ความจุกระเพาะทารก

ขนาดกระเพาะทารก จุปริมาณน้ำนมแม่ได้เท่าไหร่?

Alternative Textaccount_circle
event
ความจุกระเพาะทารก
ความจุกระเพาะทารก

ช่วงเวลาความสุขของคนเป็นแม่คือการให้ลูกได้เข้าเต้าดูดนมแม่ได้ตามรอบการผลิตน้ำนม นั่นเพราะการที่ลูกได้ดูดนมแม่เกลี้ยงเต้าจะช่วยให้เต้านมไม่เกิดอาการคัดตึงเจ็บขึ้นมาจนเป็นไตอักเสบ ว่าแต่ลูกที่เพิ่งคลอดมาได้ไม่กี่วันตัวเล็กกระจิดริดแบบนี้ ขนาดกระเพาะทารก จะจุน้ำนมแม่ได้แค่ไหน? ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำตอบที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ

 

ขนาดกระเพาะทารก

คุณแม่ๆ เคยสงสัยกันไหมว่า ขนาดกระเพาะทารก จะมีขนาดความจุน้ำนมได้มากน้อยกันแค่ไหน เวลาที่แม่ให้ลูกกินนมปริมาณแค่ไหนถึงจะอิ่มกำลังดีไม่ทำให้ลูกอิ่มมากจนแน่นอึดอัดท้อง ผู้เขียนรวมทั้งคุณแม่ที่ส่งคำถามกันเข้ามาก็อยากรู้เช่นกันค่ะ เอาเป็นว่าก่อนที่เราจะไปหาคำตอบที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ขนาดกระเพาะทารก ขออนุญาตให้ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำนมแม่ที่มาวันแรกๆ กับคุณแม่มือใหม่ได้ทราบกันก่อนค่ะ เพราะเรื่องนี้แม่ๆ ก็อยากรู้กันมากเช่นกัน เพราะอะไรถึงเรียกน้ำนมแม่ว่าน้ำนมเหลือง

จำได้ว่าตอนที่พี่สาวคลอดลูกหลังจากหนึ่งชั่วโมง คุณพยาบาลก็เข็นหลานชายมาส่งให้พี่สาวแล้วบอกให้เอาลูกเข้าเต้าดูดนม “น้ำนมจะออกมาน้อยก็ไม่เป็นไรนะคะคุณแม่ เดี๋ยวพอลูกกระตุ้นน้ำนมก็จะออกมาเยอะเอง ช่วงวันนี้พรุ่งนี้น้ำนมคุณแม่จะเหลืองๆ พยายามให้ลูกได้กินนะคุณแม่ เพราะนมส่วนนี้มีประโยชน์เยอะเลย” ระหว่างที่พยาบาลคุยพี่สาวก็สอนท่าให้ลูกดูดเต้ากินนมแม่ไปด้วย คือด้วยตอนนั้นเราก็ไม่รู้หรอกว่าน้ำนมแม่จะเป็นสีเหลือง เพราะเคยเห็นว่ามีแต่สีขาว น่าแปลกดี จนตอนหลังมารู้ว่าน้ำนมเหลืองที่พยาบาลพูดถึงนั้น คือ  โคลอสตรุ้ม (Colostrum)

ซึ่งรู้ไหมว่านั่นหนะสุดยอดน้ำนมแม่เลยค่ะ เพราะนอกจากจะเต็มไปด้วยสารอาหารมากมาย น้ำนมเหลืองก็ยังมีสารภูมิต้านทานโรค ที่ช่วยป้องกันการเจ็บป่วยให้กับเด็กทารกด้วย วัคซีนธรรมชาติที่ร่างกายแม่ผลิตมาเพื่อลูกจริงๆ ค่ะ

สารอาหารในน้ำนมแม่มีความผันแปรตามระยะการผลิตน้ำนม นมแม่ที่ร่างกายแม่ผลิตขึ้นมี 3 ระยะ ในระยะแรกมักมีสีเหลือง บางคนอาจเรียกว่าน้ำนมเหลือง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโคลอสตรุ้ม (Colostrum) โคลอสตรุ้มนี้จะถูกสร้างขึ้นเพียงระยะ 1-3 วันแรกภายหลังการคลอดบุตรเท่านั้น และเต็มไปด้วยสารสร้างภูมิต้านทาน เช่น IgA แลคโตเฟอริน เซลล์เม็ดเลือดขาว โปรตีนต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย น้ำนมในระยะนี้จะมีปริมาณน้ำตาลแลคโตสไม่สูงมากนัก มีปริมาณแร่ธาตุต่างๆ เช่น โซเดียม คลอไรด์ แมกนีเซียม ปริมาณสูง แต่มีปริมาณโพแทสเซียม และแคลเซียมต่ำกว่านมที่ผลิตระยะหลัง ถือได้ว่าน้ำนมระยะนี้ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกายมากกว่าการเร่งการเจริญเติบโต[1]

นมไหนว่าแน่ นมแม่ซิแน่จริง เพราะสารอาหารครบถ้วนดีต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้สมองดี ไม่เจ็บป่วยง่าย และยังให้ลูกกินไปจนโตได้เลยค่ะ เห็นคุณประโยชน์ดีเยี่ยมแบบนี้แล้ว ไม่ต้องลังเลที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้วค่ะ

ขนาดกระเพาะทารก

ขนาดกระเพาะทารก มีความจุน้ำนมแม่ได้เท่าไหร่?

