อาการผิดปกติ คนท้อง

3 อาการผิดปกติ คนท้อง ที่ต้องรีบไปรพ. ในช่วง 3 เดือนแรก

Alternative Textaccount_circle
event
อาการผิดปกติ คนท้อง
อาการผิดปกติ คนท้อง

คนท้องต้องรู้! 3 อาการผิดปกติ คนท้อง ที่ต้องรีบไปโรงพยาบาลในช่วง 3 เดือนแรก โดยคุณหมอโอ นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์ สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร, กรรมการแพทยสภา เจ้าของเพจ เค้าเรียกผมว่า หมอเมนส์

3 อาการผิดปกติ คนท้อง ที่ต้องรีบไปโรงพยาบาล ในช่วง 3 เดือนแรก

    • เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

      อาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดในช่วง 3 เดือนแรกเป็นได้หลายสาเหตุ ที่พบบ่อยได้แก่

      • ท้องนอกมดลูก ภาวะท้องนอกมดลูกเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตเกิดจากตัวอ่อนฝังตัวอยู่นอกโพรงมดลูก พบบ่อยที่ท่อนำไข่ มักจะมีอาการเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอด ร่วมกับอาการปวดท้องน้อยเฉียบพลัน บางรายมีอาการเลือดออกในช่องท้องปริมาณมากทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตตก หมดสติเกิดภาวะช็อคได้
      • ภาวะแท้ง ภาวะแท้งมีหลายชนิดเช่น แท้งคุกคาม แท้งไม่ครบ แท้งครบ โดยจะมีอาการเลือดออกทางช่องคลอดเป็นตัวนำ แต่การวินิจฉัยจำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกายและการตรวจทางอัลตราซาวน์ร่วมด้วย ในกรณีที่เป็นภาวะแท้งคุกคามการให้ยาฮอร์โมนบางชนิดอาจช่วยทำให้สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้
      • ครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นภาวะการตั้งครรภ์ผิดปกติ ตัวอ่อนและรกไม่สามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์จากมีลักษณะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดร่วมกับมีเม็ดคล้ายฟองไข่ปลาหลุดออกมาด้วย จะทำการวินิจฉัยด้วยการส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา
      • ภาวะติ่งเนื้อที่ปากมดลูก เป็นภาวะที่ไม่ร้ายแรง ไม่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ดีอาจจะทำให้มารดาเกิดความวิตกกังวล เนื่องจากไม่สามารถแยกได้ว่าเลือดที่ออกเกิดจากติ่งเนื้อ หรือว่ามาจากในโพรงมดลูก

ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน

  • ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน

    • อาการปวดท้องน้อยเฉียบพลันเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะท้องนอกมดลูก และมีเลือดออกในช่องท้อง ภาวะถุงน้ำที่รังไข่เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น มีการแตกหรือบิดขั้ว การวินิจฉัยจำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกายร่วมกับการทำอัลตราซาวด์ ซึ่งการรักษาอาจจะจำเป็นต้องผ่าตัดฉุกเฉิน
  • คลื่นไส้อาเจียนจนเป็นลม

    • ภาวะแพ้ท้องในบางคนอาจจะมีอาการรุนแรง เช่น อาเจียนมากจนเกิดภาวะขาดน้ำ เกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ บางรายจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

จะเห็นได้ว่าบางภาวะที่กล่าวมาข้างต้น สามารถเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้นเมื่อประจำเดือนขาด หรือรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ ควรจะมาทำการตรวจฝากครรภ์ทันที เพื่อยืนยันว่าเป็นการตั้งครรภ์ปกติในโพรงมดลูก และไม่มีถุงน้ำรังไข่ ที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 


Thinking Quotient ฉลาดคิดเป็น และฉลาดเลือกในสิ่งที่ถูกต้อง หนึ่งใน Power BQ 10 ความฉลาดที่เด็กยุคใหม่ควรมี ซึ่งเริ่มต้นได้ที่ตัวคุณแม่เองก่อน ในการที่จะเตรียมพร้อมหาข้อมูลการคุมกำเนิดที่เหมาะสม เพื่อป้องกัน “ท้องไม่พร้อม” ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา หากคุณตั้งท้อง แต่ยังไม่พร้อมมีลูก


ติดตามเรื่องน่ารู้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และสุขภาพสตรี กับคุณหมอโอฬาริก

ได้ที่เพจ เค้าเรียกผมว่า หมอเมนส์

เพจ หมอโอฬาริก

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

หมอเฉลย คุมกำเนิดแบบไหนดีที่สุด? โดยคุณหมอโอฬาริก

คนท้องติดโควิด คนท้องทำ Home isolation ได้ไหม?

คนท้องติดโควิดกินยาอะไรได้บ้าง ยาที่กินได้ vs ยาต้องห้าม

 

อาการช็อก

เช็ก! อาการช็อก เบื้องต้นของลูกนิ้วมือนิ้วเท้าฝ่าเท้าช่วยได้

Alternative Textaccount_circle
event
อาการช็อก
อาการช็อก

อาการช็อก ในเด็กเป็นอาการที่แสดงว่าร่างกายกำลังวิกฤต อยู่ในภาวะอันตราย แต่เราสามารถตรวจพบภาวะช็อกได้ตั้งแต่ในระยะแรก ถ้าหาสาเหตุได้ไว เยียวยาทัน เด็กก็หายไว

เช็ก! อาการช็อก เบื้องต้นของลูก นิ้วมือนิ้วเท้าฝ่าเท้าช่วยได้

ช็อก (Shock) คือ ภาวะของร่างกายที่มีการไหลเวียนเลือดลดลงต่ำผิดปกติ ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์และอวัยวะเสียหายจากการขาดเลือดที่เป็นตัวนำออกซิเจนและสารอาหาร เมื่อเกิดกับอวัยวะสำคัญและรักษาไม่ทันเวลาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และยังพบว่า 1 ใน 5 คนที่มีภาวะช็อกมักเสียชีวิต

ภาวะช็อก เป็นภาวะที่อันตราย และมีอัตราการเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาล่าช้า ซึ่งในผู้ป่วยเด็ก เป็นอีกกลุ่มที่คุณหมอจะทำการตรวจวินิจฉัยได้ยาก ด้วยปัญหาต่าง ๆ นานาเฉพาะของผู้ป่วยกลุ่มเด็ก เช่น ร้องไห้งอแง ไม่ยอมให้จับตัว ไม่สามารถสื่อสารอาการได้ เป็นต้น

ลูกร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ สังเกต อาการช็อก ในเด็ก
ลูกร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ สังเกต อาการช็อก ในเด็ก

การที่พ่อแม่ หรือผู้ปกครองไม่ละเลย สังเกตอาการของเด็ก เมื่อพบว่าเด็กมีอาการผิดปกติ และรีบพาไปรักษา หรือสามารถเล่าอาการที่พบให้กับคุณหมอได้อย่างละเอียดก็เป็นส่วนช่วยลดขั้นตอน และความเสี่ยงในการเกิด อาการช็อก ได้

ภาวะฉุกเฉินในเด็กที่ควรรีบนำเด็กไปโรงพยาบาล เพื่อพบแพทย์ทันที อาการดังต่อไปนี้

  1. เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น กินสารพิษ กินยาเกินขนาด หรือ เลือดออกไม่หยุด หลังจากที่พยายามห้ามเลือดแล้ว เช่น การกด
  2. หมดสติ
  3. ถูกงูกัด สัตว์มีพิษ หรือ แมลงต่อย และ เกิดอันตรายอย่างรุนแรง ภายใน 30 นาที เช่น มีไข้ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ลมพิษขึ้นทั้งตัว แน่นในคอ ในอก บวมมาก หมดสติ
  4. หายใจไม่ออก หายใจลำบาก กระวนกระวาย หรือ หน้าเขียว
  5. เด็กอาจชัก เมื่อไข้สูง หรือ ลมบ้าหมู ฯลฯ ห้ามใช้ไม้งัดฟัน เพราะฟันอาจหักไปอุดตันหลอดลมได้ ถ้ามีไข้ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือ น้ำธรรมดา แล้วรีบพาเด็กไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่าพยายามให้กินยาในขณะที่เด็กชัก
  6. ปวดท้องรุนแรง ให้งดอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามใช้ยา ถ้ามีไข้และอาเจียนด้วยอาจเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ หรือ โรคร้ายแรงอื่นๆ
  7. อาเจียน หรือ ถ่ายเป็นเลือด หรือ เป็นสีดำจำนวนมาก อาจเป็นเพราะมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  8. ท้องเสียในเด็กอ่อน หรือ เด็กเล็กๆ การถ่ายอุจจาระเพียง 3-4 ครั้ง ก็เสียน้ำไปมาก ถ้าเด็กมีอาการกระวนกระวาย ตัวร้อนผิวแห้ง ปัสสาวะน้อย อ่อนเพลียมาก แสดงว่า ร่างกายขาดน้ำมาก
  9. อาการชักเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กอายุ 6 เดือน – 6 ปี มักเกิดจากภาวะมีไข้สูง ถ้าเด็กมีอาการชัก ต้องประเมินเรื่องไข้ ถ้ามีไข้พิจารณาเช็ดตัวจะช่วยให้ไข้ลดลง และ หยุดชักได้ เป็นส่วนมากถ้ายังไม่หยุดให้รีบนำส่งโรงพยาบาลพร้อมเช็ดตัวตามด้วยขณะเดินทาง

กรณีเด็กชัก โดยไม่มีไข้ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที โดยนอนคว่ำ หรือ นอนตะแคง เพื่อป้องกันการสำลัก ถ้าเด็กชักจนหยุดหายใจ ตัวเขียว ต้องช่วยฝายปอด ไม่ควรใช้ไม้หรือของแข็งงัดฟัน เนื่องจากฟันอาจหักหลุดไปอุดหลอดลมได้ ห้ามกรอกยาทุกชนิดทางปาก ให้คนไข้ที่มีรู้สึกตัว หรือ กำลังชัก

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.synphaet.co.th
คอยวัดไข้เด็ก ป้องกันไข้สูงจนเกิด อาการช็อก
คอยวัดไข้เด็ก ป้องกันไข้สูงจนเกิด อาการช็อก

อาการช็อก

ช็อกเป็นภาวะอันตรายที่ควรไปพบแพทย์ทันที ผู้ที่เกิดภาวะนี้ความดันโลหิตจะลดต่ำลงอย่างรุนแรง และอาจพบอาการได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและประเภทของภาวะช็อก อาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา หรือบางรายอาจไม่เต้น
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • หายใจตื้นและเร็ว
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด
  • ตัวซีดและเย็น
  • ตาค้าง ตาเหลือก
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • คลื่นไส้
  • รู้สึกสับสน วิตกกังวล
  • ปัสสาวะน้อยหรือไม่มีปัสสาวะ
  • กระหายน้ำและปากแห้ง
  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ความรู้สึกตัวลดลงหรือหมดสติ
  • เหงื่อออกมาก
  • นิ้วและปากบวม

Capillary Refill (แคปปิลารี่ รีฟิว)

Capillary Refill หรือ CRT  คือ การวัดการไหลเวียนของเส้นเลือดฝอย ใช้บอกว่ามีเลือดมาหมุนเวียนตามปลายอวัยวะมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง เป็นอาการแสดงทางผิวหนัง เป็นวิธีวัดเพื่อใช้ตรวจวินิจฉัยภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว (circulatory failure or shock) เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะฉุกเฉิน วิกฤต การปรับตัวโดยหลอดเลือดไปผิวหนังน้อยลง จะทำให้ปลายมือปลายเท้าเย็น ซีด ต่อมาจะเป็นบริเวณลำตัว capillary refill จะนานกว่าปกติ (มากกว่า 2 วินาที) มี ผิวหนังเป็นจ้ำ ๆ เขียวได้

CRT จึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือตรวจสอบอย่างง่ายที่สามารถช่วยแจ้งการคัดแยก การรักษา และการติดตามผู้ป่วยที่มีภาวะระบบไหลเวียนโลหิตเฉียบพลันที่เกี่ยวข้องกับภาวะติดเชื้อ

วิธีการตรวจ

การตรวจโดยใช้นิ้วกดบริเวณปลายนิ้วมือ / นิ้วเท้าแล้วปล่อยทันที ถ้าระบบไหลเวียนไม่ดี บริเวณปลายนิ้วมือ/นิ้วเท้าที่ถูกกดจะยังคงซีดขาวอยู่เป็นเวลานานกว่า 2 วินาที (capillary refill > 2 วินาที) แต่ในกรณีเด็กที่มีนิ้วมือ นิ้วเท้าที่เล็ก เราสามารถวัด CRT จากฝ่าเท้าได้ด้วยเช่นกัน โดยทีมแม่ABK ได้ขออนุญาตนำคำแนะนำดี ๆ จากเพจห้องฉุกเฉินต้องรู้ เกี่ยวกับ CRT ที่ฝ่าเท้ามาฝากกัน
ตรวจเด็กอย่างไรไม่ให้พลาดเรื่องช็อก?
เด็กป่วยมักมาห้องฉุกเฉินตอนดึกๆ
ผู้ป่วยเด็กตรวจยาก เพราะงอแง ไม่ยอมให้จับ
เด็กพูดไม่ได้ บอกอาการไม่ได้
บางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าเด็กกำลังอาการแย่หรือเปล่า?
.
การตรวจเส้นเลือดฝอยที่ฝ่าเท้าช่วยได้เยอะครับ
เรียกว่า Capillary Refill (แคปปิลารี่ รีฟิว)
แคปปิลารี่ แปลว่า เส้นเลือดแดงฝอย
รีฟิว แปลว่าการไหลคืนกลับของเส้นเลือด
.
เราจะใช้นิ้วมือกดที่ฝ่าเท้า…แล้วก็ปล่อย
จุดสีขาวที่เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่ถูกกด…จะคืนตัวกลับมา
มีสีชมพูดังเดิม ภายในไม่เกิน 2 วินาทีครับ (นับในใจ หนึ่งและสอง)
แปลว่าเลือดไหลเวียนดี
.
แต่ถ้ากดแล้วเป็นจุดสีขาวนานมาก
แสดงเลือดไปเลี้ยงเส้นเลือดฝอยส่วนปลายไม่ดี
แปลว่าเด็กกำลังช็อกอยู่ครับ!!!
.
ตัวอย่างเช่น เด็กอายุ 1 ปี ท้องเสีย อาเจียน
จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กช็อก (Shock) หรือกำลังแย่?
– ร้องไห้ไม่มีน้ำตาเหรอ? ไม่เสมอไป…เคยเจอเด็กดราม่าการละครไหมครับ?
– เด็กซึม? หรือว่าแค่หลับ? มาหาหมอตอนตีสาม หมอก็ง่วงครับ
– ความดันตกเหรอเปล่า?เราไม่ได้วัดความดันโลหิตเด็กทุกคนแบบผู้ใหญ่
เพราะวัดยาก เด็กไม่ยอมให้วัด ดิ้น บางที่ไม่มีเครื่องวัดของเด็กก็มีครับ
– ชีพจรเร็ว? เด็กร้องกรี๊ดๆ ชีพจรก็เร็วครับ
.
นี่แหละครับ หลายคนไม่ชอบตรวจเด็ก
.
ลองตรวจการคืนตัวของเส้นเลือดฝอยที่ฝ่าเท้าดูนะครับ
(Capillary Refill) ช่วยไ้ด้มากครับ
การตรวจง่ายๆที่เรามักละเลย
.
ในผู้ใหญ่เราตรวจจากปลายเล็บ
แต่เด็กนิ้วเล็กกระจิ๋วหลิว ตรวจที่ฝ่าเท้าง่ายกว่าครับ
.
มีคำที่น่าสนใจ คือ Compensated กับ Decompensated Shock
คอมเพนเซส (Compensated) แปลว่า ชดเชย เยียวยา
.
ถ้าพูดถึงคำว่าช็อก เราก็คิดถึงความดันตก ซึม หมดสติ ปั๊มหัวใจ
อันนั้นมันช็อกไกลไปมากแล้ว
แต่จริงๆช็อกในระยะแรก จะไม่มีความดันตก อาจมีแค่ชีพจรเต้นเร็ว
วิงเวียน เพลีย วูบ แค่นั้นครับ
เพราะร่างกายคนเราฉลาด มีการชดเชยไม่ทำให้เราแย่ขนาดนั้น
นี่แหละครับที่เรียกว่า การชดเชยภาวะช็อก (Compensated Shock)
.
เหมือนเขื่อนจะแตก มันก็ไม่ได้ปั๊ง แตกกระทันทัน
มันค่อยๆร้าว เป็นสัญญาณเตือนมาก่อน
ร่างกายคนเราก็เหมือนกันครับ
.
ถ้าเรารักษาทัน เยียวยาทัน คนไข้จะหายไว
แต่ถ้าเราละเลยหรือไม่สังเกตสัญญาณเตือน ปล่อยให้แย่ลง
ต่อให้เทวดามารักษา ก็ไม่อาจยื้อชีวิตได้ครับ
.
เด็กเป็นมนุษย์ตัวเล็กที่อึดมากๆ จัดการเยียวยาการช็อกด้วยตนเองได้เก่ง
(Compensated Shock) เด็กยังดูดีอยู่เลยแม้ว่าช็อกไปแล้ว
ถ้าเราปล่อยให้ความดันตก หรือเกินเยียวยา (Decompensated Shock)
อาการจะแย่ลงเหมือนลงเหวอย่างรวดเร็ว!
รักษาอะไรก็เอาไม่อยู่แล้วครับ…
.
ดังนั้นการตรวจพบช็อกระยะแรกในเด็กจึงสำคัญมาก
ต้องรีบหาสาเหตุที่ทำให้ช็อก
และรีบให้น้ำเกลือ หรือยาฆ่าเชื้อ หรือให้เลือด ตามแต่สาเหตุนั้นๆ
อย่าปล่อยให้สายเกินแก้ไขครับ
.
เขียนมาซะยาว ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ครับ
สรุปว่า อย่าลืมตรวจการคืนตัวของเส้นเลือดแดงฝอยที่ฝ่าเท้านะครับ
(แคปปิลารี่ รีฟิว-Capillary Refill)
.
วันนี้ไม่ได้วาดรูปครับ พักหนึ่งวัน แต่ไม่พักเขียนโพสต์ 🙂
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก เพจ ห้องฉุกเฉินต้องรู้
อย่างไรก็ตามอาการแสดงทางผิวหนังเหล่านี้ เป็นเพียงการสังเกตอาการเบื้องต้น ซึ่งการวัด CRT ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกหลายอย่าง อาจเกิดจากอุณหภูมิแวดล้อมที่เย็นจัดได้ โดยเฉพาะห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ และเด็กเล็กมาก

เรื่องลูกป่วยฉุกเฉิน เป็นเรื่องที่มีเวลา เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการที่พ่อแม่ศึกษาความรู้รอบตัวเหล่านี้เอาไว้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน การสามารถบอกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษา หรือหากสามารถช่วยเหลือลูกเมื่อยังไม่ถึงมือหมอ ก็เป็นเรื่องที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิต และการเจ็บป่วยร้ายแรงได้ดีทีเดียว

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.siamhealth.net/www.pobpad.com /www.nursingtimes.net
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

CDC ชี้ ไฟเซอร์เด็ก ลดเสี่ยงโอมิครอน พร้อมจุดฉีดล่าสุด!

โรคพิษสุนัขบ้า ทำเสียชีวิตแล้ว 1 ราย แค่ถูกสุนัขข่วน

แม่ให้นมห้ามอด ลูกอาจ ขาดวิตามินบี1 อันตรายถึงตายได้

เตือน! 5 โรคหน้าร้อน ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

โฟเลต

โฟเลต หรือ กรดโฟลิก สิ่งสำคัญที่หญิงตั้งครรภ์ห้ามขาด!!!

Alternative Textaccount_circle
event
โฟเลต
โฟเลต

ผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และคุณแม่ที่กำลังให้นมลูก มีความจำเป็นต้องรับประทาน โฟเลต หรือกรดโฟลิกมากขึ้นเป็นพิเศษ

โฟเลต หรือ กรดโฟลิก สิ่งสำคัญที่หญิงตั้งครรภ์ห้ามขาด!!!

