ความเครียด

ความเครียด ส่งผลต่อทารกน้อย พ่อแม่ควรระวัง!

Alternative Textaccount_circle
event
ความเครียด
ความเครียด

คุณพ่อ คุณแม่ ทราบหรือไม่ว่า เด็กทารกก็มี ความเครียด แล้วความเครียดเหล่านี้เกิดจากอะไร และส่งผลกระทบอย่างไรกับลูกน้อยบ้างนั้น ก่อนอื่น Amarin Baby & Kids จะพาคุณพ่อ คุณแม่ไปทำความเข้าใจกับความเครียดกันก่อนค่ะ ว่าคืออะไร?

ความเครียด คืออะไร?

ความเครียด คือการที่บุคคลได้รับรู้ว่า สัมพันธภาพระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากสิ่งเร้ามีการเปลี่ยนแปลงไป ให้ความรู้สึกไปในทางลบ หรือไม่สมดุลกับการปรับตัว เมื่อบุคคลเผชิญกับความเครียด จะแสดงออกมาทางพฤติกรรมในการจัดการขจัด หรือลดความเครียด ซึ่งในเด็ก จะมีวิธีจัดการกับความเครียดแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโต พัฒนาการทางด้านร่างกายสติปัญญา และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล โดยการแสดงออกทางความเครียดในเด็ก แบ่งออกเป็นดังนี้

1.วัยทารกแรกเกิด – 1 ขวบ

ช่วงวัยนี้ เป็นช่วงวัยในการพัฒนาความไว้วางใจ โดยเฉพาะในเด็กวัย 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งสามารถจำใบหน้าของคนใกล้ชิดได้ และเริ่มรู้สึกกลัวคนแปลกหน้า เด็กจะยิ้มเมื่อพอใจ และร้องไห้เมื่อไม่พอใจ การเปลี่ยนบุคคลที่เลี้ยงดูแบบไม่ซ้ำหน้าอาจทำให้เด็กเกิดความเครียด ส่งผลให้เด็กเกิดความหวาดระแวงขึ้นได้ในอนาคต

2.วัยหัดเดิน 1 – 3 ขวบ

วัยนี้ เป็นวัยที่มีการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองอย่างมากในทุกๆ ด้าน เมื่อเด็กมีความเครียด ระยะแรกพฤติกรรม และการตอบสนองจะออกมาในรูปแบบปฏิเสธ ไม่ให้ความร่วมมือ และอาละวาด ระยะต่อมาเด็กจะร้องไห้น้อยลง และให้ความร่วมมือกับกิจกรรมบ้าง และระยะสุดท้ายคือจะแสดงออกมาโดยการร้องไห้เสียงดัง กำมือแน่น กัดริมฝีปาก เตะ ถีบ ทุบตี หรือวิ่งหนี เด็กในวัยนี้จะร้องไห้หาพ่อแม่เสียงดัง เมื่อรู้ว่าตัวเองไม่ได้รับการตอบสนอง

ความเครียดและการจัดการความเครียด
ในเด็ก จะมีวิธีจัดการกับ ความเครียด แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโต

3.วัยก่อนเรียน 3 – 6 ขวบ

เด็กในวัยนี้ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง มีความคิดริเริ่ม และมีจินตนาการสูง เข้าใจอะไรที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อมีความเครียด เด็กจะแสดงออกโดยการผลักไส หรือหนีออกไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย บางคนอาจแสดงออกโดยการรับประทานน้อยลง ซึม นอนหลับยาก ร้องไห้เบาๆ

4.วัยเรียน 7 – 12 ปี

เป็นช่วงวัยที่เด็กสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเองมากขึ้น พึ่งพาผู้อื่นน้อยลง เมื่อมีความเครียดจะรับประทานน้อยลง ซึม และโทษตัวเองเมื่อเกิดความเครียด

อ่าน “ความเครียดในเด็กทารก ส่งผลเมื่อโตขึ้น” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up