สมาธิสั้น

งานวิจัยชี้ ลูกไม่คลานอาจเสี่ยงเป็นโรค สมาธิสั้น

Alternative Textaccount_circle
event
สมาธิสั้น
สมาธิสั้น

ลูกไม่คลานแต่เดินเลย เริ่มเป็นค่านิยมความภูมิใจเล็ก ๆ ของพ่อแม่ แต่ระวังสักนิด งานวิจัยชี้ว่า การไม่คลานมีผลสัมพันธ์กับภาวะ สมาธิสั้น และอีกหลายทักษะเมื่อโต

งานวิจัยชี้ ลูกไม่คลานอาจเสี่ยงเป็นโรค สมาธิสั้น

วันนี้ทาง ทีมแม่ABK ขอหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง ที่ได้ไปพบจากเพจของนักกิจกรรมบำบัดเด็ก ที่มาให้ความรู้จากประสบการณ์ของตัวเอง ว่าการที่เด็กข้ามพัฒนาการด้านการคลานไป ไม่คลานแต่ข้ามไปยืน หรือเดินได้เลยนั้น ดูจากภายนอกทั่วไปแล้วก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาใด แถมยังเป็นเรื่องที่พ่อแม่ส่วนใหญ่จะชอบ และดูภูมิใจเล็ก ๆ ด้วยซ้ำไปว่าลูกเก่ง แต่มันจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่

นักกิจกรรมบำบัดเด็กได้ให้ความรู้จากประสบการณ์ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงงานวิจัยที่นำมาสนับสนุนกับแนวคิดที่ว่า ลูกไม่คลานแต่เดินเร็วอย่าชะล่าใจ เพราะมักจะเกิดผลเสียต่อพัฒนาการเด็ก อาจทำให้เกิดพัฒนาการที่ล่าช้า กระทบทักษะที่สำคัญหลายอย่าง รวมไปถึงเป็นส่วนหนึ่งทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้นในเด็กได้

ภาวะสมาธิสั้นเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน?

โรคสมาธิสั้น (ADHD-Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คือ ภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่ส่งผลให้มีสมาธิสั้นกว่าปกติ ขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้มีลักษณะอาการซุกซน วอกแวกง่าย ไม่เคยอยู่นิ่ง เวลาที่พูดด้วยจะไม่ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดไม่ค่อยได้ ขาดความรับผิดชอบ พบได้ค่อนข้างบ่อยในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3 – 7 ปี แต่ในรายที่เป็นไม่มาก อาการจะแสดงออกชัดเจนกว่าในช่วงหลัง 7 ขวบขึ้นไป เพราะเป็นช่วงที่ต้องเข้าโรงเรียนมีงานและการบ้านต้องรับผิดชอบหลาย ๆ ชิ้นในเวลาเดียวกัน มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและคุณครู รวมไปถึงการที่จะต้องรู้จักปรับตัวในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นและการเข้าสังคม

โดยสาเหตุแท้จริงนั้นไม่สามารถทราบได้ชัดเจน แต่หนึ่งในนั้นเชื่อกันว่า คือการที่สมองส่วนหน้าซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิและการยับยั้งชั่งใจทำงานน้อยกว่าปกติ แล้วพ่อแม่อย่างเรา ๆ จะป้องกันกันอย่างไรหากไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง

เด็กไม่อยู่นิ่ง สมาธิสั้น
เด็กไม่อยู่นิ่ง สมาธิสั้น

ส่องงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะสมาธิสั้น

เมื่อในปัจจุบัน การแพทย์ยังไม่สามารถหาเหตุแห่งการเกิดภาวะสมาธิสั้นได้ สิ่งหนึ่งที่พอจะทำให้เราสามารถหาทางป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าวกับลูกน้อยของเรา ด้วยความเชื่อที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้” นั้น ทางที่ดีที่สุดทางหนึ่ง ก็คือ การดูผลงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับเรื่องภาวะสมาธิสั้น เพราะถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถสรุปผลงานวิจัยที่ได้มาเป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอนได้ แต่เพียงแค่ผลสรุปที่พอจะเป็นแนวทางการเลี้ยงดูให้พวกเรา เหล่าบรรดาพ่อแม่ ใช้เป็นแนวทางยึดถือปฎิบัติ หรือหลีกเลี่ยงได้ โดยมีความสมเหตุสมผลเพียงพอนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็พร้อมที่จะลงมือทำตามเพื่ออนาคตลูกของเราถูกต้องไหม

