ไมโครพลาสติก

วิจัยใหม่จากต่างประเทศพบ!! ไมโครพลาสติก รั่วจากขวดนม เพราะต้มก่อนใช้

Alternative Textaccount_circle
event
ไมโครพลาสติก
ไมโครพลาสติก

นักวิจัยเผยว่า ทารกที่ดื่มนมจากขวดอาจได้รับ ไมโครพลาสติก เข้าร่างกายด้วย โดยเฉพาะจากขวดนมที่ผ่านการต้ม หรือนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ ยิ่งมีไมโครพลาสติกหลุดออกมามาก

วิจัยใหม่จากต่างประเทศพบ!! ไมโครพลาสติก รั่วจากขวดนม เพราะต้มก่อนใช้

โดยทั่วไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่มักจะทำการฆ่าเชื้อโรคที่อาจติดอยู่ในขวดนมด้วยการ ต้มขวดนม ก่อนให้ทารกดื่ม และเมื่อชงนมผงให้ลูกกิน ก็มักจะใช้เทน้ำอุ่นใส่ลงในขวดแล้วผสมนมผงในขวดให้ลูกกินเลย รู้หรือไม่ว่า การกระทำเหล่านี้ อาจทำให้ลูกได้รับ ไมโครพลาสติกมากถึง 1.6 ล้านอนุภาคต่อวัน!!

หลายปีมานี้ คนทั่วโลกตื่นตัวกับข่าวเกี่ยวกับ ไมโครพลาสติก ซึ่งถูกพบว่าแทรกซึมเข้าไปในร่างกายของมนุษย์โดยเฉลี่ยตั้งแต่ 74,000 ถึง 121,000 อนุภาค โดยขึ้นอยู่กับอายุและเพศของบุคคล โดยไมโครพลาสติกสามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากแหล่งสำคัญ 8 แหล่ง คือ จากอากาศที่หายใจ จากการดื่มแอลกอฮอล์ จากน้ำบรรจุขวด จากน้ำผึ้ง อาหารทะเล เกลือ น้ำตาล และน้ำประปา แต่ในวันที่ 20 ต.ค. ที่ผ่านมานี้ ก็ได้มีผลการวิจัยใหม่ ออกมาเตือนว่า ทารกที่ดื่มนมจากขวดอาจได้รับไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย โดยประเมินได้ว่า ทารกที่ดื่มนมจากขวดอาจได้รับไมโครพลาสติก 1.6 ล้านไมโครพาร์ติเคิลทุกวันในช่วง 12 เดือนแรกเกิด!! รายละเอียดเกี่ยวกับการวิจัย มีดังนี้

นักวิจัยได้วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของการปล่อยไมโครพลาสติกในขวดนมเมื่อขวดนมได้ผ่านความร้อนจากการฆ่าเชื้อ โดยนักวิจัยได้ทำการทดลองหาไมโครพลาสติกในขวดนม 10 ประเภทและทำการฆ่าเชื้อในน้ำร้อน 90 องศา ชงนมผงในน้ำร้อน 70 องศา ผลการวิจัยพบว่ามีไมโครพลาสติกออกมาจำนวนมหาศาลและมีขนาดเล็กเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ด้วยซ้ำไป

โดยขวดนมที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่นั้นทำมาจากพลาสติกประเภท พอลิโพรไพลีน มากถึง 82 เปอร์เซ็นต์ สารพลาสติกดังกล่าวเป็นประเภทที่ย่อยสลายได้ยาก นอกจากจะปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ยังตกค้างในร่างกายได้ด้วย การวิจัยครั้งนี้ พบว่า ขวดนมที่ทำมาจากพลาสติกประเภท พอลิโพรไพลีน สามารถปล่อย ไมโครพลาสติก ได้มากถึง 16 ล้านอนุภาค ต่อน้ำ 1 ลิตร การฆ่าเชื้อขวดนมด้วยความร้อน 25-95 องศาเซลเซียส จะเพิ่มอัตราการปล่อย ไมโครพลาสติกจาก 0.6 ล้านอนุภาค ถึง 55 ล้านอนุภาค ต่อน้ำ 1 ลิตรเลยทีเดียว

