อนภาษี ในกรณีสามีภริยา จะมีเงื่อนไข ดังนี้

                    • สามีมีเงินได้ ภรรยาไม่มีเงินได้ ยื่นรวมกัน – สามีมีสิทธิในการนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
                    • สามีไม่มีเงินได้ ภรรยามีเงินได้ ยื่นรวมกัน – ภรรยามีสิทธิในการนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
                    • สามีและภรรยามีเงินได้ แยกยื่น – สิทธิในการลดหย่อนภาษีจะอยู่ที่ภรรยาเท่านั้น โดยลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
                    • ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส สิทธิในการลดหย่อนภาษีจะอยู่ที่ภรรยาแต่เพียงผู้เดียว
                    ค่าคลอดบุตร
                    ค่าคลอดบุตร

                    เบิกค่าใช้จ่ายจากสิทธิอื่น ๆ ได้แล้ว จะสามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนได้อีกหรือไม่?

                    ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีสิทธิสวัสดิการเบิกค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรจากแหล่งอื่น ๆ เช่น สิทธิประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ สิทธิจากหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ฯลฯ ก็สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ และคลอดบุตร มา ลดหย่อนภาษี ได้ แต่เพดานสิทธิที่จะนำมาลดหย่อนจะต้องหักออกจากเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับจากสิทธิสวัสดิการที่ได้รับมาก่อน

                    เช่น คุณพ่อคุณแม่ที่ได้รับค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมเป็นเงิน 13,000 บาท เพดานสิทธิที่จะนำมาลดหย่อนภาษีได้ จะถูกลดเหลือ 47,000 บาท (เพดานสิทธิ 60,000 – สวัสดิการที่เบิกได้ 13,000 บาท) คือ คุณพ่อคุณแม่จะสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์และคลอดบุตรมาลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 47,000 บาท เป็นต้น

                    ท้องปีนี้ คลอดปีหน้า หักลดหย่อนอย่างไร?

                    ถ้าเป็นค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรที่ไม่ได้เกิดขึ้นในปีภาษีเดียวกันแบบนี้ จะได้รับสิทธิลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริงในปีที่ใช้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท (เพราะถือว่าเป็นการตั้งครรภ์และคลอดบุตรในคราวเดียวกัน)

                    เช่น ในปี 2562 จ่ายค่าฝากครรภ์ไปจำนวน 10,000 บาท ก็จะสามารถหักลดหย่อนภาษีปี 2562 ได้ 10,000 บาท ส่วนอีก 50,000 บาท สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเมื่อคลอดบุตรในปี 2563 ได้

                    หรือกรณี ปี 2561 จ่ายค่าฝากครรภ์ไปจำนวน 25,000 บาทแล้ว พอมาปีนี้ (2562) จ่ายค่าคลอดบุตรไป 45,000 บาท แต่เราสามารถนำค่าคลอดบุตรมาลดหย่อนภาษีปี 2562 ได้เพียง 35,000 บาทเท่านั้น เพราะการตั้งครรภ์ในแต่ละคราวจะลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาท

                    หากคลอดลูก 2 คนในปีภาษีเดียวกัน หักลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?

                    สามารถใช้สิทธิแต่ละคราวหรือท้องละไม่เกิน 60,000 บาท ดังนั้น สามารถใช้สิทธิได้ 120,000 บาท เช่น หากจ่ายค่าคลอดบุตรต้นปี 2562 เป็นเงิน 60,000 บาท ปลายปีจ่ายค่าฝากครรภ์บุตรคนที่ 2 อีก 60,000 บาท ก็จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 120,000 บาท

                    ท้องแฝดหักลดหย่อนได้เท่าไหร่?

                    ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท เนื่องจากเป็นการตั้งครรภ์เพียงคราวเดียว

                    ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

                    สำหรับเอกสารที่จะใช้ประกอบในการหักลดหย่อนภาษีสำหรับค่าคลอดบุตรและค่าฝากครรภ์ จะต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้

                    1. ใบรับรองแพทย์ จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสมีภาวะตั้งครรภ์
                    2. ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่า ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรให้แก่สถานพยาบาล
                    ค่าฝากครรภ์
                    ค่าฝากครรภ์

                    คำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิในการ ลดหย่อนภาษี

                    1.หากจ่ายค่าฝากครรภ์ เป็นเงิน 30,000 บาท ต่อมาแท้งบุตรต้องขูดมดลูกจำนวน 40,000 บาท สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้บุคคลธรรมดาเท่าใด
                    ตอบ : ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งค่าฝากครรภ์และค่าขูดมดลูก แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท

                    2. กรณีฝากครรภ์แล้วภายหลังตรวจพบว่าบุตรในครรภ์ไม่สมบูรณ์ แพทย์จำเป็นต้องนำทารกออกจากครรภ์ (ยุติการตั้งครรภ์) สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่

                    ตอบ : ได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร ไม่ว่าจะเป็นค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล ทั้งนี้ ไม่ว่าทารกที่คลอดจะมีชีวิตรอดหรือไม่

                    3. กรณีตั้งครรภ์และแท้งเอง และตั้งครรภ์ใหม่ในปีภาษีเดียวกัน ลดหย่อนได้เท่าใด
                    ตอบ : ใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้ง 2 ครั้งๆ ละ ไม่เกิน 60,000 บาท

                    4. ค่าขูดมดลูกกรณีแท้งจากครั้งก่อน ถือเป็นค่าฝากครรภ์ที่ได้รับสิทธิลดหย่อนหรือไม่
                    ตอบ : ได้ ถือเป็นค่าบำบัดทางการแพทย์ ตามความหมายของค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331)

                    5. กรณีต่างฝ่ายต่างมีเงินได้แยกยื่นแบบ ใบเสร็จรับเงินค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรออกมาในชื่อสามี ภริยาใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่
                    ตอบ : ได้ ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายค่าฝากครรภ์

                    6. ค่าตรวจครรภ์ที่คลินิก สามารถนำมาลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ได้หรือไม่
                    ตอบ : หากคลินิกดังกล่าวเป็นสถานพยาบาลแบบไม่มีเตียงตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ.2541 สามารถนำมาใช้สิทธิได้

                    7. กรณีการยกเว้นค่าคลอดบุตร ชาวต่างชาติได้รับสิทธิด้วยหรือไม่
                    ตอบ : หากชาวต่างชาติ (มารดา) ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในไทย และบุตรมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สามารถนำมาใช้สิทธิได้

                    8. กรณีผู้มีเงินได้เป็นชาวต่างชาติ และภริยาเป็นคนไทยไม่มีรายได้ ชาวต่างชาติผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร และลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เพิ่ม ได้หรือไม่
                    ตอบ : หากชาวต่างชาติ (บิดาผู้มีเงินได้) ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในไทย และบุตรคนที่ 2 มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สามารถนำมาใช้สิทธิได้

                    9. กรณีฝากครรภ์และคลอดบุตรที่ได้ลดหย่อนภาษี รวมถึงค่าใช้จ่ายอย่างอื่นด้วยหรือไม่ เช่น ค่านม ค่าของใช้ที่เกี่ยวกับการคลอดบุตร ค่าเดินทาง เป็นต้น
                    ตอบ : ไม่รวม เนื่องจากไม่เป็นค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

                    สำหรับท่านใดที่มีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ สายด่วนกรมสรรพากร 1161 ในเวลาทำการ 08.30 – 18.00 น.

                    นอกจากสิทธิในการหัก ลดหย่อนภาษี แล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถหักลดหย่อนภาษีค่าเลี้ยงดูบุตรได้คนละ 30,000 บาท สำหรับบุตรคนแรก และ 60,000 บาท สำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปได้อีก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พ่อแม่เฮได้! เพิ่มค่าลดหย่อนภาษี “ลูกคนที่ 2) ทั้งนี้ มาตรการในการลดหย่อนภาษีนี้ ก็เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีลูกกันมากขึ้น และเพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของคุณพ่อและคุณแม่ไปอีกทางหนึ่งด้วย

                    อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

                    ลดหย่อนภาษี ปี 2563 สิทธิประโยชน์ที่พ่อแม่ต้องรู้

                    รวม 5 สิทธิประโยชน์ ลดหย่อนภาษี คู่สมรส

                    วิธี เช็คสิทธิ์ประกันสังคม ง่ายๆ แต่ละมาตรา 33 39 40 ต่างกันอย่างไร?

                    ตรวจรักษาโควิด ด้วยสิทธิบัตรทองและประกันสังคม

                     

                    ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสรรพากร, tigersoft.co.th, money.kapook.com, www.itax.in.th

                     

                    เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

                      ยกก๊วนกันมาป่วนผี มา 4 จ่าย 3 เล่นไม่จำกัดรอบ ฮาโลวีน คีนลอยกระทง 31 ตุลาคม ศกนี้ ที่ดรีมเวิลด์

                      สวนสนุกดรีมเวิลด์ ส่งโปรปัง ปัง อีกรอบรับวันฮาโลวีนคืนลอยกระทง 31 ต.ค. 63 ยกก๊วนมาป่วนผี กับบัตรเล่นไม่จำกัดรอบ ซื้อ 4 จ่าย 3 เหลือเพียงท่านละ 450 บาท จากปกติ 600 บาท สนุกตั้งแต่ 10 โมงเช้า ถึง 4 ทุ่ม

                      นางสาวรัสรินทร์ มิลินวรพัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด เปิดเผยว่า ปีนี้ ดรีมเวิลด์จัดเต็มกับฮาโลวีนคืนลอยกระทง 31 ต.ค. คืนเดียวได้2 งาน 2 บรรยากาศ พบกับเหล่าผีนานาชาติ กว่า 30 ตน มาสร้างความสนุกในหลากหลายรูปแบบ “เปิดตี้..ผีนานาชาติ” เนรมิตบรรยากาศชวนขนลุกกับเหล่าขบวนผีนานาชาติสุดแฟนซี ทั้งผีไทยและเทศ ยกทัพมาสร้างสีสันในสวนสนุก กว่า 30 ตน บนถนน
                      Monster Street ร่วมสนุกบนเครื่องเล่นสุดฮิตอย่าง เฮอริเคน ที่มาในธีม “พายุซอมบี้” กรี๊ด..หลอนบน”เรือผีซ่า” ที่ไวกิ้งส์ และตื่นเต้นไปกับรถไฟสายซอมบี้โบกี้0 พบกับความสนุกแบบจัดเต็ม ทรงเครื่องผีสไตล์ไทยหลายสายพันธุ์ ที่มาประชันกัน ณ ปราสาทผีสิง
                      พร้อมกิจกรรม “แช๊ะ หลอน แชร์” ให้ลูกค้าได้ถ่ายรูปกับเหล่าผี โพสต์ลงโซเชียล แล้วรับของที่ระลึกสุดหลอนฟรี!! และอีกหนึ่งไฮไลท์ต้องห้ามพลาด ต้องมาสนุกกับเกมยิงซอมบี้ ที่จะพาทุกท่านหลุดเข้าไปในโลกซอมบี้ ผ่านเทคโนโลยี VR สุดล้ำที่ดรีมเวิลด์เท่านั้น

                      พิเศษ เฉพาะวันลอยกระทง..คืนฮาโลวีน เสาร์ ที่ 31 ตุลาคม ศกนี้ นอกจากจะมีโปรโมชั่น มา 4 จ่าย 3 บัตรดรีมเวิลด์วีซ่า เล่นไม่จำกัดรอบสำหรับวัยรุ่นแล้ว ดรีมเวิลด์ยังได้ลดราคาบัตรผ่านประตูสำหรับเด็ก50% เหลือเพียง 100 บาท จากปกติ 200 บาท สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปให้ผ่านประตูฟรี เพียงแสดงบัตรประชาชนตัวจริง ตั้งแต่ 10 โมงเช้าถึง 4 ทุ่ม ให้ได้มาสนุกกับเครื่องเล่น และกิจกรรมความบันเทิงต่างๆ มากมาย สอบถามเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/dreamworldpark หรือ โทร 0-257- 78666

                        Tags

                        ไวรัสซิกา คนท้องอันตราย

                        ไวรัสซิกา คนท้องอันตราย ต้องระวัง! โดนยุงกัดทำลูกหัวเล็ก

                        ไวรัสซิกา คนท้องอันตราย ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะยุงตัวร้ายเป็นพาหะนำพาโรค

                        ยุงตัวร้ายนำพา ไวรัสซิกา คนท้องอันตราย ต้องระวังไม่ให้ยุงกัด

                        ฟ้าฝนไม่เคยเป็นใจ เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวแดดออก สภาพอากาศเย็น ๆ ชื้น ๆ ชุ่มฉ่ำน้ำฝนแบบนี้ ยุงลายจึงเพาะพันธุ์ได้ง่าย เพราะน้ำท่วมและน้ำขังเยอะ หนึ่งในโรคอันตรายที่ยุงตัวร้ายเป็นพาหะก็คือ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus disease) ซึ่งเป็นโรคที่คนท้องต้องระวัง เพราะถ้ายุงที่เป็นพาะหะกัดแม่ท้องขึ้นมา อาจทำให้ทารกในครรภ์หัวเล็กได้

                        การแพร่ระบาดของไวรัสซิกา เริ่มมาตั้งแต่ปี 2553 ต่อเนื่องมายาวนาน แต่มาแพร่หนัก ๆ ในช่วงกลางปี 2558 จนถึงช่วงต้นปี 2559 ไวรัสซิกา ได้กลายเป็นชื่อไวรัสที่ติดหูคนไทย เพราะมีการระบาดในแถบอเมริกาใต้ และแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น โดยสิ่งที่สำคัญมาก คือ ยุงลาย พาหะของโรคร้าย สำหรับคนทั่วไป อาการเจ็บป่วยอาจไม่ส่งผลรุนแรง แต่กับคนท้องนั้นตรงกันข้าม แค่โดนยุงกัด ก็ทำให้ทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติทางสมองได้แล้ว

                        สำหรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 2563 ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2563 ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคไข้ซิกา สะสมรวม 104 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.16 ต่อประชากรแสนคน โดยพบผู้ป่วยกระจายอยู่ในพื้นที่ 13 จังหวัด แม้ว่าตัวเลขในปีนี้จะไม่สูงมาก แต่ก็ประมาทไม่ได้ โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องระวังตัวเองมากเป็นพิเศษ เพราะการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ และแน่นอนว่า ส่งผลร้ายทำให้ทารกในครรภ์เกิดอันตราย

                        ไวรัสซิกา
                        คนท้องระวังเชื้อ

                        โรคไข้ซิกาจากไวรัสซิกา

                        โรคไข้ซิกาเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา ตระกูลฟลาวิไวรัส (flavivirus) สำหรับระยะฟักตัวของโรคไข้ซิกา จะใช้เวลาประมาณ 3 – 12 วัน โดยที่อาการของโรคไข้ซิกาจะคล้ายกับโรคที่เกิดจาก อาร์โบไวรัส (Arbovirus) เชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค เช่น

                        1. โรคไข้สมองอักเสบ
                        2. โรคไข้เหลือง
                        3. โรคไข้เลือดออก

                        อาการของโรคไข้ซิกา

                        • มีไข้
                        • ผื่นแดง
                        • เยื่อบุตาอักเสบ
                        • ปวดกล้ามเนื้อ
                        • ปวดข้อ
                        • อ่อนเพลีย
                        • ปวดศีรษะ

                        คนทั่วไปที่ร่างกายแข็งแรงปกติ จะเป็นอาการเหล่านี้เพียงเล็กน้อย เป็นอยู่ประมาณ 2 – 7 วัน ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์ก็อาจพบอาการเหล่านี้เช่นกัน ตัวคุณแม่เองอาจไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการน้อยกว่าจะรู้ว่า ติดเชื้อไวรัสซิกา

                        ไวรัสซิกา คนท้อง
                        ไวรัสซิกา คนท้อง

                        การติดต่อของเชื้อไวรัสซิกา

                        • ยุงลายเป็นพาหะของไวรัสซิกา ถ้าถูกยุงลายที่เป็นพาหะกัดแม่ท้อง ก็เสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสซิกาได้
                        • คนท้องที่ติดเชื้อไวรัสซิกา ยังส่งต่อเชื้อไปให้ลูกได้ อาจจะแพร่จากแม่ไปสู่ลูกผ่านทางรก หรือเลือดที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างแม่ลูก
                        • ไวรัสซิกายังสามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ หรือการได้รับเชื้อจากผู้ให้เลือดที่มีเชื้อไวรัสซิกา

                        ทารกจะเป็นอย่างไรหากได้รับเชื้อไวรัสซิกาจากผู้เป็นแม่

                        การที่คนท้องติดเชื้อไวรัสซิกาจะส่งผลต่อสมองของทารก ให้เกิดความผิดปกติหรือเกิดภาวะบกพร่อง เช่น ภาวะศีรษะเล็ก (Microcephaly) ภาวะนี้ศีรษะของทารกจะมีขนาดเส้นรอบศีรษะเล็กกว่าทารกในวัยเดียวกัน ภาวะศีรษะเล็กไม่เพียงแต่ส่งผลแค่ขนาดของศีรษะเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง ส่งผลให้ทารกพิการได้  ไม่ว่าแม่ท้องจะติดเชื้อไวรัสซิกาในช่วงไตรมาสใดก็ตาม

                         

