โรคชีแฮน ตกเลือดหลังคลอด

ตกเลือดหลังคลอด เสี่ยงโรคชีแฮนฝันร้ายแม่อยากให้นมลูก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคชีแฮน ตกเลือดหลังคลอด
โรคชีแฮน ตกเลือดหลังคลอด

โรคชีแฮน คืออะไร หากคุณมีการ ตกเลือดหลังคลอด หรือระหว่างคลอดมาก รู้ไว้เสี่ยงภาวะความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ทำให้ร่างกายไม่สร้างฮอร์โมนผลิตน้ำนมดับฝันให้นมลูก

ตกเลือดหลังคลอด เสี่ยงโรคชีแฮน!!ฝันร้ายแม่อยากให้นมลูก

โรคชีแฮน (Sheehan’s syndrome) เป็นภาวะความผิดปกติของต่อมใต้สมองที่เกิดจากการเสียเลือดมากจนเกินไป การตกเลือดระหว่างคลอด คุณแม่อาจเสียเลือดมากถึง 800-1000 cc. หรือมีความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ ระหว่างการคลอดบุตรหรือหลังคลอดบุตร การตกเลือดปริมาณมาก ๆ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณต่อมใต้สมองได้เพียงพอ เกิดการตายถาวรของเนื้อบริเวณต่อมใต้สมอง ส่งผลให้การหลั่งฮอร์โมนไปควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง ระบบทำงานของร่างกายผิดปกติ  ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย น้ำนมน้อยไม่สามารถให้นมลูกได้ ผิวแห้ง เป็นต้น

อ่านต่อ น้ำนมน้อย น้ำนมแม่ไม่พอ? และเคล็ดลับขับน้ำนมด้วยวิธีธรรมชาติ

ตกเลือดหลังคลอด ฝันร้ายแม่ให้นมลูก
ตกเลือดหลังคลอด ฝันร้ายแม่ให้นมลูก

ภาวะดังกล่าวในคุณแม่บางคนอาจมีผลกระทบหลังคลอดเลย แต่ในบางคนอาจผ่านไปแล้วเป็นปี ๆ จึงจะทราบว่าตัวเองมีภาวะซีแฮน ซิมโดรม โรคนี้จะเกิดกับกับ สตรีหลังคลอดลูกประมาณ  5 ใน 100,000 ราย

ภาวะที่มีผลต่อการเสี่ยงการเกิดโรคกลุ่มอาการชีแฮน

  1. การตกเลือดหลังการคลอดลูก การเสียเลือดมาก จากการคลอดลูก หากไม่ได้รับเลือดและสารอาหารทดแทนการเสียเลือดทันต่อความเสี่ยง ภาวะความดันเลือดต่ำ อาจทำให้เกิด โรคซีแฮน ได้
  2. ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติ การที่มีเลือดออก แล้วเกิดการแข็งตัวของเลือดช้ากว่าปกติ ทำให้เสียเลือดมาก ซึ่งการเสียเลือดมาก เป็นสาเหตุของการเกิด โรคกลุ่มอาการซีแฮน
  3. ภาวะเบาหวานในสตรี โรคเบาหวาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อ การขาดเลือดไปเลี้ยงสมองได้
  4. ภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

อ่านต่อ 6 สมุนไพรลดความดัน ที่หาทานง่าย และลดความดันได้จริง

ภาวะตกเลือดหลังคลอด

เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคกลุ่มอาการซีแฮน ซึ่งมีเหตุปัจจัยได้หลายสาเหตุ ดังนั้นทางทีมแม่ ABK จึงได้รวบรวมสาเหตุของการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดที่พบได้บ่อย ๆ มาฝากกัน

ลูกตัวโต เสี่ยง ตกเลือดหลังคลอด
ลูกตัวโต เสี่ยง ตกเลือดหลังคลอด
  1. ลูกในท้องที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม ทำให้การคลอดมีความยากลำบาก แผลฉีกขาดในช่องคลอด เนื้อเยื่อช่องคลอด และหลอดเลือดในมดลูก รวมถึงใช้เวลาคลอดนาน
  2. ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  3. รกเกาะต่ำ
  4. คุณแม่มีภาวะการเป็นโรคอ้วน
  5. การใช้ยาที่กระตุ้นการคลอด
  6. การใช้คีมในการทำคลอด