คุณแม่หลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่า โฟเลต กับ กรดโฟลิก เหมือนกันไหม ควรรับประทานช่วงไหนดี มีประโยชน์อะไรบ้าง ถ้ารับประทานไม่เพียงพอจะมีผลกระทบอย่างไร ควรรับประทานปริมาณเท่าไหร่ ทีมแม่ ABK ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโฟเลต หรือกรดโฟลิกมาให้แล้วค่ะ

กรดโฟลิค
กรดโฟลิค

โฟเลต กับ กรดโฟลิก ต่างกันอย่างไร

โฟเลต (Folate) กับ กรดโฟลิก (Folic Acid) นั้น คือวิตามินบี 9 เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่ กรดโฟลิก นั้นคือชื่อเรียกของวิตามินบี 9 ที่ได้มาจากการที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น แต่ โฟเลต คือชื่อเรียกของวิตามินบี 9 ที่ได้รับจากอาหารตามธรรมชาติ ทั้งนี้โฟเลตจะสลายได้ง่าย หากนำไปปรุงอาหารด้วยความร้อน เช่น ต้ม ผัด ลวก ดังนั้นจึงควรรับประทานผัก และผลไม้สด เพื่อให้โฟเลตยังคงอยู่

ประโยชน์ต่อทารกในครรภ์

กรดโฟลิกนั้นมีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อน ช่วยป้องกันและลดความผิดปกติของระบบประสาท ทั้งภาวะไม่มีเนื้อสมอง ภาวะไขสันหลังไม่ปิดจากการขาดโฟลิก นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ ไปจนถึงการสร้างเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วย

กรดโฟลิกยังช่วยลดความเสี่ยงของความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรถ์ได้ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของแขน ขา ความพิการของระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคไม่มีรูทวารหนัก เป็นต้น

คุณแม่ตั้งครรภ์มีความต้องการกรดโฟลิกเพื่อทารกในครรภ์ แต่ร่างกายกลับดูดซึมจากอาหารได้น้อยกว่าปกติ ดังนั้น คุณแม่จึงควรทานกรดโฟลิกเพิ่มมากกว่าปกติ

ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

กรดโฟลิกเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นสาร tetrahydrofolate ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ และซ่อมแซมสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าดีเอ็นเอ (DNA) ควบคุมการสังเคราะห์กรดอะมิโน ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย อีกทั้งยังควบคุมการสร้าง และการแก่ตัวของเม็ดเลือด โดยเฉพาะเม็ดเลือดแดง ด้วยเหตุนี้การเสริมกรดโฟลิก จึงถูกนำมาใช้อย่างเป็นวงกว้างในการป้องกัน และรักษาภาวะโลหิตจาง นอกเหนือจากประโยชน์ที่ใช้ในการรักษาภาวะโลหิตจาง ในปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัยที่ถูกตีพิมพ์อยู่ในวารสารระดับนานาชาติพบว่า การเสริมกรดโฟลิก สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

นอกจากนี้ กรดโฟลิกมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการสร้าง และการสลายกรดอะมิโนที่ชื่อว่า โฮโมซีสทีน (homocysteine) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดภายในร่างกาย หากร่างกายมีสารดังกล่าวคั่งสะสมในกระแสเลือดสูงเกิน 15 ไมโครโมลต่อลิตร จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนที่มีระดับปกติ

ควรรับประทานช่วงไหน

สำหรับผู้หญิงที่กำลังวางแผนมีบุตร ควรทานก่อนตั้งครรภ์ 1 – 3 เดือน และทานต่อเนื่องไปอีกหลังเริ่มตั้งครรภ์ไปจนอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ ทั้งนี้หากรอจนทราบว่าตั้งครรภ์ก่อน แล้วค่อยทานอาจจะสายเกินไป เพราะในช่วงอายุครรภ์ที่ 3-4 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ จะเป็นช่วงที่พัฒนาการของสมอง และระบบประสาทของทารกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหลอดประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งนั่นอาจช้าเกินไปที่จะแก้ไขความผิดปกติ

โฟเลต
โฟเลต

ผลเสียหากทารกได้รับโฟลิกไม่เพียงพอ

อาจทำให้ทารกเสี่ยงต่อความพิการได้ ในกรณีที่เป็นมาก อาจเกิดความพิการทางสมอง และระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึงกระโหลกศีรษะอาจไม่ปิด หากปล่อยไว้จนคลอด ทารกจะมีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ในส่วนของประสาทไขสันหลังเองก็เสี่ยงต่อความพิการได้เช่นกัน การสร้างเม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่กว่าปกติหรือโตไม่เต็มที่ รวมถึงภาวะสารโฮโมซีสเตอีนสูงกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจ ไขมันอุดตันในหลอดเลือดสมอง โคเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานได้

ปริมาณที่ร่างกายต้องการ

ผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ ควรได้รับกรดโฟลิกปริมาณ 400 ไมโครกรัมต่อวัน ในขณะที่หญิงตั้งครรภ์ มีความต้องการกรดโฟลิกมากขึ้นถึง 800 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ทั้งนี้ควรรับประทานไม่ให้เกิน 1 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะหากร่างกายได้รับกรดโฟลิกมากเกินไป กรดโฟลิกนี้จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 12 ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เป็นโรคโลหิตจางได้

ในประเทศไทยยาเม็ดโฟลิกจะมีชนิดเม็ดละ 5 มิลลิกรัม และในยาบำรุงครรภ์ทุกชนิดมักจะมีโฟลิกผสมอยู่แล้วอย่างน้อย  0.4 มิลลิกรัม ผู้หญิงที่วางแผนจะมีบุตร ควรรับประทานโฟลิกวันละ 1 เม็ด (1 – 5 มิลลิกรัม) ตั้งแต่ 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ต่อเนื่องไปจนถึง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นรับประทานต่อวันละ 0.4 มิลลิกรัม

มีงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา พบว่า คนทั่วไปได้รับโฟเลตไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว จึงมีการทำเป็นยาเม็ดโฟลิกเพื่อรับประทานเสริมเข้าไป โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์

การรับประทานโฟเลต หรือโฟลิกมาก ๆ จะมีผลเสียหรือไม่

การรับประทานโฟเลตในรูปแบบผักและผลไม้มาก ๆ ไม่มีผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ไม่มีสะสมในร่างกาย ส่วนที่เกินจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ

ส่วนโฟลิกที่อยู่ในรูปของยาหรือวิตามินแแบบเม็ด หากรับประทานเกินปริมาณที่กำหนดต่อวันนั้น ยาหรือวิตามินจะสามารถสลายได้เช่นเดียวกับผักและผลไม้ โดยจะละลายได้ในน้ำ ดังนั้น แม้จะได้รับในปริมาณที่มาก ก็สามารถสลายไปได้ในร่างกาย

อาหารที่มีโฟลิกสูง

ผักใบเขียว เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต เช่น คะน้า ผักบุ้ง ตำลึง ผักโขม กะหล่ำปลี ผักปวยเล้ง ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง

บล็อคโคลี่ บร็อคโคลี่ 1 ถ้วย ทำให้เราได้รับโฟเลตมากถึง 26% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการโฟเลตต่อวันเลยทีเดียว ยิ่งทานแบบลวก หรือทานกับน้ำสลัดแบบสด ๆ ก็จะยิ่งได้คุณค่าสารอาหารที่ดีกว่าการนำไปทอดหรือผัด

ผลไม้รสเปรี้ยว ความจริงแล้วผลไม้ส่วนใหญ่ต่างอุดมไปด้วยโฟเลตทั้งนั้น เพียงแต่ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะมีโฟเลตปริมาณเยอะมาก โดยเฉพาะส้ม ในส้ม 1 ลูกมีโฟเลตสูงถึง 50 กรัม นอกจากนี้พวกมะละกอ องุ่น กล้วย แคนตาลูป เอพริคอต และสตรอเบอรี่ ก็มีโฟเลตสูงเช่นกัน

อื่นๆ ไข่แดง ตับ เมล็ดทานตะวัน ฟักทอง อะโวคาโด ถั่วชนิดต่าง ๆ รวมทั้งธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ลูกเดือย ล้วนอุดมไปด้วยโฟเลตทั้งสิ้น

บทความเกี่ยวกับ โฟเลต หรือกรดโฟลิก ที่ทาง ทีมแม่ ABK นำเสนอนี้ คงทำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และกำลังวางแผนการตั้งครรภ์ ได้เห็นถึงความสำคัญ และได้เตรียมโภชนาการสำหรับคุณแม่ เพื่อบำรุงทารกในครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรง และป้องกันทารกพิการแต่กำเนิด

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

พัฒนาการทารกในครรภ์ 9 เดือนแห่งการเปลี่ยนแปลง

ดูแล “แผลผ่าคลอด” อย่างไร? ให้เนียน สวย ไม่ติดเชื้อ!!

ฉีดวัคซีนโควิดตอนตั้งครรภ์ ช่วยทารกเข้า รพ. น้อยลง

แม่ให้นมห้ามอด ลูกอาจ ขาดวิตามินบี1 อันตรายถึงตายได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://pharmacy.mahidol.ac.th, https://www.phyathai.com, https://www.synphaet.co.th, https://www.thaihealth.or.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

น้ำแข็ง น้ำดื่ม ไม่สะอาด

หน้าร้อนระวัง น้ำแข็ง น้ำดื่ม ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรค

Alternative Textaccount_circle
event
น้ำแข็ง น้ำดื่ม ไม่สะอาด
น้ำแข็ง น้ำดื่ม ไม่สะอาด

หน้าร้อนระวัง น้ำแข็ง น้ำดื่ม ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรค

อากาศแบบนี้ได้เครื่องดื่มใส่น้ำแข็งเย็น ๆ สักแก้ว ทั้งคุณพ่อคุณแม่ และลูก ๆ คงจะชื่นใจกันน่าดูเลยนะคะ น้ำแข็งนี่จะเอามาใส่น้ำดื่มให้เย็นขึ้นก็ได้ จะเอามาทำน้ำแข็งใส กินกันในครอบครัวก็ได้ หลายบ้านเลยซื้อน้ำแข็งติดบ้านไว้ตลอด หลายบ้านก็ซื้อน้ำดื่มเย็น ๆ ไว้ติดบ้าน แต่รู้ไหมคะว่า หาก น้ำแข็ง น้ำดื่ม ไม่สะอาด ก็อาจปนเปื้อนเชื้อโรค ลูกของเราก็อาจติดโรคจากอาหารและน้ำดื่มได้ค่ะ

น้ำแข็ง น้ำดื่ม ไม่สะอาด สถิติผู้ป่วยจากโรคทางอาหารและน้ำดื่ม

จากสถิติการเฝ้าระวังโรคในปี 2564 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยที่มีภาวะอาหารเป็นพิษจำนวนกว่า 53,540 ราย เสียชีวิต 1 ราย ชี้ให้เห็นถึงอัตราการเกิดโรคที่ยังสูง ซึ่งอาการอาหารเป็นพิษเกิดได้กับผู้ที่นิยมบริโภคน้ำดื่ม หรือน้ำแข็งที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอีกด้วย จึงขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจเรื่องความสะอาด ถูกสุขลักษณะเพื่อลดและควบคุมการเกิดโรค

เลือกน้ำแข็งจากแหล่งผลิตที่สะอาด

ในช่วงหน้าร้อน น้ำแข็ง อาจเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารตามมาได้ จึงควรใส่ใจในเรื่องความสะอาดปลอดภัย เนื่องจากอุณหภูมิสูงเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค โดยเลือกน้ำแข็ง จากแหล่งผลิตที่ถูกสุขลักษณะได้มาตรฐาน GMP ผู้จำหน่ายน้ำแข็งต้องคำนึงถึงความสะอาดและปลอดภัยโดยเฉพาะการเก็บรักษาความเย็นและภาชนะสำหรับบรรจุน้ำแข็ง ดังนี้

  • ห้ามใช้แกลบ ขี้เลื่อย กระสอบ กาบมะพร้าว เสื่อ ในการห่อหรือปกคลุมน้ำแข็งเด็ดขาด
  • สถานที่เก็บรักษาเพื่อจำหน่ายต้องสะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกใกล้ ๆ และมีระดับสูงกว่าทางเดินอย่างน้อย 60 เซนติเมตร
  • ง่ายต่อการทำความสะอาดและไม่มีสิ่งปนเปื้อนในน้ำแข็ง
  • ภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำแข็งต้องสะอาดไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
  • หากเป็นน้ำแข็งที่บรรจุในถุงพลาสติกจะต้องเป็นพลาสติกไม่มีสี และไม่บรรจุในถุงพลาสติกที่ผ่านการใช้มาแล้วหรือเป็นถุงที่เคยบรรจุสารเคมีมาก่อน เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือปุ๋ย
  • ถ้าบรรจุในถังน้ำแข็ง ต้องเป็นถังที่บรรจุน้ำแข็งอย่างเดียว ยกเว้นให้มีได้เฉพาะที่ตักน้ำแข็งมีด้าม เพื่อใช้ตักน้ำแข็งเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่เห็นว่ามีการนำขวดน้ำดื่ม น้ำอัดลม ผักหรือเนื้อสัตว์ แช่รวมกันอยู่ในถังน้ำแข็งนั้นก็ไม่ควรนำมากิน
  • ผู้ส่งน้ำแข็ง ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด ล้างมือทุกครั้ง สวมรองเท้าที่สะอาด และควรเป็นรองเท้าคนละคู่กับรองเท้าที่ปนเปื้อนจากนอกบริเวณขนส่ง ไม่สูบบุหรี่หรือมีพฤติกรรมอื่นๆ ที่ไม่ถูกสุขลักษณะขณะขนส่ง และห้ามใช้เท้าสัมผัสน้ำแข็ง
  • รถขนส่งต้องสะอาด โดยเฉพาะพื้นรถที่วางน้ำแข็งต้องมีการล้าง ฆ่าเชื้อก่อนทำการขนส่ง และมีมาตรการควบคุมอุณหภูมิน้ำแข็งให้สม่ำเสมอ

ร้านอาหารก็ต้องเก็บน้ำแข็งให้ดี

ร้านอาหารต้องเก็บน้ำแข็งในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด ตั้งสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร ภาชนะต้องไม่เป็นสนิม สามารถเก็บความเย็นได้ดี ห้ามนำอาหารหรือเครื่องดื่มมาแช่ในน้ำแข็งที่ใช้บริโภคโดยเด็ดขาด

น้ำแข็ง น้ำดื่ม ไม่สะอาด
ระวังลูกกินน้ำแข็ง น้ำดื่ม ไม่สะอาด

ผลิตน้ำแข็งไม่สะอาดมีโทษปรับ

กระทรวงสาธารณสุขได้ควบคุมการผลิตน้ำแข็งเพื่อจำหน่ายในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานต่างๆ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 78 (พ.ศ.2527) และฉบับที่ 137 (พ.ศ.2534) เรื่อง น้ำแข็ง เพื่อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน กรรมวิธีการผลิต การใช้น้ำในการผลิต สถานที่เก็บรักษาน้ำแข็ง การใช้ภาชนะบรรจุน้ำแข็ง ตลอดจนการแสดงฉลาก ต้องมีวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ต้องมีการควบคุมกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต หรือจีเอ็มพี เพื่อลดปัญหาการปนเปื้อน หากฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

น้ำดื่มก็ต้องสะอาด

น้ำดื่ม เป็นอีกเรื่องที่ควรพิจารณาแหล่งที่มา และวิธีบริโภคน้ำดื่ม ที่ต้องสะอาดถูกหลักอนามัย ดังนี้ค่ะ

  • แหล่งน้ำที่นำมาใช้ ต้องสะอาด เพราะหากไม่สะอาด จะมีการปนเปื้อนเชื้อโรค และสิ่งสกปรก เพิ่มโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ
  • ควรนำจากแหล่งที่ไม่แน่ใจ มาต้ม หรือกรอง ก่อนนำมาดื่ม
  • หากมีเครื่องกรองน้ำ ให้ตรวจตราตัวกรองให้มีประสิทธิภาพ หากพบการอุดตัน สกปรก ให้ถอดเปลี่ยน หรือนำออกมาทำความสะอาดทันที
  • หากเป็นน้ำดื่มบรรจุภาชนะปิดสนิท โดยเฉพาะขนาดถัง 20 ลิตร ภาชนะต้องสะอาด ไม่มีคราบสกปรกทั้งภายในและภายนอก พลาสติกปิดรอบฝาปิดต้องอยู่ในสภาพดี ไม่ฉีกขาด ชื่อผู้ผลิตบนถังต้องตรงกับผู้ผลิตรายนั้น
  • เมื่อนำมาถ่ายเทใส่ภาชนะสำหรับดื่ม เช่น ขวด ถัง ต้องล้างภาชนะให้สะอาดก่อนทุกครั้ง
  • ระวังเรื่องสุขลักษณะส่วนบุคคลในขณะถ่ายเทน้ำดื่มด้วย เช่น ไม่ใช้มือสัมผัสน้ำ ให้ใช้กรวยที่สะอาด รองน้ำใส่ภาชนะ หรืออาจจะใช้อุปกรณ์ช่วยแบ่งน้ำ เช่น ที่สูบมือ หรือที่วางถัง 20 ลิตร แบบโยกรินได้
  • ส่วนการเก็บ  ต้องไม่ให้โดนแสงแดด วางสูงจากพื้น 15 เซนติเมตร ไม่ควรวางปะปนกับภาชนะบรรจุสารเคมี ยาฆ่าแมลง อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนภาชนะ หรือในน้ำดื่มได้

คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบแหล่งที่มาของน้ำแข็ง และน้ำดื่ม พิจารณาแหล่งที่ซื้อน้ำดื่มว่าสะอาดถูกหลักอนามัยหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและลูกน้อยค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

กรมอนามัย, ไทยรัฐออนไลน์, นิวส์ทีวี, กรุงเทพธุรกิจ, สสส.

