โรคความดันโลหิตสูงกับการตั้งครรภ์

โรคความดันโลหิตสูงกับการตั้งครรภ์ ภัยเงียบของแม่ท้อง

Alternative Textaccount_circle
event
โรคความดันโลหิตสูงกับการตั้งครรภ์
โรคความดันโลหิตสูงกับการตั้งครรภ์
ความดันสูงก่อนตั้งครรภ์
เมื่อรู้ตัวว่าเป็นความดันสูงก่อนตั้งครรภ์ควรดูแลตัวเองอย่างไร?

คำแนะนำเมื่อคุณแม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์

      1. ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาก่อนการตั้งครรภ์
      2. ก่อนปล่อยให้ตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงควรควบคุมได้หรืออยู่ในเกณฑ์ปกติอย่างน้อย 6 เดือน
      3. หากมีลักษณะเป็นมารดาในกลุ่มเสี่ยงอันตรายสูง ไม่ควรตั้งครรภ์
      4. ควรรับประทานโฟเลต (กรดโฟลิก) ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อช่วยลดความพิการประสาทสมอง และการแท้งของทารก
      5. ฝากครรภ์ทันทีที่ทราบว่าท้อง
      6. พบแพทย์ตามนัด หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ลูกดิ้นน้อยหรือลูกไม่ดิ้น มีเลือดหรือมีน้ำออกช่องคลอด ปวดเสียดครรภ์ ฯลฯ ต้องไปพบแพทย์ก่อนนัด
      7. ควรรับประทานอาหารเหล่านี้เป็นประจำ ผัก ผลไม้ นมไขมันต่ำ อาหารไขมันต่ำ งานวิจัยพบว่าอาหารเหล่านี้ช่วยลดความดันโลหิตได้บ้าง
      8. ลดอาหารรสเค็ม ควรรับประทานเกลือไม่เกินวันละ 2.3 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา) หากอ้วน มีไขมันสูง อายุมาก ความดันโลหิตสูงมาก อาจลดเกลือเหลือไม่เกิน 1.2 กรัมต่อวัน
      9. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ คืนละประมาณ 8 ชั่วโมง กลางวันควรได้พักผ่อนครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ควรนอนตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้ดีขึ้น
      10. ออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ เลือกวิธีที่ชอบ เช่น ว่ายน้ำ โยคะ วันละ 20-30 นาที อาทิตย์ละ 2-4 วัน
      11. ลดความเครียด เนื่องจากความเครียดส่งผลให้ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ดังนั้นช่วงตั้งครรภ์จึงควรมีวิธีลดความเครียด เช่น ลดงานประจำลง สามีผ่อนเบาภาระงานบ้าน มีงานอดิเรกที่ชอบทำ มีเวลาเป็นส่วนตน ทำสมาธิ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
      12. ควรเพิ่มน้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ ดังนี้
        • ผอม ค่าดัชนีมวลกาย** น้อยกว่า 18.5 กก./ตร.เมตร น้ำหนักควรขึ้น 12.5-18 กิโลกรัม
        • น้ำหนักพอดี ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-24.9 กก./ตร.เมตร น้ำหนักควรขึ้น 11.5-16 กิโลกรัม
        • อ้วน ค่าดัชนีมวลกาย 25-29.9 กก./ตร.เมตร น้ำหนักควรขึ้น 7-11.5 กิโลกรัม
        • อ้วนมาก ค่าดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 30 กก./ตร.เมตร น้ำหนักควรขึ้น 5-9 กิโลกรัม

หมายเหตุ ** ค่าดัชนีมวลกายได้มาจาก น้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง
ยกตัวอย่างการคำนวณ สมมุติว่าคุณแม่หนัก 50 กก. และสูง 165 ซม.
ก่อนอื่นต้องแปลงส่วนสูงเป็นเมตรก่อนค่ะ
โดย 165 ซม. เท่ากับ 1.65 เมตร
และนำค่ามาเทียบในสูตรข้างต้นได้เลย

= 50 / (1.65 x 1.65)
= 50 / 2.72
= 18.38

ค่า BMI ของคุณแม่ก็จะเท่ากับ 18.38 นั่นเองค่ะ

        1. ควรรับประทานปลาทะเลน้ำลึก หรือปลาน้ำจืด ที่มีโอเมก้าสาม เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาโอ ปลากะพงขาว ปลาช่อน ปลาสวาย อาทิตย์ละสองครั้ง โอเมก้าสาม สามารถลดความดันโลหิตได้บ้าง
        2. โฟเลต และแคลเซียม นอกจากธาตุเหล็กที่คนตั้งครรภ์ต้องรับประทานแล้ว ควรเสริมโฟเลตและแคลเซียม โดยพบว่าโฟเลตสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้บ้าง ส่วนการขาดแคลเซียมอาจเป็นสาเหตุให้เกิดครรภ์เป็นพิษได้

หากคุณแม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง สามารถดูแลตนเอง ทำตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด ความดันโลหิตสามารถควบคุมได้ดีตลอดการตั้งครรภ์ การคลอด และช่วงหลังคลอด จะเสี่ยงอันตรายน้อย ไม่ต่างกับคนตั้งครรภ์ธรรมดาทั่วไป

อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ

เสียหลานชายวัย 1 ขวบ เพราะโรคไวรัสโรต้า

9 ผัก ผลไม้สีแดง สารต้านอนุมูลอิสระสูง ดีต่อสุขภาพคุณแม่

ตั้งครรภ์ 1-2 สัปดาห์ และพัฒนาการทารกในครรภ์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up