ไอพีดี

รู้จัก IPD ภัยในเด็ก กับการป้องกันดีกว่าการรักษา

Alternative Textaccount_circle
event
ไอพีดี
ไอพีดี

ผู้หญิงหลายคนเมื่อรู้ว่าตัวเองกำลังจะเป็นแม่ ก็มักจะเกิดสัญชาตญาณในการปกป้องลูกขึ้นมาอย่างประหลาย เหมือนกับคุณโอปอลล์ ที่ต้องอุ้มท้องลูกแฝด และยังมีภาวะคลอดก่อนกำหนดคุกคาม ไอพีดี จากคุณแม่ที่เป็น Working Woman ต้องมานอน Absolute bed rest นิ่งๆอยู่บนเตียง พร้อมให้ยาระงับการคลอด เพื่อรักษาชีวิตลูกของเธอไว้ เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยที่แม่คนนึงจะผ่านมาได้

ไอพีดี

และเราก็เชื่อว่าคุณแม่หลายๆคนก็ต้องผ่านเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าเรื่องราวจะทุกข์หรือสุข แต่คนเป็นแม่ก็สู้สุดใจ เพื่อรอวินาทีแรกที่ได้ยินเสียงร้องของลูกน้อย พร้อมลืมตามองดูโลกใบนี้ เป็นช่วงเวลาพิเศษที่จะอยู่ในความทรงจำอย่างไม่มีวันลืมเลือน และเมื่อเราได้อุ้มลูกน้อยไว้ในอ้อมกอด สัมผัสร่างกายของเค้าอย่างแผ่วเบา เป็นวันที่คุณโอปอลล์แม่ทุกคนให้คำสัญญากับตัวเองว่าจะดูแล รักษา และปกป้องลูกน้อยให้ดีที่สุด และนานที่สุดเท่าที่คนเป็นแม่คนหนึ่งจะทำเพื่อลูกได้

จากการที่คุยกับคุณโอปอลล์ ทำให้เราได้เรียนรู้แล้วว่าการป้องกันลูกน้อยสำคัญกว่าการแก้ไข รวมถึงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไอพีดี (IPD) ด้วย จากบทความเรื่องโรคไอพีดี (IPD) ของรศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรคไอพีดี (ipd)

กล่าวถึงการป้องกันโรคไอพีดี(IPD) ทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการนำเด็กเข้าไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัดโดยไม่จำเป็น การสวมหน้ากากอนามัย การปิดปากและจมูกเวลาไอจาม และล้างมือบ่อย ๆ ในผู้ป่วยที่มีอาการไข้หรือมีอาการหวัด อาจช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อนิวโมคอคคัส เช่นเดียวกับการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจ หรือการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันอย่างเหมาะสม

โรคไอพีดี (IPD) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงและแพร่กระจาย ก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด รวมถึงโรคปอดบวมที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด และยังเป็นสาเหตุทำให้เกิด โรคหูชั้นกลางอักเสบและโรคไซนัสอักเสบอีกด้วย1 พบได้ในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และมีโอกาสที่จะเกิดภาวะรุนแรงได้ในเด็ก ( โดยอุบัติการณ์ของการเกิดโรคไอพีดี (IPD) ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีเป็น 11.7 ต่อแสนประชากร2) อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตหรือพิการทางสมองได้1 ซึ่งอาการของผู้ป่วยโรค IPD จะเกิดต่างกันไป ตามประเภทของอวัยวะที่ติดเชื้อและอายุของผู้ป่วย ดังนี้

  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ซึมลง และอาจมีอาการชักได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก
  • โรคติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ซึมลง ความดันโลหิตต่ำ และในเด็กก่อให้เกิดอาการชักได้
  • โรคปอดบวม ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ไอ เหนื่อยหอบ ส่วนมากเกิดตามหลังการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะไวรัสไข้หวัดใหญ่

เมื่อเราพาลูกน้อยของเราเข้ารับการตรวจหา IPD คุณหมอจะทำการวินิจฉัยโรคในห้องปฏิบัติการ โดยตรวจนับเม็ดเลือดขาว(เม็ดเลือดขาวจะต้องมีจำนวนมากกว่าปกติ) การเพาะเชื้อในน้ำไขสันหลัง เลือด หรือเสมหะ เพื่อช่วยยืนยันว่าอาการของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสจริง1 เมื่อตรวจพบเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสแล้ว คุณหมอจะทำการให้ยาต้านจุลชีพในขนาดที่เหมาะสมกับโรคและอาการ เพื่อป้องกันการดื้อยา เพราะยาต้านจุลชีพนั้นจะครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อแต่ละโรคซึ่งอาจเกิดจากเชื้ออื่นๆ นอกเหนือไปจากเชื้อนิวโมคอคคัสด้วย

 

มาเริ่มต้นดูแลลูกน้อยแสนรักของเราให้ห่างไกลจากโรค IPD กันดีกว่า เพราะการป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเป็นโรค สำคัญกว่าการรักษาลูกน้อยให้หายจากอาการป่วยอยู่มาก และคุณแม่ๆควรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตามช่วงอายุของเด็กอย่างเหมาะสมและครบถ้วนภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อลูกน้อยของเราจะได้มีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ และมีความสุขในทุกช่วงเวลาการเจริญเติบโต


เอกสารอ้างอิง

  1. ชิษณุ พันธุ์เจริญ, ธันยวีร์ ภูธนกิจ, จรุงจิตร์ งามไพบูลย์. ทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ความสำคัญของโรค การรักษา และการป้องกัน. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส,
  2. Rhodes J, Dejsirilert S, Maloney SA, Jorakate P, Kaewpan A, Salika P, et al. Pneumococcal Bacteremia Requiring Hospitalization in Rural Thailand: An update on incidence, Clinical Characteristics, Serotype Distribution, and Atimicrobial Susceptibility, 2005-2010. PLoS One. 2013;8:e66038.

ขอบคุณข้อมูลจากรศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสามารถติดตามข้อมูลดีๆจากคลินิกจุฬาคิดส์คลับ ได้ที่

ipd2

pfizer

 

  PP-PNP-THA-0048

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up