CRAWLING TO A CURE งานวิจัยที่กล่าวถึง ความสัมพันธ์ของการคลานในวัยทารก กับการเกิดภาวะสมาธิสั้น
นักวิชาการมหาลัยชาวอินเดีย 2ท่าน ชื่อ O’Dell และ Cook
กล่าวไว้ว่า ถ้าเด็กๆไม่ได้คลานมากพอตอนที่เป็นทารก
อาจมีปัญหาการเรียนรู้หรือภาวะสมาธิสั้น
สองท่านกล่าวว่า วิธีการที่ช่วยแก้ไขในปัญหานี้ง่ายๆ
“เพียงแค่กลับไปที่พื้นและเรียนรู้วิธีการคลานใหม่อีกครั้ง”
เมื่อเด็กๆเรียนรู้ที่จะรวบรวมข้อมูลอย่างถูกต้องและคลานนานมากพอ พวกเขาจะเขียนได้อย่างบรรจง เล่นกีฬาดีขึ้น และทำการบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่วนใหญ่เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นหรือปัญหาการเรียนรู้
ไม่ได้คลานในระยะเวลามากพอตอนเป็นทารก
อาจจะคลานช่วงสั้นๆและเดินไว
ถ้าเด็กที่ไม่ได้รับการคลานเพียงพอ ทำให้เกิดreflex
ชื่อว่า STNR ยังคงค้างอยู่ ซึ่งปกติจะหายไปเมื่อตอนโต(9-10 เดือน) หมายความว่า ส่วนครึ่งบนของร่างกายทำงานร่วมกับครึ่งล่างของร่างกายได้ไม่ดี ไม่สัมพันธ์กัน
เจ้ารีเฟล็กซ์ตัวนี้ส่งผลในการทรงตัวท่านั่ง
นั่งได้ไม่นาน ยุกยิก , การเขียนและการอ่าน เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิงงานวิจัยจาก chicagotribune.com 

จากงานวิจัยดังกล่าว ชี้ให้เห็นแล้วว่า ผลของการที่เด็กในวัยทารกไม่ได้รับการเรียนรู้ทางร่างกายจากการคลานที่เพียงพอ จะทำให้ปฎิกิริยา Reflex 1 ใน 6 ปฎิกิริยาของทารกไม่หายไป ซึ่งทั้ง 6 ปฎิกิริยานั้น เป็นปฎิกิริยาที่พบได้ในทารกปกติ เพราะการเจริญเติบโตของสมองยังไม่เต็มที่ แต่จะค่อย ๆ หายไปเมื่อเริ่มโตขึ้น แต่การที่ปฏิกิริยานั้นไม่หายไป จึงส่งผลต่อพัฒนาการของลูกได้

STNR กับผลทางพฤติกรรม

การไม่ได้รับการคลานที่เพียงพอในวัยทารกนั้น ในงานวิจัยกล่าวว่าจะไปทำให้ปฏิกิริยา Tonic neck reflex ยังคงค้างอยู่ แล้วเจ้า STNR คืออะไร

symmetric tonic neck reflex (STNR) ปกติจะปรากฏราว ๆ อายุ 6-9 เดือน และหายไปราว ๆ 12 เดือน คือเมื่อศีรษะเด็กก้มลงข้างหน้า ซึ่งยืดส่วนหลังของคอ แขนก็จะงอขึ้นและขายืดออก ในนัยตรงข้าม ถ้าศีรษะน้อมไปทางข้างหลัง ซึ่งหดส่วนหลังของคอ แขนก็จะยืดออกและขาก็จะงอเข้า รีเฟล็กซ์นี้สำคัญเพราะช่วยให้เด็กดันตัวขึ้นให้น้ำหนักลงที่มือและเข่า (เพื่อจะคลาน) แต่อาจเป็นอุปสรรคในการคลานไปข้างหน้าถ้ายับยั้งรีเฟล็กซ์นี้ไม่ได้ ถ้ายังเกิดรีเฟล็กซ์นี้อยู่หลังอายุเกิน 2-3 ขวบ ร่างกายหรือประสาทอาจล่าช้าทางพัฒนาการ