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ผงะ!!ไอศกรีม ปนเปื้อน โควิด19 จากโรงงานผลิตที่จีน

เตือนภัย! ซูชิเรืองแสง เสี่ยงปนเปื้อนจุลินทรีย์ ก่อนซื้อต้องระวัง

แป้งเด็ก อันตราย จริงหรือ? อย. ยืนยัน! ยังไม่พบการปนเปื้อนแร่ใยหิน

ผู้ป่วยโควิด

เช็กวิธีรักษา ผู้ป่วยโควิด แบ่งตามสี-สิทธิ UCEP Plus ฟรี

Alternative Textaccount_circle
event
ผู้ป่วยโควิด
ผู้ป่วยโควิด

เช็กวิธีรักษา ผู้ป่วยโควิด แบ่งตามสี-สิทธิ UCEP Plus ฟรี

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลาย ล่าสุดสายพันธุ์โอมิครอนก็ระบาดหนักจนทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่ล้วนติดเชื้อสายพันธุ์นี้กันทั่วประเทศ การเข้ารับการรักษาโรคโควิด-19 ก็มีหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะ ล่าสุด ได้มีการออกกฎเกณฑ์วิธีการรักษา ผู้ป่วยโควิด ตามสิทธิ UCEP Plus แล้วค่ะ ผู้ป่วยสีไหนมีสิทธิอย่างไร รักษาด้วยวิธีใด เข้าโรงพยาบาลไหนได้บ้าง คุณพ่อคุณแม่ต้องติดตาม

สิทธิ UCEP คืออะไร

UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิที่ตัวเองมีอยู่จนพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
โดยทั่วไปคนไทยทุกคนจะได้รับสิทธิประกันสุขภาพจากภาครัฐไม่สิทธิใดก็สิทธิหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งสามารถเข้ารับการรักษาเมื่อเจ็บป่วยได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธินั้นๆ

UCEP Plus คืออะไร

UCEP พลัส คือ ระบบที่รองรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่เข้าข่ายตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง ตามสิทธิ UCEP พลัสได้

ผู้ป่วยโควิด แบ่งตามสีและสิทธิ

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กำหนดวิธีรักษาผู้ป่วยโควิดตามเกณฑ์อาการต่าง ๆ หรือตามสี แบ่งเป็นผู้ป่วยสีเขียว สีเหลือง และสีแดง และตามสิทธิรักษาในโรงพยาบาล เพื่อรองรับสิทธิ UCEP Plus โดยเริ่มหลักเกณฑ์นี้ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565

พิจารณาปรับจำนวนวันในการรักษา

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จำนวนวันรักษาโควิด 19 ในโรงพยาบาล ซึ่งเดิมกำหนดไว้ 10 วัน จะมีการหารือปรับลดเป็นลักษณะ 7 + 3 คือ รักษาในโรงพยาบาล 7 วัน และกลับไปแยกกักตัวที่บ้านต่ออีก 3 วัน เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับโควิด 19 มากขึ้น แต่ทั้งนี้จะมีการพิจารณาบนหลักของความปลอดภัย

ทดลองใช้ยา โมลนูพิราเวียร์

ส่วนยารักษาโควิด 19 ‘โมลนูพิราเวียร์’ ที่นำเข้ามา จะมีการใช้ทั้งในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, หัวใจและหลอดเลือด, ไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน น้ำหนักมากกว่า 90 กก., มะเร็ง, เบาหวาน และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป เด็กอายุ 0-5 ปี คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง และคนทั่วไป เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้กับยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งหากได้ผลดี ก็สามารถจัดหายาโมลนูพิราเวียร์จากแหล่งผลิตในจีนและอินเดียในราคาที่ใกล้เคียงกับยาฟาวิพิราเวียร์ได้

ผู้ป่วยโควิด แต่ละกลุ่มอาการและวิธีการรักษาตามสีและสิทธิ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) จัดทำลักษณะอาการของผู้ป่วยโควิด 19 แต่ละกลุ่มอาการ ดังนี้

1.ผู้ป่วยสีเขียว หากคุณพ่อคุณแม่หรือลูกน้อยเป็นผู้ป่วยสีเขียว โดยมีอาการ ได้แก่ ไม่มีอาการ มีไข้อุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่รับกลิ่น ไอมีน้ำมูก เจ็บคอ ตาแดง มีผื่น ถ่ายเหลว

กลุ่มนี้รักษาฟรีใน รพ.ตามสิทธิ ทั้ง บัตรทอง สิทธิข้าราชการ หรือประกันสังคม กรณีประกันสังคม หากทำงานต่างพื้นที่สามารถเข้า รพ.เครือข่ายสิทธิสุขภาพได้ , ทั้งนี้คนที่ใช้สิทธิบัตรทอง นอกจากหน่วยบริการประจำตามสิทธิ ยังสามารถเข้ารักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ โดยไม่ใช้ใบส่งตัว ตามนโยบายยกระดับบัตรทองได้ด้วย เช่น หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, รพ.สต., หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น

การรักษาด้วยการ กักตัวที่บ้าน HI ,ในชุมชน CI และโครงการ ‘เจอ แจก จบ’ ที่หน่วยบริการใกล้บ้านค่ะ

สอบถามข้อสงสัยต่าง ๆ ได้ทาง :
• สปสช. 1330 กด 14
• ประกันสังคม 1506
• กรม สบส.1426

2.ผู้ป่วยสีเหลือง หากคุณพ่อคุณแม่หรือลูกน้อยเป็นผู้ป่วยสีเหลือง โดยมีอาการ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย ปอดอักเสบ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน เด็กมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ไม่ดื่มนม หรือทานอาหารน้อยลง กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ อ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม

ส่วนวิธีการรักษา คือ รักษาฟรีใน รพ.ตามสิทธิ หรือ ตามเกณฑ์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ถือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน สามารถใช้สิทธิ UCEP Plus เข้ารักษาในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนที่อยู่ใกล้ได้ทุกแห่งฟรี

สอบถามและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทาง :
• สปสช. 1330 กด 14 สำหรับติดต่อขอรับเตียง
• สพฉ. 1669
• กรม สบส. 1426 (ขอรับเตียงในระบบ1330)
• UCEP Plus 0-2872-1669

3.ผู้ป่วยสีแดง หากคุณพ่อคุณแม่หรือลูกน้อยเป็นผู้ป่วยสีแดง โดยมีอาการ หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก ปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะช็อก มีภาวะโคม่า ซึมลง มีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสนานกว่า 24 ชั่วโมง และค่าออกซิเจนน้อยกว่า 94%

สามารถเข้ารับการรักษาฟรีใน รพ.ตามสิทธิ หรือตามเกณฑ์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ถือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน สามารถใช้สิทธิ UCEP Plus เข้ารักษาในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนที่อยู่ใกล้ได้ทุกแห่ง

สอบถามและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทาง :
• สปสช. 1330 กด 14 สำหรับติดต่อขอรับเตียง
• สพฉ. 1669
• กรม สบส. 1426 (ขอรับเตียงในระบบ1330)
• UCEP Plus 0-2872-1669

จากนี้ หากคุณพ่อคุณแม่ ลูกน้อย หรือคนรอบข้าง กลายเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง หรือติดโควิด ก็สามารถแนะนำให้เข้าสู่ขั้นตอนการรักษาได้ด้วยหลักเกณฑ์นี้เลยค่ะ

ผู้ป่วยโควิด
สิทธิ UCEP Plus

ขอบคุณภาพจาก กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

ขอบคุณข้อมูลจาก

SpringNews . SMK

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เมื่อคุณและลูก ติดโควิด ทำยังไง ? เปิดขั้นตอนการรักษาที่นี่

ติดโควิด ใช้สิทธิประกันสังคม ต้องทำยังไง?

ตรวจรักษาโควิด ด้วยสิทธิบัตรทองและประกันสังคม

ปัญหาผมร่วงหลังคลอด

ปัญหาผมร่วงหลังคลอด เรื่องไม่เล็ก ของคุณแม่ลูกอ่อน

Alternative Textaccount_circle
event
ปัญหาผมร่วงหลังคลอด
ปัญหาผมร่วงหลังคลอด

ปัญหาเล็กๆ (ที่ไม่เล็ก) ของคุณแม่หลังคลอดหลายๆ ท่านที่พบได้บ่อยๆ คือ ปัญหาผมร่วงหลังคลอด ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในช่วง 4 เดือนหลังคลอดเจ้าตัวน้อย บางครั้งทำให้เกิดความกังวลต่อคุณแม่หลังคลอดพอสมควร เรามาดูถึงสาเหตุ และวิธีการที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ โดย พญ. ภัสสิรา วารินศิริรักษ์ จากเพจ หมอสูติประตูถัดไป By Dr.Praew Dr.Kim กันค่ะ

ปัญหาผมร่วงหลังคลอด ปัญหาที่ไม่เล็ก ของคุณแม่ลูกอ่อน

โดยปกติแล้ว ในภาวะการตั้งครรภ์ปกติ คุณแม่จะมีฮอร์โมนต่างๆ ค่อนข้างสูง ทั้งที่สร้างจากตัวคุณแม่เอง และจากรก เพื่อช่วยในการตั้งครรภ์และสุขภาพลูกน้อยในครรภ์ ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้ผมดก หนา ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)

แต่หลังจากคุณแม่คลอดบุตร ทำให้ขาดการสร้างฮอร์โมนจากรก และการสร้างฮอร์โมนจากร่างกายของตัวคุณแม่เอง ก็จะลดน้อยลง เมื่อเทียบกับช่วงตั้งครรภ์ ทำให้ขาดฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นเส้นผมให้เจริญเติบโต คุณแม่หลายท่านจึงประสบปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั่นเองค่ะ

นอกจากนี้อาจต้องแยกกับสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ภาวะขาดธาตุเหล็กในคุณแม่หลังคลอด ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือแม้กระทั่งคุณแม่ที่ผ่านการทำสีผม หรือทรงผมที่รัดแน่นเกินไปก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดผมขาดหลุดร่วงได้เช่นกันค่ะ

ปัญหาผมร่วงมักเกิดช่วงไหน และจะดีขึ้นหรือไม่

ปัญหาผมร่วงของคุณแม่หลังคลอดมักพบได้ในช่วง 2-4 เดือนแรกหลังคลอด เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตใหม่ของเส้นผมซึ่งต้องการการกระตุ้นจากฮอร์โมนค่ะ โดยอาจพบว่าจำนวนผมที่ร่วงอาจจะมากกว่า 300 เส้นต่อวันได้ค่ะ อย่างไรก็ตามนับว่าเป็นข่าวดี เพราะอาการผมร่วงนี้ ไม่ใช่อาการถาวร แต่จะสามารถดีขึ้นเองได้หลังคลอดบุตรโดยเฉลี่ยประมาณ 1 ปีค่ะ หรือบางท่านอาจจะเร็วกว่านั้นได้ค่ะ

ผมร่วง หลังคลอด

Tips วิธีแก้ ปัญหาผมร่วงหลังคลอด

  1. ทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุและวิตามิน

โดยเฉพาะ ผัก ผลไม้ รวมไปถึงโปรตีนที่มีปริมาณเพียงต่อต่อร่างกายต้องการ โดยแร่ธาตุและวิตามินในอาหารที่แนะนำเพื่อช่วยบำรุงสุขภาพเส้นผม ได้แก่

  • ธาตุเหล็ก และวิตามินซี ได้แก่ อาหารจำพวกผักใบเขียว
  • เบต้าแครอทีน ได้แก่ ผักสีเหลือง ส้ม เช่น แครอท ฟักทอง มันหวาน เป็นต้น
  • วิตามินดี ได้แก่ ไข่ นม และเนื้อสัตว์
  • โอเมก้า3 และ แม็กนีเซียม ได้แก่ ปลาทะเลน้ำลึก เป็นต้นค่ะ
  1. แชมพูที่ช่วยเพิ่มปริมาตรเส้นผม (volumizing shampoo)

เนื่องจากยาสระผมหรือแชมพูที่ข่วยเพิ่มปริมาตรเส้นผม จะมีส่วนประกอบจำพวกโปรตีน ซึ่งจะไปเคลือบเส้นผมและทำให้ผมดูดกหนาได้ค่ะ

ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ครีมบำรุงผม หรือครีมนวดผม หากจำเป็นต้องใช้ แนะนำชโลมบริเวณปลายเส้นผม ไม่ควรใช้บริเวณโคนผมและหนังศีรษะ เนื่องจากจะทำให้ผมหนักและหลุดร่วงมากขึ้นได้ค่ะ

  1. ลองปรับเปลี่ยนทรงผม

การใช้ไดร์เป่าผม หรือที่ม้วนผม อาจทำให้ผมดูลีบแบนมากขึ้นได้ รวมไปถึงการหวีผมแรงๆ อาจทำให้ปริมาณผมหลุดร่วงมากขึ้นได้ค่ะ ลองเปลี่ยนทรงผมที่เหมาะกับตัวเองดู อาจจะได้ทรงผมใหม่ๆ เก๋มากกว่าเดิมก็ได้ค่ะ เลี่ยงการทำทรงผมที่ต้องผูกหรือรัดแน่นเกินไป และไม่ควรหวีผมมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน เพื่อป้องกันผมขาดหลุดร่วงด้วยนะคะ

ปัญหาเส้นผมขาดหลุดร่วงในคุณแม่หลังคลอดเป็นปัญหาธรรมชาติที่อาจพบเจอได้บ่อย มักจะหายไปได้เองใน 1 ปีหลังคลอดบุตร หากคุณแม่ท่านใดประสบปัญหานี้ ลองนำ Tips เล็กๆ นี้ไปปฏิบัติตามก่อนได้นะคะ แต่หากผมยังหลุดร่วงมากๆ และยาวนาน หรือสังเกตว่าอาจจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วย หรือสงสัยว่าความผิดปกติบริเวณหนังศีรษะ แนะนำปรึกษาคุณหมอใกล้ๆ บ้านกันก่อนนะคะ หมอขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่มือใหม่ทุกท่านผ่านพ้นปัญหาไปได้ด้วยดีค่ะ


Heatlh Quotient ฉลาดดูแลสุขภาพ หนึ่งใน Power BQ 10 ความฉลาดที่เด็กยุคใหม่ควรมี เริ่มต้นได้ตั้งแต่ในท้องแม่ โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ เตรียมพร้อมหาข้อมูลต่างๆ ในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและปลอดภัยกับลูกในท้อง เพื่อส่งต่อสุขภาพที่ดีสู่ลูกน้อยในครรภ์ เป็นต้นทุนชีวิตที่ดีตั้งแต่แรกเกิดให้กับลูกน้อย


เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 


ติดตามสารพันความรู้สำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์ และคุณแม่ที่กำลังเตรียมตัวตรรภ์

กับคุณหมอจิตสุภา ได้ที่ เพจ หมอสูติประตูถัดไป By Dr.Praew Dr.Kim

เพจหมอสูติประตูถัดไป

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ป้องกัน แผลเป็นนูน

เผยเคล็ดลับ! ป้องกัน “แผลเป็นนูน” หลังผ่าคลอด

Alternative Textaccount_circle
event
ป้องกัน แผลเป็นนูน
ป้องกัน แผลเป็นนูน

แผลผ่าตัดคลอด จะกลายเป็นแผลเป็นนูนหรือไม่ และคุณแม่จะมีวิธี ป้องกัน แผลเป็นนูน หลังผ่าคลอด ได้อย่างไร พญ.ญาดา มโนมัยพันธุ์ (หมอแนน) แพทย์ผิวหนังประจำศูนย์ผิวหนังโรงพยาบาลสุขุมวิท เจ้าของเพจหมอมัมมีเคล็ดลับมาฝากค่ะ

สวัสดีค่ะหมอแนน เพจหมอมัมค้า…

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หลายๆ ท่าน อาจจะมีความกังวลว่า ถ้าคลอดลูกด้วยการผ่าตัดทางหน้าท้องนั้น จะทิ้งรอยแผลเป็นไว้ให้หรือไม่ รอยแผลผ่าตัดจะกลายเป็นแผลเป็นนูนใหญ่ขึ้นมารึเปล่า จะป้องกันและรักษาได้อย่างไร วันนี้หมอแนนมีคำตอบมาให้ค่ะ

เผยเคล็ดลับ! ป้องกัน “แผลเป็นนูน” หลังผ่าคลอด

แผลเป็นนูนหรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า แผลคีลอยด์ (Keloid Scar) หมายถึง ลักษณะการหายของแผลเป็นที่ขยายขนาดโตกว่า หนากว่า ขอบเขตของแผลเดิม ส่วนมากมักจะมีสีที่เข้มขึ้น สีชมพูอมม่วง อาจจะมีอาการเจ็บ คัน ระคายเคืองร่วมด้วยได้ค่ะ

แผลคีลอยด์
แผลคีลอยด์

แต่ไม่ใช่ทุกคนนะคะที่การหายของแผลจะกลายเป็นแผลเป็นนูน ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดคีลอยด์นั้น ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม (กรณีมีคนในครอบครัวเป็น อาจจะมีโอกาสเป็นได้มากขึ้น) คนเอเชียและคนผิวสีจะมีโอกาสเกิดคีลอยด์ได้มากกว่าคนผิวขาว และช่วงอายุน้อยๆ (ไม่เกิน 30 ปี) จะมีโอกาสเกิดมากกว่าค่ะ

ที่สำคัญนะคะ รอยแผลผ่าตัดที่เป็นเส้นตรงเล็กๆ นี้ ส่วนมากจะนูนและขยายขนาดขึ้น ภายในช่วง 1 ปีแรกหลังคลอด แต่สามารถเกิดได้เร็วสุดตั้งแต่เดือนแรกเลยทีเดียวค่ะ ดังนั้น หมอจึงแนะนำให้คุณแม่ที่มีแพลนจะผ่าตัดคลอดอยู่แล้ว เตรียมอุปกรณ์ที่จะช่วยป้องกันและลดโอกาสการเกิดแผลเป็นนูนไว้ล่วงหน้าเลยค้า นั่นคือ

  1. Silicone sheet แผ่นซิลิโคนสำหรับปิดแผลเป็น เช่น Mepiform® (สามารถกันน้ำได้ ปิดแผลได้ตลอด 24 ชั่วโมง), Cica Care® (ซิลิโคนนุ่มกว่า แต่ต้องแกะออกเวลาอาบน้ำ) เป็นต้น
  2. Silicone gel สำหรับทาแผลเป็น เช่น Dermatix Ultra® Strataderm® เป็นต้น
  3. กางเกงในสำหรับใส่หลังผ่าคลอดแบบเต็มตัว (เพื่อลดโอกาสการเสียดสีบริเวณแผลผ่าตัด)

การดูแลแผลหลังคลอดด้วยตัวเอง ป้องกัน “แผลเป็นนูน”

การดูแลแผลหลังคลอดด้วยตัวเอง ตามประสบการณ์ของหมอนะคะ หลังจากที่แผลแห้งแล้ว ก็จะเริ่มทา Silicone gel และปิด Silicone sheet ไว้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ หมอจะมีแกะออกมาเพื่อนวดตัวเจลประมาณวันละ 2-3 ครั้ง และปิดเอาไว้ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่ จนกว่าตัว Silicone sheet จะเริ่มติดไม่อยู่ค่ะ โดยเฉลี่ย 1 แผ่นจะใช้ได้นาน 3-4 สัปดาห์เลยทีเดียว โดยทั่วๆ ไปหมอจะแนะนำให้ปิดแผลไว้อย่างนี้ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 1 เดือน แต่ในคนที่มีประวัติเกิดคีลอยด์ได้ง่าย อาจจะปิดไว้นานถึง 3 เดือนได้เลยค่ะ

ซิลิโคนปิดแผลผ่าคลอด
ซิลิโคนปิดแผลผ่าคลอด

หากเกิดแผลเป็นนูนแล้วจะทำอย่างไรดี

หมอแนะนำให้รีบมาพบแพทย์ผิวหนังทันทีที่รู้สึกว่าแผลเป็นเริ่มนูนแข็ง ขยายตัวขึ้นกว่าเดิมนะคะ เพราะการรักษายิ่งเร็วเท่าไร ยิ่งได้ผลดีที่สุดค่ะ โดยการรักษาเบื้องต้นสามารถที่จะใช้ยาสเตียรอยด์  ฉีดเข้าไปบริเวณคีลอยด์เผื่อลดการอักเสบ ลดขนาด และทำให้แผลเป็นนุ่มขึ้นได้ค่ะ โดยจะต้องฉีดทุกๆ 3-4 สัปดาห์จนกว่าจะเรียบ ร่วมกับการทา Silicone gel และแปะ Silicone sheet ไว้ตลอดเวลาด้วยค่ะ ในส่วนของสีที่อาจจะเข้มกว่าผิวหนังบริเวณปกติ อาจจะทา Silicone gel ที่มีส่วนผสมช่วยปรับสีผิวต่อไปเรื่อยๆ ได้ หรือใช้เลเซอร์กลุ่มที่ลดรอยแดงควบคู่ไปด้วยได้เช่นกันค่ะ

ฉีดสเตียรอยด์ แผลผ่าคลอด

สุดท้ายนี้อยากจะฝากเคล็ดลับการดูแลแผลผ่าตัดนี้ ให้คุณแม่ที่กำลังจะมีแพลนผ่าตัดคลอดทุกคนนะคะ เพราะการป้องกันไม่ให้เกิดคีลอยด์นั้น ง่ายและคุ้มค่ากว่าการรักษาคีลอยด์แน่นอนค่ะ

และเพื่อการกลับมาใส่ชุดว่ายน้ำ bikini กันได้แบบไม่ต้องกังวลรอยแผลผ่าคลอดกันค่ะ

ชุดบิกินี่ หลังคลอด

พญ.ญาดา มโนมัยพันธุ์ (หมอแนน)

แพทย์ผิวหนังประจำศูนย์ผิวหนังโรงพยาบาลสุขุมวิท

เจ้าของเพจหมอมัม


Heatlh Quotient ฉลาดดูแลสุขภาพ หนึ่งใน Power BQ 10 ความฉลาดที่เด็กยุคใหม่ควรมี เริ่มต้นได้ตั้งแต่ในท้องแม่ โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ เตรียมพร้อมหาข้อมูลต่างๆ ในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและปลอดภัยกับลูกในท้อง เพื่อส่งต่อสุขภาพที่ดีสู่ลูกน้อยในครรภ์ เป็นต้นทุนชีวิตที่ดีตั้งแต่แรกเกิดให้กับลูกน้อย


เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 


ติดตามสาระความรู้ การดูแลผิวคุณแม่ท้องและลูกน้อย

และเคล็บลับเลี้ยงลูกในมุมของหมอผิวหนัง กับคุณหมอญาดา

ได้ที่ เพจหมอมัม

เพจหมอมัม

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

 

ผื่นคันระหว่างตั้งครรภ์ รอยแตกลายที่ท้อง ป้องกันได้

คนท้องกับสิว คุณแม่สิวเห่อ หน้าเป็นฝ้า ทำยังไงดี?