อย่างที่คุณแม่สงสัยกันว่า ลูกคลอดออกมาตัวเล็กนิดเดียว แต่ทำไมตื่นขึ้นมากินนมแม่ได้เกือบ 24 ชั่วโมง ใช่ค่ะเด็กแรกเกิดมักจะตื่นขึ้นมากินนมแม่ในหนึ่งวันทุก 2-3 ชั่วโมง กินอิ่มเสร็จก็นอนหลับต่อ เห็นวงจรชีวิตทารกช่วงแรกคลอดมา 1-3 เดือนนี่ทำเอาคนเป็นพ่อแม่อิจฉาเลย อยากนอนหลับพักผ่อนได้แบบลูกบ้างจัง เป็นความเหนื่อยของพ่อแม่ในช่วงแรกๆ แต่ก็เต็มไปด้วยความสุขค่ะ

คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ  กุมารแพทย์ชื่อดัง ได้อธิบายถึงขนาดของกระเพาะทารกแรกเกิดว่า เนื่องจากกระเพาะยังมีขนาดที่เล็กมาก นั่นจึงทำให้ทารกน้อยต้องตื่นขึ้นมาทานนมแม่บ่อยๆ และการสังเกตว่าลูกจะได้ทานน้ำนมแม่เพียงพอในแต่ละวันนั้น ให้ดูที่จำนวนครั้งที่ทารกอุจจาระออกมา คือ

  • อึออกมา 2 ครั้ง/วัน
  • ปัสสาวะออกมา 6 ครั้ง/วัน

ซึ่งคุณหมอไม่แนะนำให้พ่อแม่ดูที่การขยับปากตลอดเวลาของลูก เพราะนั่นไม่ได้หมายความว่าลูกต้องการที่จะกินนมแม่ค่ะ

ในวันแรกหลังคลอด กระเพาะของลูกจะมีขนาดความจุนมได้เพียง 5-7 มล. หรือ 1/6 ถึง 1/4 ออนซ์ ขนาดกระเพาะของลูกจะมีขนาดเทียบเท่าลูกแก้วลูกเล็กๆ เท่านั้นเองค่ะ ดังนั้นถ้าวันแรกที่น้ำนมเหลืองไหลออกมานิดเดียวก็ไม่เป็นไรค่ะ เพราะลูกได้รับนมแม่ที่เพียงพอแน่นอน

ในวันที่ 3 หลังคลอด กระเพาะลูกจะมีขนาดเทียบได้กับลูกปิงปองหนึ่งลูก เห็นไหมคะว่ากระเพาะลูกได้มีการขยายให้มีขนาดความจุนมแม่ที่ใหญ่ขึ้นมาอีกนิดแล้วค่ะ ซึ่งปริมาณนมที่กระเพาะของลูกสามารถรับได้ คือ 22-27 มล. หรือ 3/7 ถึง 1 ออนซ์

และนี่คือขนาดความจุปริมาณนมของกระเพาะทารก ที่จะค่อยๆ มีการพัฒนาให้ใหญ่ขึ้นตามลำดับตลอด 1 เดือน ดังนี้

1 วัน ขนาดเท่ากับลูกแก้ว หรือผลเชอรี  ปริมาณนมที่รับได้อยู่ที่ประมาณ 5 – 7 ซีซี หรือ 1 – 1.4 ช้อนชา

3 วัน ขนาดเท่ากับลูกวอลนัท ปริมาณนมที่รับได้อยู่ที่ประมาณ 22 – 27 ซีซี หรือ .75 – 1 ออนซ์

7 วัน ขนาดเท่ากับผลแอปปริคอต ปริมาณนมที่รับได้อยู่ที่ประมาณ 45 – 60  ซีซี หรือ 1.5 – 2 ออนซ์

30 วัน ขนาดเท่ากับไข่ไก่ ปริมาณนมที่รับได้อยู่ที่ประมาณ 80 -150  ซีซี หรือ 2.5 – 5 ออนซ์

 

Must Read >> Overfeeding ลูกกินนมมากเกินไป อันตรายหรือไม่?

 

คุณแม่หรือคนที่ช่วยเลี้ยงลูก ต้องไม่ป้อนนมให้แบบอิ่มเกินความต้องการของปริมาณนมในแต่ละมื้อด้วยนะคะ เพราะลูกอาจเกิดอาการ Overfeeding กินนนมเยอะเกินไป เพราะจะให้ลูกอาเจียนบ่อย จนทำให้กรดจากกระเพาะอาหารย้อนกลับออกมาเป็นผลทำให้หลอดอาหารเกิดเป็นแผลขึ้นได้

อ่านต่อ การเก็บรักษาน้ำนมแม่ให้ได้คุณภาพ คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up