ข้อมูลอ้างอิงจาก wikipedia.org

จากข้อมูลข้างต้นสามารถขยายความจากงานวิจัยที่ทาง นักกิจกรรมบำบัดได้นำเสนอชี้แจงในประเด็นที่ว่า การที่ลูกข้ามพัฒนาการด้านการคลานไปยืน หรือเดินเลยนั้น อาจส่งผลให้มีรีเฟล็กซ์ดั้งเดิมบางอย่างเหลืออยู่ในตอนที่ลูกโต ซึ่งรีเฟล็กซ์ดังกล่าวควรหายไปตอนที่ลูกยังเล็ก ๆ ทำให้เมื่อเขาโตพ่อแม่มักจะเจออาการผิดปกติทางพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การนั่งนิ่งได้ไม่นาน ยุกยิก ซึ่งเป็นอาการหนึ่งในเด็กไม่นิ่ง สมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ จึงสามารถพอจะสรุปความได้จากข้อมูลของงานวิจัย และประสบการณ์ของการเป็นนักกิจกรรมบำบัดว่า การไม่คลาน สัมพันธ์กับการเกิดอาการสมาธิสั้นในเด็ก 

แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้ว่า ไม่ใช่เด็กทุกคนที่ไม่เคยคลานจะมีอาการสมาธิสั้นทุกคนไป แต่บางคนที่ไม่คลาน แล้วเดินเลยไม่มีปัญหาอะไรเลยก็มี เพราะอาจได้รับการกระตุ้นในส่วนอื่นเมื่อโตขึ้นทดแทนไป เช่น การปีนป่าย การปั่นจักรยาน

สมาธิสั้น กับการคลาน
สมาธิสั้น กับการคลาน

ทักษะอื่น ๆ ที่อาจขาดไปถ้าลูกไม่คลานแล้วเดินเลย

  • ส่งผลต่อกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การเดิน เคลื่อนไหว ทั้งแขนขาสหสัมพันธ์ทำงานไม่ดี การทำงานของ 2 ซีกร่างกายไม่สัมพันธ์กัน สังเกตได้จาก เด็กมักเดินล้มง่าย ซุ่มซ่าม วิ่งตลอดเวลาแต่ล้มบ่อย
  • กล้ามเนื้อมัดเล็ก ถ้ากล้ามเนื้อมัดใหญ่ทำงานได้ไม่ดี เท่ากับพื้นฐานไม่ดีแล้วย่อมส่งผลกับกล้ามเนื้อมัดเล็กไม่ดีตาม เพราะเด็กไม่ได้ลงน้ำหนักที่มือ อาจทำให้มีปัญหาในการเขียนหนังสือ การจับดินสอ เป็นต้น
  • เด็กุบางคนมีความยากลำบากในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เช่น การแต่งตัว การล้างมือ ทำให้ความมั่นใจ หรือรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง ส่งผลต่อพัฒนาการด้านจิตใจอีกด้วย

ส่องงานวิจัยที่สนับสนุน การไม่คลานทำให้ขาดทักษะด้านอื่น ๆ

งานวิจัยในหัวข้อ ความสัมพันธ์ระหว่างการข้ามคลานกับการจับดินสอและการควบคุมดินสอ ในเด็กอายุ 5 และ 6 ปี