แม่แชร์! แก้ปัญหา ท้องลาย ด้วยวิคส์!

 

แผลผ่าคลอด

ดูแล “แผลผ่าคลอด” อย่างไร? ให้เนียน สวย ไม่ติดเชื้อ!!

Alternative Textaccount_circle
event
แผลผ่าคลอด
แผลผ่าคลอด

แผลผ่าคลอด เป็นสิ่งที่คุณแม่ทั้งหลายกังวล และมักจะเกิดคำถามที่ว่า แผลจะจางหายไปจนหมดหรือไม่ จะมีอาการเจ็บบริเวณแผลนานเท่าไหร่ และควรดูแลอย่างไร

ดูแล “แผลผ่าคลอด” อย่างไร? ให้เนียน สวย ไม่ติดเชื้อ!!

การผ่าคลอด โดยทั่วไปมีความปลอดภัย แต่แน่นอนมันมีความแตกต่างจากการคลอดธรรมชาติ เนื่องจากการผ่าคลอดนั้นทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งคุณแม่ส่วนใหญ่จะกังวลว่า รอยแผลเป็นนั้นจะไม่จางหายไปจนหมด ทีมแม่ ABK ตระหนักถึงความกังวลนี้ จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับการผ่าคลอด และวิธีดูแลแผลที่ผ่าคลอด ให้จางหายไปโดยเร็ว

แผลผ่าคลอด
แผลผ่าคลอด

แผลผ่าคลอด คุณแม่ควรดูแลอย่างไรหลังผ่าคลอด

การผ่าคลอดดีอย่างไร

  • สามารถกำหนดเวลาคลอดได้อย่างชัดเจน คุณพ่อคุณแม่สามารถไปหาฤกษ์เกิดดีๆ เป็นสิริมงคลให้ลูกได้ แต่ทั้งนี้ก็ควรอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม คือตั้งแต่ 38 สัปดาห์ขึ้นไป
  • ไม่ต้องรอนาน เพราะไม่ต้องรอให้ปากมดลูกเปิดเหมือนการคลอดธรรมชาติ โดยใช้ระยะเวลาในการผ่าคลอดประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
  • ลดการยืดหย่อนของเชิงกราน เนื่องจากแรงแบ่งของคุณแม่ในการคลอดแบบธรรมชาตินั้น จะส่งผลต่อการยืดของกระบังลมของเชิงกรานหรือเส้นเอ็นยึด แต่การผ่าคลอดจะช่วยลดแรงเบ่งที่ทำให้เกิดปัญหานี้ได้
  • ลดอาการเจ็บปวดในขณะคลอด แพทย์จะโปะยาสลบหรือบล็อกหลัง ทำให้คุณแม่ไม่เจ็บ หรือไม่ต้องออกแรงเบ่งในขณะคลอด อาจมีอาการเจ็บแผลหลังคลอดบ้าง แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้รวดเร็ว
  • คุณแม่และลูกจะได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว ในกรณีที่เกิดปัญหา เพราะในการผ่าคลอด แพทย์จะต้องหารือและวางแผนร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ฝ่าย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉิน

แผลผ่าคลอดมีลักษณะเป็นอย่างไร

แผลผ่าคลอด จะเป็นแผลลักษณะแนวนอนตามแนวขอบกางเกงชั้นในหรือแนวตั้งใต้สะดือ ขึ้นอยู่กับลักษณะการลงแผลตอนผ่าคลอด ความยาวของแผลประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ในการดูแลสุขภาพร่างกาย และรอยแผล เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรอยแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ และการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมถึงการเกิดแผลติดเชื้อ

การดูแลหลังผ่าคลอด

ในสัปดาห์แรกหลังจากผ่าคลอด ผิวชั้นนอกของแผลจะเริ่มติดกัน จากนั้นแผลจึงปิดสนิทและเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงอยู่นานประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้น จะค่อย ๆ จางลงเป็นสีขาวและเรียบขึ้น ส่วนแผลที่กล้ามเนื้อท้องและมดลูกอาจใช้เวลานานหลายเดือนจึงจะหายดี

การเคลื่อนไหว

หลังจากการผ่าคลอด คุณแม่ควรพลิกตัวบ่อยๆ เพื่อช่วยให้ลำไส้ฟื้นตัวเร็วขึ้นและลดอาการท้องอืด พยาบาลจะเข้ามาวัดความดันโลหิตทุก ๆ 30 นาที ในระยะแรกหลังคลอด หากรู้สึกเจ็บหรือปวดแผล ควรแจ้งพยาบาลเพื่อจะให้หมอสั่งยาลดปวด คุณแม่สามารถให้น้ำนมลูกได้ทันทีเมื่อคุณแม่พร้อม

  • หลังผ่าคลอด ในวันแรก คุณแม่ควรลุกขยับตัวให้ได้เร็วที่สุดหลังจากผ่าคลอด เช่น ลุกนั่ง หรือลุกยืนข้างๆ เตียง แต่ถ้ามีอาการมึนศีรษะ ควรนอนราบบนเตียง ทั้งนี้คุณแม่อาจจะเดินไปรอบ ๆ ห้อง เพื่อป้องกันท้องอืด และทำให้ลำไส้ได้ขยับและกลับมาทำงานได้ตามปกติเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวได้เร็ว
  • ในวันที่ 2 เป็นต้นไป คุณแม่อาจจะนั่งหรือยืนได้เอง อย่างไรก็ดี คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บแปลบที่แผลผ่าตัดได้ ซึ่งเป็นอาการปกติ หากไอ ควรใช้มือหรือหมอนกดที่แผล หายใจลึกๆ กลั้นไว้ก่อน แล้วจึงค่อยไอออกมาแรงๆ 2-3 ครั้ง เพื่อกำจัดเสมหะ

การพักผ่อน

ควรนอนหลับพักผ่อนให้ได้มากที่สุด เพราะร่างกายยังคงอ่อนเพลียจากการผ่าตัดคลอด และการให้นมลูก

อาหาร

คุณแม่ควรงดรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ แล้วค่อย ๆ เริ่มจิบน้ำ หรืออาหารใส ๆ เช่น ซุป น้ำแกงใส ๆ โดยเริ่มทีละนิด แล้วค่อยเพิ่มเป็นอาหารเหลว หรือโจ๊ก จากนั้นค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารย่อยง่ายรสจืด ควรงดดื่มนมหรือน้ำอัดลม เพราะจะทำให้เกิดอาการท้องอืด งดอาหารรสจัด อาหารหมักดอง แอลกอฮอล์ กาแฟ ชา หรือน้ำที่มีคาเฟอีน

การขับถ่าย

ใน 2 วันแรก คุณแม่จะมีสายสวนปัสสาวะอยู่ แต่ในวันที่ 3 เมื่อเอาสายสวนปัสสาวะออกแล้ว คุณแม่จะต้องปัสสาวะเองให้ได้ ภายใน 6 ชั่วโมง เมื่อปัสสาวะแล้ว ต้องทำความสะอาดอย่างดี ในระยะแรกลำไส้ใหญ่อาจจะยังไม่ขยับตัวเพราะได้มีการสวนอุจจาระก่อนที่จะผ่าคลอด แต่หากในวันที่ 3 ยังไม่สามารถถ่ายได้ ต้องใช้ยาถ่ายเป็นตัวช่วย

น้ำคาวปลา

หลังจากผ่าคลอด คุณแม่จะยังคงมีน้ำคาวปลาอยู่ จะมีสีแดงสด และมีปริมาณมาก ในวันแรก ๆ แล้วจะค่อย ๆ มีสีอ่อนลง และมีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ คุณแม่ควรใช้ผ้าอนามัยไปจนกว่าน้ำคาวปลาจะหมด ซึ่งน้ำคาวปลาจะหมดในราว ๆ 2 – 3 สัปดาห์

แผลหลังผ่าตัดและมดลูก

คุณแม่จะรู้สึกเจ็บในมดลูกเป็นครั้งคราวเนื่องจากมดลูกกำลังหดตัว และอาจรู้สึกเจ็บมากขึ้นในขณะที่กำลังให้นมลูก ในส่วนของแผลผ่าคลอด จะมีผ้ากอซปิดที่แผลไว้ คุณแม่ต้องระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ และต้องสังเกตว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ เช่น มีไข้ มีเลือดออกมาจากแผล แผลบวม แดง ร้อน เป็นต้น

แผลยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร
แผลยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร

การให้นม และการดูแลลูก

น้ำนมแม่

สืบเนื่องจากการผ่าคลอดและการให้ยา จึงอาจทำให้น้ำนมของคุณแม่ผลิตได้ช้า แต่เรามีวิธีแนะนำที่จะช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเพิ่มมากขึ้น โดยการเริ่มให้นมลูกให้เร็วที่สุด ยิ่งเริ่มตั้งแต่ยังอยูบนเตียงผ่าตัด ก็จะยิ่งช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากขึ้น

ให้นมลูกบ่อย ๆ

ในตอนกลางวัน คุณแม่ควรให้นมลูกทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง และทุก ๆ 3 – 4 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน เพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากขึ้น หลังพ้นระยะแรกแล้ว คุณแม่สามารถให้นมลูกเมื่อลูกหิวได้ทันที

วิธีอุ้มลูกขณะให้นม

ให้คางของลูกอยู่ใกล้กับเต้านมแม่ เพื่อให้ปากของลูกงับได้ถึงบริเวณลานหัวนม แล้วยังอาจทำให้คุณแม่ได้ยินเสียงลูกดูดและกลืนนมได้

วิธีิอุ้มลูกขณะให้นมในวันแรก

คุณแม่อาจจะนอนตะแคง ให้ศีรษะของลูกอยู่ในระดับเดียวกับเต้านม ให้ท้องของแม่แนบไปกับตัวลูก โดยให้คางลูกอยู่ติดกับเต้านม

วิธีิอุ้มลูกขณะให้นมในวันต่อ ๆ มา

หลังจากที่คุณแม่สามารถขยับตัวได้สะดวกขึ้นแล้ว ควรนั่งในขณะให้นมลูก โดยอุ้มลูกแนบตัว ศีรษะของลูกอยู่ที่เต้านม ใช้แขนรองหลังลูก ท่านี้เรียกว่าท่าอุ้มลูกบอล เนื่องจากแขนจะอยู่ในลักษณะเดียวกันกับเวลาที่เราอุ้มลูกบอล อาจจะใช้หมอนรองใต้แขนเพื่อความสบาย ท่านี้ช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกได้สะดวก และตัวลูกไม่ทับแผลผ่าตัดด้วย

วิธีดูแลแผลหลังผ่าคลอด

  • ไม่ยกของหนักในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังผ่าคลอด
  • หมั่นล้างแผลและทำความสะอาดผิวอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผิวบริเวณเชิงกราน
  • ล้างมือก่อนสัมผัสแผลหรือทำแผลทุกครั้ง
  • ไม่ดึงปลายไหมเย็บแผลที่โผล่ออกมา ควรแจ้งแพทย์ให้เล็มปลายไหมให้ เพื่อป้องกันไหมเย็บแผลเกี่ยวเสื้อผ้า
  • อาบน้ำฝักบัวแทนการแช่น้ำในอ่าง
  • อาบน้ำด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์อ่อน และไม่ถูสบู่ เจลอาบน้ำ หรือทาแป้งลงบนแผลโดยตรง
  • ซับแผลให้แห้งด้วยผ้าขนหนูสะอาด
  • สวมเสื้อผ้าและกางเกงชั้นในที่หลวม ไม่รัดแน่น เพื่อป้องกันการเสียดสีที่แผล
  • ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากินหรือยาทาสำหรับรักษาแผลผ่าคลอดทุกครั้ง
  • คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ครีมหรือเครื่องสำอางบางชนิดระหว่างอยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารกได้
  • หมั่นเช็ดบริเวณผิวหนังที่เป็นรอยพับเหนือแผลผ่าตัดให้แห้งอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้บริเวณดังกล่าวชื้นเหงื่อ
  • ควรพบแพทย์ทันทีในกรณีที่พบสัญญาณการเกิดแผลติดเชื้อ เช่น เกิดรอยแดงที่แผล มีไข้ขึ้นสูง เป็นต้น
  • หลังแผลแห้งปิดสนิท ทาวิตามินอีที่แผลเพราะวิตามินอีจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินอีเข้มข้นสูงเป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล, อัลเลียม ซีปาจะช่วยลดอาการอักเสบ และซิลิโคนจะช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสในการเกิดแผลเป็นนูน

วิธีป้องกันแผลติดเชื้อ

  • ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ รวมทั้งซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลแผลให้เข้าใจ
  • หากได้รับยาปฏิชีวนะ ควรรับประทานจนครบกำหนด ไม่หยุดยาหรือลดปริมาณยาเองโดยปราศจากคำแนะนำจากแพทย์
  • ทำความสะอาดและเปลี่ยนผ้าพันแผลอย่างสม่ำเสมอ
  • ควรซักถามแพทย์เกี่ยวกับคำแนะนำในการอุ้มและการให้นมบุตร เพื่อป้องกันแผลถูกกดทับขณะอุ้มหรือให้นม
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นหรือทาครีมบริเวณแผลผ่าคลอด
  • ระวังอย่าให้ผิวหนังบริเวณแผลผ่าตัดเสียดสีกัน
  • ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายในทันที หากรู้สึกไม่สบายหรือมีไข้
  • รีบไปพบแพทย์ทันที ในกรณีที่สงสัยว่าแผลติดเชื้อ

บทความเกี่ยวกับ แผลผ่าคลอด ที่ทีมแม่ ABK ได้รวบรวมข้อมูลมานี้ คงจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ที่กำลังตัดสินใจจะผ่าคลอด เพื่อช่วยลดความกังวลต่างๆลงได้นะคะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

รวม แพคเกจคลอด 2565 โรงพยาบาลรัฐ-เอกชน ปี 2022

รวมวันดี วันมงคล ฤกษ์คลอดลูก ฤกษ์คลอดปี 2565 / 2022 ฤกษ์ผ่าคลอด ปูทางสำเร็จให้ลูกตั้งแต่แรกเกิด

checklist เตรียมของก่อนคลอด ยังไงไม่บานปลายได้ของครบ

เคล็ดลับของแม่ผ่าคลอด !! เติมทุนสมอง เสริมภูมิต้านทานลูก

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.paolohospital.com, https://www.samitivejhospitals.com, https://www.pobpad.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

LINE MAN Mart ช้อปของสด ครบตามใจ

LINE MAN MART ช้อปสด ครบตามใจ กับร้านค้าใกล้บ้านกว่า 10,000 ร้าน พร้อมแจกส่วนลด 70% มูลค่ารวมกว่า 5 ล้านบาท

Alternative Textaccount_circle
event
LINE MAN Mart ช้อปของสด ครบตามใจ
LINE MAN Mart ช้อปของสด ครบตามใจ

สายคุ๊กกิ้งเตรียมฟิน LINE MAN MART ช้อปของสด ได้ครบตามใจ ทำได้ทุกเมนู ยกขบวนร้านค้ากว่า 10,000 ร้านทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้ช้อปกันได้ครบทุกหมวดหมู่ เริ่มต้นค่าส่งเพียง 0 บาท พร้อมรับสิทธิพิเศษยิ่งกว่ากับส่วนลด 70% สูงสุด 100 บาท ตั้งแต่วันนี้ ถึง 18 เมษายนนี้

คุ้มยิ่งกว่า! สำหรับลูกค้าใหม่เท่านั้น ใส่โค้ด NEWFRESH ลด 70%  เมื่อซื้อขั้นต่ำ 100 บาท ลดสูงสุด 100 บาท (สิทธิ์มีจำนวนจำกัดต่อวัน จำกัด 1 สิทธิ์/คน)

ห้ามพลาด! สำหรับลูกค้าปัจจุบันเพียงใส่โค้ด FRESH70 ก็รับส่วนลด 70% สูงสุด 50 บาท (สิทธิ์มีจำนวนจำกัดต่อวัน จำกัด 1 สิทธิ์/คน)

นอกจากนี้ยังมีโค้ดส่วนลดรายสัปดาห์ให้ติดตามกันตลอดทั้งแคมเปญพร้อมให้ช้อปของสดครบทุกหมวดหมู่ ทำได้ทุกเมนูผัดผัก แกง ต้ม เนื้อสัตว์ หรือซีฟู้ด ก็ครบหมดในแอปเดียว

ติดตามโปรโมชันเพิ่มเติมได้ที่แอปพลิเคชันและเฟซบุ๊กแฟนเพจ LINE MAN หรือคลิกสั่งเลย! com.linecorp.linemanth://app/service/mart/store/listing?collectionCodes=24

 

** รายละเอียดและเงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

Takeda Workshop

ทาเคดา ประเทศไทย เปิดเวทีให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลได้สะท้อนประสบการณ์กับโรคหายาก พร้อมเพิ่มพลังแห่งความสุขผ่านกิจกรรมศิลปะบำบัด

Alternative Textaccount_circle
event
Takeda Workshop
Takeda Workshop

กรุงเทพฯ 16 มีนาคม 2565 – เมื่อคนใดคนนึงต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากตัวผู้ป่วยเองแล้วที่ต้องเจ็บป่วย แต่ยังมีอีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เลยนั่นคือผู้ดูแล นอกจากการรักษาโดยแพทย์แล้ว การดูแลจากผู้ดูแลเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้นเสียงของผู้ป่วยและผู้ดูแลจึงเป็นเสียงที่ทรงพลังในการสะท้อนถึงความต้องการและความช่วยเหลือในการดูแลรักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงโรคหายากอีกด้วย

โรคหายาก หรือ Rare Disease เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์ต่ำ จำนวนผู้ป่วยน้อย เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างยาวนาน อีกทั้งการรับรู้ในสังคมน้อย ไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จึงยากที่จะหาคนที่เข้าใจในปัญหาและความท้าทายของผู้ป่วยและผู้ดูแล ทาเคดา ประเทศไทย ในฐานะบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลก มุ่งหวังที่จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนชุมชนโรคหายาก เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ผ่านความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในเชิงวิชาการและภาคประชาชน จึงเป็นที่มาของงาน ‘Share Your Colors, Show Your Care’ เพื่อเปิดเวทีฟังเสียงสะท้อนจากผู้ป่วยโรคหายากและผู้ดูแล ให้ได้มาแลกเปลี่ยนและพูดคุยถึงปัญหาและความท้าทาย และร่วมทำกิจกรรมศิลปะบำบัดสร้างพลังบวก โดยได้รับเกียรติจาก คุณปวีณ์ริศา อัศวสุนทรเนตร คุณแม่และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหายาก คุณแม่ปาล์ม เลอค่า ทองสิมา ณ นครพนม เจ้าของเพจคุณแม่เลอค่า คุณแม่ลูกสามที่เต็มไปด้วยประสบการณ์การเลี้ยงลูกเชิงบวกมาแบ่งปันอยู่เสมอ และคุณเนิส ชนิสรา วาจาสิทธิ์ นักศิลปะบำบัด ที่ใช้การวาดภาพระบายสีเป็นสื่อกลางในการดึงเอาความรู้สึกในจิตใจออกมาเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ และใช้เป็นเครื่องมือในการเยียวยาจิตใจ

มร. ปีเตอร์ สตรีบัล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด

มร. ปีเตอร์ สตรีบัล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เราดำเนินธุรกิจโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เน้นการสร้างคุณค่า และขับเคลื่อนด้วยการวิจัยและพัฒนา มุ่งมั่นในการสนับสนุนชุมชนโรคหายาก ผ่านความร่วมมือกับองค์กรแพทย์และกลุ่มตัวแทนผู้ป่วยเพื่อช่วยกันสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้ในโรคหายากอย่างต่อเนื่อง ผมขอชื่นชมในความพยายามอดทนต่อสู้กับโรคหายากของทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล และเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนชุมชนโรคหายาก โดยงาน ‘Share Your Colors, Show Your Care’ เป็นการต่อยอดมาจากการจัดงานประชุมระดับภูมิภาค ‘The first Southeast Asia Rare Disease Summit’ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนี้เป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้ป่วยโรคหายากและผู้ดูแลได้สื่อสารความรู้สึก โดยสังคมจะได้รับฟังเรื่องราวมากยิ่งขึ้น อีกทั้งได้ร่วมทำกิจกรรมเพื่อช่วยผ่อนคลายจากความเครียดในการต้องเผชิญกับโรคหายาก นำไปสู่การเดินหน้าใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข”