                        ไวรัสซิกา

                        เครดิตภาพ : storm.mg

                        พญ.ชนิตา พิชญ์ภพ และผศ.ดร.นพ. นพพร อภิวัฒนากุล สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย อธิบายว่า ความผิดปกติของทารกอาจเกิดได้ แม้ว่าผู้เป็นแม่จะไม่มีอาการผิดปกติ โดยไวรัสจะเพิ่มจำนวนขึ้นภายในเซลล์ประสาทที่ตำแหน่ง neural progenitor cells ทำให้เซลล์ประสาทตั้งต้นถูกทำลาย จึงไม่เกิดการเพิ่มจำนวน (neuronal proliferation) การเคลื่อนย้าย (migration) และการพัฒนาเปลี่ยนแปลง (differentiation) ของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์สมองของทารกที่ติดเชื้อไม่มีการเจริญเติบโต เกิดสมองพิการแต่กำเนิดส่งผลต่อการได้ยิน การมองเห็น พัฒนาการและสติปัญญา

                        หากเข้าข่ายเฝ้าระวังต้องตรวจโดยการเจาะเลือด เก็บปัสสาวะ สำหรับผู้ป่วยที่อาการยังไม่ถึง 7 วัน หากป่วยนานกว่า 7 วัน จะตรวจเฉพาะปัสสาวะ เพราะเชื้อไวรัสซิกาอยู่ในเลือดได้แค่ 7 วัน แต่จะพบเชื้อในปัสสาวะได้อีก 1 เดือน

                        การรักษาโรคจากไวรัสซิกา

                        ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่สามารถรักษาโรคจากไวรัสซิกาได้โดยเฉพาะ ทำได้เพียงรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการปวด หากทารกคลอดออกมาแล้วพบว่าทารกมีกะโหลกศีรษะเล็กผิดปกติจากไวรัสซิกา ที่เกิดจากภาวะกะโหลกเล็กจากสมองเล็ก ความผิดปกตินั้นตั้งต้นจากสมอง จึงทำได้เพียงรักษาอย่างประคับประคอง

                        วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิกา

                        1. ป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัด ด้วยการไม่เดินทางไปในพื้นที่แพร่เชื้อหรือแหล่งน้ำขัง
                        2. หมั่นกำจัดลูกน้ำ ไม่ให้มีน้ำขังในบริเวณรอบ ๆ บ้าน เช่น กระถางต้นไม้ ควรเทน้ำทิ้งเสมอหลังฝนตก ทำความสะอาดบ่อย ๆ และปิดฝาภาชนะที่สามารถบรรจุน้ำได้ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการยึดหลัก ปฏิบัติ 3 เก็บป้องกันไข้เลือดออก ไข้ซิกา ไข้ปวดข้อยุงลาย เก็บบ้านให้สะอาดปลอดโปร่ง เก็บขยะกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เก็บน้ำ ปิดให้มิดชิดไม่ให้ยุงลายวางไข่
                        3. นอนในมุ้ง ปิดหน้าต่าง ปิดประตู เพื่อป้องกันยุงเข้าบ้าน
                        4. แต่งตัวให้มิดชิดด้วยเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว แต่เนื้อหาต้องระบายอากาศด้วย
                        5. ทายากันยุง หากเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเลือกยากันยุงจากสารสกัดธรรมชาติ เพื่อให้ปลอดภัยต่อตัวเองและทารกในครรภ์
                        ไวรัสซิกา คนท้อง
                        ไวรัสซิกา คนท้อง

                        คนท้องควรพบแพทย์ตามนัด ฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจร่างกายและติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ หากพบผื่นแดง มีไข้ ปวดตา (ตาแดง) ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดศีรษะ และอาเจียน ควรรีบไปพบแพทย์

                        อ้างอิงข้อมูล : rama.mahidol.ac.th, bumrungrad, pidst, paolohospital และ facebook.com/MTlikesara

                         

                        เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

                         

                        อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

                        แม่ท้องต้องรู้! เลือดล้างหน้าเด็ก อันตรายไหม? มีผลต่อลูกในท้องหรือไม่

                        อาการท้องไม่รู้ตัว เป็นไปได้จริงหรือ! จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังตั้งครรภ์?

                        หน้าฝนต้องระวัง โรคผื่นกุหลาบ เป็นตอนท้องอันตราย

                          เพลงแก้โคลิค

                          รวมคลิป เพลงแก้โคลิค คลื่นเสียงปราบอาการโคลิก ช่วยลูกหลับสบายทั้งคืน

                          รวม เพลงแก้โคลิค ลูกทารกร้องกวน ร้องโคลิก ลองเปิดคลิปเสียงมหัศจรรย์ ช่วยลูกหยุดร้องไห้ ลดอาการโคลิค ลูกหลับสบายทั้งคืน ได้ผลชะงัด

                          รวมคลิป เพลงแก้โคลิค คลื่นเสียงปราบอาการโคลิก
                          ช่วยลูกหลับสบายทั้ง
                          คืน

                          อาการโคลิค พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ จนถึง 3 เดือน ซึ่งลูกทารกจะร้องมาก ร้องนาน ร้องโดยไม่มีสาเหตุ และมักชอบร้องตอนกลางคืนโดยจะร้องปากสั่นจนตัวงอ ทำให้พ่อแม่เกิดความเครียดและความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก คนโบราณจึงมักเรียกอาการนี้ว่า “เด็กร้องร้อยวัน” ซึ่งอาการที่ทำให้เกิดเป็นเรื่องของการปวดท้อง ไม่สบายท้องของเด็ก

                          โดยสาเหตุของการเกิดโคลิกในทารกยังไม่ทราบแน่นอน แต่อาจเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันคือ จากพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก ลูกกลืนอากาศขณะดูดนมเข้าไปมาก แม่ไม่สามารถทำให้ลูกเรอได้เพียงพอ อากาศในท้องจึงก่อให้เกิดอาการแน่นอึดอัดในท้อง เกิดในเด็กที่มีภาวะ/โรคกรดไหลย้อน เกิดในเด็กที่มีการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ คือมีการเคลื่อนตัวของลำไส้มากเกินไป รวมไปถึงการที่ลูกกินนมมากเกินไป หรือน้อยเกินไป และการให้ลูกนอนในท่าที่ไม่เหมาะสมก็มีส่วน

                          นอกจากนี้ครอบครัวมีความเครียด พ่อแม่มีปัญหาทางอารมณ์ หรือมีความวิตกกังวลมาก (ซึ่งอาจตรงกับที่พบอุบัติการณ์โคลิกสูงในครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมสูงเป็นลูกของพ่อแม่ที่มีอายุมาก ครอบครัวที่มีลูกน้อย และในพ่อแม่ที่มีการศึกษาสูง) พบว่าความเครียดของแม่ตั้งครรภ์มีผลให้เกิดโคลิกในเด็กได้

                          เด็กร้องไห้

                          ลักษณะอาการร้องของเด็กที่เป็นโคลิค

                          เมื่อลูกรู้สึกหิว กลัว เหนื่อย หรือรู้สึกเปียกชื้นมักจะส่งเสียงร้องไห้ออกมา แต่หากมีอาการโคลิคจะร้องไห้หนักมาก และร้องไห้ในช่วงเวลาเดิม ๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาเย็นหรือหัวค่ำ และจะร้องเสียงดัง เสียงแหลม และนานกว่าปกติ “เวลาร้อง ลูกจะงอขา งอตัว กำมือ” โดยรวมแล้วจะร้องไห้ประมาณวันละ 3 ชั่วโมง มากกว่าสัปดาห์ละ 3 วัน และยาวนานอย่างน้อย 3 สัปดาห์หรือบางรายอาจนานกว่านั้น และอาจมีอาการดีขึ้นเมื่ออายุประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งหากลูกร้องโคลิค พ่อแม่ควรสบายใจว่าอาการนี้จะหายแน่นอนไม่เป็นอันตราย แต่ต้องใช้เวลาและพยายามลดความเครียดของตัวเองลง

                          อย่างไรก็ดี อาการโคลิค นี้ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ เพลงแก้โคลิค ซึ่งเป็นคลื่นความถี่เสียงของแพทย์ชาวต่างประเทศ ซึ่งมากกว่า 80% ช่วยลดอาการ โคลิค ในเด็กได้ โดยเป็นเสียงประเภทเสียงที่คล้ายกับสภาพแวดล้อมตอนที่ลูกทารกยังอยู่ในท้องแม่  ซึ่งช่วยให้ลูกรู้สึกเหมือนอยู่ในที่ที่ปลอดภัย ลดความเครียดจากเสียงภายนอก เช่น เสียงพูดคุยของพ่อ แม่ เสียงโทรทัศน์ เสียงรถยนต์ เสียงเปิด-ปิดประตู เสียงเท้าเดิน ฯลฯ ส่งผลให้ทารกนอนหลับยาวนานขึ้นทำให้ทารกอารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใส และมีพัฒนาการสมองที่ดียิ่งขึ้น มีสมาธิเฉลียว ฉลาด เพราะตลอดเวลาที่นอนหลับและรู้สึกตัวก็จะได้ยินเสียงนี้ตลอดดังนั้นเพื่อช่วยลดอาการลูกร้องโคลิค ทีมแม่ ABK จึงได้รวบรวมมาฝากคุณพ่อคุณแม่ เจ้าตัวเล็กบ้านไหนกำลังร้องไห้ ลองเปิดให้ฟังกันนะคะ

                          ขอบคุณคลิปวีดีโอ เพลงแก้โคลิค จาก : ววัชรพงษ์ วาณิชธนอนันต์

                           

                          ขอบคุณคลิปวีดีโอเพลงแก้โคลิค จาก : 321 Relaxing – Meditation Relax Clips

                          ขอบคุณคลิปวีดีโอ เสียงโคลิค จาก : ชีวิตคุณแม่ : The Mommy Life

                           

                          ข้อแนะนำในการดูแลทารกทีมีอาการโคลิค นอกจากการใช้ เพลงแก้โคลิค

                          • การสร้างบรรยากาศในการเลี้ยงดูให้สงบ
                          • อุ้มทารกเมื่อมีอาการ โดยพยายามสังเกตว่ามีอะไรที่ทำให้ทารกไม่สบายตัว เช่น ผ้าอ้อมเปียก อากาศที่ร้อนหรือเย็นเกินไป
                          • ให้อาหารไม่มากหรือน้อยเกินไป สังเกตอาการหิวของทารก และให้นมตามที่ต้องการ  อาการโคลิกจะพบได้ทั้งในทารกที่กินนมแม่และนมผสม
                          • ถ้าทารกที่กินนมแม่แนะนำให้กินต่อไป ถ้าคิดว่าทารกอาจมีปฏิกิริยาต่อสารอาหารที่แม่รับประทาน  และสารนั้นอาจผ่านมาทางน้ำนม  อาจลองให้คุณแม่หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมวัว ไข่ ถั่ว แล้วดูการตอบสนอง ในทารกที่ดื่มนมผสมแนะนำให้ดื่มต่อไปยกเว้นมีข้อมูลที่ชี้นำว่าอาจแพ้นมวัว เช่น อาการแหวะนม มีผื่นขึ้น ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นเลือด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อแนะนำให้เปลี่ยนนมเป็นชนิดอื่น

                          ในส่วนของการใช้ยาขับลม  simethicone  ไม่ค่อยได้ผลมากนัก การใช้ยาขับลมที่ผสมสารหลายอย่าง เช่น Gripe Water เพื่อลดอาการท้องอืด ย่อยไม่ดี แต่ต้องระวังในส่วนประกอบว่ามี น้ำตาลหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีผลเสียกับทารกได้  ยากลุ่มที่ลดการบีบตัวของลำไส้อาจทำให้อาการดีขึ้น แต่จะต้องระวังผลข้างเคียงของยา เช่น กดการหายใจ ทำให้ง่วงซึม จึงควรหลีกเลี่ยง

                          เมื่อไหร่จึงควรพาลูกพบคุณหมอ?

                          หากลูกทารกมีอาการร้องไห้อย่างรุนแรง และไม่สามารถควบคุมได้ ไม่เพียงแต่เป็นตัวบ่งชี้ของอาการโคลิกเท่านั้น แต่เป็นการบอกถึงอาการป่วย อื่นๆ ได้ด้วย จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดค่ะ


                          ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.pobpad.com

                          www.ekachaihospital.com

                          www.si.mahidol.ac.th

                          อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพด้านล่าง ⇓

                          เด็กทารก แรกเกิด กับ 10 โรคฮิตที่พ่อแม่ต้องระวัง!

                          ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ทำลายสมองจริงหรือ?

                          ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตา..อันตรายหรือไม่? ระวังก่อนติดเชื้อ หรือ เกิดภาวะขาดน้ำ

                            แม่ท้อง ปวดหัว ไมเกรนขึ้นหรือสัญญาณโรคร้ายต้องเช็ก!!

                            ปวดหัว ขณะตั้งครรภ์อาการทั่วไปของคนท้อง แล้วแบบไหนที่เป็นอาการปกติแบบไหนที่เป็นสัญญาณเตือนแม่ท้องว่าควรระวัง มาเช็กลิสต์อาการปวด พร้อมวิธีบรรเทาแบบไม่ใช้ยา

                            แม่ท้อง ปวดหัว ไมเกรนขึ้นหรือสัญญาณโรคร้ายต้องเช็ก!!

                            อาการปวดหัวขณะตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งในอาการคนท้อง ที่พบได้บ่อย ไม่เพียงแต่อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลังเท่านั้น และแม้ว่าการปวดหัวจะเป็นอาการของคนท้องปกติ แต่กลับเป็นอาการที่ทำให้แม่ท้องทั้งหลายรู้สึกเป็นกังวลมากกว่าอาการอื่น ๆ เนื่องด้วยความกังวลว่าจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่นใดแทรกซ้อนมาหรือเปล่า ก็นับว่าเป็นความกังวลที่ไม่ได้เกินเลยแต่อย่างใด เพราะหากคุณแม่ท้องท่านไหนมีอาการปวดหัวบ่อย ๆ จนรู้สึกผิดสังเกต หรืออาการปวดหัวรุนแรงมากเกินปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง อย่างครรภ์เป็นพิษได้ ดังนั้นการศึกษาข้อมูลให้แน่ชัดจึงเป็นหนทางที่คุณแม่ควรจะทำ นอกจากจะช่วยให้เราเข้าใจอาการปวดหัวได้ดียิ่งขึ้นไม่ต้องมานั่งกังวลจนกลายเป็นความเครียด (ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปวดหัวได้ด้วยเช่นกัน) ยังทำให้คุณแม่สามารถรับมือกับอาการดังกล่าวได้อย่างถูกวิธี หรือหากเป็นสัญญาณอันตรายจริงก็จะทำให้เราสามารถไปพบแพทย์ได้ทันเวลาอีกด้วย

                            แม่ท้อง กับดูแลร่างกายที่ดี ลดอาการปวดหัว
                            แม่ท้อง กับดูแลร่างกายที่ดี ลดอาการปวดหัว

                            ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง กระตุ้นการปวดหัว

                            หญิงตั้งครรภ์บางคนอาจปวดหัวในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ แต่สาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน หรือปริมาณเลือดในร่างกายที่เพิ่มสูงขึ้นขณะตั้งครรภ์ก็เป็นได้ โดยอาการปวดหัวระหว่างตั้งครรภ์มักทุเลาลงในช่วงไตรมาสที่ 2 เมื่อระดับฮอร์โมนเริ่มคงที่ และร่างกายเริ่มปรับตัวจนคุ้นชินกับระดับสารเคมีต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

                            ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปวดหัวขณะตั้งครรภ์ และวิธีการดูแลตนเอง

                            • ความหิว เนื่องจากช่วงตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มากขึ้นกว่าปกติ ดังนั้นคุณแม่ควรระวังในเรื่องอาหารการกิน ควรดูแลไม่เพียงแค่รับประทานให้เพียงพอ แต่ต้องคำนึงถึงสารอาหารในแต่ละมื้อที่รับประทานว่าเพียงพอต่อตนเอง และลูกในท้องหรือไม่

                            การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง ควรรรับประทานอาหารมื้อย่อยบ่อย ๆ เช่น อาหารจำพวกผลไม้ โยเกิร์ต หรือแครกเกอร์ เพื่อป้องกันอาการหิวที่อาจทำให้ปวดหัวได้ และช่วยป้องกันภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหัว แต่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน ลูกอม และน้ำอัดลม เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

                            ความหิวทำให้แม่ท้อง ปวดหัว ได้
                            ความหิวทำให้แม่ท้อง ปวดหัว ได้
                            • การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หากร่างกายของคุณแม่ไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวได้

                            การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำและตื่นในเวลาปกติ เนื่องจากการอดนอนอาจทำให้ปวดหัวขณะตั้งครรภ์ได้

                            • การเลิกดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หากแม่ท่านไหนติดคาเฟอีนก่อนท้อง เมื่อเข้าสู่ภาวะตั้งครรภ์ทำให้ต้องเลิกทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ก็อาจทำให้มีผลข้างเคียง เช่น อาการปวดหัวได้ แต่พอผ่านไปสักระยะเมื่อร่างกายสามารถปรับตัวได้แล้ว อาการเหล่านี้ก็จะทุเลาลง แต่ถ้าไม่ดีขึ้นควรไปปรึกษาแพทย์ว่าเกิดเนื่องด้วยสาเหตุใด