สังเกตอาการได้ทัน ป้องกันการตกเลือดได้

คุณแม่อย่าพึ่งเกิดความกังวลใจมากเกินไป เพราะภาวะการตกเลือดหากเราสามารถรู้ตัวได้ทัน หรือเตรียมการป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดไว้ก่อนการคลอด เช่น การเตรียมเลือด หรือ สารอาหารทดแทนได้ทันก็ไม่เป็นอันตราย โดยคุณแม่สามารถสังเกตอาการได้ดังต่อไปนี้

  • อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
  • เลือดออกเป็นปริมาณมาก และการหยุดของเลือดช้ากว่าปกติ
  • ความดันเลือดลดลงต่ำ
  • เนื้อเยื่อบริเวณรอบช่องคลอดบวม และเจ็บ

อ่านต่อ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ละเลยเพียงนิด อันตรายถึงชีวิตได้

สังเกตอาการแก้ทันภาวะ ตกเลือดหลังคลอด
สังเกตอาการแก้ทันภาวะ ตกเลือดหลังคลอด

อาการของโรคซีแฮน

  1. ไม่มีน้ำนม สำหรับสตรีหลังคลอดจะยังน้ำนมไม่ไหลในช่วงแรก แต่จะยังอาการคัดที่เต้านม แต่ผู้ที่เกิดภาวซีแฮน ซิมโดรม เกิดจากภาวะผิดปกติของต่อมใต้สมอง ทำให้ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนในการผลิตน้ำนมได้ เป็นผลให้ไม่รู้สึกคัดเต้านม ถึงกระตุ้นอย่างไรก็ไม่มีน้ำนมออกมา
  2. ไม่มีประจำเดือน ซึ่งการไม่มาของประจำเดือน เกิดจากต่อมใต้สมองที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไปกระตุ้นรังไข่  เพื่อสร้างฮอร์โมนเพศหญิงได้ ทำให้นอกจากไม่มีประจำเดือนแล้ว ยังเกิดอาการขนาดหน้าอกลดลง ช่องคลอดแห้ง อารมณ์ทางเพศหาย หรือลดลงอีกด้วย
  3. เดินช้า พูดช้า คิดช้า เซื่องซึม กินจุ ผมร่วง เป็น อาการของภาวะขาดออร์โมนไทรอยด์ เกิดจาก ต่อมใต้สมองไม่สามารถสร้างฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ ที่จะไปควบคุมระบบเผาผลาญของร่างกายได้มากพอต่อความต้องการทำให้เกิดอาการดังกล่าว
  4. ขาดเกลือแร่ เนื่องจาก ต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ ต่อหมวกไตจะมีหน้าที่หลั่งสารคอร์ติซอล ที่ช่วยให้ร่างกายปรับตัวรับกับภาวะเครียดที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ทำให้เรารับมือกับความเครียดได้ เช่น ทำให้น้ำตาล และความดันสูงขึ้น เพื่อไม่ให้เป็นลม หรือช็อกง่าย ๆ เป็นต้น หากต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ เวลาเจอความเครียดก็จะตอบสนองไม่ทัน เกิดอารมณ์แปรปรวน ปวดหลัง ไม่สบายตัว ไม่สดชื่น เหนื่อยทั้งวัน ซึ่งเป็นอาการของร่างกายที่ขาดเกลือแร่ และหากต่อมหมวกไตต้องทำงานหนังเรื่อย ๆ ก็อาจเกิดภาวะวิกฤต เมื่อเจอกับภาวะเครียดรุนแรงก็อาจช็อก อันตรายต่อชีวิตได้
  5. เหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตโกรทฮอร์โมนได้เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถทำงานออกแรงได้เหมือนเดิม

การตรวจภาวะโรคกลุ่มชีแฮน

  1. การตรวจประวัติทางการแพทย์ ดูประวัติการเสียเลือดหลังคลอด และ ความผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย
  2. การตรวจร่างกาย สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดจากการขาดฮอร์โมน เช่น ร่างกายสร้างน้ำนมได้หรือไม่ ร่างกายบวมหรือไม่ ช่องคลอดแห้ง หรือไม่ และ ผนังช่องคลอดบางหรือไม่
  3. การตรวจเลือด เพื่อดูระดับฮอร์โมนในเลือด เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำที่สุด และทำให้ทราบว่าร่างกายของคุณแม่ขาดฮอร์โมนตัวไหนบาง ก็จะทำการใหฺ้ฮอร์โมนตัวที่ขาดเสริมให้แก่ร่างกายต่อไป
วิธีตรวจเลือด แม่นยำสุด
วิธีตรวจเลือด แม่นยำสุด