 

คุณปวีณ์ริศา อัศวสุนทรเนตร คุณแม่และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหายาก

คุณปวีณ์ริศา อัศวสุนทรเนตร คุณแม่และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหายาก กล่าวว่า “ความเป็นแม่เป็นบทบาทที่ยิ่งใหญ่และยากที่สุดอีกหนึ่งบทบาทในชีวิตของผู้หญิงคนนึง แม้ว่าจะมีลูกที่เป็นโรคหายากแต่ไม่เคยทำให้ท้อเลย บางครั้งการดูแลอาจทำให้เครียดหรือมีผลกระทบต่ออารมณ์บ้าง จึงต้องกลับมาปรับอารมณ์ ปรับทัศนคติใหม่ และหาวิธีรับมือกับมันให้ดีที่สุด ลูกคือกำลังใจที่สำคัญในการให้เรามีชีวิตต่อสู้เพื่อเค้า อยากเห็นเค้าเติบโต อยากใช้ชีวิตอยู่กับเค้าให้นานที่สุด ทุกวันนี้ กับบทบาทของการเป็นผู้ดูแลผู้ป่วย ทำให้เรารู้ว่าเสียงของผู้ป่วยนั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการดูแลรักษาโรคหายากอย่างเป็นนระบบ ที่ทำให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้”

 

คุณเนิส ชนิสรา วาจาสิทธิ์ นักศิลปะบำบัด

คุณเนิส ชนิสรา วาจาสิทธิ์ นักศิลปะบำบัด กล่าวว่า “การนำศิลปะมาเยียวยาจิตใจผู้ป่วยและผู้ดูแล จะช่วยให้เกิดการพูดคุย การแลกเปลี่ยนแสดงความคิด และการจัดการกับอารมณ์ โดยมีศิลปะเป็นสื่อกลาง เป็นการปลดปล่อยอารมณ์ที่ขุ่นมัวหรือความเครียดต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วยไปโดยปริยาย ฉะนั้น การมีสุขภาพจิตที่แข็งแรงจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กิจกรรมในวันนี้เป็นการเปิดเวทีให้พวกเขาได้มีพื้นที่ในการแสดงออกและระบายอารมณ์ภายในส่วนลึกออกมาผ่านงานศิลปะ เป็นหนทางที่จะทำให้แต่ละฝ่ายสามารถเข้าใจกันและกันได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว และทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหายากมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

ปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคหายากในประเทศไทยมีประมาณ 3.5 ล้านคน [Synthesis of healthcare systems for rare diseases in Thailand, Health Systems Research Institute, 2017] แต่มีผู้ป่วยเพียง 20,000 คนที่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษา[เพิ่มเติม] หนึ่งในสาเหตุมาจากองค์ความรู้ทางการแพทย์และข้อมูลที่จำกัด มีการรับรู้ในวงแคบ ผู้ป่วยใช้เวลานานกว่าจะได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องและตรงจุด อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่สูง ผู้ป่วยหลายรายป่วยเป็นโรคหายากตั้งแต่กำเนิดต้องได้รับการดูแลรักษาไปตลอดชีวิต ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ผู้ดูแล ระบบสาธารณสุข และเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบัน โรคหายากมีมากถึง 6,000-8,000 โรค[เพิ่มเติม] ซึ่งการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับชุมชนโรคหายากจึงเป็นหัวใจสำคัญ โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะช่วยกันผลักดันให้เสียงของผู้ป่วยโรคหายากได้สะท้อนออกมาสู่สังคมในวงกว้าง เพื่อจะได้ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

 

เกี่ยวกับทาเคดา
ทาเคดา เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้วยการวิจัยและพัฒนา โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ทาเคดามุ่งมั่นในการคิดค้นนวัตกรรมการรักษาเพื่อสุขภาพที่ดีและอนาคตที่สดใสของผู้คนทั่วโลก

เกี่ยวกับทาเคดา ประเทศไทย
ทาเคดา ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยเป็นสาขาลำดับที่สามภายใต้แผนขยายของทาเคดาทั่วโลก กลุ่มธุรกิจหลักของทาเคดา ประเทศไทย ประกอบด้วยนวัตกรรมเพื่อการรักษาที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนชีวิตของผู้ป่วย ภายใต้กลุ่มธุรกิจหลักได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร มะเร็งวิทยา โรคหายากด้านพันธุกรรมและภูมิคุ้มกัน และ วัคซีน (ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินงาน)

โรคพิษสุนัขบ้า ทำเสียชีวิตแล้ว 1 ราย แค่ถูกสุนัขข่วน

Alternative Textaccount_circle
event

โรคพิษสุนัขบ้า ทำเสียชีวิตแล้ว 1 ราย แค่ถูกสุนัขข่วน

โรคที่ต้องระวังเพราะมาคู่กับหน้าร้อนโรคหนึ่งก็คือ โรคพิษสุนัขบ้า นับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เพราะหากลูกไปเล่นกับสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า แล้วถูกกัด หรือข่วน ไม่ว่าจะเป็นสุนัขที่มีเจ้าของ หรือไม่มีเจ้าของ ก็อาจติดโรคพิษสุนัขบ้าได้ และหากไม่รักษา ก็อาจเสียชีวิต เช่นเดียวกับผู้โชคร้ายรายนี้ค่ะ

โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร

โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคที่สามารถติดเชื้อเข้าสู่สมอง ติดต่อจากสัตว์สู่คน มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะเสียชีวิตเกือบทุกราย เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษา แต่ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนค่ะ

สถิติผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า

ในแต่ละปี องค์การอนามัยโลกรายงานผู้เสียชีวิต จากโรคพิษสุนัขบ้ามากกว่า 60,000 รายทั่วโลก โดยจะพบมากในประเทศแถบเอเชียและแอฟริกา และร้อยละ 40 ของผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี

ในประเทศไทย มีรายงานคนถูกสัตว์กัดหรือข่วนมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี และสถิติของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในช่วงปี พศ. 2554-2558 มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 5-7 รายต่อปี แต่ในปี พ.ศ. 2561 เพียงประมาณ 2 เดือนมีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้วถึง 3 ราย ร่วมกับตรวจพบสัตว์ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 251 ตัว ซึ่งสูงกว่าระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 1.5 เท่า ส่วนในปี 2564 ที่ผ่านมา พบผู้เสียชีวิต 3 ราย โดยโรคพิษสุนัขบ้าพบมากที่สุดในสุนัข เป็นจำนวนกว่าร้อยละ 90 ตามมาด้วยแมว และโคตามลำดับ

ผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า รายแรกในไทยปี 2565

ในปี 2565 นี้ ก็ได้พบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 1 ราย ที่จังหวัดชลบุรี โดยผู้เสียชีวิตรายนี้ มีประวัติสัมผัสกับสุนัขของเพื่อนบ้านที่นำมาฝากเลี้ยงข่วน แพทย์เตือนให้รักษาแล้ว แต่ไม่รักษา ปล่อยทิ้งไว้ จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตค่ะ

คนติดโรคพิษสุนัขบ้าจากสัตว์ชนิดใดบ้าง

โรคพิษสุนัขบ้าติดต่อโดยการสัมผัสกับน้ำลายจากการถูกกัด ข่วนหรือเลีย บริเวณที่มีรอยถลอกหรือรอยขีดข่วน บาดแผล หรือเลียถูกบริเวณเยื่อบุตา หรือปาก เป็นต้น นอกจากนี้การชำแหละซากสัตว์หรือรับประทานผลิตภัณฑ์ดิบจากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าก็สามารถติดโรคได้

โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น สุนัข แมว ค้างคาว วัว ลิง ชะนี กระรอก กระต่าย รวมถึงหนูเป็นต้น แต่พบว่าสุนัขและแมวเป็นสัตว์ที่นำโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คนได้บ่อยที่สุด

อาการของโรคพิษสุนัขบ้าในคนเป็นอย่างไร

หลังได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าผู้ป่วยจะแสดงอาการป่วยโดยเฉลี่ยประมาณ 3 สัปดาห์- 3 เดือน ในบางรายอาจใช้เวลานานหลายปีกว่าจะมีอาการก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับตำแหน่งที่ถูกกัด ขนาด จำนวนและความลึกของบาดแผลรวมถึงภูมิต้านทานของคนที่ถูกสัตว์กัด อาการของโรคพิษสุนัขบ้าแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน กระวนกระวายนอนไม่หลับ ในบางรายอาจมีอาการ เจ็บ เสียวแปล๊บคล้ายเข็มทิ่ม หรือคันอย่างมากบริเวณที่ถูกกัด ซึ่งเป็นลักษณะที่จำเพาะของโรคระยะนี้มีเวลาประมาณ 2-10  วัน
  2. ระยะที่มีอาการทางสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการสับสน วุ่นวาย กระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง กลืนลำบาก  รวมถึงกลัวน้ำ อาการจะเป็นมากขึ้นหากมีเสียงดัง หรือถูกสัมผัสเนื้อตัว จากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการชักและเป็นอัมพาต ระยะนี้มีอาการประมาณ 2-7  วัน
  3. ระยะท้าย ผู้ป่วยอาจมีภาวะหายใจล้มเหลว หัวใจหยุดเต้น โคม่า และเสียชีวิตในเวลาอันสั้น

 

โรคพิษสุนัขบ้า
โดนสัตว์ กัด ข่วน เลีย เสี่ยงพิษสุนัขบ้า

ขอบคุณภาพจาก กรมควบคุมโรค

ควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อลูกถูกสัตว์กัด

  1. รีบล้างแผลให้เร็วที่สุดด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง นานอย่างน้อย 15 นาที ล้างทุกแผล และล้างให้ลึกถึงก้นแผล  แล้วเช็ดแผลให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดนไอโอดีนเป็นต้นบริเวณแผล
  2. จดจำลักษณะและสังเกตุอาการสัตว์ที่กัด รวมทั้งสืบหาเจ้าของ เพื่อสอบถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า และสังเกตุอาการสัตว์ที่กัดเป็นเวลา 10 วัน ถ้าสบายดีไม่น่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่ถ้าสุนัขตายให้นําซากมาตรวจ
  3. ไปพบแพทย์ทันทีพร้อมนำสมุดวัคซีนหรือประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและบาดทะยักไปด้วย เพื่อรับการป้องกันรักษาที่ถูกต้อง ถ้ามีความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้า เช่น ถูกกัดหรือข่วน แพทย์จะพิจารณาฉีดวัควัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และยาฆ่าเชื้อ  นอกจากนี้ในกรณีที่มีโอกาสติดโรคพิษสุนัขบ้าสูง แพทย์อาจให้อิมมูโนโกลบุลินซึ่งมีภูมิต้านทานโรคพิษสุนัขบ้าร่วมด้วย โดยวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจะฉีดประมาณ 3-5ครั้ง เป็นวัคซีนมีความปลอดภัยสูงสามารถฉีดได้ทุกวัย รวมทั้งในเด็กและสตรีมีครรภ์ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีประสิทธิภาพสูงหากไปรับการฉีดตรงตามแพทย์นัดทุกครั้ง

จะป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร 

เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ไม่มียาที่ใช้ในการรักษา และถ้าติดเชื้อจะเสียชีวิตเกือบทุกราย ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยมีแนวทางในการป้องกันดังนี้

  1. ควบคุมไม่ให้สัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
    – พาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตามกำหนด และฉีดซ้ำทุกปี
    – ไม่ปล่อยสัตว์เลี้ยงไปในที่สาธารณะ ทุกครั้งที่จะนำสุนัขออกนอกบ้านควรอยู่ในสายจูง
    – ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยง
  2. หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกสัตว์กัด โดยไม่แหย่ หรือรังแกให้สัตว์โมโห รวมทั้งไม่ยุ่งหรือเข้าใกล้สัตว์ที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของ
  3. ถ้าถูกสัตว์กัดแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น
  4. พิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้าในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ สัตวแพทย์ ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงและขายสัตว์ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่มีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งอาจทำให้การเข้าถึงวัคซีน รวมถึงการมารับวัคซีนกระตุ้นตามนัดทำได้ยากลำบาก รวมถึงเด็กที่เลี้ยงสุนัขและแมว เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้าโดยฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วันและเมื่อถูกสัตว์กัดจะต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำอีก 1-2 ครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องฉีดอิมมูโนโกลบุลินซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาแพ้ และเจ็บปวดเวลาฉีดรอบแผลร่วมด้วย

จุดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (ในสัตว์)

สำหรับพื้นที่ กรุงเทพมหานคร มีบริการที่ศูนย์บริการฉีดวัคซีนสำหรับพาสัตว์ไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า 8 แห่ง ได้แก่

  1. ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา
  2. ศูนย์บริการสาธารณสุข 43 มีนบุร
  3. ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง
  4. ศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน
  5. ศูนย์บริการสาธารณสุข 33 วัดหงส์รัตนาราม
  6. ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วงนุชเนตร
  7. ศูนย์บริการสาธารณสุข 30 บางกอกน้อย
  8. กลุ่มควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ดินแดง

หรือ หน่วยบริการฉีดวัคซีนสุนัขบ้า ฟรี ในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก

กรุงเทพธุรกิจ, MCOT Digital, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

พ่อแม่ รีบไป! วัคซีนพิษสุนัขบ้า ใช้สิทธิประกันสังคมได้

วิจัยเผย! เลี้ยงลูกกับสุนัขด้วยกัน ได้ประโยชน์กว่าที่คิด

พ่อแม่ระวัง! เห็บหมัดสุนัข และแมวช่วงหน้าฝน

ร็อตไวเลอร์

ทำไม สุนัขพันธุ์ ร็อตไวเลอร์ ชอบกัดเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
ร็อตไวเลอร์
ร็อตไวเลอร์

ทำไม สุนัขพันธุ์ ร็อตไวเลอร์ ชอบกัดเด็ก

เหตุการณ์เด็กน้อยถูกสุนัขกัดจนได้รับบาดเจ็บ อาการสาหัส มีปรากฏให้เห็นกันอยู่ตลอด ล่าสุด เด็กชายวัย 9 ขวบ ถูกสุนัขกัด โดยสุนัขพันธุ์ ร็อตไวเลอร์ 3 ตัวรุมขย้ำอาการสาหัส ต้องเข้ารับการผ่าตัด และศัลยกรรมถึง 12 ครั้ง แต่ก็ยังไม่หาย เรามาดูว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร และทีมแม่ ABK หาข้อมูลมาว่า ทำไมร็อตไวเลอร์ชอบกัดเด็ก มาฝากคุณพ่อคุณแม่ด้วยค่ะ

ร็อตไวเลอร์ กัดลูก 9 ขวบ สาหัส ผ่าตัด 12 ครั้ง

คุณพ่อของเด็กน้อย เล่าว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ลูกชายถูกสุนัขร็อตไวเลอร์ 3 ตัว วิ่งเข้ามารุมขย้ำ โดยสุนัขทั้ง 3 ตัวยืนคร่อมร่างของลูกเอาไว้ และพยายามจะลากดึงร่างของลูกชายไป ขณะที่บางตัว ก็กัดบริเวณศีรษะ ใบหู ลำคอ แขนขา และตามลำตัว เลือดท่วมร่าง ต้องรีบนำส่งรักษาโรงพยาบาล แต่อาการสาหัส แพทย์จึงต้องส่งตัวไปรักษาต่อที่ รพ.มหาราชนครราชสีมา โดยผ่าตัดและศัลยกรรมไปแล้วถึง 12 ครั้ง แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น คุณพ่อบอกอีกว่า ที่ผ่านมาเคยเรียกร้องค่าเยียวยาจากเจ้าของสุนัข แต่ปัจจุบันยังตกลงกันไม่ได้ และ ยังไม่ได้ค่าเยียวยาช่วยเหลือ

สาเหตุที่ทำให้เด็กมักโดนร็อตไวเลอร์กัด

จากเหตุการณ์นี้ รวมทั้งหลาย ๆ เหตุการณ์ที่เด็ก ๆ มักถูกร็อตไวเลอร์กัด เป็นเพราะสาเหตุเหล่านี้ค่ะ

  1. เด็กตัวเล็ก เหมือนเหยื่อที่อ่อนแอ
  2. เด็กวุ่นวาย กระตุ้นสัญชาตญาณนักล่าของสุนัข
  3. เด็กชอบจับ หรือลูบหัวสุนัข ในเชิงพฤติกรรมเป็นการข่มขู่ แสดงตัวตนเหนือกว่า บางทีสุนัขอาจขู่กลับหรืองับได้
  4. เด็กเสียงแหลมโวยวาย กระตุ้นให้สุนัขตื่นตัวและกระโจนใส่
  5. เด็กชอบแกล้ง อาจไปกระตุ้นให้สุนัขก้าวร้าวโดยไม่รู้ตัว เช่น ดึงขามอาหาร จับหาง
  6. เด็กอาจไม่เข้าใจพฤติกรรม และอารมณ์ของสุนัข เช่น เห็นแยกเขี้ยว คิดว่ายิ้มให้และเข้าไปจับ

พฤติกรรมสุนัขที่ควรระวังว่าสุนัขอาจกัดได้

คุณพ่อคุณแม่ควรบอกลูกว่า ให้ดูพฤติกรรมหลากหลายแบบ ที่สุนัขกำลังแสดงออกทางภาษากายต่าง ๆ ว่าพฤติกรรมเช่นนี้ ถ้าเกิดขึ้น ลูกควรเลี่ยงเข้าใกล้สุนัข เพราะอาจถูกสุนัขกัดได้

  • ขนที่คอลุกชัน : จะเห็นสุนัขชันขนตั้งแต่แผงคอไปจนถึงส่วนหลัง เป็นกลไกในการป้องกันตัวเองจากศัตรู ตื่นตัวพร้อมรับเหตุการณ์ หากพบพฤติกรรมเช่นนี้ ควรรีบออกห่าง เพราะสุนัขอาจกัดได้
  • หยุดนิ่ง : หากสุนัขเกิดอาการหยุดนิ่ง หรือมีอาการชะงัก เกิดจากความเครียด หรือกลัว เช่น เวลาที่สุนัขกำลังกินอาหาร หรือกำลังครอบครองของแทะเล่นชิ้นโปรด ซึ่งหากสุนัขรู้สึกกลัว หรือรู้สึกว่าไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์นั้นได้แล้วล่ะก็ สุนัขก็อาจจะกัดได้
  • แยกเขี้ยว : สุนัขที่กลัว อาจแยกเขี้ยวเพื่อขู่ให้ศัตรูไปให้ห่าง แม้การแยกเขี้ยวในบริบทอื่นอาจไม่ได้แสดงถึงความก้าวร้าว หรืออันตราย แต่หากสุนัขกำลังกลัว ก็ควรอยู่ให้ห่างไว้ เพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกสุนัขกัด

วิธีป้องกันสุนัขกัด

คุณพ่อคุณแม่อาจปฏิบัติ และสอนลูกง่าย ๆ ดังนี้

  • อย่าแหย่ อย่าให้ลูกไปแหย่สุนัขเล่น ไม่ว่าจะมีเจ้าของ หรือไม่มีเจ้าของ
  • อย่าแยก ไม่ไปแยกสุนัขที่กำลังกัดกัน หรือกัดกันเองด้วยมือเปล่า
  • อย่าเหยียบ สอนอย่าให้ลูกไปเหยียบ หาง ตัว หรือขาของสุนัข ไม่ทำให้สุนัขเจ็บ หรือตกใจ
  • อย่าหยิบ สอนลูกว่า อย่าไปหยิบจานข้าวสุนัข ขณะที่สุนัขกำลังกินอยู่
  • อย่ายุ่ง ไม่ยุ่ง หรือคลุกคลี กับสุนัขที่ไม่มีเจ้าของ และไม่ควรให้สุนัขเลียมือ 

ปล่อยสุนัขกัดคนตาย อาจติดคุก

ตามกฎหมายการปล่อยปละละเลยสัตว์ จะทำให้เจ้าของเสียเงินและอาจติดคุก ตามประมวลกฎหมายอาญา และอาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งอีกด้วย

  • ตามกฎหมายแพ่งมาตรา 433 เจ้าของสุนัขจำต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากความเสียหายอันเกิดจากสุนัขนั้น เพราะเจ้าของไม่ได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์นั้น ผู้เสียหายจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของสุนัขได้ หากเจ้าของปฏิเสธความรับผิดชอบ
  • ตามกฎหมายอาญามาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
  • ตามกฎหมายอาญามาตรา 377 ผู้ใดควบคุม สัตว์ดุ หรือ สัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคล หรือ ทรัพย์ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

 

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองควรสอนให้ลูกรู้จักพฤติกรรมของสัตว์ อย่าเล่นหรือเข้าใกล้สุนัขแปลกหน้า ต้องรับรู้ไว้เลยว่า พวกมันสามารถกัดเราได้ทุกเมื่อนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

Post Today, ทนายคลายทุกข์, Purina, tonmamoung, amarin tv

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เตือน! ช่วยเด็กจมน้ำ อย่าอุ้มพาดบ่า พร้อมแนะวิธีที่ถูกต้อง

เตือนภัยลูกเผลอกิน เจลแอลกอฮอล์ อันตรายใกล้ตัว!!