ไมโครพลาสติก อันตราย
ปริมาณไมโครพลาสติกที่ทารกแต่ละประเทศได้รับต่อวัน

รู้จักไมโครพลาสติก

แม่ ๆ ได้ทราบกันไปแล้วว่าทารกอาจเสี่ยงต่อการได้รับไมโครพลาสติกที่ถูกปล่อยออกมาจากขวดนม มาดูกันว่าไมโครพลาสติกที่กล่าวถึงนี้ คืออะไร มีกี่ประเภท และอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้างกันก่อนดีกว่าค่ะ

ไมโครพลาสติกคืออะไร?

ไมโครพลาสติกคือ ชิ้นส่วนขนาดเล็กของพลาสติก ที่มีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตร ไปจนถึง นาโนเมตร หรือ พิโคเมตรหรือเล็กเท่ากับขนาดของ แบคทีเรียหรือไวรัส ไมโครพลาสติก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

  • เป็นพลาสติกขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นตามวัตถุประสงค์ เช่น พลาสติกที่ผสมอยู่ใน โฟมล้างหน้า เครื่องสำอาง ครีมขัดผิว รวมทั้งยาสีฟัน
  • พลาสติกที่มีขนาดใหญ่แตกหักหรือผุกร่อนจนกลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งหมายรวมทั้งพลาสติกที่ย่อยสลายได้ก็รวมอยู่ในพลาสติกชนิดนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากพลาสติกชนิดนี้สามารถย่อยสลายได้เฉพาะเมื่ออยู่บนบก แต่เมื่อลงไปในทะเลจะไม่มีแบคทีเรียคอยช่วยย่อยสลายเนื่องจากน้ำทะเลมีอุณหภูมิต่ำกว่าบนบก
พลาสติก
พลาสติก

ไมโครพลาสติกอันตรายอย่างไร?

ไมโครพลาสติกหลายชนิดทั้งที่มีอันตรายมากและน้อยมีต้นกำเนิดจากพลาสติกที่ผลิตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถุงพลาสติกใส่อาหารทั้งร้อนและเย็น ประกอบด้วยสารโพลีพรอพีลีน ขวดน้ำดื่มประกอบด้วยสารพอลิเอทิลีน เทเรฟธาเรต และ ฟิล์มห่ออาหาร ผลิตจาก โพลี่ไวนิลคลอไรด์ (PVC) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าไมโครพลาสติก พบได้รอบตัวเรา จากผลสำรวจจากกรมอนามัยโลกพบว่าผู้ใหญ่บริโภค 300-600 ไมโครพลาสติกต่อวัน โดยไมโครพลาสติกที่มีอนุภาคใหญ่จะถูกขับถ่ายออกมาในรูปแบบของของเสีย แต่ไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กเท่าแบคทีเรีย หรือ ไวรัส อาจแทรกเข้าไปในเส้นเลือด นำไปสู่อวัยวะต่าง ๆ เช่น เข้าไปฝังอยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายและก่อให้เกิดโรคมะเร็ง รวมทั้งไมโครพลาสติกอาจเข้าไปสะสมอยู่ในระบบหมุมเวียนโลหิต ทำให้เส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม Prof Oliver Jones จาก มหาวิทยาลัย RMIT ได้ออกมาเผยว่าการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกนั้นเป็นเพียงการคาดการณ์ ไม่ใช่การชี้วัด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลหรือรู้สึกแย่ที่ใช้ขวดพลาสติกแต่ทว่าการวิจัยนี้เป็นการสร้างแรงกระตุ้นเพื่อให้เห็นถึงความอันตรายของก็ใช้พลาสติกมากกว่า

