เช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก

การเช็ดตัวลดไข้ให้ลูกอย่างถูกวิธี

event
เช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก
เช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก

เมื่อลูกป่วย การ เช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก ถือเป็นวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำเองได้ และหาก เช็ดตัวลดไข้ ได้อย่างถูกวิธีก็จะช่วยลดไข้ให้ลูกได้อย่างรวดเร็ว ลดโอกาสเกิดอาการชักจากไข้สูง และลดการใช้ยาลดไข้ ซึ่งถ้าทานมากเกินไปจะเกิดอันตรายต่อตับได้

วิธีการ เช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก

การ เช็ดตัวลดไข้ เป็นวิธีที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณ โดยอาศัยหลักของการนำความร้อนออกจากร่างกายด้วยน้ำ เป็นวิธีที่ทำได้สะดวก มีอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ใกล้ตัว และสามารถให้ผลลัพธ์ในการช่วยลดไข้ได้ดี โดยเฉพาะในเด็กทารกและเด็กเล็กที่มีสัดส่วนของพื้นที่ผิวกายมาก เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว ซึ่งจะได้ผลในการลดอุณหภูมิร่างกายได้อย่างรวดเร็ว

แต่ผลในการเช็ดตัวจะอยู่ได้ไม่นาน คุณพ่อคุณแม่อาจต้องให้ยาลดไข้แก่เด็กร่วมด้วย ซึ่งชนิดและขนาดของยาที่ให้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก และต้องไม่รับประทานยาลดไข้นานติดต่อกันเกิน 5 วันโดยไม่ทราบสาเหตุของไข้ และใน 1 วันควรรับประทานยาลดไข้ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง โดยใน 1 วันไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 5 ครั้ง

ทั้งนี้ การเช็ดตัวลดไข้ ที่ถูกต้อง จะมีประโยชน์มากหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องการให้เด็กรับประทานยาติดต่อ กันหลายครั้งมาก นอกจากนั้น ยาลดไข้จะใช้เวลาในการออกฤทธิ์ประมาณ 30 นาที คุณพ่อคุณแม่สามารถทำการเช็ดตัวลดไข้ให้ลูกได้ทันทีก่อนยาออกฤทธิ์ และเมื่อลูกมีไข้ โดยเฉพาะช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี ที่มีประวัติชักเมื่อมีไข้สูง (ไข้ชัก) วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้เบื้องต้นได้ดีทีเดียว

ผลของการเช็ดตัวลดไข้

การเช็ดตัวลดไข้ นอกจากจะทำให้ความร้อนในร่างกายลดลง โดยการถ่ายเทความร้อน ซึ่งใช้น้ำเป็นตัวช่วยพาความร้อนออกจากร่างกาย จากการใช้ผ้าชุบน้ำ บิดหมาดๆ แล้วเช็ดตัวเด็กอย่างนุ่มนวล นอกจากนี้ การเช็ดตัว ยังช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จึงช่วยเพิ่มการระบายความร้อน และช่วยให้เด็กรู้สึกสบายตัว

อุปกรณ์สำหรับ เช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก

อีกหนึ่งข้อสำคัญเมื่อลูกตัวร้อน คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมอุปกรณ์ในการเช็ดตัวไว้ใกล้มือ เพื่อสะดวกในการหยิบ ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆได้แก่

เช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก

  • ปรอทวัดไข้ ในปัจจุบัน มี 2 แบบ คือ
    • ปรอทแบบที่วัดทาง ผิวหนัง/รักแร้ เนื่องจากปัจจุบันจะใช้ปรอทวัดทางก้น/ทางทวารหนักเฉพาะในทารกแรกคลอดเท่านั้น อายุต่อจากนั้นใช้วัดทางรักแร้ทั้งหมด
    • แบบดิจิตอล (Digital) ซึ่งปัจจุบัน มีทั้งแบบวัดทางหูและทางหน้าผาก

หากเป็นปรอทแบบธรรมดา (วัดทางรักแร้) ใช้เวลาในการวางปรอทให้สัมผัสกับผิวหนังประมาณ 5 นาที หากเป็นดิจิตอล รอให้มีเสียงดังขึ้นที่แสดงว่าเครื่องฯได้อ่านอุณหภูมิเรียบร้อยแล้ว (เมื่อไปพบแพทย์ควรให้ประวัติด้วยว่า อุณหภูมิที่วัดที่บ้านนั้นใช้ปรอทแบบใดวัด วัดวิธีทางใด)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

  • นาฬิกา สำหรับไว้จับเวลาว่า เริ่มเช็ดตัวเมื่อไหร่ เช็ดตัวไปนานกี่นาทีแล้ว และเอา ไว้จับเวลา ที่จะวัดอุณหภูมิซ้ำหลังจากเช็ดตัว 30 นาทีในรายที่มีไข้สูงมากกว่า 8 องศาเซลเซียส แต่ในรายที่มีประวัติชักจากไข้สูง (ไข้ชัก) ต้องวัดอุณหภูมิซ้ำทุก 10-15 นาที
  • ผ้าเช็ดตัว/ผ้าขนหนูสำหรับรองใต้ตัวเด็กเวลาที่เช็ดตัว เพื่อป้องกันที่นอนหรือบริเวณที่ทำการเช็ดตัวเปียกชื้น และเอาไว้ซับที่ผิวเด็กเมื่อเช็ดตัวเสร็จเรียบร้อย ทั้งนี้ ผ้าเช็ดตัว ควรมีขนาดใหญ่กว่าตัวเด็กเล็กน้อย
  • ผ้าขนหนูที่อ่อนนุ่มขนาดที่สามารถพันรอบมือของผู้เช็ด ขนาดประมาณ กว้าง 20 x 30 cm. ความหนาของผ้าให้พอเหมาะกับการใช้เช็ดตัวเด็ก (ขึ้นกับความถนัดของแต่ละผู้ดู แลเด็ก) เวลาใช้คือพันรอบมือทั้ง 4 นิ้วเหลือนิ้วโป้งไว้ และพับส่วนปลายตลบมาสอดไว้ที่ฐานของผ้าและวางนิ้วโป้งกดไว้เวลาเช็ดตัว
  • กะละมังหรืออ่างน้ำขนาดความจุประมาณ 5 ลิตร
  • เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายบางๆ สำหรับสวมใส่หลังเช็ดตัว
  • น้ำที่จะใช้เช็ดตัว อุณหภูมิน้ำประมาณ 4 – 35 องศาเซลเซียส เทน้ำธรรมดาใส่กะละมัง (ขนาด 5 ลิตร) ผสมน้ำร้อนประมาณ 200 ซีซี. หรือ 1 แก้ว เพื่อน้ำจะไม่ร้อนมากเกิน ไป หากครั้งแรกไม่แน่ใจ สามารถใช้ปรอทวัดอุณหภูมิห้อง จุ่มลงไปวัดได้ เมื่อเราจำระดับความร้อนได้ ครั้งต่อไปไม่ต้องวัดด้วยปรอทแล้ว ใช้ข้อศอกหรือหลังมือแตะทดสอบ เพื่อไม่ให้น้ำที่ใช้อุ่นเกินไป ไม่ควรใช้น้ำแข็งหรือแอลกอฮอล์ในการเช็ดตัว จะทำให้เด็กหนาวสั่นได้ง่าย

>> ดูแผ่นพับพร้อมภาพประกอบ วิธี “การ เช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก ที่ถูกต้อง”  คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up