หมดกังวลเรื่องอุบัติเหตุ! ด้วย 4 วิธีป้องกันอันตราย ให้ลูกน้อยมีอิสระ เรียนรู้ได้เต็มที่

หลั่งในไม่ท้อง หลังกินยาคุมกี่วัน

เช็กให้ชัวร์! หลั่งในไม่ท้อง หลังคุมกำเนิดกิน ฉีด ฝังไปแล้วกี่วัน

Alternative Textaccount_circle
event
หลั่งในไม่ท้อง หลังกินยาคุมกี่วัน
หลั่งในไม่ท้อง หลังกินยาคุมกี่วัน

หลั่งในไม่ท้อง หลังคุมกำเนิดไปแล้วกี่วัน มาฟังให้ชัวร์ก่อนปฎิบัติ เมื่อไหร่ที่ควรกิน ฉีด หรือฝังยาคุมให้ได้ประสิทธิภาพ นับวันกันอย่างไร รู้ไว้จะได้ไม่พลาด

เช็กให้ชัวร์! หลั่งในไม่ท้อง หลังคุมกำเนิดกิน ฉีด ฝังไปแล้วกี่วัน?

ชีวิตคู่กับเซ็กซ์ (SEX) เป็นของคู่กัน การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคู่รักจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ทั้งคู่ควรทำความเข้าใจ เพราะเซ็กซ์สามารถทำให้คนสองคนยิ่งมีความรู้สึกแน่นแฟ้น รักใคร่กันมากยิ่งขึ้น หรือบางทีเซ็กซ์ก็ทำให้บางคู่ถึงขั้นต้องเลิกราห่างกันไปได้เช่นกัน นอกจากเซ็กซ์จะมีผลต่อเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้ว การทำความเข้าใจในเรื่ององค์ประกอบต่าง ๆ ของการมีเพศสัมพันธ์ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน เช่น การรู้จักวิธีป้องกันโรคติดต่อจากเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิดด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการท้องไม่พร้อมขึ้น เป็นต้น

เพศสัมพันธ์ กับชีวิตคู่
เพศสัมพันธ์ กับชีวิตคู่

หลั่งนอก หรือ หลั่งใน เรื่องวุ่น ๆ ของชีวิตคู่!!

หลั่งนอก (Coitus Interruptus) หนึ่งในวิธีการมีเพศสัมพันธ์ที่หลายคนนิยม และเชื่อกันว่าเป็นการคุมกำเนิดที่ได้ผล เพราะการหลั่งอสุจิภายนอกร่างกายเพศหญิงจะช่วยลดปริมาณอสุจิที่อาจเข้าไปปฏิสนธิได้ แต่ที่จริงแล้วการหลั่งนอกเป็นวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพน้อยมาก มีโอกาสล้มเหลว และมีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูง อีกทั้งยังอาจทำให้ความสุขในขณะมีเพศสัมพันธ์ลดลงอีกด้วย

การมีเพศสัมพันธ์โดยหลั่งนอกเป็นประจำจะส่งผลกระทบต่อความสุขระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้ เนื่องจากฝ่ายชายจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการหลั่งอสุจิภายในหลังจากถึงจุดสุดยอด และฝ่ายชายเองก็จะรู้สึกประหม่าในขณะมีเพศสัมพันธ์ ส่วนฝ่ายหญิงอาจมีความรู้สึกที่ไม่ดี และไม่อิ่มเอมกับเพศสัมพันธ์ที่มีเท่าที่ควร และอาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ได้ในที่สุด

หลั่งในไม่ท้อง ได้หรือไม่??

การคุมกำเนิดเพียงอย่างเดียวที่ให้ผลป้องกันการตั้งครรภ์ 100% คือ “Abstinence หรือ การไม่มีเพศสัมพันธ์” นั่นเอง กล่าวอีกทีนั่นคือ การมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีการคุมกำเนิดหรือไม่ จะหลั่งใน หรือหลั่งนอก หรือเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบใด ตัวอย่างเช่น ยากินคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝัง หรือแม้แต่การทำหมัน เป็นต้น ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าให้ผลป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% นั่นเอง

อย่างที่กล่าวกันข้างต้นว่า คู่รักมักนิยมวิธีการหลั่งนอกเพราะเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องรับประทาน ไม่ต้องใส่ถุงยาง เป็นวิธีที่ใกล้เคียงกับการมีเพศสัมพันธ์แบบธรรมชาติที่สุดแล้ว แต่มีข้อเสียคือ ทำให้สูญเสียความสุขระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ในการต้องหยุดจังหวะรักขณะที่กำลังจะถึงจุดสุดยอด ดังนั้นวิธีการหนึ่งที่จะแนะนำในการต้องการมีเซ็กซ์แบบไม่ต้องการตั้งครรภ์ นั่นคือ การคุมกำเนิดแบบใช้ยาคุม

กินยาคุมกำเนิดอย่างไร ให้ หลั่งในไม่ท้อง ได้
กินยาคุมกำเนิดอย่างไร ให้ หลั่งในไม่ท้อง ได้

ใช้ยาคุมกำเนิด แล้วหลั่งในจะท้องมั้ย?

ยาคุมกำเนิดทำได้หลายวิธี วิธีที่นิยมกันมากคือ การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด  ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด (injectable contraceptives) มีการใช้มากเช่นเดียวกันแม้จะไม่เท่ากับยาเม็ดคุมกำเนิด การใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด และยาฝังคุมกำเนิด

1.ยาเม็ดคุมกำเนิด

สามารถคุมกำเนิดได้ถึง 99% จึงสามารถหลั่งในได้ แต่! ต้องมั่นใจว่ากินยาครบ ตรงเวลา ไม่ขาด ยาคุมกำเนิดจึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ ต้องดูก่อนว่า เรากินยาคุม ชนิดใดอยู่ เป็นแบบฮอร์โมนรวม หรือฮอร์โมนเดี่ยว เพราะ

  • ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม : ทำให้หยุดการตกไข่ ดังนั้นการกินยาคุมกำเนิดชนิดนี้ จึงสามารถคุมกำเนิดได้ 99% และสามารถหลั่งในได้ โดยไม่จำเป็นต้องกินยาคุมฉุกเฉินเพิ่มอีก ย้ำอีกครั้ง! ว่าจะไม่ท้อง ในกรณีที่มั่นใจว่ากินยาคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง ไม่ขาด ไม่เกิน เท่านั้น
  • ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว : ทำให้ปากมดลูกมีเมือกเหนียวข้น ขัดขวางไม่ให้อสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ และทำให้ผนังมดลูกเปลี่ยนไป ไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่ แต่ประสิทธิภาพการป้องกันอาจสู้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมไม่ได้

คิดจะกินยาคุมกำเนิด ควรปรึกษากับเภสัชกรก่อนกินยาคุมกำเนิด ไม่ควรซื้อกินเองหรือกินตามเพื่อน เพราะอาจกินไม่ถูกต้อง และทำให้การคุมกำเนิดไม่ได้ผล บานปลายเป็นปัญหาท้องไม่พร้อม ดังสถิติวัยรุ่นไทยท้องไม่พร้อม สูงถึง 15% (พศ. 2561) มากกว่าที่องค์กรอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ 10%

ยาคุมกำเนิดแบบแผงรับประทาน
ยาคุมกำเนิดแบบแผงรับประทาน

การใช้ยาคุมแบบแผงรายเดือนนั้นเป็นการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงมาก หากได้กินติดต่อกันทุกวันจนหมดแผงยา โดยการเริ่มยาควรเริ่มภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือนเพื่อให้สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ทันที หากเริ่มช่วงเวลาอื่น อาจจะต้องกินติดต่อกันให้ครบ 7 วันก่อนค่อยมีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกันได้

จากที่กล่าวมานั้น ถ้าได้กินยาในแผงยาติดต่อกันเกิน 7 วันไปแล้ว สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย และให้กินยาต่อเนื่องไปจนหมดแผง ควรกินในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันทุกวันไม่คลาดเคลื่อนไปเกิน 3 ชั่วโมง

2.ยาฝังคุมกำเนิด

ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ของยาฝังคุมกำเนิดถือว่าดีมาก ตามทฤษฎีแล้ว จะมีโอกาสการล้มเหลวทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้เพียง 0.05% หรือเท่ากับ 1 ใน 2000 คน ซึ่งดีกว่ายาเม็ดคุมกำเนิด และยาฉีดคุมกำเนิด จากรายงานการใช้งานจริงต่าง ๆ ทั่วโลกก็พบการตั้งครรภ์เกิดขึ้นน้อยกว่า 1 คนใน 1000 คนที่ฝังยาคุมในระยะเวลา 3 ปี ดังนั้นหากได้ฝังยามานานเกิน 7 วันแล้ว สามารถที่จะมีเพศสัมพันธ์ และหลั่งในได้

3.ยาฉีดคุมกำเนิด

หากได้เริ่มฉีดยาคุมกำเนิด ภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน ยาฉีดคุมกำเนิดก็จะสามารถออกฤทธิ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ทันที โดยประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ของยาฉีดคุมกำเนิดแบบชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (ฉีดทุก 2 หรือ 3 เดือน) กับชนิดฮอร์โมนรวมจะเท่า ๆ กัน คือป้องกันการตั้งครรภ์ได้มากกว่า 99% หรือมีโอกาสการล้มเหลวทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 0.2% หรือเท่ากับ 2 ใน 1000 คน ซึ่งดีกว่าการทานยาเม็ดคุมกำเนิดเล็กน้อย แต่ทั้งนี้ต้องได้รับการฉีดอย่างถูกต้อง

แต่หากได้เริ่มฉีดยาคุม ในช่วงเวลาอื่น นอกจากช่วง 5 วันแรกของการมีประจำเดือน ยาฉีดคุมกำเนิดจะยังไม่ออกฤทธิ์ได้ทันที โดยจะเริ่มออกฤทธิ์หลังจากฉีดยาไปแล้วประมาณ 7 วัน ดังนั้นในช่วง 7 วันแรกหลังฉีดยาคุม จึงควรงดการมีเพศสัมพันธ์หรือใช้ถุงยางอนามัยไปก่อน ซึ่งหากไม่ได้ป้องกันในช่วง 7 วันแรกนี้ ก็มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้

ถุงยางอนามัย หลั่งในไม่ท้อง แถมป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ถุงยางอนามัย หลั่งในไม่ท้อง แถมป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

สรุปให้ตรงนี้!…หลังคุมกำเนิดกี่วัน หลั่งในไม่ท้อง

การตั้งครรภ์นั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่ออสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ในช่วงวันตกไข่ เมื่อมีการนับวันตกไข่ที่แน่นอนสำหรับผู้หญิงแต่ละคนแล้ว ก็จะช่วยกำหนดวันมีเพศสัมพันธ์ที่มีโอกาสมีลูกมากขึ้น เพราะในช่วงวันที่ตกไข่จะเป็นช่วงที่อสุจิสามารถเข้าไปปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ได้ตามธรรมชาติและส่งผลให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้เพิ่มขึ้น

แต่สำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิด คำแนะนำในการเริ่มคุมกำเนิด คือ ให้เริ่มรับยาคุมกำเนิดไม่ว่าจะวิธีใดภายในวันที่ 1-5 ของการมีประจำเดือน

ตัวอย่างเช่น

วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันแรกของการมีประจำเดือน หากคุณมีประจำเดือนรอบละกี่วันก็ตาม ให้เริ่มคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นการรับประทาน การฉีด หรือการฝังยาคุมก็ตาม (คำแนะนำให้เริ่มการคุมกำเนิดภายในวันที่ 1-5 ของการมีประจำเดือน ) หมายความว่า นับจากวันที่คุณมีประจำเดือนวันแรก คือ วันที่ 8 มีนาคม คุณก็เริ่มการคุมกำเนิดได้ตั้งแต่วันที่ 8-12 วันไหนก็ได้ ซึ่งประสิทธิภาพของยาคุมนั้นจะสามารถออกฤทธิ์คุมกำเนิดได้เลยทันที เพราะเป็นช่วงที่พ้นระยะไข่ตกไปแล้ว

มีลูกเมื่อพร้อม
มีลูกเมื่อพร้อม

การนับระยะไข่ตก

สำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตามปกติ การนับวันตกไข่จะค่อนข้างแม่นยำ โดยปกติแล้วผู้หญิงจะมีรอบเดือนทุก 28 วัน โดยให้นับหลังจากวันที่ประจำเดือนมาเป็นวันที่ 1 ซึ่งวันที่ 14 จะเป็นวันที่ตกไข่ แต่วันที่ไข่ตกจะไม่ตรงในบวกลบไปอีก 1-2 วัน 

ดังนั้นหากเราเริ่มใช้ยาคุมกำเนิด ตั้งแต่วันที่ 1-5 ของการมีประจำเดือน จึงมีประสิทธิภาพได้เลยทันที เพราะทำให้มีช่วงเวลามากพอในการให้ฮอร์โมนออกฤทธิ์ เมื่อนับวันเริ่มตั้งแต่ใช้ยาคุมกำเนิด จะพบว่าห่างไกลจากวันที่ไข่ตกอย่างมาก โอกาสในการตั้งครรภ์จึงต่ำมาก ทำให้สามารถหลั่งในได้ไม่ท้อง (ย้ำ!!ต้องทำครบขั้นตอน)

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.pobpad.com/hd.co.th/ multimedia.anamai.moph.go.th/เพจสุขภาพดีกับพยาบาลแม่จ๋า

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ยาคุมฉุกเฉิน ผู้หญิงรู้ไว้ใช้บ่อยไปผลร้ายตกอยู่กับคุณ!

22 ผลไม้สำหรับคนท้อง สารอาหารแน่น แม่กินดีลูกได้ประโยชน์

8เรื่องควรรู้ก่อนใช้ ยาคุม กับ7เรื่องยาคุมฉุกเฉินที่รู้ไว้ไม่พลาด

14 วิธีช่วยให้การ นอนหลับ ดีขึ้น ต้อนรับวันนอนหลับโลก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

ฟันผุ

กรมอนามัยเตือน! ปล่อยลูก ฟันผุ เสี่ยงเด็กแคระแกร็น!!

Alternative Textaccount_circle
event
ฟันผุ
ฟันผุ

กรมอนามัยเตือน! ปล่อยลูก ฟันผุ เสี่ยงเด็กแคระแกร็น!!

ตั้งแต่ลูกเริ่มฟันขึ้น พอเวลาจะแปรงฟันให้ลูก ลูกก็งอแงวิ่งหนีทุกที ทำเอาทั้งคุณพ่อคุณแม่เหนื่อยในการพาลูกแปรงฟัน เชื่อว่าหลายบ้านต้องเคยประสบปัญหานี้กันมาก่อน พอรู้ตัวอีกทีลูกก็ ฟันผุ เสียแล้ว

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบเด็กเล็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากกับเด็กเล็กที่ไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก พบว่า

  • เด็กที่ไม่มีปัญหาช่องปาก มีโอกาสที่จะมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น 1.43 เท่า
  • ในเด็กอายุ 3 ปี เป็นโรคฟันผุ ถึงร้อยละ 52.9
  • เด็กอายุ 5 ปี มีฟันผุร้อยละ 75.6

และจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก พบว่า เด็กวัยเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันเพียงร้อยละ 30 จึงทำให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็กเล็กเป็นจำนวนมาก หากไม่ได้รับการรักษา อาการจะลามลึกลงไปถึงรากฟัน สร้างความเจ็บปวด เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ฟันผุ จึงเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ เลยค่ะ

สาเหตุของ ฟันผุ

ฟันผุคือ ผิวฟันเกิดเป็นจุดหรือรูโหว่ ตัวการของฟันผุ คือ แบคทีเรียภายในช่องปาก ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอาหารที่ลูกกินเข้าไป และก่อให้เกิดกระบวนการทำลายฟันตามลำดับ ดังนี้

  • คราบแบคทีเรียก่อตัวบนผิวฟัน เวลาที่ลูกกินอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเข้าไป แล้วน้ำตาลยังคงตกค้างอยู่ที่ผิวฟัน แบคทีเรียหลายชนิดที่มีอยู่แล้วในปากจะไปจับกับน้ำตาลจนเกิดคราบเหนียวเคลือบอยู่ที่ฟัน หรือที่เรียกกันว่าคราบหินปูน ซึ่งจะเพิ่มความหนามากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วทำปฏิกิริยากับน้ำตาลเกิดเป็นกรดทำลายผิวฟันให้ผุกร่อน
  • คราบหินปูนทำลายผิวฟัน กรดที่อยู่ในคราบหินปูนจะทำลายผิวฟันส่วนที่แข็งและอยู่ชั้นนอก เมื่อเกิดรูที่ผิวฟันชั้นนอก แบคทีเรียจะเข้าไปยังผิวฟันชั้นในซึ่งมีพื้นผิวอ่อนกว่าและต้านทานต่อกรดได้น้อยกว่าชั้นนอก
  • การทำลายผิวฟันอย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดฟันผุ แบคทีเรียและกรดที่เกิดขึ้นจะเข้าทำลายผิวฟันในระดับที่ลึกเข้าไปเรื่อย ๆ อาจทำลายเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งเป็นที่อยู่ของเส้นประสาทและหลอดเลือด จนทำให้ลูกเกิดอาการเสียวฟัน มีการบวมในบริเวณนั้น ปวดฟันอย่างรุนแรง หรือปวดฟันเวลากัดหรือเคี้ยวอาหาร เป็นต้น

อาการของ ฟันผุ

อาการที่พบนอกเหนือจากจุดหรือรูสีน้ำตาลดำบริเวณผิวฟันแล้ว หากลูกไม่ได้รับการรักษา ลูกอาจมีอาการปวดฟัน เสียวฟัน ปวดฟันมากเวลากัดหรือเคี้ยวอาหาร หรือเวลารับประทานอาหารที่มีรสหวาน อาหารร้อน ๆ หรืออาหารที่มีความเย็น ขมปาก ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ฟันเปลี่ยนสี หรือเป็นหนองได้ค่ะ

ลูกควรไปพบทันตแพทย์เมื่อใด

โดยปกติแล้ว เด็กทุกคนควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจรักษาดูแลสุขภาพฟันอยู่เสมอ แต่หากมีอาการอย่างปวดฟัน ปวดบวมภายในปาก ควรรีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุดนะคะ

รับมือปัญหาที่เกิดจากฟันผุ

เมื่อลูกเกิดฟันผุ และเริ่มมีสัญญาณของความเจ็บปวดบริเวณเหงือกและฟัน ในเบื้องต้นให้ใช้ผ้าบาง ๆ ห่อน้ำแข็ง หรือใช้ถุงประคบเย็นประคบไว้บริเวณแก้มลูก ครั้งละประมาณ 10-15 นาที วันละหลาย ๆ ครั้ง เพื่อบรรเทาอาการปวด และสามารถรับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป อย่างพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน โดยต้องใช้ยาอย่างถูกต้องตามวิธีการและตามปริมาณที่เหมาะสมกับอายุที่ระบุไว้บนฉลากยา จากนั้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาฟันผุและรับการรักษาในขั้นต่อไป