                            การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง การเดินและการออกกำลังกายแบบแอโรบิกชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ต้องใช้แรงมาก เช่น การว่ายน้ำ หรือการทำกิจกรรมเข้าจังหวะ จะช่วยให้ลดความอยาก ความเคยชินในเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และช่วยกระตุ้นฮอร์โมนที่ทำให้ตื่นตัวมาทดแทนคาเฟอีนที่เคยได้รับ จะทำให้อาการปวดหัวดีขึ้นได้

                            • โรคภูมิแพ้ บางครั้งจะพบว่าคุณแม่ท้องอาจมีอาการจมูกอักเสบจากการไม่เป็นภูมิแพ้ เพราะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจนที่เปลี่ยนแปลงไปขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ และเกิดอาการปวดหัว ไม่สบายตัว แต่อาการเหล่านี้มักจะหายไปเอง ประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอด

                            การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง การรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน และยาแก้ปวดไมเกรน หากไม่ได้รับคำสั่งจากแพทย์ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง

                            อ่านต่อ ลูกแพ้นม เรื่องจริงจากแม่ เป็นภูมิแพ้ระหว่างท้อง โด๊ปแต่นมจนลูกเกิดมาแพ้นมทุกชนิด

                            • ภาวะเครียด คุณแม่บางคนต้องทำงาน หรือรับผิดชอบงานในขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะความเครียดสะสมไม่รู้ตัว ซึ่งอาจนำมาซึ่งความเครียดจนเกิดอาการปวดหัวได้

                            อ่านต่อ เทคนิคลดน้ำหนักหลังคลอด ฉบับญี่ปุ่นสุดง่าย เห็นผลใน 5 วัน

                            ออกกำลังกายเบา ๆ ช่วยลดอาการ ปวดหัว
                            ออกกำลังกายเบา ๆ ช่วยลดอาการ ปวดหัว
                            • ภาวะซึมเศร้า ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความวิตกกังวลกับเรื่องรอบๆ ตัว ทั้งร่างกายและจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไป คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่มีภาวะอารมณ์แปรปรวนในช่วงตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ควรหาอะไรทำเพื่อเป็นการผ่อนคลาย

                            การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง ควรรเรียนรู้วิธีผ่อนคลายความเครียด โดยเฉพาะความเครียดจากการทำงาน เช่น จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ แบ่งสิ่งที่ต้องทำออกเป็นส่วนแล้วกระจายงานให้แก่คนที่เหมาะสม หรือทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียดและอาการปวดหัวได้ เช่น การดูหนังฟังเพลงที่ผ่อนคลาย การสูดหายใจเข้าลึก ๆ การนวด และการเล่นโยคะ

                            • ภาวะขาดน้ำ สังเกตง่าย ๆ ให้ดูจากสีของปัสสาวะ หากมีสีเหลืองเข้มให้คุณแม่สงสัยได้เลยว่ากำลังตกอยู่ในสภาวะขาดน้ำ

                            การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างตรงต่อเวลา และการดื่มน้ำมาก ๆ ช่วยป้องกันการเกิดอาการปวดหัวและภาวะขาดน้ำได้

                            อ่านต่อ เมื่อแม่ท้องต้องรับมือ “ภาวะขาดน้ำ”

                            • ภาวะตาล้า เพราะดวงตาของคุณแม่ได้รับผลกระทบจากการสะสมของของเหลวชนิดเดียวกันกับที่ทำให้ข้อเท้าบวม ฮอร์โมนพวกนี้ช่วยกักเก็บของเหลวได้มากขึ้น ทำให้เลนส์กระจกตาที่อยู่ชั้นนอกสุดของตาหนาขึ้น ทำให้เกิดการปัญหากับการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ให้ชัด เมื่อการมองเห็นมีปัญหาก็จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวได้

                            การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง

                            1. นวด การนวดบริเวณไหล่และคอจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดอาการปวดเมื่อย และยังอาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวระหว่างตั้งครรภ์ได
                            2. ประคบร้อนหรือประคบเย็น การประคบเย็นด้วยผ้าขนหนูและน้ำแข็งบริเวณหัวอาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวให้ทุเลาลงได้ หรือบางคนอาจใช้การประคบร้อนเพื่อช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน
                            3. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ปวดหัว อาหารบางชนิด และการรับกลิ่นต่าง ๆ อาจทำให้รู้สึกปวดหัวได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดหัว
                            ภูมิแพ้กับแม่ท้อง
                            ภูมิแพ้กับแม่ท้อง

                            ส่วนสาเหตุของอาการปวดหัวในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่อาจมีสาเหตุมาจากท่าทางในการยืนหรือการนั่งที่ไม่เหมาะสม และความตึงของกล้ามเนื้อจากการแบกรับน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาการของการปวดหัวขณะตั้งครรภ์แบบทั่วไป ที่ไม่เป็นอันตรายมักจะมีอาการปวดแบบไม่รุนแรง เป็นครั้งคราว ไม่กระทบกับชีวิตประจำวัน หรือการนอนหลับ และไม่มีอาการร่วมอื่น ๆ

                            อย่างไรก็ตาม อาการปวดหัวในช่วงไตรมาสที่ 3 อาจเกิดจากอันตรายอย่างภาวะความดันโลหิตสูงหรือภาวะครรภ์เป็นพิษได้เช่นเดียวกัน คุณแม่จึงควรเฝ้าระวังอาการและไปพบแพทย์หากพบความผิดปกติ

                            ปวดหัวขณะตั้งครรภ์ แบบไหนที่อันตราย ?

                            อาการปวดหัวในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นอาการป่วยรุนแรงที่ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ สายตาพร่ามัว การทำงานของตับและไตผิดปกติ ดังนั้น หากพบความผิดปกติต่าง ๆ ร่วมกับอาการปวดหัว หรือปวดหัวอย่างรุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และไม่มีทีท่าว่าอาการจะทุเลาลงแม้หลังรับประทานยาแก้ปวด ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจรักษา โดยแพทย์จะตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจว่าอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นอาการจากโรคอันตรายบางชนิด หรือหากตรวจพบการเจ็บป่วยร้ายแรง แพทย์จะได้วางแผนรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงทีต่อไป เพื่อความปลอดภัยของตัวมารดา และลูกน้อยในครรภ์

                            แม่ท้อง กับอาการ ปวดหัว
                            แม่ท้อง กับอาการ ปวดหัว

                            เช็กลิสต์สัญญาณเตือน อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการปวดหัวขณะตั้งครรภ์ที่คุณแม่ท้องควรรีบไปพบแพทย์ทันที มีดังนี้

                            • ปวดหัวรุนแรงอย่างฉับพลัน
                            • ปวดหัวร่วมกับมีไข้ และคอแข็ง
                            • ปวดหัวในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือ 3 ของการตั้งครรภ์โดยไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งผู้ป่วยอาจมีปัญหาการมองเห็น ปวดเสียดท้อง รู้สึกคลื่นไส้ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจมีอาการบวมที่มือ หรือใบหน้าร่วมด้วย
                            • ปวดหัวรุนแรงขึ้น และมีอาการพูดไม่ชัด สายตาพร่ามัว เซื่องซึม เป็นเหน็บชา และภาวะการรับรู้เปลี่ยนแปลงไป
                            • รู้สึกปวดหัวหลังได้รับการบาดเจ็บบริเวณหัว
                            • คัดจมูก รู้สึกเจ็บบริเวณใต้ตาหรือบริเวณอื่นของใบหน้า และปวดฟัน ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณของไซนัสอักเสบ

                            อาการปวดไมเกรน กับคุณแม่ตั้งครรภ์

                            อาการปวดหัวไมเกรน เป็นลักษณะการปวดหัวแบบตุ้บ ๆ ตามการเต้นของชีพจร มักเป็นข้างเดียวร่วมกับอาการอาเจียน หรือเห็นแสงสว่างในดวงตานำมาก่อนได้ เมื่อมีการตั้งครรภ์ประมาณ 50% ของผู้ป่วย มักมีอาการดีขึ้น

                            แต่ในบางกรณีที่คุณแม่ยังคงมีอาการปวดหัว ไม่ทุเลาสามารถปรึกษาคุณหมอ โดยแพทย์อาจให้ยากล่อมประสาท หรือยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือดมาใช้เป็นครั้งคราว นอกจากนี้หากมีอาการคลื่นไส้ สามารถใช้ยาแก้คลื่นไส้รักษาตามอาการได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาต้านซึมเศร้า หรือยากันชักในการป้องกันไมเกรน แต่ถึงอย่างไรก็ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์โดยใกล้ชิด

                            หากคุณแม่กังวลไม่อยากใช้ยา เนื่องจากกลัวผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์แล้ว ยังสามารถเลือกวิธีรักษาทางเลือก ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวลงได้ และยังได้รับความสบายใจในการใช้ยาอีกด้วย เช่น การนวดบำบัดอาการปวดไมเกรนในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ซึ่งทาง ทีมแม่ ABK ได้นำตัวอย่างการนวดบำบัดจากคลิปวิดีโอในรายการผู้หญิงรู้จริงมาฝาก เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคุณแม่ท้องที่ไม่ต้องการใช้ยา

                            ข้อควรระวังในการนวดบำบัดนี้ คือ การลงน้ำหนักมือ และข้อควรระวังการนวดในจุดสำคัญที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งถ้าหากว่า คุณแม่คนไหนไม่มั่นใจแล้ว ควรไปพบคุณหมอเฉพาะทางที่มีความรู้เชียวชาญในเรื่องของการนวด รู้ตำแหน่ง และจุดที่อันตราย และไม่อันตรายจะดีที่สุด เพราะเรื่องลูกน้อยเป็นสิ่งที่เราให้ความใส่ใจ ระมัดระวังเป็นที่สุด การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาทที่สุดแล้ว

                            ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทุกท่านให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงของร่างกายนี้ไปได้อย่างปลอดภัย สะดวก โดยหวังว่าวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาฝากนี้จะช่วยแบ่งเบา บรรเทาอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ของคุณแม่ลงไปได้บ้าง เมื่อผ่านพ้นไปได้รับรองว่ารางวัลที่ได้รับจะทำให้แม่ ๆ อย่างเราหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งแน่นอน

                            ขอขอบคุณคลิป และข้อมูลอ้างอิงจาก Chivaga Arokaya / Pobpad/ Linetoday /sanook / รพ.เปาโล

                            อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

                            ปวดหัวไมเกรน การมีเซ็กส์ช่วยคุณได้!

                            ตกเลือดหลังคลอด เสี่ยงโรคชีแฮนฝันร้ายแม่อยากให้นมลูก

                            เมนู อาหารลดน้ำหนัก แม่หลังคลอดผอมไว..ได้คุณค่า

                            พ่อเป็นซึมเศร้าหลังคลอดได้ ความเครียด กังวล ของคุณพ่อมือใหม่

                            เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

                              ลูกไม่สบาย

                              รวม 20 อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย แบบนี้..! กำลังป่วยเป็นโรคอะไร?

                              พ่อแม่มือใหม่ควรอ่าน พร้อมแชร์เก็บไว้ดู!! รวมครบโรคเด็ก กับ 20 อาการต้องสงสัย? ลูกไม่สบาย ลูกป่วย แบบนี้..! กำลังเป็นโรคอะไรกันแน่?

                              20 อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย
                              ลูกป่วย เป็นโรคอะไรกันแน่..เช็กเลย!

                              เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็กๆ ตั้งแต่วัยแรกเกิด ถึง วัยอนุบาล แทบทุกคนมักจะมีประสบการณ์ร่วมกันอย่างหนึ่ง คือ วิตกกังวลเรื่องสุขภาพของลูก ลูกไม่สบาย เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กวัยนี้ยังไม่สมบูรณ์ดี จึงมักเจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยๆ ทั้งโรคเล็กน้อยอย่างหวัด ออกหัด ไปจนถึงโรคน่ากลัวที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างโรคไข้เลือดออก

                              ดังนั้นการทำความรู้จักโรคต่างๆ รู้ทันลักษณะอาการของโรค เมื่อ ลูกไม่สบาย ที่พบได้บ่อยในวัย 0-6 ขวบนี้ ก็อาจช่วยลดความวิตกกังวลของพ่อแม่และช่วยให้ลูกน้อยได้รับการเยียวยาและการดูแลที่เหมาะสมในเบื้องต้นอย่างทันท่วงที ร่วมกับความรักและการโอบกอดจากพ่อแม่ซึ่งเป็นหมอคนแรกของลูก ก็จะช่วยให้หายป่วยได้เร็วขึ้น

                              ว่าแต่หาก ลูกไม่สบาย พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการแบบนี้ ลุกกำลังป่วยเป็นโรคอะไร ทีมแม่ ABK มีสัญญาณอาการต้องสงสัยของโรคร้ายในเด็กแต่ละโรคที่พ่อแม่ควรรู้ มาแนะนำ จะมีโรคอะไรและอาการของแต่ละโรคเป็นอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลย

                              1. ลูกไม่สบาย มีไข้น้ำมูกใส = โรคหวัด

                              โรคหวัด (Common Cold) ถือเป็นหนึ่งโรคติดเชื้อยอดฮิตที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นในเด็กเล็กและเด็กวัยอนุบาล เนื่องจากเด็กวัยนี้ยังมีการสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ในร่างกายลูกส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ได้รับถ่ายทอดมาจากแม่ผ่านทางรกตั้งแต่อยู่ในท้อง และจะลดลงเรื่อยๆ จนต่ำสุดที่อายุลูกประมาณ 4-6 เดือน ดังนั้นเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่อาจเริ่มเจ็บป่วยในช่วงวัยนี้หากได้รับเชื้อ

                              สำหรับเด็กวัยอนุบาลมีการเจ็บป่วยบ่อย เนื่องจากมีการแพร่กระจายจากเพื่อนในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ ละอองฝอยจากการไอจาม การสัมผัสสารคัดหลั่งอย่างน้ำมูก น้ำลาย ทั้งโดยตรงและจากของเล่นที่เปื้อนแล้วเอามือเข้าปาก หรือป้ายที่จมูกที่ตา

                              อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย เป็นโรคหวัด

                              สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคหวัด เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งอาการ ลูกไม่สบาย ของโรคหวัดมักไม่รุนแรงและอาจมีอาการได้ในหลายระบบของร่างกาย เช่น มีไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ เสียงแหบ ร่วมกับอาการอาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว ปวดหัว ปวดเมื่อตามตัว ตาแฉะมีขี้ตา อาการเจ็บคอมักไม่รุนแรง อาจเพียงแค่คันหรือระคายเคือง ซึ่งต่างจากการเป็นหวัดเพราะติดเชื้อแบคทีเรียน ที่มักจะมีอาการรุนแรงมากและเป็นที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเป็นสำคัญ เช่น เจ็บคออย่างเดียว แต่จะมีอาการเจ็บคอมากและตรวจพบว่ามีคอแดงหรือเป็นหนอง และมีเยื่อแก้วหูแดง บวกกับลูกมีอาการซึม งอแง ไม่เล่น หงุดหงิด และไม่รับประทานอาหาร ทั้งนี้ภาวะแทรกซ้อนของโรคหวัด อาจนำไปสู่โรคหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ และปอดอักเสบได้

                              พ่อแม่จึงควรสังเกตดูให้ดีว่า ลูกมีอาการแย่ลง มีไข้สูง ให้สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ส่วนการเปลี่ยนของสีน้ำมูกและเสมหะเป็นเหลืองหรือเขียว ขณะที่อาการอย่างอื่นดีขึ้นและหายจากหวัดภายใน 10 วัน ไม่จัดว่าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จึงไม่ควรให้ลูกกินยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) เนื่องจากไม่มีประโยชน์ทั้งในเรื่องการความความรุนแรงของโรค ไม่ได้ทำให้ลูกหายป่วยเร็วขึ้น หรือลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และการใช้ยาปฏิชีวนะที่เกินความจำเป็นอาจก่อให้เกิดปัญหาดื้อยา จนต้องใช้ยาที่แรงและแพงมากขึ้น

                              2. ลูกไม่สบาย ไอแห้ง เสียงก้อง หน้าอกบุ๋ม = โรคกล่องเสียงอักเสบ

                              โรคกล่องเสียงอักเสบ หรือ โรคครูป (Croup) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจติดขัด ไอมีเสียง พบบ่อยในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี และมักเกิดในช่วงฤดูหนาว เพราะว่าในช่วงฤดูหนาวอากาศแห้ง ความชื้นในอากาศมีน้อย ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งกว่าปกติ ทั้งนี้โรคครูปมักเกิดจาการติดเชื้อไวรัสพาราอินฟลูเอนซา จากการหายใจสูดเอาละอองที่มีเชื้อไวรัสเข้าไป หรือจากการสัมผัสของเล่นที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัสและนำเข้าปาก ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจบริเวณท่อหลอดลมและกล่องเสียงมีการอักเสบและบวม

                              อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย ป่วยเป็นโรคกล่องเสียงอักเสบ หรือ โรคครูป 

                              มักมีอาการหวัดนำมาก่อนประมาณ 3-4 วัน มีไข้ต่ำ แล้วเริ่มไอแห้งๆ เสียงก้องๆ เหมือนสุนัขเห่า เนื่องจากมีการบวมบริเวณสายเสียง จึงทำให้เสียงพูดหรือเสียงร้องของลูกแหบ และเมื่อเยื่อบุหลอดลมบวมจึงทำให้ทางเดินของอากาศแคบลง อากาศเข้าปอดน้อยลงลูกจึงหายใจแรงขึ้น ใช้กล้ามเนื้อเพื่อช่วยในการหายใจเข้าทำให้เห็นช่องซี่โครงบริเวณหน้าอก แอ่งเหนือไหปลาร้า และหน้าท้องใต้กระดูกซี่โครงยุบตัว ปีกจมูกบาน และมีเสียงดังอี๊ดๆ ขณะหายใจ อาการจะเป็นมากขึ้นช่วงกลางคืน

