วิธีสังเกตอาการหอบในทารก

วิธีสังเกตอาการหอบในทารก หายใจหอบเป็นยังไง พ่อแม่ต้องสังเกตอาการลูก

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีสังเกตอาการหอบในทารก
วิธีสังเกตอาการหอบในทารก

อากาศเย็น ๆ ฝนตกกระหน่ำ ทำให้ลูกน้อยมีอาการแปลก ๆ หายใจไม่ปกติ อาการแบบนี้เป็นหอบใช่ไหม วิธีสังเกตอาการหอบในทารก หายใจหอบเป็นยังไง

วิธีสังเกตอาการหอบในทารก หายใจหอบเป็นยังไง

แม่ที่มีลูกน้อยในวัยทารก คงมีความกังวลมากมายในช่วงนี้ เพราะมีทั้งโควิด-19 ที่ต้องคอยระมัดระวังตลอดเวลา ไหนจะโรคประจำฤดูกาลอย่างปลายฝนต้นหนาว และแน่นอนว่า อากาศเย็น ๆ แบบนี้ เด็ก ๆ มักจะมีอาการหอบ เราจึงมีวิธีสังเกตอาการว่าลูกหอบหรือไม่ มาฝากกันค่ะ

เพจเรื่องเด็กๆ by หมอแอม โพสต์ถึงโรคภัยในช่วงนี้ว่า โรคไข้หวัดใหญ่ยังไม่ทันซา ก็มี RSV ที่ต้องระวัง และยังมี โควิด-19 ระลอก 2 อีก คุณหมอจึงเอาวิธีการสังเกตอาการหอบมาฝาก เป็นคลิปวิดีโอที่คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาไว้

ทารกมีอาการหอบเป็นยังไง

  • หายใจเร็ว/แรง ดูแฮ่ก
  • อกบุ๋ม / ชายโครงบุ๋ม
  • จมูกบาน ดูหายใจยาก

พ่อแม่ควรสังเกตอาการร่วมกับไข้ ไอ มีน้ำมูก สำลักนม พร้อมกับมีอาการหอบ เพราะเด็กที่วิ่งเล่นมา หรือเพิ่งร้องไห้อย่างหนัก ก็จะมีการหายใจแฮ่กช่วงสั้น ๆ ได้เช่นกัน หรืออาการสะอึก ลูกก็จะมีชายโครงบุ๋มเป็นจังหวะสะอึกได้

ช่วงนี้ไข้หวัดใหญ่ไม่ทันซา # RSVก็มาแล้ว # ไหนจะต้องระวัง COVID ระลอก2เลยเอาวิธีการสังเกตอาการหอบมาฝากจ้าสรุปคือ…

Posted by เรื่องเด็กๆ by หมอแอม on Wednesday, 2 September 2020

 

วิธีสังเกตอาการหอบในทารก

ทำความรู้จักอาการหอบคืออะไร

อาการหอบมีลักษณะการหายใจลำบาก หายใจเร็ว หรือหายใจเสียงดัง ส่วนสาเหตุของอาการหอบ อาจเกิดจากโรคต่าง ๆ อย่างโรคระบบหายใจ เช่น โรคหืดในเด็ก โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดอักเสบ หรือแม้กระทั่งอาการแพ้อาหาร แพ้อากาศ แพ้ควันบุหรี่ และแพ้ฝุ่น

อาการหอบของลูกแต่ละช่วงวัย

  • ทารกแรกเกิด อาจเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะ เช่น รูจมูกตัน มีท่อติดต่อระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหาร ความพิการของกะบังลม หรือเป็นการสำลักนม ปอดอักเสบ ปอดแฟบ พบว่าเป็นสาเหตุของการหอบในทารกแรกคลอด
  • ทารกและเด็กเล็กมักจะพบอาการหอบได้บ่อย ต้องสังเกตเสมอว่า ลูกหายใจเร็วขึ้นหรือไม่ มีอาการกระสับกระส่ายหรือช่องซี่โครงบุ๋ม โดยมักมีสาเหตุการหอบจากโรคในระบบทางเดินหายใจ
  • เด็กโต มีสาเหตุที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจมักเกิดจากการติดเชื้อ การอักเสบของหลอดคอ อาจเกิดจากเชื้อคอตีบ หรือเชื้ออื่น หรือปอดอักเสบที่อาจเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด และต้องระวังการสำลักอาหารไว้ด้วย