งานชิ้นนี้กล่าวว่า นำเด็กที่เข้ารับการฝึกกิจกรรมบำบัดที่มีปัญหาเกี่ยวกับท่าทางการหยิบจับ การควบคุมดินสอ พ่อแม่มักรายงานว่า เด็กมักข้ามขั้นพัฒนาการคลาน  โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 30 คน ที่ข้ามคลาน เปรียบเทียบกับเด็กกลุ่มคลานปกติ โดยใช้แบบประเมินการรับรู้สายตา DTVP-2 และแบบสังเกตการหยิบจับดินสอ ที่ใช้ในการประเมินการจับและควบคุมดินสอ
พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างเด็กที่พัฒนาการคลานปกติและเด็กที่ข้ามคลาน ในการจับดินสอ และการรับรู้ทางด้านสายตาแต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการควบคุมดินสอ
ผลสรุปของงานวิจัยชิ้นนี้ บอกว่า การเชื่อมโยงของการจับดินสอที่สัมพันธ์กับเด็กที่ข้ามคลานมีประสิทธิภาพอย่างนัยสำคัญมากกว่ากลุ่มที่ไม่คลาน แต่ไม่พบความแตกต่างในการทดสอบ cooridination test จากการสังเกตการควบคุมดินสอ
ข้อมูลอ้างอิงงานวิจัย งานวิจัยแปลไทยฉบับเต็มจาก Mind Brain & Body

จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า งานวิจัยชิ้นนี้สนับสนุนต่อแนวคิดที่ว่า การที่ลูกไม่คลาน หรือคลานไม่เพียงพอทำให้ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านร่างกาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างทักษะการทำงานประสานกันระหว่างตา กับมือ(Hand Eye Coordinate)

วิธีกระตุ้นลูกน้อยคลาน

วิธีกระตุ้นคลานเลี่ยง สมาธิสั้น
วิธีกระตุ้นคลานเลี่ยง สมาธิสั้น

สาเหตุหนึ่งที่พ่อแม่สมัยนี้มักให้ลูกข้ามขั้นตอนพัฒนาการคลานไปเลย ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการที่ไม่รู้ว่าจะต้องทำตัวอย่างไรให้ลูกอยากที่จะคลาน หรือ ไม่รู้วิธีกระตุ้นให้ลูกคลาน เคยชินกับการตอบสนองลูกโดยทันที ไม่ปล่อยให้เขาเรียนรู้ที่จะพยายามไปหาสิ่งที่ต้องการด้วยดัวเอง ดังนั้นสิ่งแรกในการที่จะช่วยกระตุ้นในลูกคลานนั้น ควรเริ่มที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็งในการตอบสนองต่อสิ่งที่ลูกวัยทารกต้องการเสียก่อน จากนั้นจึงหาสิ่งที่จะมาช่วยกระตุ้นให้เขาสนใจอยากคลาน ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  1. เล่นอุโมงค์ อุปกรณ์ยอดฮิตที่ช่วยให้ลูกจำเป็นต้องคลาน เพราะขนาดของอุโมงค์ที่ทำให้เขาจำใจต้องคลานไปที่ปลายทาง สิ่งเร้าสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากไปถึงปลายอุโมงค์ นั่นคือ ตัวคุณพ่อคุณแม่เองนั่นแหละที่ลูกน้อยอยากได้มากที่สุด
  2. พ่อแม่คลานให้ดู ใช้ของเล่นชักจูง ร่วมเล่นกับลูก เวลาเล่นกับลูกที่อยู่ในช่วงวัยกำลังคลาน เวลาเราเคลื่อนไหวก็ควรเปลี่ยนจากการลุกเดิน เป็นการคลานไป ก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเขาได้
  3. จัดเด็กอยู่ท่าตั้งคลาน เล่นของเล่น ชวนเอื้อมมือไปหยิบของเล่น ในระหว่างท่าตั้งคลาน เราอาจจะต้องจัดท่าทางการคลานให้ลูกในครั้งแรก ๆ เมื่อเขารู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะได้มาซึ่งของเล่น ในครั้งต่อ ๆ ไปลูกก็สามารถทำได้เอง
ข้อมูลอ้างอิงจาก Bangkokhospital.com / FB: ครูน้ำฝน นักกิจกรรมบำบัดเด็ก

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ไม่อยากให้ลูกเป็น “โรคสมาธิสั้น ADHD” หยุดหยิบยื่นสิ่งเหล่านี้

เทคนิคดูแลเรื่องเรียน เมื่อลูกน้อย สมาธิสั้น

ช่วยฝึกลูกนั่ง คลาน ยืน เดิน อย่างถูกวิธี และไม่เร่งลูก

ปล่อยลูกเล่นอิสระ วิ่ง-ปีนป่าย ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ยิ่งฉลาด สมองดี

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up