                              ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่สังเกตดูอาการว่า ลูกไม่สบาย กลางดึกไอเสียงก้อง หายใจหอบ จมูกบาน หน้าซีด หน้าอกบุ๋ม และสงสัยว่าเป็นโรคนี้อยู่ ก็ควรพาลูกไปพบหมอโดยเร็ว เพื่อยินยันการวินิจฉัยโรคและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมทันท่วงที

                              3. ไข้สูง หายใจเร็วและแรง ไอมาก ปลายนิ้วซีด = โรคปอดอักเสบ

                              โรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ (Pneumonia) คือ ภาวะที่ถุงลมปอดซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซเกิดการอักเสบ ทำให้ร่างกายมีความผิดปกติทางด้านการหายใจ สาเหตุส่วนใหญ่ในเด็กจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ระยะฟักตัวตั้งแต่รับเชื้อจนแสดงอาการของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรค หรืออาจสั้นเพียง 2-3 วัน ในกรณีที่เป็นไข้หวัดนำมาก่อน หรืออาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์ในกรณีลูกสำลักน้ำที่มีเชื้อราเข้าปอด

                              อาการแสดงของโรคปอดบวม หรือ โรคปอดอักเสบ

                              เริ่มจากอาการนำ ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น เป็นตามหลังการเป็นหวัดโดยติดต่อทางละอองฝอยจากการไอหรือจาม บางรายเป็นตามหลังการติดเชื้อที่ระบบอื่นแล้วมาลงที่ปอดทางกระแสเลือด เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่ผิดหนัง บางรายเป็นตามหลังการสำลักสิ่งแปลกปลอมลงหลอดลม เช่น สำลักน้ำคร่ำ น้ำในสระ หรือเมล็ดถั่ว

                              เมื่อมีการติดเชื้อที่ปอด ลูกจะมีอาการ คือ เป็นไข้ ไอมาก เจ็บหน้าอกเวลาไอหรือหายใจแรงๆ หายใจหอบเหนื่อย (เร็วเกิน 50 ครั้งต่อนาที ในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ และ หายใจเกิน 40 ครั้งต่อนาที ในเด็กอายุเกิน 1 ขวบ โดยการนับจะทำขณะที่ลูกอยู่ในอาการสงบ ไม่ร้องไห้ และนับครบ 1 นาที) หน้าอกบุ๋ม รวมไปถึงอาจมีริมฝีปากและปลายนิ้วซีดหรือเป็นสีเขียวคล้ำ เนื่องจากขาดออกซิเจน อ่อนเพลีย กินได้น้อย และมีอาการปวดท้อง อาเจียนร่วมด้วย

                              ทั้งนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน คือ การหายใจล้มเหลวได้ เนื่องจากปอดไม่ทำงาน การมีลมขังอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอดเนื่องจากภาวะเยื่อหุ้มปอดทะลุ การติดเชื้อในกระแสเลือด และติดเชื้อของอวัยวะอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกจะเป็นโรคปอดอักเสบ โดยสังได้จากอาการที่กล่าวมาข้างต้น ให้รีบพาไปพบหมอโดยเร็วที่สุด เนื่องจากเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทันกาล

                              4. ลูกคัดจมูก ไอมีเสมหะ น้ำมูกข้นเหลือง เสียงแหบ = โรคไซนัสอักเสบ

                              โรคไซนัสอักเสบ (Sinusitis) คือ การอักเสบของโพรงอากาศซึ่งเชื่อมต่อกับโพรงจมูก ทีทั้งหมด 4 คู่ คือ ด้านข้างจมูก ดั้งจมูก หัวคิ้ว และด้านหลังจมูก เกิดขึ้นจากการเป็นหวัดนานเกินสิบวัน และเชื้อโรคลุกลามไปยังโพรงอากาศดังกล่าว เมื่อโพรงอากาศเกิดการอักเสบก็จะสร้างน้ำมูกออกมาจำนวนมากไหลย้อนออกมาเป็นน้ำมูก หรือไหลลงคอกลายเป็นเสมหะ

                              ซึ่งหากลูกเป็นโรคภูมิแพ้อากาศอยู่แล้วก็อาจจะเป็นโรคไซนัสอักเสบได้ง่าย เนื่องจากเยื่อบุภายในโพรงจมูกมักบวมและมีการอักเสบจากภูมิแพ้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้กลไกการกำจัดน้ำมูกผิดปกติ มีการคั่งค้างของน้ำมูกใสๆ ภายในโพรงไซนัส และเมื่อได้รับเชื้อโรคหวัดจากผู้อื่นมา น้ำมูกใสก็จะเปลี่ยนเป็นข้น มีสีเหลือง เขียวได้ กลายเป็นอาการของไซนัสอักเสบกำเริบ

                              อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย ป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบ

                              ส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายหวัด คือ มีอาการคัดจมูก น้ำมูกข้น อาจมีสีเหลือง เขียว และหากน้ำมูกไหลลงคอก็จะทำให้ลูกมีเสมหะในลำคอ เจ็บคอระคายคอ เสียงแหบ และไอมากเวลานอน เนื่องจากน้ำมูกไหลลงคอในท่านอนราบ บางรายอาจมีอาการปวดหัว ปวดบริเวณดั้งจมูก หน้าผาก หัวคิ้ว โหนกแก้ม ฟันบน หูอื้อ ลมหายใจมีกลิ่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และเลือดกำเดาไหลบ่อย

                              ภาวะแทรกซ้อน คือ การติดเชื้อจากโพรงไซนัสลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง ทำให้เกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อบริเวณใบหน้ารอบเบ้าตา ทำให้หนังตาและหน้าบวมแดง ในกรณีที่มีน้ำมูกไหลลงคอ จะทำให้เด็กมีปัญหาเจ็บคอบ่อย หากน้ำมูกตกลงไปบริเวณหลอดลม จะทำให้หลอดลมอักเสบหรือมีอาการหอบได้ จึงมักพบว่าเด็กที่มีปัญหาหลอดลมอักเสบหรือหอบบ่อยๆ อาจเกิดจากการเป็นโรคไซนัสอักเสบซ่อนเร้นอยู่

                              ลูกไม่สบาย

                              5. น้ำมูกไหล มีไข้สูง ตื่นร้องกลางดึก ปวดหู = โรคหูชั้นกลางอักเสบ

                              โรคหูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาสาเหตุไข้ของเด็กวัย 6-36 เดือน เนื่องจากช่องทางเชื่อมต่อระหว่างช่องหูชั้นกลางกับจมูกในเด็กเล็กมีขนาดเล็ก ทำให้ถูกอุดตันได้ง่ายจากสารเมือกหรือจากการบวมของเยื่อบุในโพรงจมูกเมื่อเป็นหวัด และการที่ท่อสั้นและมีความลาดเอียงน้อยทำให้เชื้อดรคจากโพรงจมูกเข้าสู่ช่องหูได้ง่าย แต่เมื่อลูกโตขึ้นท่อดังกล่วจะมีขนาดใหญ่และลาดเอียงมากขึ้น โอกาสติดเชื้อจึงอยากขึ้น

                              โดยเด็กที่จะเป็นโรคนี้สูงกว่าเด็กปกติ คือ เด็กที่เป็นเพดานโหว่ เด็กที่ดูดนมขวด และเด็กเล็กที่อยู่รวมกันมากๆ เช่น สถานเลี้ยงเด็ก หรืออยู่ในที่มีควันบุหรี่

                              อาการแสดงของโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

                              สาเหตุของการติดเชื้อ เป็นได้ทั้งไวรัสและแบคทีเรีย มักเป็นตามหลังการเป็นหวัด คือมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล อาจมีไข้ต่ำหรือสูงก็ได้ ปวดหัว และมีอาการ ปวดหู (ไม่ใช่เจ็บหูเวลาจับ ซึ่งจะพบในกรณีของหูชั้นนอกอักเสบหรือการมีแผลที่ช่องหู) ในเด็กเล็กที่พูดไม่ได้อาจแสดงออกโดยการดึงหู เอามือกุมหรือตบที่ใบหู งอแงมากขึ้น และตื่นร้องไห้กลางดึก คลื่นไส้อาเจียน มีน้ำหรือหนองไหลออกจากหู รวมไปถึงการได้ยินลดลง พูดช้า พูดไม่ขัด บ่นหูอื้อ และเดินเสียการทรงตัว

                              ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบ คือ เยื่อแก้วหูทะลุ กรณีที่ไม่ได้รับการรักษาในบางรายอาจลุกลามเป็นการติดเชื้อในสมองได้ แต่พบน้อยมาก ควรพาลูกไปหาหมอหากมีอาการต้องสงสัยเบื้องต้นโดยเฉพาะถ้าลูกไข้สูงและร้องปวดหูตอนกลางคืน และไม่ควรซื้อยาปกิชีวนะให้ลูกกินเอง

                               

                              6. ลูกไข้สูง 40 ชักเกร็ง ตาค้าง ปากเขียว = ภาวะชักจากไข้สูง

                              ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile Convulsion) เป็นภาวะที่ชักในขณะที่มีไข้ โดยสาเหตุไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อทางระบบประสาท หรือเคยเป็นโรคลมชักมาก่อน มีอาการชักแบบเกร็ง ตาค้าง แขนขาบิด หรือกระตุกทั้งตัวเกิดขึ้นขณะมีไข้สูงมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส พบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี ในเด็กที่อายุมากกว่า 7 ปีแล้วพบได้น้อยมาก

                              ทั้งนี้ภาวะชักจากไข้สูง เกิดจากการที่สมองของเด็กเล็กยังเจริญไม่เต็มที่ ทำให้มีโอกาสชักได้เมื่อถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ และ สาเหตุที่แท้จริงของการชักในเด็กที่มีไข้สูงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เพราะมักมีประวัติโรคไข้ชักตอนเป็นเด็กของคนในครอบครัวร่วมด้วย และสาเหตุของไข้มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจส่วนบน คือโพรงจมูกและลำคอ (เช่นไข้หวัดใหญ่) เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้อาจเกิดจากโรคหัดกุหลาบ (และจากหูชั้นกลางอักเสบติดเชื้อ

                              อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย เสี่ยงเกิดภาวะชักจากไข้สูง

                              ลูกจะเริ่มไม่สบาย โดยอาจมีอาการน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อาเจียน ถ่ายอุจจาระบ่อย ซึมลง มีไข้สูงและชัก ลักษณะของการชัก คือตัวจะแข็งเกร็ง มือเท้ากระตุก ตาเหลือก กัดฟันแน่น น้ำลายฟูมปาก ไม่รู้สึกตัว อาจมีอาเจียน หรือถ่ายปัสสาวะ อุจจาระขณะที่กำลังชัก อาการชักมักจะนานไม่เกิน 15 นาที ในรายที่ชักอยู่นาน ใบหน้า ริมฝีปาก และมือเท้าจะเขียวจากการขาดออกซิเจน

                              โดยทั่วไปภาวะนี้จะไม่มีผลต่อพัฒนาการ หรือการเรียนรู้ของเด็กที่เดิมแข็งแรงดี ยกเว้นในบางรายที่มีอาการชักติดต่อกันเป็นเวลานาน (โดยเฉพาะถ้านานมากกว่า 30 นาที) จนมีภาวะตัวเขียว ขาดออกซิเจน ทำให้อาจมีผลต่อสมองได้ แต่โดยทั่วไปอาการชักชนิดนี้ มักจะหยุดได้เองภายในเวลา 3-5 นาที จึงไม่น่ามีอันตรายต่อสมองของเด็ก และโอกาสชักซ้ำ จะมีประมาณ 1ใน 3 ของผู้ป่วยที่มีไข้สูง จนกว่าจะอายุมากกว่า 5-6 ปี ส่วนในรายที่เริ่มมีอาการชักจากไข้ครั้งแรกก่อนอายุ 1 ปี และมีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะนี้ในตอนเด็ก อาจมีโอกาสชักซ้ำได้มากขึ้น

                              สำหรับอาการไข้ชักมักเกิดเมื่อเด็กมีไข้สูงเท่านั้น แต่ไม่ได้เกิดในเด็กที่มีไข้สูงทุกคน และเนื่องจากในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ จึงยังไม่มีวิธีป้องกันการชักจากภาวะไข้สูงที่ชัดเจน แต่สิ่งที่สามารถป้องกันได้ดีที่สุด คือ การสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี ถ้าพบว่าไข้สูงมาก ควรให้ยาพาราเซตามอล และเช็ดตัวลดไข้ทันที และรีบพาไปหาหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุของไข้ และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

                              ลูกไม่สบาย

                              7. ไข้สูงลอย 3 วัน หน้าแดงจัด เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว = โรคไข้เลือดออก

                              โรคไข้เลือดออก (Dengue fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการของโรคไข้เลือดออกมีตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติไปจนถึงเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยโรคไข้เลือดออก นี้สามารถเป็นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่พบมากในเด็กอายุ 5-9 ปี

                              เชื้อไวรัสเดงกีปัจจุบันมี 4 ชนิด (เรียกว่าไวรัสเดงกี 1, 2, 3, และ 4 ตามลำดับ) หลังจากติดเชื้อชนิดหนึ่งจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนั้นไปตลอดแต่จะมีภูมิคุ้มกันต่อชนิดอื่นในช่วงสั้นๆ หลังจากนั้นสามารถติดเชื้อชนิดอื่นได้อีก ดังนั้น หากเคยเป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว ก็ยังมีโอกาสเป็นได้อีก

                              อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย เสี่ยงเป็นโรคไข้เลือดออก

                              เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายประมาณ 5-8 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของไข้เลือดออก คือ มีไข้สูงเฉียบพลันเกิน 38 องศาเซลเซียสประมาณ 2-7 วัน คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดง อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่น เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะ อุจจาระมีเลือดปน ปวดท้องอย่างรุนแรง กดเจ็บชายโครงด้านขวา ปวดที่กระบอกตา ปวดศีรษะ อาจมีผื่นแดงขึ้น โดยปกติผู้ป่วยมักไม่มีอาการไอหรือน้ำมูก

                              ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก หลังจากมีไข้มาแล้วหลายวันผู้ป่วยอาจเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อก และเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า กลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (dengue shock syndrome) โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ปัสสาวะน้อยลง ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำ วัดชีพจรไม่ได้

                              โรคไข้เลือดออกยังมีการระบาดเป็นพักๆ โรคนี้มีระดับความรุนแรงตั้งแต่แบบไม่มีอาการจนถึงรุนแรงมากถึงแก่ชีวิต ส่วนใหญ่เป็นแบบไม่รุนแรง ซึ่งสามารถเฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วยว่าจะเป็นแบบรุนแรงหรือไม่ ถ้ามีสัญญาณเตือน เช่น ดูซึมลง ปวดท้องมาก อาเจียนมาก มีเลือดออกมาก แสดงว่าอาจเป็นแบบรุนแรง ซึ่งต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในโรงพยาบาล

                               

                              8. ไข้สูง 2 วัน หลังจากนั้นไข้ลงอย่างรวดเร็ว ผื่นแดงเล็กๆ ตามตัวมีอาการปวดตามข้อ = โรคชิคุนกุนยา

                              ชิคุนกุนยา (Chikungunya) หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย  เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ ชิคุนกุนยาไวรัส ติดต่อมาสู่คนโดยการถูกยุงลายกัด (ยุงลายเป็นพาหะที่นำโรคมาสู่คน 2 โรคที่สำคัญ คือ โรคไข้เลือดออก และ โรคติดเชื้อชิคุนกุนยา) ซึ่งอาจมีพ่อแม่หลายคนเข้าใจผิดว่า โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคไข้เลือดออก เพราะถึงแม้ว่า โรคชิคุนกุนยามีอาการคล้ายไข้เลือดออก แต่โรคไข้เลือดออกจะไม่มีอาการปวดข้อ ส่วนโรคชิคุนกุนยาก็จะไม่มีพลาสม่าหรือน้ำเลือดรั่วออกนอกเส้นเลือด จึงไม่ทำให้ผู้ป่วยช็อค อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า อาจจะได้รับเชื้อของโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกในเวลาเดียวกัน

                              ทั้งนี้เชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ที่เข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1-12 วัน แต่โดยทั่วไปจะเริ่มแสดงอาการประมาณ 3-7 วันหลังได้รับเชื้อ ระหว่างนี้หากได้รับเชื้อถูกยุงกัด ยุงก็จะเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

                              อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย เสี่ยงเป็นโรคชิคุนกุนยา

                              มีไข้สูง อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ประมาณ 2 วัน หลังจากนั้น ไข้จะลงอย่างรวดเร็ว ผิวหนังจะมีสีแดงเพิ่มขึ้น เนื่องจากเส้นเลือดฝอยในชั้นผิวหนังมีการขยายตัว มีผื่นแดงเล็กๆ ตามตัว หรือบางครั้งอาจมีผื่นแดงเล็ก ๆ ตามแขนขาได้ และอาจมีอาการคันร่วมด้วย มีอาการปวดตามข้อ ข้ออักเสบ และมักมีอาการปวดหลายข้อพร้อมกัน ส่วนใหญ่จะปวดบริเวณข้อมือ และข้อเท้า ระยะเวลาปวดประมาณ 12 สัปดาห์ – 1 ปี แต่ส่วนมากอาการจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์