ลูกเป็นหอบหรือเป็นหอบหืด

ผศ.พญ.อาภัสสร วัฒนาศรมศิริ กุมารแพทย์โรคระบบหายใจ รพ.วิภาวดี ได้แยกอาการหอบและหอบหืดไว้ว่า หอบอาจเกิดจากโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หรือสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหลอดลม แต่หอบหืดนั้นเกิดจากหลอดลมที่ตีบตัวลงเมื่อได้รับสารกระตุ้น อาจจะเกิดขึ้นรวดเร็ว และเป็น ๆ หาย ๆ โดยดีขึ้นทันทีเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม ในเด็กเล็กอาจเริ่มต้นจากอาการไอ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน เมื่ออาการมากขึ้น อาการหอบก็จะชัดเจน

สาเหตุที่ลูกเป็นโรคหอบหืด

หอบหืดมักเป็นกรรมพันธุ์ และสัมผัสกับสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการบ่อย ๆ เช่น สารที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ ที่พบมากในเด็กไทย

  1. ตัวไรฝุ่น ซึ่งอยู่ตามหมอน ผ้านวม ที่นอน
  2. รังแคและน้ำลายที่อยู่ตามขนของสัตว์เลี้ยง
  3. ละอองเกสร
  4. แมลงสาบ

ส่วนปัจจัยที่ไม่เกี่ยวกับภูมิแพ้ เช่น การออกกำลังกาย การติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ และควันบุหรี่

วิธีป้องกันลูกมีอาการหอบหรือหอบหืด

อย่างแรกคือการดูแลสุขภาพของลูก โดยเฉพาะทารกที่ต้องให้กินนมแม่เป็นประจำ หมั่นสังเกตอาการลูกเสมอ และไม่ควรพาทารกไปสถานที่ที่มีคนแออัด และช่วงอายุที่เหมาะสม หากต้องการพาทารกออกนอกบ้านคือ 4-6 เดือน

การจัดห้องนอนและดูแลความสะอาด ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน

  • ห้องนอนควรมีของน้อยที่สุด ไม่เก็บของ หรือหนังสือในห้องนอน ไม่ควรปูพรม หากมีของเล่นที่มีขน ตุ๊กตามีขน ควรทำความสะอาดบ่อย ๆ
  • เครื่องนอน ควรใช้ผ้าคลุมกันไรฝุ่น ส่วนที่นอน หมอน หมอนข้าง และผ้าห่มควรทำความสะอาดและนำมาผึ่งแดดบ่อย ๆ
  • ผ้าม่านและผ้าปูที่นอน ควรซักอย่างน้อยทุกสัปดาห์ โดยใช้น้ำอุณหภูมิมากกว่า 55 องศาเซลเซียสเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที
  • หมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลม
  • ในบ้านไม่ควรมีที่เก็บของอับชื้น หรือปลูกต้นไม้ในบ้านเพราะราและฝุ่นจะจับง่าย
  • เก็บอาหารให้มิดชิดเพื่อป้องกันหนูและแมลงสาบ
  • หากลูกแพ้ขน ไม่ควรเลี้ยงสัตว์มีขน ถ้าจำเป็นควรให้อยู่เฉพาะบริเวณนอกบ้านและอาบน้ำทุกสัปดาห์

หากลูกหายใจผิดปกติ พ่อแม่ควรสังเกตอาการหอบในทารก และรีบพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจอาการอย่างละเอียดว่า เป็นอาการหอบจากโรคอื่น ๆ หรือเป็นโรคหอบหืดกันแน่ จะได้รักษาอย่างถูกต้องต่อไป

อ้างอิงข้อมูล : thairath, facebook.com/storyofkid, thonburihospital และ vibhavadi

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

วิธีป้อนขวด ให้นมลูกอย่างถูกวิธี ป้องกันลูกสำลัก ลดความเสี่ยงลูกฟันผุ

ทำไมห้ามแคะ “สะดือ”? สะดือลูก “เหม็น” ทำอย่างไร?

วัคซีนพื้นฐานสำหรับลูกน้อยในขวบปีแรก เป็นสิ่งจำเป็นและไม่ควรเลื่อนฉีด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up