เด็กเล็กฟันผุหลายซี่ เสี่ยงแคระแกร็น

นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า ปัญหาฟันผุส่งผลให้เด็กเจ็บปวดทรมาน เสียสุขภาพ กระทบต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก และพบว่า การมีฟันผุหลายซี่ในปาก มีความสัมพันธ์กับภาวะแคระแกร็นของเด็ก เพราะทำให้เด็กกินอาหารลำบาก เคี้ยวไม่สะดวก และเด็กที่มีฟันน้ำนมผุมากจะมีแนวโน้มว่า ฟันแท้จะผุมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ควรแปรงฟันให้เด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้น ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และแปรงฟันให้ต่อเนื่อง จนกว่าเด็กจะแปรงฟันได้เองค่ะ

ฟันผุ
ให้ลูกแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์

วิธีรักษาฟันผุ

วิธีที่ควรใช้ในการรักษาฟันผุขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของฟันผุด้วย ได้แก่

  • ฟลูออไรด์ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันและฟื้นฟูสภาพฟันจากการผุ หากฟันผุในระยะแรกเริ่ม ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใช้ฟลูออไรด์ ทั้งในรูปแบบยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก เจล โฟม หรือสารเคลือบฟัน รวมทั้งแนะนำปริมาณน้ำตาลจากอาหารที่ลูกควรรับประทาน เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุเพิ่มจากการสะสมของน้ำตาล
  • การอุดฟัน เป็นวิธีการรักษาที่นำมาใช้ในระยะที่ฟันผุเข้าไปถึงชั้นผิวด้านใน แพทย์จะใช้วัสดุที่มีสีเหมือนฟันหรือมีความแข็งแรง เช่น พอร์เซเลน แร่เงิน หรือใช้วัสดุหลายชนิดรวมกัน อุดไปบริเวณที่มีรูฟันผุ
  • การครอบฟัน ใช้ในกรณีที่ฟันผุกร่อนเป็นบริเวณกว้าง เหลือเนื้อฟันน้อย หรือมีสุขภาพฟันไม่แข็งแรง แพทย์จะกำจัดเนื้อฟันบริเวณที่ผุออกไปจนหมด ก่อนจะใช้วัสดุที่มีสีเหมือนฟัน หรือมีความแข็งแรงทนทาน เช่น พอร์เซเลน เรซิ่น หรือทอง ครอบไปที่ฟันซี่นั้นแล้วตกแต่งให้ฟันยึดเยอะในบริเวณที่เหมาะสม
  • การรักษารากฟัน หากฟันผุลึกลงไปจนถึงรากฟัน ทันตแพทย์จะรักษาที่รากฟันเพื่อซ่อมแซมความเสียหายและรักษาในบริเวณที่ติดเชื้อ อาจใช้ยาเพื่อรักษารากฟันที่มีการติดเชื้อ ก่อนจะแทนที่บริเวณที่มีการผุด้วยการอุดฟัน
  • การถอนฟัน เด็กที่มีฟันผุอย่างรุนแรงจนไม่สามารถเยียวยาเนื้อฟันที่เหลือได้ ทันตแพทย์จะถอนฟันซี่นั้นออกเพื่อรักษาอาการ แต่หลังจากถอนฟันแล้ว สามารถปรึกษาหาวิธีการทดแทนช่องว่างของฟันซี่ที่ถูกถอนออกไป เช่น การใส่ฟันปลอม การใช้สะพานฟัน หรือปลูกถ่ายรากฟันเทียมซึ่งเป็นไททาเนียมยึดเกาะบริเวณรากฟันแทนที่ฟันที่ถูกถอนออกไป

ป้องกันฟันผุอย่างไรให้ได้ผล

สิ่งสำคัญ คือ การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้ดี ทำความสะอาดทั้งเหงือกและฟัน แปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์หลังการรับประทานอาหาร หรืออย่างน้อยต้องแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ใช้น้ำยาบ้วนปาก ลดหรืองดการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง ขนมขบเคี้ยว ของหวาน เครื่องดื่มที่มีรสหวาน น้ำอัดลม เลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพฟัน อย่างผักและผลไม้ที่มีแร่ธาตุและเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์

 

สุขภาพฟันเป็นเรื่องใกล้ตัวที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรดูแลและให้ความสำคัญกับลูก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟันผุและอาการต่าง ๆ ที่จะตามมานะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

ไทยรัฐออนไลน์,pobpad

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก 

8 วิธีเลือกและดูแลแปรงสีฟันลูก ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค

แปรงสีฟันเด็ก เลือกใช้ยังไงให้เหมาะกับวัยลูก

หมอฟันตอบเอง..แท้จริงแล้ว! ควร บีบยาสีฟัน ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี

ติดโควิด ใช้สิทธิประกันสังคม

ติดโควิด ใช้สิทธิประกันสังคม ต้องทำยังไง?

Alternative Textaccount_circle
event
ติดโควิด ใช้สิทธิประกันสังคม
ติดโควิด ใช้สิทธิประกันสังคม

ติดโควิด ใช้สิทธิประกันสังคม ต้องทำยังไง?

หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่กำลังระบาดทั่วโลกในขณะนี้ และประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก คุณพ่อคุณแม่หลายคนซึ่งเป็นผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคม อาจมีคำถามว่า หาก ติดโควิด ใช้สิทธิประกันสังคม ต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้ทีมแม่ ABK มาให้คำตอบกันค่ะ

 

ติดโควิด ใช้สิทธิประกันสังคม ตรวจ ATK เจอ เข้าสู่กระบวนการรักษาได้เลย

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยถึง ขั้นตอนแนวทางการตรวจรักษาโควิด-19 ในกรณีผู้ประกันตนสงสัย เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อ หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 หรือเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถทำการตรวจคัดกรองด้วยตนเอง หรือที่สถานพยาบาลตามสิทธิ สำหรับการตรวจวินิจฉัย antigen test kit (ATK) หากผลตรวจ ATK เป็นบวกขึ้น 2 ขีด เข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการรักษา โดยแบ่งตามสีต่าง ๆ ได้แก่ ผู้ป่วยสีเขียว  ผู้ป่วยสีเหลืองเข้ม หรือแดง และ ผู้ที่ไม่มีเชื้อ ผล ATK เป็นลบ แต่มีความเสี่ยงสูงค่ะ

 

กรณีผลตรวจ ATK เป็นบวก ผู้ป่วยสีเขียว

ผู้ป่วยสีนี้มีทั้งแบบที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย-ปานกลาง ซึ่งสามารถกักตัวอยู่ที่บ้าน และกักตัวในระบบชุมชน และเลือกรักษาที่ hospitel ค่ะ

การเข้ารับการรักษา (Home Isolation : HI) กรณีผู้ประกันตนต้องการรักษาตัวที่บ้าน และมีความพร้อมด้านสถานที่ โดยไม่ต้องขอตรวจยืนยันผล RT-PCR ให้ติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิ/สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอรับการรักษาจัดส่งยาหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการรักษา พร้อมทั้งการติดตามอาการจากแพทย์และพยาบาลของสถานพยาบาลนั้นค่ะ

ช่องทางการติดต่อเข้ารับการรักษาตัวในระบบ Home Isolation ของ สปสช. มี 3 ช่อง ได้แก่

  • โทรศัพท์เข้าสายด่วน 1330 กด 14
  • ไลน์ออฟฟิเชียล สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6
  • ลงทะเบียนด้วยตัวเองด้วยการสแกน QR code ที่อยู่บนเว็บไซต์ สปสช. หรือคลิกที่ลิงก์ https://crmsup.nhso.go.th/#TicketHI

หากไม่สะดวกในการติดต่อด้วยตนเอง สามารถติดต่อประสานหน่วยงาน ของสำนักงานประกันสังคม ช่วยเหลือขอรับรักษาหรือโทรศัพท์ติดต่อได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่ง หรือที่สายด่วน 1506 กด 6 และกด 7

การเข้ารับการรักษาในระบบชุมชน (Community Isolation : CI) หากต้องการเข้ารักษาตัวเองที่บ้าน แต่สภาพบ้านไม่พร้อมทำ CI สามารถติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอรับการตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR ก่อน หรือติดต่อประสานหน่วยงานของสำนักงานประกันสังคม ได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่ง สายด่วน 1506 กด 6 และ กด 7

การเข้ารับการรักษาใน Hospitel

  • กรณีผู้ประกันตนประสงค์รักษาใน Hospitel เพราะมีข้อจำกัดไม่สามารถรักษาที่บ้านได้ สามารถติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอรับการตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR
  • หากการตรวจ RT-PCR ยืนยันผลเป็นบวก ให้สถานพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม หรือ สถานพยาบาลที่ทำการตรวจ จัดหา Hospitel รับผู้ประกันเข้ารักษาโดยเร็ว

 

กรณีผลตรวจ ATK เป็นบวก ผู้ป่วยสีเหลืองเข้ม-สีแดง

หากเข้าข่ายต่อไปนี้ถือว่ามีอาการเข้าข่ายสีเหลืองเข้ม – แดง

  • มีอาการรุนแรง
  • มีไข้ ไอ หายใจเหนื่อย/มีโรคประจำตัว
  • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ไตวายเรื้อรัง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง เป็นต้น
  • กรณีที่มีโรคประจำตัวควบคุมไม่ได้
  • ตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ มากกว่า 12 สัปดาห์

ให้ติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอตรวจยืนยันผลด้วยวิธี RT-PCR และเข้าสู่กระบวนการรักษาในสถานพยาบาลตามแนวทางที่สาธารณสุขกำหนด

 

กรณีผลตรวจ ATK เป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ)

  • หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ไข้สูง 37.5 องศาเซลเซียส ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อย ตาแดง ผดผื่น ถ่ายเหลว แนะนำให้ติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอตรวจยืนยันผลด้วยวิธี RT-PCR
  • หากผลตรวจยืนยันเป็นลบ แต่มีประวัติเสี่ยง แนะนำให้กักตัว สังเกตอาการ และตรวจ ATK ซ้ำทุก 3 วัน หากไม่มีประวัติเสี่ยง ไม่ต้องกักตัวค่ะ
  • หากผลตรวจยืนยันเป็นบวก ให้สถานพยาบาลรับผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาโดยเร็ว ตามแนวทาง การรักษาโควิด-19
  • กรณีแพทย์ซักประวัติ แล้วไม่มีความเสี่ยงหรือไม่เข้าเกณฑ์การตรวจของกระทรวงสาธารณสุข ผู้ประกันตนประสงค์ขอตรวจเอง ซึ่งไม่อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบเอง

 

สำนักงานประกันสังคมได้มีช่องทางการติดต่อประสานงานให้บริการช่วยเหลือผู้ประกันตน เข้ารักษาในสถานพยาบาล Hospitel กรณีที่ไม่สามารถติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิประกันสังคมได้ หรือได้รับการปฏิเสธการรักษา ผู้ประกันตน สามารถติดต่อประสานหน่วยงาน ของสำนักงานประกันสังคม ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่ง หรือที่ สายด่วน 1506 กด 6 และ กด 7 * ให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

คุณพ่อคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนของประกันสังคม สามารถใช้สิทธิของตนเองได้ หรือแจ้งให้คนใกล้ตัวทราบได้ในกรณีที่ติดโควิด-19 นะคะ

 

ติดโควิด ใช้สิทธิประกันสังคม
ขั้นตอนการตรวจรักษาโควิดของผู้ประกันตน ประกันสังคม

ขอบคุณภาพจาก สำนักงานประกันสังคม

ขอบคุณข้อมูลจาก

เดลินิวส์, สำนักงานประกันสังคม

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทวามดี ๆ คลิก

ด่วน! เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม ด้วยตัวเอง ภายใน 31 มี.ค.นี้

ย้ายสิทธิบัตรทอง ด้วยตนเอง ผ่าน 2 ช่องทาง สะดวก ง่าย

รวม 5 สิทธิประโยชน์ ลดหย่อนภาษี คู่สมรส

พัฒนาการเด็ก

พัฒนาการเด็ก ช่วงอายุ 1 – 3 ปี เวลาทองแห่งการพัฒนา

Alternative Textaccount_circle
event
พัฒนาการเด็ก
พัฒนาการเด็ก

พัฒนาการเด็ก ช่วงอายุ 1–3 ปี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ เป็นเวลาที่สมองเจริญเติบโตและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนากรของเด็กอย่างถูกวิธี

พัฒนาการเด็ก ช่วงอายุ 1 – 3 ปี เวลาทองแห่งการพัฒนา

คุณพ่อคุณแม่ย่อมอยากให้ลูกเติบโตขึ้นด้วยสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุข ช่วยเหลือตัวเองได้ และเป็นคนดีของสังคม เด็กที่จะเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพนั้น ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูอบรมของคุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยง รวบถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก ดังนั้น ทีมแม่ ABK จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ พัฒนาการเด็ก ช่วงอายุ 1 – 3 ปี มาให้คุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยง เพื่อจะได้ศึกษา และเป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เติบโตอย่างมีศักยภาพ

หัดให้ยืน-เดิน-เอง
หัดให้ยืน-เดิน-เอง

พัฒนาการเด็ก ช่วงอายุ 1 – 3 ปี เวลาทองแห่งการพัฒนา

อายุ พัฒนาการตามวัย วิธีการส่งเสริมพัฒนาการ
12-18  – ยืนเองได้ชั่วครู่  จูงมือเดิน  เดินได้เอง  – ให้ลูกมีโอกาสยืน เดิน ด้วยตัวเอง
เดือน  – วางของซ้อนกันได้ 2 ชิ้น  ใส่วงกลมลง  – ให้เล่นของเล่นที่ต้องลากดึง  ให้เล่นของเล่น
   ในช่อง  ปักหมุดลงในช่อง    เพื่อการเรียนรู้  เช่น  หมุดไม้  หยิบห่วงใส่
 – เรียกพ่อแม่ หรือพูดคำพยางค์เดียวที่มี    แท่งไม้
   ความหมาย  – พูดคุย ชี้บอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  ใช้คำ
 – บอกส่วนต่างๆบนใบหน้า 1-3 ส่วน    สั่งง่าย ๆ ให้ลูกทำตาม
 – ใช้ช้อนตักอาหารแต่ยังหกบ้าง  – ให้หยิบตักอาหารรับประทานเอง
18-24  – เดินได้คล่อง  วิ่งได้  จูงมือเดียวเดินขึ้น  – พาลูกเดินเล่นในสนามหญ้า  สนามเด็กเล่น
เดือน    บันได  เดินถอยหลัง  เตะลูกบอล    เตะบอล ปีนป่าย
 – วางของซ้อนกันได้ 4-6 ชั้น  แยกสี 2 สี  – ให้เล่นของเล่นที่ซับซ้อนกว่าเดิม เน้นเรื่อง
 – ขีดเขียนเป็นเส้นยุ่งๆ  ขีดเส้นตรงใน    ของสี  รูปทรง  มากขึ้น
   แนวดิ่งได้  – พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว  ให้ดูภาพ  เล่าเรื่อง
 – ชี้รูปภาพตามบอกได้    เล่านิทานสั้น ๆ
 – พูดคำโดดได้มากขึ้น พูดเป็นวลี 2-3  – เริ่มฝึกการขับถ่ายอุจจาระ  ปัสสาวะให้เป็นที่
  พยางค์ต่อก้นเมื่ออายุ 2 ปี  บอกชื่อเล่น    เช่น  กระโถนหรือส้วมที่ดัดแปลงให้เหมาะ
 – ใช้ช้อนตักอาหารเองได้  เริ่มถอดเสื้อ    กับลูก
   ผ้าเองได้  – สนใจเมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เหมาะสม  ฝึกให้
   ลูกมีทางเลือกเองบ้าง
3 ปี  – เตะบอล  ขว้างบอล  กระโดดอยู่กับที่  – ให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสนามกับเด็กอื่น  เล่น
   เดินขึ้นลงบันได  ขี่จักรยาน 3-4 ล้อ    ปืนป่าย  กระโดด   ขึ้นบันได  ขี่จักรยาน 3 ล้อ
 – เปิดหนังสือทีละแผ่น  ต่อก้อนไม้สูง 8    โดยดูแลให้ปลอดภัยระวังอุบัติเหตุ
   ชั้น  เขียนกากบาท  และวงกลมได้ตาม  – ฝึกขีดเขียน  ระบายสี  นับเลข  เล่นบทบาท
   ตัวอย่าง  รู้จักจำนวน 1-3 ชิ้น  รู้จักรอให้    สมมุติ  หาของเล่นที่มีสี  ขนาด  รูปทรง  หรือ
   และรับ    พื้นผิว  ที่แตกต่างกัน
 – พูดได้เป็นประโยค  โต้ตอบได้ตรงเรื่อง  – พูดคุยเล่านิทาน  ร้องเพลงกับลูก  ส่งเสริมให้
   บอกชื่อตัวเองได้  ร้องเพลงง่าย ๆ    ลูกพูด  เล่าเรื่อง  ร้องเพลง  และทำท่าทาง
   อาจพูดบางคำไม่ชัด    ประกอบเพลง
 – บอกเวลาจะถ่ายอุจจาระ  ถอดเสื้อผ้า  – สนใจความรู้สึกของลูก  และตอบสนองโดย
   และใส่เองได้ เริ่มเล่นเข้ากลุ่มแยกจาก    ไม่บังคับ หรือตามใจจนเกินไป
   แม่ได้บ้าง  – ฝึกให้ลูกรับประทานอาหาร  แต่งตัวเอง  และ
   ไปเข้าส้วมเมื่อจะถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะทุก
   ครั้ง โดยมีผู้คอยดูแลช่วยเหลือ
เล่นเพื่อการเรียนรู้
เล่นเพื่อการเรียนรู้

ความผิดปกติทางพัฒนาการ

อายุ 18 เดือน หรือ 1.5 ปี

  • เดินไม่ได้
  • ไม่ชี้สิ่งต่าง ๆ ให้ดู
  • ไม่รู้ว่าสิ่งของที่ใช้เป็นประจำทุกวันคืออะไร หรือใช้เพื่ออะไร
  • ไม่เลียนแบบท่าทางของคนอื่น ๆ
  • ไม่เรียนรู้คำใหม่ ๆ หรือรู้คำศัพท์น้อยกว่า 4 คำ ซึ่งไม่รวมคำเรียกพ่อแม่อย่างปาป๊า มาม้า ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของ
  • ไม่แสดงความสนใจเมื่อพ่อแม่เพิ่งกลับมา หรือดูไม่กังวลเมื่อต้องห่างจากพ่อแม่
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมี

อายุ 2 ปี

  • เดินไม่มั่นคง หรือไม่คล่องตัว
  • ยังไม่เริ่มพูดเป็นวลีหรือประโยคสั้น ๆ เช่น กินข้าว กินนม อาบน้ำ เป็นต้น
  • ไม่รู้ว่าสิ่งของที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวันใช้ทำอะไร เช่น จาน ชาม ช้อน แปรงสีฟัน เป็นต้น
  • ไม่เลียนแบบพฤติกรรม คำพูด หรือคำศัพท์จากผู้อื่น
  • ทำตามคำบอกง่าย ๆ ไม่ได้
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมี

อายุ 3 ปี

  • มีปัญหาในการเดินขึ้นลงบันได
  • มีน้ำลายไหลออกจากปาก
  • พูดเป็นประโยคไม่ได้ หรือพูดไม่ชัดเป็นอย่างมาก
  • ไม่เข้าใจคำบอกหรือคำแนะนำง่าย ๆ
  • เล่นของเล่นง่าย ๆ ไม่ได้
  • ไม่เล่นบทบาทสมมติเป็นผู้อื่น
  • ไม่สบตาคนอื่น
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมี

ปัญหาการนอน

เด็กนอนไม่หลับ เมื่อไม่มีสถานการณ์บางอย่างที่ช่วยให้หลับ

พ่อแม่ไม่ควรฝึกให้ลูกเรียนรู้ที่จะหลับภายใต้สถานการณ์บางอย่าง เช่น ดูดนม อุ้ม หรือเขย่าตัว จนลูกหลับในอ้อมกอดของพ่อแม่ เพราะจะทำให้ลูกไม่เคยฝึกกล่อมตัวเองจนหลับเองได้ทั้งช่วงเริ่มต้นของการนอนหลับ หรือเมื่อตื่นกลางดึก หากไม่มีสถานการณ์เหมือนๆเดิม

การปรับพฤติกรรม

เมื่อเด็กอายุประมาณ 1 ปี พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกนอนพร้อมกับสิ่งที่จะช่วยให้ลูกสามารถหลับเองได้ ในช่วงเริ่มต้นของการนอน หรือเมื่อลูกตื่นมากลางดึก เช่น ผ้าห่มผืนโปรดของลูก ตุ๊กตาที่ชอบกอด เป็นต้น โดยพ่อแม่ควรกล่าวชื่นชมลูก เมื่อลูกสามารถหลับเองได้ ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมการนอนของลูก

ไม่ยอมเข้านอน

ควรฝึกลูกให้นอนอยู่บนที่นอนของเขาตั้งแต่แรก คอยลูบตัว ลูบหลังให้หลับไปเองโดยไม่ต้องอุ้มขึ้นมาตั้งแต่แรกเกิดเลยก็ได้ทำซ้ำๆ ทุกๆ ครั้ง สุดท้ายทารกก็จะเคยชินกับการเข้านอนแบบที่พ่อแม่สอน

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมเข้านอนในช่วงเวลากลางคืน

  • นอนช่วงกลางวันมากเกินไป
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ไม่วางกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน เช่น ให้ลูกนอนดึกในวันหยุด

การปรับพฤติกรรม

พ่อแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนช่วงกลางวันมากเกินไป ควรพาลูกออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ลูกมีสุขนิสัยการนอนที่ดี อีกทั้งต้องปรับกิจวัตรก่อนนอนให้ชัดเจน ฝึกลูกให้นอนใกล้เวลาที่กำหนดไว้

ช่วงอายุ 1 – 3 ปี เป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทางด้านร่างกาย สมอง และอารมณ์ ทีมแม่ ABK จึงหวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้มีความเข้าใจ พัฒนาการเด็ก ในวัยนี้ได้เป็นอย่างดี เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

50 ประโยคภาษาอังกฤษสั้นๆ ใช้สอนลูก ให้พูดได้แต่เด็ก!