                              นอกจากนี้ อาจมีอาการป่วยซึ่งไม่ใช่อาการเฉพาะของการติดเชื้อชิคุนกุนยา เช่น ปวดศีรษะ เยื่อบุตาแดง รวมทั้งอาการอื่น ๆ เช่น อาการปวดข้อ ปวดศีรษะ นอนไม่ค่อยหลับ คลื่นไส้รู้สึกอ่อนเพลีย

                              ทั้งนี้คนส่วนมากหลังจากฟื้นตัวจากโรคชิคุนกุนยาแล้ว จะมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ไปตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม อาการปวดอาจจะคงอยู่หลายสัปดาห์ หรือกลับมาเป็นซ้ำหลังจากนั้นเป็นเดือนๆ ได้ ซึ่งหากสังเกตว่าลูกน้อยมีอาการข้างต้น ควรไป

                               

                              9. ไข้สูงเฉียบพลัน 3 วันขึ้นไป หนาวสั่น ซึมลง เบื่ออาหาร เจ็บคอ = โรคไข้หวัดใหญ่

                              โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน โดยมีลักษณะอาการที่สำคัญคือ มีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ เนื่องจากเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) มาแล้วหลายครั้ง แต่ละครั้งเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเกือบทุกทวีป ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตนับล้านคน

                              สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งมี 3 ชนิด (type) คือ A, B และ C ไวรัสชนิด A เป็นชนิดที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลก ไวรัสชนิด B ทำให้เกิดการระบาดในพื้นที่ระดับภูมิภาค ส่วนชนิด C มักเป็นการติดเชื้อที่แสดงอาการอย่างอ่อนหรือไม่แสดงอาการ และไม่ทำให้เกิดการระบาด

                              อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย เสี่ยงเป็นโรคไข้หวัดใหญ่

                              โดยทั่วไปของโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ บางคนมีอาการเจ็บคอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา ในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้ อาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง เป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน ซึ่งบางครั้งจะคล้ายโรคไข้หวัดธรรมดา แต่ท้ายที่สุดอาการก็จะหายไปเองได้

                              มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ไอมาก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งอาจเกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ทำให้ เกิดการอักเสบของปอด ทำให้ปอดบวม การหายใจล้มเหลว ซึ่งอาการอาจจะ รุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่รุนแรงคือ กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ

                              หากพบว่าลูกน้อยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง และสงสัยว่ามีอาการไข้หวัดใหญ่ โดยมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูก ให้รีบมาพบแพทย์เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนบุคคลทั่วไปหากมีอาการป่วยและอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

                              10. มีไข้ ปัสสาวะบ่อยไม่สุดและมีกลิ่นเหม็น สีขุ่น = โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

                              โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณรอบท่อปัสสาวะ โดยส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะได้โดยง่าย

                              พบได้บ่อยในเด็กเล็กและเด็กโต ความผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ ปัสสาวะไหลย้อน และภาวะทางเดินปัสสาวะอุดกั้น เช่น ลิ้นอุดกั้นท่อปัสสาวะส่วนหลัง กรวยไตอุดตัน หรือหลอดไตโต เป็นต้น นอกจากนี้ ความผิดปกติของการขับถ่ายอุจจาระ ยังเป็นปัจจัยสำคัญของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเป็นที่ไต ความดันเลือดสูงและโรคไตวายเรื้อรังได้

                              อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย เสี่ยงอาจติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

                              การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ พบได้บ่อยในเด็กเล็กและเด็กโต ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการติดเชื้อที่สำคัญ ได้แก่ ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ และความผิดปกติของการขับปัสสาวะ อาการและอาการแสดงขึ้นอยู่กับอายุ ตำแหน่งที่ติดเชื้อ และความรุนแรงของการติดเชื้อ

                                • เด็กเล็ก มักมีไข้สูง ปัสสาวะบ่อย แต่ไม่มีอาการจำเพาะ อาจมีอาการซึม กินได้น้อยลง
                                • เด็กโต มักมีไข้ ปัสสาวะผิดปกติ หรือปวดหลังบริเวณตำแหน่งไตร่วมด้วย

                              ความผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ ปัสสาวะไหลย้อน และภาวะทางเดินปัสสาวะอุดกั้น เช่น ลิ้นอุดกั้นท่อปัสสาวะส่วนหลัง กรวยไตอุดตัน หรือหลอดไตโต เป็นต้น นอกจากนี้ ความผิดปกติของการขับถ่ายอุจจาระ ยังเป็นปัจจัยสำคัญของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเป็นที่ไต ความดันเลือดสูงและโรคไตวายเรื้อรังได้

                              ข้อสังเกตสำคัญเด็กที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไข้ ร้องกวน หรือมีอาการปวดท้องเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น สีแดงหรือขุ่น ปัสสาวะบ่อย ไม่สุด บางคนมาด้วยอาการเบื่ออาหาร อาเจียน ถ่ายเหลว เมื่อตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติที่ชัดเจน จะทำการเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจโดยการดูด้วยกล้องจุลทรรศน์นับจำนวนเม็ดเลือดขาว และส่งเพาะเชื้อเพื่อทราบชนิดของการติดเชื้อ

                              หากรักษาล่าช้าอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ไตวายเฉียบพลัน ฝีที่ไต และแผลเป็นที่ไตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และรับการรักษาที่เหมาะสม

                              อาการของโรคคาวาซากิ

                              11. ลูกไม่สบาย ไข้สูงเฉียบพลัน ลิ้นแดงเป็นตุ่ม ๆ คล้ายผิวสตรอเบอร์รี่ ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าลอก = โรคคาวาซากิ

                              โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) เป็นโรคที่เกิดการอักเสบของเยื่อบุผิวหนัง หลอดเลือดและต่อมน้ำเหลือง ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก โดยพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย และพบบ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า  5 ปี   โดยเฉพาะในช่วงอายุ  1 – 2 ปี  โรคนี้ตั้งชื่อตามนายแพทย์คาวาซากิ  ซึ่งเป็นแพทย์ชาวญี่ปุ่นที่ได้รวบรวมรายงานผู้ป่วยเป็นคนแรกของโลก  สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าตามหลังการติดเชื้อ และเชื้อโรคกระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ

                              ลักษณะอาการของโรคคาวาซากิ 

                              เด็กจะมีไข้สูงทุกคน โดยมากมักเป็นนานเกิน  5  วัน  บางรายอาจนาน 3 – 4 สัปดาห์อาจมีผื่นขึ้นตามตัวและแขนขา ตาขาวจะแดง  2  ข้าง แต่ไม่มีขี้ตา ริมฝีปากแห้งแดง  อาจแตกมีเลือดออก ลิ้นแดงเป็นตุ่ม ๆ คล้ายผิวสตรอเบอร์รี่ ฝ่ามือและฝ่าเท้าบวมแดง ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอโต

                              อาการทั้งหมดนี้จะเกิดภายในสัปดาห์แรก  ในสัปดาห์ที่  2  จะมีการลอกของผิวหนัง  โดยเริ่มจากบริเวณปลายนิ้วมือ  นิ้วเท้า  และอาจลามไปที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อาจมีอาการแสดงอื่นๆ ที่เกิดร่วม ได้แก่ ข้ออักเสบโดยเฉพาะบริเวณนิ้วมือ  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  ท้องเสีย ซึ่งอาการดังกล่าวอาจหายได้เองแม้ไม่ได้รับการรักษา แต่ที่สำคัญคือ โรคนี้อาจทำให้เกิดการอักเสบของหัวใจและหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ  ซึ่งอาจทำให้หลอดเลือดหัวใจมีลักษณะโป่งพอง  ตีบหรือแคบได้ ในรายที่หลอดเลือดตีบแคบมาก อาจเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยงเหมือนที่พบในผู้ใหญ่ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้

                               

                              12. มีแผลร้อนในเกิดขึ้นในปาก มีผื่นแดงหรือตุ่มใส ขนาดเล็กที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และมีไข้นาน 5-7 วัน = โรคมือเท้าปาก

                              โรคมือเท้าปาก หรือ Hand Foot Mouth Disease (HFMD) เป็นโรคที่พบได้บ่อย พบได้ตลอดทั้งปีแต่ระบาดมากที่สุดในหน้าฝน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enterovirus ติดต่อจากการสัมผัส สารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย  เสมหะ อุจจาระ ดังนั้นส่วนใหญ่จึงพบระบาดในเด็กที่ อายุน้อยกว่า 5ปี โดยเฉพาะในเด็กเล็กอาจมีอาการรุนแรงได้

                              อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย เสี่ยงเป็นโรคมือเท้าปาก

                              หลังสัมผัสเชื้อ 3-6 วัน จะเริ่มมีอาการ อาจมีไข้ต่ำๆ ไข้สูงหรือไม่มีไข้ ไข้มักเป็น 2-3 วัน เริ่มมีอาการเจ็บปาก มีรอยโรคในปาก และอาจพบตุ่มแดง หรือตุ่มน้ำขนาดเล็ก ในบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมทั้งส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า แขน ขา อวัยวะเพศ และรอบๆก้น อาการดังกล่าวอาจพบได้จนถึง วันที่ 7-10 ของโรคก็จะหายไป อาการอื่นที่พบร่วมด้วยคือตาแดง ถ่ายเหลว อาเจียน และผู้ป่วยกลุ่มที่เสี่ยงต่อการมีภาวะแทรกซ้อนคือ เด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี เด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

                              และเนื่องจากโรคนี้มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงคือ ที่สมองและหัวใจ หากมีอาการต่อไปนี้ คือ ซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากกินอาหารหรือน้ำ มีอาการไอ หายใจเร็ว หน้าซีด เสมหะมาก อาเจียนมาก บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว มีอาการพูดเพ้อ ไม่รู้เรื่อง สลับกับซึมลง มีอาการสะดุ้ง ผวา ตัวสั่น ๆ แขนหรือมือสั่น หรือเห็นภาพแปลก ๆ หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบเหนื่อย ตัวเย็นผิวลาย ชัก เดินเซ ควรมาพบแพทย์โดยด่วน

                              ลูกไม่สบาย

                              13. มีไข้ หอบเหนื่อย หายใจเร็ว หายใจแรง หายใจครืดคราด มีเสียงหวีดในปอด = โรค RSV

                              โรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจาก เชื้อไวรัส RSV เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจได้ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ทำให้ร่างกายผลิตเสมหะออกมาจำนวนมาก มีอาการคล้ายไข้หวัดแต่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเด็กและผู้ใหญ่ก็สามารถติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ หากเกิดในผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่มีสุขภาพแข็งแรง อาการป่วยจะหายได้เอง แต่ถ้าหากเกิดในเด็กเล็ก ๆ ที่ภูมิคุ้มกันยังต่ำ อาจทำให้มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจ ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นเดียวกัน

                              วิธีสังเกตอาการว่าติดเชื้อไวรัส RSV หรือไม่

                              เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส RSV ระยะเริ่มต้นนั้นใช้เวลาในการฝักตัวประมาณ 3-6 วัน หลังจากได้รับเชื้อ ลูกจะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา เริ่มจากการมีน้ำมูก จาม ไอ ทำให้ คุณพ่อคุณแม่รู้ตัวช้า ดังนั้นจึงต้องคอยสังเกตอาการของลูกหลานอย่างใกล้ชิด และต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มด้วย เช่น อยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว จาม มีเสมหะจำนวนมาก หายใจเร็วแรง หายใจครืดคราด เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงหวีด ตัวเขียว มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว) ไอโขลกๆซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าหลอดลมตีบ หรือหลอดลมฝอยอักเสบ

                              ทั้งนี้เด็กที่มีอาการหนักอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วยไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ เชื้อไมโคพลาสมา หรือเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ร่วมด้วย

                               

                              14. ไข้สูงประมาณ 39.5-40 องศาเซลเซียส มีแผลในช่องปากบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ มีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า = โรคเฮอร์แปงไจน่า

                              เฮอแปงไจน่า (Herpangina)  เป็นโรคที่ติดเชื้อจากไวรัสชนิดเดียวกันกับมือ เท้า ปาก ซึ่งเป็น กลุ่มของเอนเตอโรไวรัส (Enterovirus) แต่มีอาการที่แตกต่างกันคือจะมีแผลเฉพาะที่ปากเท่านั้น สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางน้ำมูก ไอ จาม ลักษณะอาการจะมีไข้สูงประมาณ 39.5-40 องศาเซลเซียส และมีแผลในช่องปากบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล และในโพรงคอหอยด้านหลัง แต่ถ้าเป็นมือ เท้า ปาก ไข้จะไม่สูง และมีแผลกระจายอยู่ทั่วปาก รวมทั้งมีผื่นขึ้นที่ฝ่า มือและฝ่าเท้าด้วย

                              การติดต่อเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสกับเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ของคนที่มีเชื้อ เพราะบางครั้งอาจสัมผัสแล้วเผลอรับประทานเข้าไป ก็ทำให้ติดเชื้อได้ กลุ่มเสี่ยงของโรคเฮอร์แปงไจน่าส่วนมากจะเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 10 ขวบ และเจอในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กยังไม่มีภูมิต้านทานของเชื้อนี้ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่รวมกันในโรงเรียนอนุบาล มักเล่นของเล่นรวมกัน หยิบจับสิ่งของรวมกัน จึงมีโอกาสติดต่อได้ง่าย โดยตัวเชื้อจะอยู่ได้นานในอากาศเย็นและชื้น จึงระบาดมากในฤดูฝน แต่ก็สามารถพบได้ในทุกฤดู

                              อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย อาจกำลังป่วยเป็นโรคเฮอร์แปงไจน่า

                              ผู้ป่วยโรคเฮอร์แปงไจนา โดยทั่วไปอาการไม่รุนแรง  แต่อาจ มีไข้เฉียบพลัน ไข้อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ปวดตามตัว อาจมีอาเจียน และอาการเด่นคือจะมีอาการเจ็บบริเวณเพดานปากและคอนำมาก่อน ต่อมา(ภายใน 1 วัน) จะมีจุดแดงๆ บริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ และอาจมีตุ่มแดงที่ทอนซิล หรือบริเวณในลำคอด้วยก็ได้

                              อาจเป็นแผลเล็กๆ ตรงกลางตุ่มน้ำนั้น หรืออาจมีการอักเสบรอบๆ แผลได้ จำนวน 5 – 10 ตุ่ม อย่างไรก็ตาม ไข้จะลดลงภายใน 2 – 4 วัน แต่แผลอาจคงอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเจอได้จากโรคนี้ เช่น ก้านสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  กล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่ส่งผลต่อการเสียชีวิต แต่ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวพบไม่บ่อยนัก

                              ลูกไม่สบาย

                              15. อาเจียนนำมาก่อนแล้วถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ่ายมากจนก้นแดง อาจมีไข้หรือมีอาการหวัด = ท้องเสียจากไวรัส

                              โรคท้องเสีย หรืออุจจาระร่วงหรือท้องเดินเป็นปัญหาความเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กโดยเฉพาะช่วงอากาศเย็น ๆ สาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัส รองลงมาคือการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้ออื่น ๆ เช่น เชื้อปรสิตอาหารเป็นพิษจากสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนในอาหารหรือสารพิษที่สร้างขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย

                              การติดเชื้อท้องเสียโนโรไวรัส (Norovirus) เป็นสาเหตุของการระบาดของการติดเชื้อท้องเสียที่ไม่ใช่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยที่สุดในโลก การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้จะเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหาร น้ำดื่มที่มีเชื้อนี้ปนเปื้อน หรือผ่านการสัมผัสกับพื้นผิวที่มีการปนเปื้อน เช่น จาน ชาม ช้อน

                              อาการแสดงของโนโรไวรัส

                              ส่วนใหญ่มักทำให้มีอาการอาเจียน ปวดท้องและท้องเสีย ภายใน 12-48 ชั่วโมงหลังทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อนี้ หรือแม้แต่การสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วยรายอื่นๆก็สามารถติดได้ และอาการท้องเสียมักจะดีขึ้นภายใน 24-72 ชั่วโมง หลังจากเริ่มมีอาการป่วย อาการที่พบบ่อย คือ คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ปวดท้อง ปวดศีรษะ มีไข้ และปวดเมื่อยตัว

                              แม้ว่าอาการคลื่นไส้อาเจียนจะดูรุนแรงพอสมควร แต่การตรวจร่างกายมักจะไม่มีอาการปวดเฉพาะที่หรือปวดเกร็งของหน้าท้อง ทำให้แยกการวินิจฉัยแยกโรคจากสาเหตุอื่นๆ ที่มีอาการและอาการแสดงที่คล้ายกันได้ยาก เช่น ภาวะลำไส้กลืนกัน ไส้ติ่งอักเสบ การติดเชื้ออาหารเป็นพิษด้วยเชื้ออื่นๆ สำหรับรายที่มีอาการอาเจียนและถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการขาดน้ำ เช่น มีไข้ อ่อนเพลียมาก มีชีพจรเบาเร็ว และมีความดันโลหิตต่ำได้

                               

                              อาการท้องเสียจาก ไวรัสโรต้า (Rotavirus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีหลายสายพันธุ์ เมื่อเชื้อไวรัสนี้เข้าไปในระบบทางเดินอาหารแม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงรุนแรงได้ ซึ่งพบมากในเด็กเล็กและมีอาการรุนแรงกว่าเด็กโต เด็กที่เคยท้องเสียจากไวรัสโรต้า อาจเป็นซ้ำได้เพราะไวรัสโรต้านี้มีหลายสายพันธุ์ แต่อาการมักไม่หนักเท่ากับการเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ไวรัสโรต้ายังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าเพราะอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานกว่า เป็นเวลาหลายชั่วโมงโดยเฉพาะช่วงที่อากาศเย็น

                              อาการโรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า

                              เมื่อได้รับเชื้อไวรัสโรตาเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัว 48 ชั่วโมง เชื้อเมื่อเข้าสู่ทางเดินอาหารที่ลำไส้เล็กจะทำลายผนังลำไส้เล็ก ทำให้การดูดซึมน้ำและเกลือแร่ลดลง และเอนไซม์ (Enzyme) สำหรับย่อยคาร์โบไฮเดรตผิดปกติทำให้มีอาการท้องร่วง, ท้องเสีย, ท้องเดิน ถ่ายเป็นน้ำไม่มีมูกหรือเลือดปน เด็กอาจจะมีไข้ มีน้ำมูกและไอเล็กน้อยนำมาก่อนคล้ายการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ แต่จะมีอาการช่วงสั้นๆ แล้วมีอาการทางเดินอาหารตามมา มักมีอาเจียนมากใน 1-2 วันแรก และท้องร่วงเป็นน้ำพุ่งหลายครั้ง หากไม่ได้รับเกลือแร่เพียงพอ จะท้องอืดมาก อาจถ่ายอุจจาระมากจนก้นแดง อาการอาเจียนจะเป็นในช่วงสองวันแรกแล้วดีขึ้น แต่อาการท้องร่วงจะอยู่นานประมาณ 5-7 วัน

                              เมื่อไหร่ควรพาเด็กพบแพทย์ ?