ไม่หมดหวัง หากรู้ทัน…สามารถให้นมแม่แก่ลูกได้

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะให้นมลูกเอง แม้ว่าหากเกิดโชคร้ายทำให้ร่างกายต้องประสบกับภาวะโรคกลุ่มชีแฮนทำให้ขาดฮอร์โมนในการผลิตน้ำนมแม่ แต่ถ้าหากเรารู้ทัน และได้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ ความหวังของคุณแม่ในการให้นมลูกก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว

โดยขั้นแรกคุณหมอจะทำการตรวจเลือดเพื่อดูว่าร่างกายของคุณแม่ขาดฮอร์โมนตัวไหนบ้าง ก็จะทำการรักษาโดยให้ฮอร์โมนตัวนั้นมาเสริม ทดแทนให้แก่ร่างกาย ซึ่งอาจจะต้องทำใจว่าเมื่อป่วยเป็นโรคในกลุ่มชีแฮนนี้จะต้องกินฮอร์โมนตัวที่ขาดไปตลอดชีวิต แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปเพราะเรายังสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างปกติหากได้รับการรักษา เช่น หากฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ก็ให้ฮอร์โมนไทรอยด์เสริม โดยฮอร์โมนสำคัญ ๆ ที่ร่างกายของผู้ป่วยในกลุ่มโรคชีแฮนขาด ได้แก่

  • ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ฮอร์โมนทดแทนต่อมหมวกไต
  • ยากลุ่มเลโวไทรอกซีน (Levothyroxine) เพิ่มระดับของฮอร์โมนไทรอยด์
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone)ในผู้ป่วยที่ตัดมดลูกออกแล้วจะใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียว ฮอร์โมนดังกล่าวนี้จะช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ
  • ฮอร์โมนลูติไนซิงฮอร์โมน(Luteinizing hormone  : LH) ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ ให้ไข่สุกและสามารถตั้งครรภ์ได้
  • ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน(Follicle stimulating hormone ; FSH) ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ ให้ไข่สุกและสามารถตั้งครรภ์ได้
  • โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ช่วยรักษาความหนาแน่นของกระดูก เสริมสร้างกล้ามเนื้อและลดระดับคอเลสเตอรอล

ซึ่งการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทนถือว่าเป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุด และคุณแม่ที่ต้องการให้นมลูกก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะเราสามารถให้ลูกกินนมได้ตามปกติ ยาฮอร์โมนที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นยาสเตียรอยด์ ซึ่งคุณแม่จะได้รับในปริมาณที่ไม่มาก และส่งต่อผ่านทางน้ำนมได้น้อยมาก และยังมีวิธีการทานยาที่จะทำให้หลงเหลือยาส่งต่อไปยังลูกผ่านทางน้ำนมแม่น้อยที่สุดด้วย คือ การที่คุณแม่ต้องรับประทานยาหลังจากให้นมลูกแล้วในแต่ละมื้อ เพราะระยะเวลาที่จะให้นมลูกในครั้งต่อไป ก็นานพอที่ยาที่รับประทานเข้าไปหมดฤทธิ์ หรือหลงเหลือในร่างกายของคุณแม่น้อย จึงไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยที่ทานนมคุณแม่ ไม่ส่งต่อผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูก

อย่าพึ่งหมดหวัง ให้นมลูก
อย่าพึ่งหมดหวัง ให้นมลูก

ดังนั้น คุณแม่ควรจะต้องรับประทานยาและฮอร์โมนเสริมตามคำสั่งของหมออย่างเคร่งครัด และพบหมอตามนัดอย่างสม่ำเสมอ นอกจากการพบคุณหมอ และรับประทานยาตามคำสั่งแล้ว การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ก็เป็นวิธีการดูแลตัวเองที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