เมื่อทราบแล้วว่า ไมโครพลาสติก อาจก่อให้เกิดอันตรายกับลูกน้อยของเราในอนาคตได้ การเลี่ยงไม่ให้ลูกต้องรับไมโครพลาสติกเข้าร่างกายเป็นจำนวนมาก ก็ดูจะปลอดภัยกว่า ดังนั้น ทีมแม่ ABK ขอนำคำแนะนำของนักวิจัยที่ได้แนะนำวิธีการฆ่าเชื้อและชงนมอย่างปลอดภัยจากการปล่อย ไมโครพลาสติก ออกมาในขวดนม ดังนี้

นักวิจัยแนะ!! ขั้นตอนการฆ่าเชื้อและชงนมให้ปลอดภัยจากไมโครพลาสติก

  1. ใช้วิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อน โดยการต้มน้ำ นึ่ง ลวก ในภาชนะที่ไม่ใช่พลาสติก เช่น แก้ว หรือ สเตนเลส
  2. ล้างขวดนมที่ผ่านความร้อนด้วยน้ำเปล่าอุณหภูมิห้อง 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย
  3. เตรียมนมผงหรือนมแม่ให้ลูกน้อยทาน

ขั้นตอนการชงนมผงอย่างปลอดภัยจากไมโครพลาสติก

  1. เตรียมน้ำสะอาดที่ต้มสุกแล้วในภาชนะที่ไม่ใช่พลาสติก
  2. ผสมนมผงในภาชนะนั้นเมื่ออุณหภูมิของน้ำประมาณ 70 องศาเซลเซียส
  3. ปล่อยให้นมมีอุณหภูมิเย็นลงจนถึงอุณหภูมิห้อง
  4. เทนมที่เย็นลงแล้วลงในขวดนม

นอกจากนี้ นักวิจัยยังแนะนำว่าไม่ควรนำนมที่อยู่ในขวดนมมาอุ่นซ้ำ และไม่ควรเขย่าขวดนมแรง ๆ เพราะอาจะทำให้มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนออกมาได้ด้วยเช่นกัน

วิธีล้างขวดนม
วิธีล้างขวดนม

จากผลการวิจัยนี้ ทำให้มีนักวิจัยหลายท่านได้ออกมาเรียกร้องนโยบายในบริษัทขวดนมและนมผงออกคำแนะนำใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนการทำความสะอาดและขั้นตอนการชงนมแบบใหม่เพื่อป้องกันไมโครพลาสติกตกค้างในร่างกายมนุษย์อีกด้วย

เนื่องจากยังไม่มีวิจัยที่ยืนยันได้ว่าไมโครพลาสติกอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายในอนาคตมากน้อยแค่ไหน เพราะในขณะนี้ยังคงทำการศึกษากันอยู่ แต่ในฐานะพ่อแม่คนหนึ่ง เราพอจะรับรู้ได้ว่าไมโครพลาสติกอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายในอนาคตได้ การให้ลูกเลี่ยงต่อโอกาสที่จะได้รับไมโครพลาสติกนี้ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดังนั้น ลองเปลี่ยนมาทำความสะอาดขวดนมด้วยวิธีที่นักวิจัยแนะนำกันดีกว่าค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ขวดนมลูก หมดอายุหรือยัง พ่อแม่รีบเช็คด่วน!

แนะวิธี การเลือกขวดนม จุกนม ให้ลูกแรกเกิดที่ดีและปลอดภัย

เช็กก่อนซื้อ! “สัญลักษณ์ที่ก้นขวดนมลูก” หากไร้มาตรฐาน..เสี่ยงลูกป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ฝึกลูก ” เลิกขวดนม ” ง่ายๆ ภายใน 1 ขวบ!! ป้องกันฟันผุ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : phys.org, www.bpl.co.th, www.khaosod.co.th, tna.mcot.net, www.independent.co.uk, www.theguardian.com, www.newscientist.com, vnexplorer.net

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up