                                • เด็กมีอาการซึมลง
                                • ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลยใน 4-6 ชม.
                                • ตัวเย็นหรือมีไข้สูง
                                • มีอาการหอบเหนื่อย
                                • มีอาการชัก
                                • อาเจียนมาก ไม่สามารถให้กินได้

                               

                              16. เป็นตุ่มแดงๆ ก่อนที่ในอีกชั่วโมงหรือไม่เกิน 1-2 วัน จะเป็นตุ่มใสๆ ต่อมาจะขุ่นขึ้นและกลายเป็นสะเก็ด = โรคอีสุกอีใส

                              โรคอีสุกอีใส เป็นโรคติดต่อผ่านทางลมหายใจ ไอ และจาม การสัมผัสกับผู้ป่วยหรือใช้ของร่วมกัน มักจะระบาดในปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน ช่วงเดือน มกราคม-เมษายน พบมากในเด็กวัย 5-9 ปี ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) มีระยะฟักตัว 10-21 วัน คนไข้จะสามารถแพร่เชื้อโรคได้ตั้งแต่ก่อนที่จะมีอาการ 2 วัน

                              อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย กำลังเป็นอีสุกอีใส

                              อาการเริ่มต้นของอีสุกอีใส เริ่มจากการมีไข้ต่ำๆในเด็กเล็ก แต่ผู้ใหญ่มักจะมีไข้สูง และภายใน 1-2 วันก็จะมีตุ่มขึ้น โดยจะเริ่มจากลำตัว ใบหน้า ก่อนจะลามไปถึงแขนและขา ทั้งนี้ปริมาณของตุ่มที่ขึ้นนั้นไม่ได้บ่งบอกถึงความรุนแรงของโรค บางคนมีอยู่ 40-50 ตุ่ม บางคนอาจมี 200 ตุ่ม  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาการจะรุนแรง แต่สุดท้ายก็จะหายได้เองโดยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น โดยหากมองในภาพรวมจะเห็นตุ่มหลายๆระยะอยู่ในเวลาเดียวกัน บางคนที่เป็นเยอะตุ่มก็จะหนาแน่น โดยเฉพาะในช่วงของลำตัว แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเจ็บ ยกเว้นว่าจะเป็นในช่องปาก โดยตุ่มเหล่านี้จะทำให้ก็อาการคันและส่งผลให้หลายๆคนเลือกที่จะเกาจุดที่คัน ซึ่งอาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ ส่งผลให้ตุ่มใหญ่ขึ้นและเป็นหนอง

                              นอกจากนี้การเป็นอีสุกอีใสอาจจะนำพาไปสู่โรคงูสวัด เนื่องจากเมื่อเราหายดีแล้ว เชื้อจะยังไม่หมดไปจากร่างกาย โดยจะซ่อนอยู่ตามปมประสาทและเมื่อไหร่ที่ร่างกายเราอ่อนแอ ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง เจ็บป่วยรุนแรง หรือได้รับยากดภูมิต่างๆ เชื้อก็เกิดการกระตุ้นให้เกิดการแบ่งตัวและเกิดโรคขึ้นมา ส่งผลให้กลายเป็นโรคงูสวัด โดยจะเห็นเป็นตุ่ม เป็นปื้นๆ ตามแนวของเส้นประสาทที่เลี้ยงผิวหนังซึ่งจะเจ็บและปวดมาก

                              โรคหัดระบาด ช่วงไหน

                              17. เป็นไข้ 3-4 วัน ไอ ตาแดง พบจุดสีเทาขาวบริเวณกระพุ้งแก้ม มีผื่นขึ้นบริเวณไรผม หน้า ลำตัว แขน = โรคหัด

                              โรคหัด (Measles) เป็นโรคติดต่อสามารถระบาดในผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนและพบได้มากกับเด็กเล็ก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มีลักษณะเด่น คือ มีจุดเทาขาวในปาก และผื่นสีน้ำตาลแดงไล่จากหัวและคอลงมาที่ตัว มักจะหายไปเองภายใน 7 ถึง 10 วันโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มเติม แต่ในบางครั้งมีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงเช่น ปอดบวมและไข้สมองอักเสบสามารถอันตรายถึงชีวิตได้

                              อาการของโรคหัด

                              โรคหัดจะเริ่มด้วยอาการคล้ายกับหวัด เช่น คัดจมูก จาม และไอ และจะเริ่มมีอาการประมาณ 10 วันหลังติดเชื้อ คือ ปวดตา ตาแดง น้ำตาไหล อาจไหวต่อแสงเพิ่มขึ้น มีไข้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส ปวดกล้ามเนื้อ ไม่อยากอาหาร เหน็ดเหนื่อย ระคายเคือง และหมดเรี่ยวแรง ต่อมน้ำเหลืองโต พบจุดสีเทาขาวบริเวณกระพุ้งแก้มตรงข้ามกับฟันกรามซี่ใน โดยจะขึ้นในช่วง 2-3 วัน ที่เป็นโรค หลังจากนั้นจะหายไป นอกจากนี้จะมีผื่นเป็นปื้นสีแดงซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัดขึ้น หลังจากเป็นไข้แล้ว 3-4 วัน โดยผื่นจะขึ้นจากบริเวณไรผม มาที่หน้า ลำตัว แขน และลงมาที่ขา แต่เมื่อใดที่ผื่นเหล่านี้ลงมาถึงบริเวณเท้าแล้วไข้ก็จะหายไป นอกจากนี้โรคหัดอาจส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อน เช่น สมองอักเสบ ปอดอักเสบ เยื่อแก้วหูอักเสบ ภาวะท้องร่วงท้องเสีย ซึ่งอาจเป็นอันตรายอาจส่งผลต่อชีวิตได้

                               

                              18. ไข้ต่ำๆ ตาแดง น้ำตาไหล ไอแห้งๆ นานเกิน 10 วัน หายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียง วู๊ป (whoop)  = รคไอกรน

                              โรคไอกรน เป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่า Bordetella pertussis (B. pertussis) ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจและเกิดอาการไอ ที่มีลักษณะพิเศษคือ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้งหรือมากกว่านั้นจนเด็กหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอ และมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียงวู๊ป (Whooping cough) สลับกันไปกับการไอเป็นชุดๆ จึงมีชื่อเรียกว่า “โรคไอกรน” บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน

                              อาการของโรคแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

                              1)  ระยะแรกเด็กจะเริ่มมีอาการ มีน้ำมูก และไอ เหมือนอาการเริ่มแรกของโรคหวัดธรรมดาอาจมีไข้ต่ำๆ ตาแดง น้ำตาไหล ระยะนี้เรียกว่า Catarrhal stage จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ระยะนี้ส่วนใหญ่ยังวินิจฉัยโรคไอกรนไม่ได้ แต่มีข้อสังเกตว่าไอนานเกิน 10 วัน เป็นแบบไอแห้งๆ

                              2)Paroxysmal stage ระยะนี้มีอาการไอเป็นชุดๆ เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ไม่มีเสมหะจะเริ่มมีลักษณะของไอกรน คือ มี อาการไอถี่ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้งตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียง วู๊ป (whoop) ซึ่งเป็นเสียงการดูดลมเข้าอย่างแรง ในช่วงที่ไอผู้ป่วยจะมีหน้าตาแดง น้ำมูกน้ำตาไหล ตาถลน ลิ้นจุกปาก เส้นเลือดที่คอโป่งพองการไอเป็นกลไกที่จะขับเสมหะที่เหนียวข้นในทางเดินหายใจออกมาผู้ป่วยจึงจะไอติดต่อกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถขับเสมหะที่เหนียวออกมาได้บางครั้งเด็กอาจจะมีหน้าเขียว เพราะหายใจไม่ทันโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ อายุน้อยกว่า 6 เดือน จะพบอาการหน้าเขียวได้บ่อย และบางครั้งมีการหยุดหายใจร่วมด้วยอาการหน้าเขียวอาจจะเกิดจากเสมหะอุดทางเดินหายใจได้ส่วนใหญ่เด็กเล็กมักจะมีอาการอาเจียนตามหลังการไอเป็นชุดๆ ระยะไอเป็นชุดๆนี้จะเป็นอยู่นาน 2-4 สัปดาห์ หรืออาจนานกว่านี้ได้

                              3) ระยะ ฟื้นตัว (Convalescent stage) กินเวลา 2-3 สัปดาห์ อาการไอเป็นชุดๆ จะค่อยๆลดลงทั้งความรุนแรงของการไอและจำนวนครั้ง แต่จะยังมีอาการไอหลายสัปดาห์ระยะของโรคทั้งหมดถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์

                              สำหรับโรคไอกรน หากเกิดในผู้ใหญ่ไม่มีความรุนแรง สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ไม่มีไข้ มีเพียงอาการไอเท่านั้น แต่ถ้าหากโรคไอกรนเกิดกับเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ที่พบบ่อยคือไอหนักจนตัวเขียวหรือไอจนหยุดหายใจ ทำให้สมองขาดออกซิเจน และอาจเสียชีวิตได้ ส่วนอาการชักสามารถพบได้เช่นกันแต่พบไม่บ่อยนัก

                              ลูกไม่สบาย

                              19. มีไข้อาการซึม ไข้สูง หงอย ดูเหมือนป่วย = โรคไอพีดี IPD

                              โรคไอพีดี (Invasive Pneumococcal Disease, IPD) คือ โรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “นิวโมคอคคัส” (Streptococcal Pneumoniae)  เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงในเด็ก ซึ่งสามารถติดต่อสู่กันได้ผ่านการไอหรือจามเหมือนกับการแพร่เชื้อไข้หวัดธรรมดา แต่ผู้ป่วยจะมีอาการร้ายแรงกว่าไข้หวัดมาก อาการแสดงของโรคได้ 3 แบบ คือ

                              1. การติดเชื้อแบบรุนแรง ลุกลาม แพร่กระจาย (IPD) ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง
                              2. การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ ปอดอักเสบ และการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนล่างตั้งแต่กล่องเสียงลงไป
                              3. การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ คออักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ

                              เชื้อชนิดนี้ พบเป็นพาหะอยู่ที่โพรงจมูกและคอ ในเด็กทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ เชื้อชนิดนี้ นอกจากก่อโรคในเด็กแล้วยังทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงได้ในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี

                              อาการของการติดเชื้อนิวโมคอคคัส

                              โรคติดเชื้อ IPD จะมีอาการไข้เหมือนกับโรคติดเชื้อทั่วไป แต่ถ้าการติดเชื้อรุนแรงลุกลาม ทำให้เกิดการติดเชื้อได้หลายแบบขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อ คือ

                              การติดเชื้อในระบบประสาท ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ซึม อาเจียน คอแข็ง ส่วนในเด็กทารกจะมีไข้สูง ซึม ร้องกวน กระหม่อมโป่งตึง และชักได้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้ การวินิจฉัยโรคนี้ต้องมีการตรวจเพาะเชื้อ จากการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง

                                1. จากการศึกษาเด็กที่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในประเทศไทย พบเชื้อที่เป็นสาเหตุ 3 อันดับแรก คือ
                                • เชื้อฮิบ ( HIB ; Hemophilus Influenza B) 41.2%
                                • เชื้อนิวโมคอคคัส (IPD ; Invasive Pneumocaccal Disease) 22.1%
                                • เชื้อซัลโมเนลล่า (Salmonella) 14.1%

                              จะเห็นว่าเชื้อตัวนี้เป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กไทย

                                1. การติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีอาการไข้สูง ร้องกวน เชื้อสามารถกระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้ เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด อาจเกิดการช็อค และเสียชีวิตได้
                                2. การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ ปอดอักเสบ เด็กมีไข้ ไอ หอบ ถ้ารุนแรงมากอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากภาวะการหายใจล้มเหลว
                                3. การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน คือ คออักเสบ หูน้ำหนวก (หรือหูชั้นกลางอักเสบ) และไซนัสอักเสบ ถ้ารักษาไม่ถูกต้องเชื้ออาจลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงและสมองได้

                              อาการไข้ในเด็กเล็ก ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักหายได้เอง อย่างไรก็ตามควรเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพราะบางครั้งอาจไม่ใช่ไข้ธรรมดา สาเหตุหนึ่งของอาการไข้ อาจเกิดจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัส แม้พบไม่บ่อยแต่รุนแรง เพราะเชื้อจะลุกลามอย่างรวดเร็ว และหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที อาจคร่าชีวิตเด็กได้ใน 2-3 วัน

                               

                              20. มีเลือดออกตามผิวหนัง เป็นจุดเล็กๆ แดงๆ มีรอยช้ำจ้ำตามแขนขา เหมือนได้รับการกระแทกมาแล้วช้ำ = โรคเกล็ดเลือดต่ำ ITP

                              โรคเกล็ดเลือดต่ำ (Immune Thrombocytopenia in Children) Immune thrombocytopenia (ITP) เป็นโรคเลือดออกง่ายจากเกล็ดเลือดที่มีจำนวนลดลงแต่อย่างเดียว (isolated thrombocytopenia) โดยในเด็กมักเกิดตามหลังโรคติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่พบว่า ภาวะเกล็ดเลือดต่ำเกิดขึ้นภายหลังโรคติดเชื้อประมาณ 1-3 สัปดาห์ เด็กบางรายอาจมีประวัติเพิ่งไปรับการฉีดวัคซีน ส่วนน้อยอาการจะค่อยเป็นค่อยไปโดยเฉพาะในเด็กโตที่อายุมากกว่า 10 ปี จะมี แนวโน้มที่จะเป็น ITP เรื้อรัง ทั้งนี้อาการของโรคเกล็ดเลือดต่ำ คือ มีภาวะที่เกล็ดเลือดมีจำนวนน้อยกว่า 140,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร ซึ่งในคนปกติทั่วไปจะมีเกล็ดเลือดอยู่ประมาณ 140,000-400,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร และมีหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดในกระบวนการห้ามเลือดของร่างกาย แต่หากร่างกายไม่สามารถผลิตเกล็ดเลือดได้ในปริมาณที่ต้องการ หรือมีการทำลายเกล็ดเลือดเพิ่มกว่าปกติ ก็จะส่งผลต่อร่างกาย ดังนี้

                              • มีเลือดออกตามผิวหนัง เป็นจุดเล็กๆ แดงๆ
                              • มีอาการเลือดออกตามไรฟัน
                              • มีเลือดกำเดาออก
                              • มีรอยช้ำจ้ำตามแขนขา เหมือนได้รับการกระแทกมาแล้วช้ำ แต่จริงๆ แล้วไม่ได้กระแทกอะไร กล่าวคือ เมื่อกระแทกอะไรนิดหนึ่งก็เป็นรอยช้ำ

                              Must read >> แม่แชร์ประสบการณ์สังเกตให้ดี ลูกป่วย มีตุ่มแดงแปลกๆ ขึ้น
                              เสี่ยงเป็น โรค ITP เกล็ดเลือดต่ำ รักษาช้าเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต!