อาหารเป็นยาจากธรรมชาติ…มาบำรุงร่างกายเพื่อลูกน้อยกันเถอะ

โรคซีแฮนเป็น โรคที่เกิดจากการเสียเลือดมาก หลังคลอดบุตร การป้องกันการเกิดโรค คือ การบำรุงร่างกายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงร่างกายหลังจากการเสียเลือดหลังคลอด ซึ่งอาหารของไทยเรานั้นมีสมุนไพรมากมายที่มีสรรพคุณช่วยในการบำรุงเลือด และสารอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยร่างกายของคุณแม่กลับมาแข็งแรง เป็นการช่วยร่างกายได้ดีอีกวิธีหนึ่งนอกจากการรับประทานยาฮอร์โมน เพราะนอกจากได้บำรุงทางกายแล้ว การได้รับประทานของชอบอร่อย ๆ ก็เป็นการบำรุงทางใจ ทำให้ร่างกายผ่อนคลายก็จะส่งผลดีต่อความสมบูรณ์ของร่างกายอีกด้วย

สมุนไพรสำหรับคุณแม่หลังคลอด

ฟักทอง มีคุณค่าทางอาหารที่อุดมไปด้วย แบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี และฟอสฟอรัส ฟักทองมีสรรพคุณในเรื่องของการช่วยบำรุงน้ำนม ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง อาหารที่แนะนำ ฟักทองผัดไข่ ฟักทองนึ่ง ฯลฯ

ฟักทอง บำรุงเลือดเพิ่มน้ำนมแม่
ฟักทอง บำรุงเลือดเพิ่มน้ำนมแม่

ขิง ขิง เป็นผักและสมุนไพรไทยที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 แร่ธาตุ แคลเซียม และคาร์โบไฮเดรต มีสรรพคุณช่วยแก้คลื่นไส้ แก้อาเจียน ขับลม ขับเหงื่อ และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้น้ำนมไหลได้ดี ส่วนใหญ่มักจะนำมาหั่นฝอยรับประทานกับโจ๊ก หรือจะนำมาทำเป็นกับข้าวอย่าง ไก่ผัดขิง ยำปลาทูใส่ขิง หรือจะชงเป็นน้ำขิงดื่มร้อน ๆ ก็ยังได้

อ่านต่อ แจกฟรี..เมนูขิงเรียกนมแม่ หลากหลายทั้งคาวหวาน

หอมหัวใหญ่ สารไซโคลอัลลิอินในหัวหอมใหญ่ช่วยในการสลายลิ่มเลือด ป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดอุดตันหรือยับยั้งการรวมตัวกันของเกล็ดเลือด ปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการอุดตันและช่วยกระจายเลือดลม การรับประทานเป็นประจำในระยะยาวจะช่วยทำให้หลอดเลือดสะอาด และลดการแข็งตัวของหลอดเลือด

มะขาม มะขามมีธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ใบสด และฝักดิบมะขามมีคุณสมบัติในการช่วยฟอกโลหิต ดอกสดของมะขามใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง

กานพลู งานวิจัยพบว่าน้ำมันกานพลูสามารถช่วยละลายลิ่มเลือดและช่วยลดการจับตัวเป็นก้อนได้

มะละกอ มีคุณค่าทางอาหารที่อุดมไปด้วย ไฟเบอร์ วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และมีแคลเซียมสูง รวมทั้งยังมีในเรื่องของเอนไซม์ที่จะช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย มะละกอจะช่วยเพิ่มน้ำนม บำรุงเลือด บำรุงกระดูก สายตา อาหารแนะนำ เช่น น้ำมะละกอปั่น แกงส้มมะละกอสด หรือจะทานสุกก็ได้

แคนา ดอกแค ใช้ขับเสมหะ บำรุงโลหิต ขับผายลม ช่วยให้นอนหลับสบาย และเมล็ด แก้อาการปวดประสาท แก้โรคชัก

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก Helloคุณหมอ /Beezab.com / Kapook.com / Medthai.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

แม่ท้องต้องรู้! เลือดล้างหน้าเด็ก อันตรายไหม? มีผลต่อลูกในท้องหรือไม่

แม่ท้อง …จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องสมบูรณ์ แข็งแรงดีหรือไม่?

แจก!!พิกัด ตรวจภายใน ไม่เจ็บ..ไม่แพง ตรวจได้ทุกวัย

เลือดออกทางช่องคลอด ไม่ใช่เลือดประจำเดือน สัญญาณอันตรายที่ต้องไปหาหมอ!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up