                              ท้งนี้เด็กที่เป็นโรค ITP จะพบได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุ 1-5 ปี พบมากกว่าช่วงอายุอื่นผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยปัญหาเลือดออกเพียงอย่างเดียว อาการเลือดออกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (acute onset) ได้แก่ อาการจ้ำเขียวหรือจุดเลือดออกทางผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ พบได้เกือบร้อยละ 100 เลือดกำเดาออกพบ ประมาณร้อยละ 25 บางรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจมีเลือดออกในสมองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตได้นั้นพบประมาณไม่ถึงร้อยละ 1 ขณะที่มาพบแพทย์ไม่มีอาการร่วมอื่นๆ เช่น ไข้ ปวดข้อ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด

                              แม้ว่าโรคเกล็ดเลือดต่ำ จะเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้น หากพบว่ามีความผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้นกับร่างกาย จึงควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาต่อไป

                              อย่างไรก็ตามคำแนะนำจากทั้งอาการของโรคเด็กทั้ง 20 โรคข้างต้นนี้ไม่สามารถแทนการตรวจจากแพทย์โดยตรงได้ เนื่องจากการวินิจฉัยอาการของโรคต่างๆที่ ลูกไม่สบาย ต้องอาศัยการซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดด้วย เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยโรคและการรักษาที่ถูกต้องมากที่สุด

                              ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :

                                อาการสำลักเข้าปอด

                                อาการสำลักเข้าปอด ทารกสำลักนม อันตรายถึงชีวิต

                                อาการสำลักเข้าปอด อันตรายหากทารกสำลักนม แม่จะรู้ได้อย่างไร และมีวิธีไหนป้องกันได้บ้าง

                                ป้อนนมลูกต้องระวัง! อาการสำลักเข้าปอด

                                แม่ป้อนนมลูกทั้งหลาย ควรระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะอาการสำลักนมของทารกเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ แต่ถ้าลูกสำลักจนเข้าปอดจะเพิ่มความเสี่ยงอันตรายต่อตัวทารก โดยคุณแม่ท่านหนึ่งได้โพสต์ฝากเรื่องทารกสำลักนมไว้เป็นอุทาหรณ์ว่า ฝากไว้เป็นอุทาหรณ์คุณแม่มือใหม่นะคะ ตอนแรกเกิดน้องน้ำหนัก 2.6 กิโลกรัม วันนี้น้องมีอายุ 26 วัน มีอาการเสียงครืดคราด แม่คิดว่าคงมีน้ำมูกอยู่ในจมูกน้องเลยพาไปหาหมอ เมื่อชั่งแล้วลูกน้ำหนัก 3.4 กิโลกรัมค่ะ แม่ตกใจมาก หมอบอกว่าแม่ให้นมเยอะเกินไป จนน้ำนมเข้าไปอยู่ในปอดลูกเยอะต้องดูดออก ตอนดูดแม่ใจจะขาดเลยค่ะ น้องร้องดังมาก เลยอยากเตือนแม่ท่านอื่นค่ะว่า ที่ลูกร้องอาจจะไม่ใช่หิวเสมอไปค่ะ **เพิ่มเติมนะคะ น้องสำลักและอ้วกด้วยค่ะ นมเลยเข้าปอด

                                คุณแม่เล่าเพิ่มเติมว่า ลูกคนนี้เป็นลูกคนแรก แม่จึงยังไม่มีประสบการณ์ ซึ่งปกติแล้ว ทารกจะต้องกินนมทุก 3 ชั่วโมง โดยคุณแม่จะจับเข้าเต้าข้างละ 15 นาที เมื่อน้องกินนมแม่ครบแล้ว จะให้คุณพ่อสลับอุ้มน้องกับคุณยาย

                                “เมื่อน้องร้องเค้าก็คิดว่าน้องจะกินอีก พอกินแล้วล้น น้องจึงอาเจียนออกมาเยอะมาก เค้าก็ยังคิดว่าน้องอาเจียนมาหมดแล้วน้องต้องหิวอีก ให้แม่ยัดนมให้น้องอีกค่ะ และน้องสำลักบ่อยด้วยค่ะ”

                                จากนั้น 3-4 วัน แม่สังเกตว่า ลูกน้อยมีเสียงครืดคราด หายใจเสียงดังลูกกินเยอะ อย่าดีใจ ป้อนไม่ยั้ง เสี่ยงปอดติดเชื้อ กระเพาะพัง จึงตัดสินใจพาไปพบคุณหมอ ตอนนั้นแม่ทั้งเครียดทั้งสงสารลูกมาก ๆ พอคุณหมอดูดนมออกจึงให้ยา แล้วให้กลับบ้าน คุณหมอแจ้งว่า หลังจากนี้ให้แม่จำกัดการให้ลูกกินนมค่ะ แบ่งกินเป็นมื้อ ๆ

                                “ลูกร้องยังพึ่งยัดนมให้ลูกค่ะ น้องไม่ได้หิวเสมอไป พาอุ้มเดิน เปลี่ยนผ้าอ้อม ไม่ก็น้องอาจจะร้อนหรือหนาวก็ได้ค่ะ” คุณแม่ทิ้งท้าย

                                ปัจจุบันอาการของน้องดีขึ้นมาก ร่างกายแข็งแรงขึ้นแล้ว คุณแม่ก็คอยบีบนมใส่ขวดให้น้องกินครั้งละ 2 ออนซ์ แล้วก็คอยสังเกตอาการน้องอยู่เสมอ เวลาลูกร้องก็พาอุ้มและคอยดูว่าลูกร้องเพราะอะไร

                                ถึงแม้ว่าน้ำนมแม่จะมากด้วยคุณประโยชน์และเปี่ยมไปด้วยสารอาหาร แต่ก็ต้องให้ลูกกินในปริมาณที่เหมาะสม ขนาดกำลังพอดีกับกระเพาะน้อย ๆ ของเจ้าตัวน้อย

                                อาการสำลักเข้าปอด
                                อาการสำลักเข้าปอด

                                ขนาดกระเพาะทารกแค่นี้ กินอย่างไรให้พอดี

                                ทารกแรกเกิดมักจะหิวนมและตื่นมาร้องอุแว๊ อุแว๊ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพราะกระเพาะทารกมีขนาดเล็ก ทำให้ลูกตื่นมากินนมบ่อย ๆ หากต้องการรู้ว่าลูกกินนมแม่เพียงพอแล้วหรือยัง คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ชื่อดัง แนะนำให้สังเกตจำนวนครั้งปัสสาวะ ควรอยู่ราว ๆ 6 ครั้งต่อวัน ส่วนอุจจาระ 2 ครั้งต่อวัน

                                วันแรกหลังคลอด กระเพาะของลูกจะมีขนาดความจุนมได้เพียง 5-7 มล. หรือ 1/6 ถึง 1/4 ออนซ์ ส่วนวันที่ 3 จะรับได้ 22-27 มล. หรือ 3/7 ถึง 1 ออนซ์ ถ้า 7 วัน จะรับนมได้ราว ๆ 1.5 – 2 ออนซ์ แต่ถ้าครบ 30 วัน กระเพาะของเจ้าตัวน้อยจะขนาดพอ ๆ กับไข่ไก่ ต้องการน้ำนมแม่ 2.5 – 5 ออนซ์

                                ทําไมลูกถึงแหวะบ่อย อาการแหวะนม สำรอกนม

                                พญ.อรรัตน์ น้อยเพิ่ม กุมารแพทย์ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ อธิบายถึงกรณีทารกแรกเกิดแหวะนมไว้ว่า 4 เดือนแรก ทารกจะแหวะนมได้ เพราะกินนมในปริมาณมากแต่ความจุของกระเพาะยังน้อย กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารยังทำงานได้ไม่เต็มที่ แต่สิ่งสำคัญคือ ท่าให้นมทารก ถ้าทารกอยู่ในท่านอนหงาย ก็จะยิ่งทำให้เกิดการแหวะนมได้ อาจมีอาเจียนร่วมด้วย แต่มักจะหายได้เองตอนอายุ 12 – 18 เดือน

                                ส่วนสิ่งที่ต้องระวัง เมื่อทารกแหวะนมคือ โรคกรดไหลย้อนในทารก เพราะของเหลวในกระเพาะอาหารจะขึ้นมาในหลอดอาหารก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบต่าง ๆ เช่น ทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ทำให้ทารกไม่สบายได้

                                อาการสำลักเข้าปอด
                                อาการสำลักเข้าปอด

                                อาการแหวะนมของทารก

                                • ทารกร้องไห้ งอแง
                                • ไม่ยอมกินนม
                                • หยุดดูดนมทั้งที่หิว
                                • แหวะหรืออาเจียนมีน้ำดีหรือเลือดปน
                                • ภาวะแทรกซ้อนในทางเดินหายใจ เช่น ไอ สำลัก หายใจหอบ
                                • เด็กบางคนอาจไอรุนแรงจนหน้าเปลี่ยนสี

                                ถ้าทารกมีอาการแหวะนมมาก ๆ จะเกิดภาวะกรดไหลย้อน น้ำหนักตัวก็จะไม่ขึ้นอีกด้วย

                                อันตรายจากการสำลักนม

                                อาการสำลักนมของทารกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ก็จริง แต่สำหรับทารกบางคนนั้น อาการสำลักนมอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ เช่นเดียวกับข่าวคราว ทารกสำลักนมเสียชีวิตที่พบเห็นกันได้บ่อย ๆ เช่น กรณีของทารกวัย 1 เดือนที่สำลักนมจนเสียชีวิต นพ.สมคิด วงศ์ศิริอำนวย แพทย์ที่ทำการชันสูตรศพทารก โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ อธิบายว่า การเสียชีวิตของทารกรายนี้สันนิษฐานว่า เกิดจากการสำลักนม เพราะหลังจากที่แม่ให้นมลูก แม่ให้เด็กนอนทันทีโดยไม่ได้อุ้มเรอ ก่อนหน้านี้ เด็กก็มีอาการนอนกรนและนอนอ้าปาก ส่วนแม่ให้เด็กนอนหงาย ซึ่งเป็นวิธีเลี้ยงที่ไม่ถูกต้อง อยากฝากแม่ ๆ ด้วยว่า หลังการให้นมลูก จะต้องจับเรอเพื่อป้องกันการสำลักนม หากเด็กมีอาการนอนกรนต้องให้เด็กนอนตะแคง ถ้าเด็กอ้าปากในขณะนอน ควรรีบมาพบแพทย์โดยด่วน

                                วิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักเวลาแหวะนม

                                มูลนิธิศูนย์นมแม่ อธิบายว่า หลังให้นมลูกควรจับลูกเรอด้วยการจับให้เรอในท่าตั้งขึ้น จับตั้งในท่านั่งหรืออุ้มพาดบ่า ลมซึ่งอยู่สูงกว่านมในท้องก็จะออกมา ถ้าไม่ไล่ลมหรือไล่ลมได้ไม่หมด ตอนนอนลูกก็จะเรอและแหวะนม ถ้าเด็กดูดนมเร็วหรือดูดนมนานก็จะได้ลมเข้าไปเยอะ ต้องหมั่นไล่ลมออกเป็นพัก ๆ ครึ่งทางระหว่างให้ลูกกินนม หรือไล่ลมช่วงเปลี่ยนข้าง นอกจากนี้ เวลานอนอาจให้ศีรษะอยู่สูง จับตะแคงขวาสักครึ่งชั่วโมงนมก็จะไหลย้อนยาก ส่วนวิธีที่จะป้องกันไม่ให้ลูกสำลัก

                                1. อย่าจับลูกตั้งขึ้น
                                2. จับลูกวางนอนตะแคง ศีรษะอยู่ในระดับเดียวกับลำตัวหรือต่ำกว่าเล็กน้อย
                                3. วิธีนี้จะทำให้น้ำนมไหลออกมาข้างนอก ไม่สำลักเข้าหลอดลมและปอด
                                4. ถ้าน้ำนมค้างในรูจมูกให้เช็ดออกเพื่อป้องกันการสำลักนม

                                เพื่อป้องกันทารกสำลักนมเข้าปอด หรือเข้าหลอดลม คุณแม่ควรจัดท่าให้ลูกกินนมอย่างถูกต้อง แล้วจับเรอทุกครั้งหลังให้นมลูก แต่ถ้าลูกมีอาการผิดปกติ หายใจเสียงดัง ไอรุนแรง อาเจียนมีสีแปลก ๆ กลิ่นเหม็นมาก ให้รีบพาลูกมาพบแพทย์

                                อ้างอิงข้อมูล : thaibf.com, vichaiyut และ facebook.com/SuthiRaXeuxPhirocnKic

                                 

                                เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

                                 

                                อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

                                วิจัยใหม่จากต่างประเทศพบ!! ไมโครพลาสติก รั่วจากขวดนม เพราะต้มก่อนใช้

                                เทคนิค 5 ดูดให้ทารก ดูดนม จากเต้าได้ดี ลูกแข็งแรง แม่น้ำนมเยอะ

                                อย่าให้ลูกดูดขวด! ถ้ายังไม่รู้ ภาวะสับสนหัวนม

                                  น้ำต้ม หอมแดง แก้หวัด

                                  เปิดสูตรลับ!!น้ำต้ม หอมแดง บรรเทาหวัดและข้อควรระวัง

                                  หอมแดง พืชสมุนไพรที่มีติดบ้านทุกครัวเรือน วันนี้เราจะมาเปิดสูตรเด็ด เคล็ดลับ น้ำต้มหอมแดง ช่วยลูกน้อยบรรเทาหวัด คัดจมูกที่ได้ผลชะงักจากรุ่นสู่รุ่น

                                  เปิดสูตรลับ!!น้ำต้ม หอมแดง บรรเทาหวัดและข้อควรระวัง

                                  ตอนเด็ก ๆ ใครเคยถูกจับใส่กะละมังรายล้อมด้วยใบไม้ สมุนไพรลอยเต็มอ่างยกมือขึ้น ขอยอมรับตามตรงว่า เป็นคนหนึ่งที่ตอนเด็กโตมากับประสบการณ์เหล่านี้ นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านจากรุ่นสู่รุ่น ที่ต้องยอมรับว่าภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนก็ใช่ว่าจะล้าสมัยไปเสียทุกเรื่องทีเดียว กับสมุนไพรใกล้ตัว ที่ทุกบ้านมีติดครัวกัน และราคาไม่แพง หากนำมาใช้ในคราวจำเป็นอย่างสูตรลับโบราณนี้ น้ำต้มหอมแดง ที่เอาไว้ใช้ช่วยบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก มีน้ำมูกของลูกเล็กเด็กแดง ก็ช่วยได้มากที่เดียว ดูได้จากประสบการณ์ของผู้ที่เคยได้ลอง จะเห็นว่าต่างพูดเป็นเสียเดียวกันว่า…ได้ผล!!

                                  "ลูกเป็นหวัด

                                  สำหรับแม่คนไหนที่ยังไม่ทราบเกี่ยวกับสูตรลับช่วยบรรเทาอาการหวัดนี้ ไม่ต้องกังวลไปวันนี้ ทีมแม่ ABK ขอเป็นตัวแทนสืบสานภูมิปัญญาชาวบ้านนี้ ให้ยังคงดำรงอยู่ สืบทอดจากรุ่นก่อนมาสู่รุ่นเรา แม้จะเข้าสู่ยุคดิจิตอลแล้วก็ตาม แต่ความรู้ดี ๆ บางอย่างเราก็สามารถเรียนรู้ และลองนำมาหาเหตุผลด้วยคำตอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มความม้่นใจ และช่วยพิสูจน์เพื่อที่จะเก็บรักษาความรู้ดี ๆ ไว้ใช้ให้ลูกหลานต่อไป

                                  สูตรลับที่ไม่อยากให้ลับ “น้ำต้มหอมแดง”

                                  ว่าด้วยเรื่องสูตรน้ำต้มหอมแดงนั้น ไม่ได้มีระบุไว้เป็นหลักการที่ชัดเจนตายตัว อาจมีผิดแผกแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละสูตรที่มา เราพอจะจำแนกแยกสูตรน้ำต้มหอมแดงได้เป็น 2 สูตร ดังนี้

                                  สูตรน้ำต้มหอมแดงสมุนไพร

                                  ส่วนประกอบ

                                  1. หอมแดง
                                  2. ใบมะขาม
                                  3. น้ำเปล่าสะอาด

                                  วิธีทำ

                                  นำใบมะขามและหัวหอมแดงมาล้างทำความสะอาด แล้วต้มใบมะขามและทุบหัวหอมแดงใส่ลงไปด้วย ในปริมาณที่พอเหมาะอย่าให้มากเกินไป เพราะจะทำให้ลูกจะรู้สึกแสบร้อน รอจนน้ำเดือด หรือพออุ่นๆ แล้วจึงปิดไฟ หลังจากนั้นก็ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นพอที่ลูกจะอาบได้ แล้วจึงนำมาอาบให้ลูก หลังจากอาบน้ำเสร็จแล้วก็เช็ดตัวให้ลูกเหมือนปกติ อาจกรองเอาใบมะขาม และหอมแดงออกก่อนก็ใช้ได้เช่นกัน
                                   สูตรน้ำต้มหอมแดง ลดน้ำมูก
                                  ส่วนประกอบ
                                  1. หอมแดง 1 กำมือ
                                  2. น้ำเปล่าสะอาด

                                  วิธีทำ

                                  นำหอมแดงมาแกะเปลือกชั้นนอกออก ล้างทำความสะอาด นำไปต้มในน้ำสะอาดจนเดือดประมาณ 5 นาที แล้วนำไปผสมในน้ำที่ใช้อาบโดยจะกรองหัวหอมออกหรือไม่ก็ตามสะดวก

                                  อ่านต่อ วิธีอาบน้ำให้ลูกน้อย สำหรับพ่อแม่มือใหม่

                                  "อาบน้ำต้ม

                                  สรรพคุณของน้ำต้มหอมแดง

                                  น้ำต้มหอมแดง ว่ากันว่าช่วยบรรเทาอาการหวัด แต่ถ้าจะลงรายละเอียดกันจริง ๆ แล้ว เราคงต้องมาดูถึงพระเอกของเรา นั่นคือ หอมแดง นั่นเองว่ามีสรรพคุณในตัวเองอย่างไรบ้าง มีส่วนประกอบใดที่ช่วยในการบรรเทาอาการหวัด คัดจมูกกันนะ

                                  หอมแดง (Shallot) เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำส่วนหัวมาใช้ในการประกอบอาหาร จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ สามารถหาซื้อได้อย่างสะดวกตามตลาดในประเทศไทย ส่วนมากมักปลูกหอมแดงทางภาคอีสาน จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเมื่อปลูก 1 หัว จะสามารถเจริญเติบโต และแตกแยกออกมาเป็นหัวใหม่ ๆ อีกประมาณ 2-10 หัวต่อกอกันเลยทีเดียว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีปลูก การดูแล และสภาพแวดล้อมรอบข้าง โดยพืชสมุนไพรชนิดนี้มีสารอัลลิซิน (Allicin) และเอน-โพรพิลไดซันไฟด์ (N-propyl disulphide) ที่ทำให้มีกลิ่นฉุน อันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ไม่เหมือนใคร แต่กลับมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย

                                  สารสำคัญมากประโยชน์ในหอมแดง

                                  1. น้ำมันหอมระเหย

                                  ในหอมแดงประกอบด้วยสารเคมีสำคัญมากมาย ซึ่งส่วนมาก สารเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบของ “น้ำมันหอมระเหย (Coumarins)” ซึ่งจะอยู่ในส่วนของหัวหอมแดง เป็นสารที่ทำให้หอมแดงมีรสชาติออกขมปนเผ็ดร้อน มีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และต้านอนุมูลอิสระ

                                  2. สารที่ทำให้เกิดกลิ่น

                                  โดยสารดังกล่าว ก็คือ สารโพรพิลไดซันไฟด์ (Propyl Disulfide) ซึ่งสารชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดปริมาณไขมันในร่างกาย ส่วนสารที่ช่วยลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลงได้ คือ โพรพิล-อัลลิลไดซันไฟด์ (Propyl-allyl Disulfide) และไดโพรพิลไดซันไฟด์ (Dipropyl Disulfide)

                                  "<yoastmark

                                  3. สารที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

                                  สารชนิดนี้มีชื่อว่า สารอัลลิซิน (Allicin) ซึ่งโดยปกติแล้ว สารนี้จะไม่มีอยู่ในหัวหอม แต่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อหัวหอมถูกทุบ หรือทำให้แตก ภายใน สารอัลลิซินจะมีเอนไซม์ชื่อว่า “อัลลิเนส (Alliinase)” ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดกระบวนการทางธรรมชาติ ส่งผลให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้

                                  4. สารต้านอนุมูลอิสระ

                                  หรือเรียกได้ในชื่อ สารเควอซิทิน (Quercetin) ที่สกัดได้จากหอมแดงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

                                  สารต่าง ๆ เหล่านี้ในหอมแดง เป็นน้ำมันหอมระเหย ที่ช่วยรักษาอาการหวัดแบบไม่มีไข้ได้เป็นอย่างดี โดยการให้ลูกอาบน้ำต้มหอมแดงนี้ก็ใช้หลักการเดียวกันกับ อโรมาเธอราพี โดยหลักการนี้เป็นอย่างไรนั้น เราลองมาฟังคำอธิบายจาก รองศาสตราจารย์ ดร. อ้อมบุญ วัลลิสุต
                                  ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                                  อโรมาเธอราพี (Aromatherapy) หรือ สุคนธบำบัด คือ ศาสตร์ในการใช้น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการสกัดพืชหอม (ขอย้ำว่าต้องเป็นน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการสกัดจากพืชเท่านั้น) เพื่อการบำบัดรักษาหลายอาการ ตั้งแต่ อาการติดเชื้อต่างๆ โรคผิวหนัง ไปจนถึงภูมิคุ้มกันบกพร่องและความเครียด มีการใช้น้ำมันหอมระเหยในยุโรปมากว่าร้อยปี และมีการใช้ในการแพทย์ตะวันออกมานานกว่าพันปี แต่ในประเทศฝรั่งเศสมีการ ใช้สุคนธบำบัดทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ และมีการวิจัยกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกในทุกๆ ด้าน ส่วนสหรัฐอเมริกานิยมใช้สุคนธบำบัดร่วมกับการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ในการรักษาโรคต่างๆ

                                  ในประเทศไทยก็มีการใช้แบบพื้นบ้านเช่น การเข้ากระโจมแก้หวัด ผู้เขียนจำได้ว่าตอนเป็นเด็กเล็กเมื่อเป็นหวัดคุณแม่จะให้นั่งอยู่หน้ากาละมังเคลือบที่มีสมุนไพรเปราะหอม หอมแดง ใบมะขาม และเทน้ำเดือดลงไปพร้อมกับเอาผ้าเช็ดตัวคลุมโปงครอบไว้ทั้งตัว ไอหอมระเหยเข้าจมูกเข้าไปบำบัดอาการหวัด สักพักเมื่อน้ำพออุ่นๆ คุณแม่ก็จะเอาน้ำนั้นรดศีรษะไล่หวัดอีกรอบ เป็นอันว่าไปโรงเรียนได้ อดหยุดอยู่กับบ้าน

                                  ผลต่อร่างกาย (Physiological Effects) ของน้ำมันหอมระเหย เกิดเมื่อโมเลกุลเล็กๆ นับร้อยเหล่านี้ไปถึงสมองส่วนลิมบิค (limbic system) ซึ่งควบคุมอารมณ์และความรู้สึกโดยจะมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์และความจำ และเนื่องจากสมองส่วนนี้เชื่อมต่อโดยตรงกับสมองที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดัน การหายใจ ความจำ ระดับความเครียด สมดุลย์ฮอร์โมน ดังนั้นการสูดดมน้ำมันหอมระเหยจึงเป็นวิธีที่ให้ผลทางร่างกายและระบบประสาทที่เร็วที่สุดทางหนึ่ง เพราะหลังจากการสูดดมน้ำมันหอมระเหยจะเข้าสู่กระแสเลือดโดยทางเนื้อเยื่อของปอด และจากระบบประสาทรับกลิ่นจะไปมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ เช่น สมองส่วนคอร์เท็กซ์ มีผลต่อการเรียนรู้ (intellectual process) ต่อมพิทิวทอรี (pituitary gland) ซึ่งควบคุมระบบฮอร์โมนทั้งหมด รวมทั้งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต และสมองส่วนไฮโปธาลามัสซึ่งควบคุมความโกรธและความรุนแรง

                                  อ้างอิงบทความจาก บทความเรื่อง อโรมาเธอราพี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                                  "<yoastmark

                                  จากบทความของคุณหมอข้างต้นก็สามารถทำให้พ่อแม่สบายใจกันได้ หากต้องการใช้วิธีการบรรเทาอาการหวัด ด้วยวิธีน้ำต้มหอมแดงนี้ หรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่บ้านนำเอาภูมิปัญญาโบร่ำโบราณมาใช้ก็อย่าพึ่งกังวลใจกันไป แต่ถึงอย่างไรการใช้สมุนไพรก็มีข้อควรระวังอยู่เหมือนกัน ทั้งในแง่ของวิธีการที่บางบ้านอาจใช้ปริมาณ หรือขั้นตอนบางอย่างไม่ถูกต้อง ดังนั้นเราจึงควรเพิ่มความระมัดระวังหากต้องการใช้วิธีการนี้

                                  ข้อควรระวังในการใช้น้ำต้มหอมแดงอาบน้ำลูก

                                  1. ในหอมแดงยังมีองค์ประกอบจากกำมะถัน ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองตา เวลาหั่นจึงทำให้แสบตาน้ำตาไหล ทำให้แสบจมูก และอาจระคายเคืองต่อผิวหนัง หรือก่อให้เกิดพิษบนผิวหนังได้ ส่งผลทำให้เป็นผื่นคันและปวดแสบปวดร้อน จึงควรหลีกเลี่ยงการทาบริเวณผิวที่บอบบาง
                                  2. หลายครอบครัวก็ให้อาบตั้งแต่ลูกยังมีอายุได้ไม่กี่เดือน แต่โดยส่วนมากแล้ว ถ้าเด็กเล็กมากก็จะไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ เพราะร่างกายของเด็กเล็ก ๆ ยังบอบบางอยู่ และลูกอาจเกิดอาการแพ้สารบางอย่างในหัวหอมแดงได้
                                  3. ควรระมัดระวังปริมาณของหอมแดง และใบมะขามที่ใช้ไม่ควรมากเกินไป เพราะอาจทำให้สารหอมระเหยที่มีมีปริมาณมากเกินจนทำให้เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
                                  4. หลังอาบน้ำต้มหอมแดงแล้ว ควรอาบน้ำ หรือเช็ดตัวลูกด้วยน้ำเปล่าสะอาดอีกครั้งหนึ่ง ลดความเสี่ยงการเกิดการระคายเคือง
                                  5. ดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้ลูกเล่นน้ำเพียงลำพัง เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้นได้
                                  6. หากอาการหวัดลูกไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบแพทย์
                                  อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ต้านหวัด
                                  อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ต้านหวัด

                                  นอกจากวิธีการบรรเทาอาการหวัด ที่วันนี้เราได้นำมาฝากกันแล้ว ยังมีวิธีการช่วยให้ลูกน้อยห่างไกลจากหวัด และอาการอันไม่พึงประสงค์ที่สร้างความทรมานให้แก่ลูก ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่เกิดความกลุ้มใจ อีกหลากหลายวิธี หนึ่งในนั้น คือ การดูแลป้องกันลูกให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อโรค ซึ่งเป็นหนทางที่ดีที่ช่วยมิให้ลูกต้องมาทรมานจากอาการหวัด เช่น การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีฤทธิ์ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นต้น เพราะสุขใดจะเท่า การที่พ่อแม่อย่างเราได้เห็นลูกน้อยร่าเริง สดใส ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยกัน

                                  อ่านต่อ อาหารแก้หวัด 13 ชนิด เพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ลูกน้อย

                                  อ่านต่อ อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วยผักผลไม้ 5 สี

                                  ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก postsod/hd.co.th/คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                                  อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

                                  อาบน้ำต้มใบมะขาม สูตรโบราณจากคุณยาย

                                  รู้เท่าทัน ! 5 โรคที่เด็กๆ ป่วยกันมากในหน้าฝน

                                  พ่อแม่ควรระวัง! 5 โรคที่มาพร้อมจูบ

                                  วิธีสังเกต ลูกเป็นหวัด เพราะเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

                                  เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

                                    ลูกนอนกรน หายใจเสียงดัง

                                    ลูกนอนกรน หายใจเสียงดัง เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

                                    หนึ่งในสัญญาณของโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก ๆ ก็คือ การนอนกรน ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายที่พ่อแม่ไม่ควรชะล่าใจ ลูกนอนกรน หายใจเสียงดัง

                                    สังเกตลูกให้ดี ลูกนอนกรน หายใจเสียงดัง ควรรีบพาไปพบหมอ

                                    อาการนอนกรนในเด็กเป็นสัญญาณสำคัญของร่างกาย ที่พ่อแม่ไม่ควรชะล่าใจ โดยเฉพาะถ้าเกิดร่วมกับภาวะการหายใจที่ลดลง หรือหยุดหายใจในขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea Syndrome) จากคลิปคุณแม่ต้นหอม ศกุนตลา ได้โพสต์น้องปกป้องในวัยเกือบ 2 ขวบ กำลังนอนหลับอย่างน่าเอ็นดู แต่กลับมีเสียงกรน จนทำให้หลายคนเป็นห่วงและคอมเมนท์ให้คุณแม่รีบพาน้องปกป้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด

                                    ลูกนอนกรน หายใจเสียงดัง
                                    ลูกนอนกรน หายใจเสียงดัง

                                    เครดิตภาพ : instagram.com/djtonhorm

                                    สำหรับการนอนกรนในเด็กเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ และควรพาลูกไปพบแพทย์ เพราะมีอันตรายมากกว่าที่คิด

                                    ลูกนอนกรนอันตรายแค่ไหน

                                    การนอนกรนในเด็กจะอันตรายเมื่อเกิดร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea Syndrome :OSAS) โดยมีอาการหลัก ๆ ได้แก่

                                    อาการอื่น ๆ ที่มักมีร่วมด้วย

                                    ส่วนอาการอื่น ๆ ที่สะท้อนว่าที่ลูกกรนนั้นเสี่ยงจะมีอาการรุนแรง ได้แก่ การนอนหลับในท่าทางที่ผิดปกติ กรนทุกวัน กรนเสียงดัง ตอนนั้นลูกอาจหยุดหายใจขณะหลับเป็นช่วง ๆ ปลุกตื่นยากหลังตื่นนอน เพลียและอยากนอนเสมอ อาจมีผลด้านอารมณ์หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย หากลูกอยู่ในวัยที่เข้าเรียนแล้วก็จะนอนหลับด้วยความอ่อนเพลียในคาบเรียน หรือมีอาการปวดศีรษะระหว่างวัน หลังตื่นนอน หากลูกบ่นว่าปวดหัวบ่อย ๆ ร่วมกับอาการอื่นเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์

                                    ผลกระทบการนอนกรนต่อร่างกายของเด็ก

                                    หากลูกมีอาการนอนกรนร่วมกับภาวะนี้ อาจทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง นอนกระสับกระส่าย ตื่นบ่อย ๆ คุณภาพการนอนลดลง ส่งผลต่อการใช้ชีวิต ทำให้ลูกอ่อนเพลีย พัฒนาการเด็กไม่เหมาะสมกับวัย

                                    ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้จะทำให้เด็กมีอันตรายถึงขั้นเกิดภาวะหัวใจทำงานล้มเหลวได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง ทำให้มีสติปัญญาต่ำ ระดับการเรียนรู้ต่ำลง ร่วมกับสมาธิสั้น

                                    ด้วยอาการที่คล้ายกับโรคสมาธิสั้น (ADHD) เช่น เด็กจะซนกว่าปกติ หงุดหงิดโมโหง่าย ถ้าไม่ได้สังเกตเรื่องการนอนกรน อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นโรคสมาธิสั้นได้ พ่อแม่จึงต้องสังเกตการนอนของลูก ดูพฤติกรรมของลูก ควบคู่กันไปเพื่อนำอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไปปรึกษาคุณหมอ จะได้รักษาอย่างถูกโรคและทันท่วงที

                                    ลูกนอนกรน หายใจเสียงดัง
                                    ลูกนอนกรน หายใจเสียงดัง

                                    หายใจเสียงดัง สัญญาณอันตราย

                                    Obstructive Sleep Apnea Syndrome (OSAS) เกิดจากทางเดินหายใจที่มีการอุดกั้นบางส่วน หรืออุดกั้นอย่างสมบูรณ์ อาการเกิดได้เป็นพัก ๆ จึงรบกวนต่อระบบการระบายลมหายใจ และระบบการนอนหลับ

                                    ความเสี่ยงของลูกนอนกรนที่พบภาวะ OSAS

                                    1. เด็กมีต่อมทอนซิลโต หรือมีต่อมอดีนอยด์โต และอาจจะโตได้ทั้ง 2 ต่อม
                                    2. โรคอ้วน หรือเด็กมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
                                    3. โรคปอดเรื้อรัง
                                    4. โครงสร้างของระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น กรามเล็ก และขนาดทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ
                                    5. มีความผิดปกติของสมอง ทำให้การคุมการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น Cerebral Palsy
                                    6. กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากสาเหตุต่าง ๆ
                                    7. พบความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม

                                    วิธีรักษาลูกนอนกรน

                                    • แพทย์อาจตัดต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิล ในกรณีที่เด็กมีต่อมอะดีนอยด์โตและต่อมทอนซิลโต เพื่อรักษาการอุดตันของทางเดินหายใจในขณะหลับ ช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้ถึง 75-100%
                                    • หากไม่สามารถผ่าตัดได้ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อป้องกันการอุดตันของทางเดินหายใจในขณะหลับ
                                    • บางรายอาจทำการรักษาด้วยการผ่าตัดแก้ความผิดปกติของโครงสร้างของทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบกว่าปกติ
                                    • ในเด็กที่มีอาการภูมิแพ้หรือมีน้ำหนักตัวมาก แพทย์จะรักษาอาการของโรคเหล่านี้ร่วมด้วย

                                    การนอนกรนในเด็กไม่ใช่เรื่องเล็ก หากเข้ารับการรักษาช้า ลูกอาจมีพัฒนาการที่ล่าช้า หรือมีสมาธิสั้นได้ หากลูกนอนกรน หรือหายใจเสียงดัง พ่อแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์

                                    อ้างอิงข้อมูล : gj.mahidol.ac.th , vitalsleepclinic.com และ sleepcenterchula.org

                                     

                                    เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

                                     

                                    อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

                                    สุดยอด!แม่สังเกตจนรู้ ลูกไม่ได้เป็น ตากุ้งยิง แท้จริงคือชีสต์

                                    ลูกปลอด โรคตับ และมะเร็งร้ายได้เพียงแค่..หยุด!!

                                    เริมในช่องปาก โรคฮิตของเด็กเล็ก อาการเป็นอย่างไร