เทคนิคเตรียมสมองลูกให้พร้อมคิดนอกกรอบ แม่ต้องเริ่มก่อน 2 ขวบ

8 วิธีเลือกและดูแลแปรงสีฟันลูก ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค

ลูกกินไข่ทุกวัน อันตรายไหม ให้กินมากน้อยแค่ไหนถึงจะพอดี

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.si.mahidol.ac.th, https://www.pobpad.com, http://www.thaipediatrics.org

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Oishi Sauce

Oishi Sauce ไอเทมคู่ครัว ลูก ๆ ติดใจรสมือแม่ ทำกับข้าวเมนูไหนก็อร่อย

Alternative Textaccount_circle
event
Oishi Sauce
Oishi Sauce

บ้านไหน ครัวไหน ยังไม่ได้ลองลิ้มรสซอสทำอาหาร “Oishi Sauce” รสชาติความอร่อยแบบญี่ปุ๋นญี่ปุ่น ต้องเปิดใจลองกันตอนนี้เลยค่ะ ขอบอกว่าอร่อยจริงไม่จกตา ขนาดคนญี่ปุ่นแท้ ๆ สามีทีมแม่ABK ยังยกนิ้วบอกโออิชิ !! เรานี่ใจฟูเลย เพราะเปลี่ยนซอสทำอาหารแบบกระทันหัน ไปเดินซูเปอร์เห็นไอเทมปรุงอาหารมาใหม่ เป็นต้องซื้อมาทำอาหาร ครั้งนี้แม่บ้านญี่ปุ่นหัวใจไทย จัดมา 3 รสชาติอร่อย ไว้ทำกับข้าวมัดใจลูก และสามีค่ะ

จำได้ว่าทุกปีที่กลับไปเยี่ยมครอบครัวที่เมืองปลาดิบ ก่อนกลับไทยจะต้องหาซื้อซอสปรุงรสแบรนด์ญี่ปุ่นแพ็คมาเต็มกระเป๋า แต่ช่วงนี้ไม่สะดวกเดินทางก็หาซื้อที่ไทยได้อยู่ค่ะ ซึ่งราคาก็แพงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน แต่จู่ ๆ แม่บ้านญี่ปุ่นนักปรุงอาหารคนนี้ก็เจอแสงสว่าง เพราะแม่ไม่ต้องจ่ายค่าซอสปรุงรสนำเข้าที่แพงอีกต่อไป เราสามารถหาซื้อซอสปรุงรสที่มีรสชาติความอร่อยสไตล์ญี่ปุ่นแท้ ๆ แบบราคาน่ารัก แต่ได้รสชาติความอร่อยเต็ม 10 ไม่หัก รสชาติญี่ปุ่นแท้ ๆ ความอร่อยยกนิ้วให้เลยค่ะ ครอบครัวทีมแม่ABK กำลังติดใจในรสชาติซอสปรุงรสของโออิชิซอส เชื่อว่ายังมีหลายครอบครัวที่ยังไม่เคยได้ลองรสชาติความอร่อยของโออิชิซอส วันนี้ทีมแม่ABK จะมาแนะนำให้ 3 รสชาติความอร่อย ทำเมนูไหน ทั้งลูก และสามี กินหมดไม่มีเหลือเลยค่ะ

Oishi Sauce 3 ไอเทมเครื่องปรุงรส ที่ต้องมีติดครัว

3 รสชาติอร่อยของ Oishi Sauce ก็มี ซอสเทอริยากิ ซอสโชยุ และ น้ำจิ้มสุกี้ยากี้ เรามาเริ่มกันที่รสชาติความอร่อยแรก นั่นก็คือ

ซอสเทอริยากิ ตราโออิชิ

 

ซอสเทอริยากิ ตราโออิชิ เวลาไปร้านอาหารญี่ปุ่น ลูกชอบให้แม่สั่งเมนูข้าวไก่เทอริยากิ จริง ๆ ทำไม่ยากนะคะ เพราะเป็นเมนูพื้นฐานที่โดยปกติครอบครัวคนญี่ปุ่นเขาก็ทำกินกัน แต่เราคนไทยอาจจะมองว่าทำยาก ทำได้รสชาติไม่อร่อยเหมือนคนญี่ปุ่นทำ หรือที่ร้านอาหารทำ แม่ ๆ จ๋า หยุดความคิดนั่นไปได้เลย เพราะเราสามารถทำเมนูไก่เทอริยากิ ซึ่งเป็นเมนูโปรดของเด็ก ๆ ส่วนใหญ่เลย ด้วยรสชาติที่ออกหวานนิด ๆ ทำให้กินง่ายข้าวหมดชาม แค่มีซอสเทอริยากิ ตราโออิชิ ก็สามารถทำเมนูเทอริยากิได้อร่อยจากครัวที่บ้านค่ะ จะผัดซอสเทอริยากิกับไก่ หรือจะราดลงบนเนื้อไก่ที่ผัดสุกแล้วก็ได้นะคะ พลิกแพลงขั้นตอนการทำกันได่ตามสะดวก และจริง ๆ จะเปลี่ยนเป็นเนื้อสัตว์อื่น ๆ ที่ลูกชอบก็ได้นะคะ อย่างเนื้อเทอริยากิ ปลาเทอริยากิ หมูเทอริยากิ แต่ที่บ้านนี้ชอบเอามาหมักกับเนื้อ ทำเป็นสเต็กย่างซอสเทอริยากิ สามีชอบมาก หรือจะใช้เป็นซอสทาบาบิคิวก็อร่อยแบบหยุดไม่อยู่เลยค่ะ

ซอสเทอริยากิ ของโออิชิซอส คือได้รสชาติความอร่อยแบบซอสเทอริยากิญี่ปุ่นแท้ ๆ เลยค่ะ เพราะเป็นสูตรพิเศษที่คิดค้นปรุงมาด้วยความพิถีพิถันเคี่ยวจนเข้มข้น จนทำให้ได้ซอสเทอริยากิที่หอมหวานลงตัวไม่เหมือนซอสเทอริยากิทั่ว ๆ ไปในท้องตลาด อร่อยได้ในขวดเดียวครบจบ จะใช้หมัก ผัด หรือราด ก็สร้างสรรค์ได้หลากหลายเมนูอร่อยค่ะ

ซอสโชยุ Oishi Sauce

ซอสโชยุ ตราโออิชิ ขวดนี้เป็นซีรีย์เครื่องปรุงของ Oishi Sauce เช่นกันค่ะ คือเป็นซอสปรุงรสขวัญใจของทุกคนในครอบครัวเอาจริงแค่เหยาะใส่ไข่ดาว ไข่เจียว หรือขยำข้าวกับไข่ต้มเหยาะโออิชิซอสโชยุโรยงาขาวนิดหน่อย ก็กินข้าวเกือบหมดหม้อแล้วค่ะคุ๊ณ !! โออิชิซอสโชยุ รสชาติจะกลมกล่อมอูมามิมาก ๆ บวกกับมีความหอมของกลิ่นดาชิที่หมักด้วยปลาแห้งคัตสึโอะ ทำให้ได้ซอสโชยุกลิ่นปลาที่หอมสุด ๆ กระตุ้นต่อมรับรสอยากอาหารของเด็ก ๆ ได้ดีเลยค่ะ โออิชิซอสโชยุ ขวดนี้ แม่ ๆ สามารถนำมาเหยาะใส่เมนูผัด หรือจะใช้เป็นเครื่องจิ้มเพิ่มรสชาติให้กับซูชิ , ข้าวหน้าปลาดิบ , ซาซิมิ ปลาดิบ ฯลฯ ก็ได้เลยค่ะ ส่วนที่บ้านเราจะชอบเอามาเหยาะใส่เมนูผัดผัก , ข้าวผัด , ผสมเป็นซอสทำไข่ต้มโชยุแบบญี่ปุ่นเอาไว้กินกับราเมง หรือจัดใส่โอเบนโตะให้ลูกกับสามีค่ะ ส่วนเมนูแซบไทย ๆ ที่เราชอบทำกินเองก็คือ ข้าวยำปลาทู เปลี่ยนจากซอสรสชาติไทย หรือใครจะเลี่ยงน้ำปลา ก็มาใช้เป็นซอสโชยุขวดนี้ค่ะ จะทำให้ได้ข้าวยำปลาทูที่หอมรสอร่อยกลมกล่อมยิ่งขึ้น โออิชิซอสโชยุ ช่วยให้อาหารของแม่ ๆ ทั้งเมนูญี่ปุ่น เมนูไทย หอมอร่อยได้ทุกเมนูในขวดนี้ ขวดเดียวค่ะ

 

น้ำจิ้มสุกี้ยากี้ Oishi Sauce

น้ำจิ้มสุกี้ยากี้ ตราโออิชิ บ้านไหนชอบกินสุกี้ยากี้ , นาเบะ หม้อไฟญี่ปุ่น หรือหมูกะทะไทย ๆ แล้วคุ้นเคยกับซอสจิ้ม หรือน้ำจิ้มสุกี้กินกันอยู่ที่ว่าอร่อยแล้ว แต่ถ้าได้ลองน้ำจิ้มสุกี้ยากี้ของโออิชิซอส เอามือตบโต๊ะ พร้อมกับร้องว้าว !! เดี๋ยวจะหาว่าโม้ คือสามีเนี่ยเป็นคนญี่ปุ่น แล้วชอบให้ทำสุกี้ยากี้ญี่ปุ่นกินที่บ้านบ่อยมาก ซึ่งปกติรสชาติของสุกี้ยากี้ญี่ปุ่นจะออกหวาน ๆ แล้วจะไม่จิ้มกินกับน้ำจิ้ม มีจิ้มแค่กับไข่ดิบ จะไม่เหมือนกับสุกี้ยากี้สูตรไทย ที่เราจะกินกันแบบมีน้ำจิ้มสุกี้ด้วย ทีนี้ลองเสิร์ฟสุกี้ยากี้ญี่ปุ่น พร้อมกับซอสน้ำจิ้มสุกี้ของโออิชิ คือสามีพูดเลยคำแรกเคี้ยวยังไม่ทันหมดปาก โออิชิ !! คอนเฟิร์มกันเลยว่าอร่อยจริง ๆ นะจ๊ะ

เพราะน้ำจิ้มสุกี้ยากี้ ตราโออิชิ สูตรเด็ดจากโออิชิ เขาพิถีพิถันทำสูตรออกมาได้หอมอร่อยไม่เหมือนใครด้วยน้ำมันงาชั้นดี ครบรสเปรี้ยวเผ็ดกำลังดี รับรองว่าต้องถูกปากทุกคนแน่นอน ปาร์ตี้วันหยุดนี้กับทุกคนในครอบครัว ถ้ามีหมูกะทะ หรือทำสุกี้กินกัน ต้องกินกับน้ำจิ้มสุกี้ยากี้ ของโออิชิขวดนี้กันนะคะ ส่วนเมนูที่แม่ชอบทำกินเองปรุงน้ำซุปด้วยน้ำจิ้มสุกี้ยากี้โออิชิ ก็คือ ซุปเส้นอุด้งใช้โออิชิน้ำจิ้มสุกี้ยากี้ปรุงเป็นรสของน้ำซุป คุณค่ะ… พูดเลยสีสันของรสชาติความอร่อย ลูก ๆ ยังติดใจเลยค่ะคุ๊ณ !! 

เคล็ดลับคู่ครัว ปรุงเมนูไหนก็อร่อยถูกปากทุกคนในครอบครัว บอกเลยว่าแม่ ๆ ต้องมี 3 ไอเทมซอสปรุงรสตราโออิชิ ซอสเทอริยากิ , ซอสโชยุ และ น้ำจิ้มสุกี้ยากี้ ที่จะทำให้รสชาติกับข้าวของคุณแม่ไม่น่าเบื่อ และเมนูอาหารจะไม่จำเจอีกต่อไป ไปค่ะ ไปช้อป Oishi Sauce มาใส่ครัวกันดีกว่า โออิชิทั้ง 3 รสชาติมีวางจำหน่ายแล้วทั่วประเทศที่ร้านอาหารในเครือโออิชิ รวมทั้งช่องทาง โออิชิ เดลิเวอรี่ www.oishidelivery.com  หรือ Oishi Food ใน Shopee https://shopee.co.th/oishi_officialstore และห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป สำหรับน้ำจิ้มสุกี้ยากี้ มีวางจำหน่ายหาซื้อกันได้สะดวก ๆ ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นด้วยค่ะ

 

 

วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้

10 วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้ ที่พ่อแม่ควรสอนลูก

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้
วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้

10 วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้ ที่พ่อแม่ควรสอนลูก

เหตุการณ์ไฟไหม้ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะจะสร้างความเสียหายอย่างมากต่อชีวิต และทรัพย์สินต่างๆ เช่น ล่าสุดที่คุณหมอโอ๋ แพทย์หญิงจิราภรณ์ อรุณากูร จากเพจ เลี้ยงลูกนอกบ้าน ได้ประสบกับเหตุการณ์ไฟไหม้ขณะพักผ่อนอยู่ที่รีสอร์ทชื่อดัง  เพื่อป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับชีวิตของเรา วันนี้ ทีมแม่ abk จะมาบอกถึงสาเหตุที่มักทำให้เกิดไฟไหม้  วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้ รวมทั้งวิธีป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้ มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ

สาเหตุที่มักก่อให้เกิดไฟไหม้

สาเหตุของต้นเพลิงมี ดังนี้

  • เสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้ ถือเป็นสาเหตุในลำดับแรก ๆ ที่ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเสี่ยงทำให้เกิดเพลิงไหม้ ยังรวมถึงการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ด้วยนะคะ เช่น เตารีด หรือที่หนีบผม ก็เป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้บ้านเช่นกันค่ะคุณพ่อคุณแม่
  • วางเครื่องใช้ไฟฟ้าชิดกันเกินไป ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น หรือไมโครเวฟ หากวางชิดกันเกินไป ทำให้เกิดความร้อนสูง เนื่องจากไม่สามารถระบายความร้อนได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจดู และเว้นระยะห่างให้เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไฟไหม้
  • สายไฟชำรุด คุณพ่อคุณแม่ต้องห้ามใช้งานสายไฟที่ชำรุดเป็นอันขาด เพราะมีส่วนทำให้เกิดไฟช็อต ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมถึงทำให้เกิดประกายไฟเมื่อเสียบปลั๊ก ซึ่งอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ นอกจากนี้ การเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าจากปลั๊กพ่วงมากเกินไป ก็มีส่วนทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเหตุไฟไหม้ได้เช่นกันค่ะ
  • เปิดเตาแก๊สทิ้งไว้ ถือเป็นอีกหนึ่งความประมาทที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้บ้านในลำดับต้นๆ เพราะฉะนั้นหลังจากที่ทำอาหารเสร็จเรียบร้อย ควรตรวจเช็คให้ละเอียดว่าปิดเตาแก๊สดีแล้วหรือไม่
  • จุดเทียนทิ้งไว้ เป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่มักลงข่าวหน้าหนึ่งอยู่บ่อยครั้ง ส่งผลให้บ้านไหม้มอดไปเกือบทั้งหลัง เพราะฉะนั้นุณพ่อคุณแม่ห้ามจุดเทียนทิ้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นเทียนหอม หรือเทียนไหว้พระ หากต้องจุดก็ควรจุดให้ห่างจากเด็กเล็ก หรือสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันอันตรายและเหตุเพลิงไหม้

 

10 วิธีเอาตัวรอด เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้

หากเกิดไฟไหม้ขึ้นไม่ว่าที่ไหน คุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

  1. ตั้งสติ

ถือเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ คุณพ่อคุณแม่อย่าตื่นตระหนก ตั้งสติให้ดีแล้วรีบหาช่องทางพาตัวเองและลูกออกมาจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด

  1. กดสัญญาณเตือนภัย

หากเป็นตึกสูง อาคารสำนักงาน คอนโด หอพัก ใหุ้ณพ่อคุณแม่ ดึง หรือกดสัญญานแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่กล่องแดงข้างผนังทางเดินทันทีที่พบเหตุเพลิงไหม้ และควรตะโกนบอกทุกคนที่อยู่ในพื้นที่นั้นให้ทราบทั่วกัน

  1. โทรศัพท์แจ้ง 199

หากเกิดเหตุ “ไฟไหม้” ระดับรุนแรง และกินพื้นที่เป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ในบ้านเรือน ในชุมชน หรือในสำนักงาน หลังจากกดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้แล้ว ให้เตรียมพร้อมอพยพออกจากพื้นที่เกิดเพลิงไหม้ และรีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่เบอร์ 199 ทันที

  1. ใช้ถังดับเพลิง

หากไฟไหม้เพียงเล็กน้อย และบริเวณนั้นมีถังดับเพลิงให้คุณพ่อคุณแม่ใช้ถังดับเพลิงควบคุมเพลิงในเบื้องต้นก่อน โดยเริ่มจากดึงสลักนิรภัยออกจากคันบีบบริเวณหัวถังดับเพลิงโดยหมุนสลักจนตัวยึดขาด และดึงสลักทิ้ง ปลดสายฉีดออกจากตัวถังดับเพลิง โดยดึงจากปลายสายและใช้มือจับสายให้มั่นคง จากนั้นให้คุณพ่อคุณแม่กดคันบีบด้านบนของถังดับเพลิง เพื่อให้น้ำยาดับเพลิงพุ่งออกจากหัวฉีดไปยังต้นเพลิง ส่ายหัวฉีดของถังดับเพลิงให้ทั่วบริเวณต้นเพลิงค่ะ

ทั้งนี้ คุณพ่อหรือคุณแม่ที่ใช้งานถังดับเพลิง ควรอยู่ห่างจากบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ประมาณ 2 – 4 เมตร ทางด้านเหนือลม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดับเพลิง

วิดีโอการใช้ถังดับเพลิง ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

  1. ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูก

เริ่มจากใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปาก หรือใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาครอบศีรษะ ของทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูก เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกายที่อาจจะทำให้หมดสติและเสียชีวิต

  1. อย่าเปิดประตูทันที

หากต้องการออกจากห้องที่อยู่ ก่อนเปิดประตูให้คุณพ่อคุณแม่ แตะ หรือคลำลูกบิด ดูก่อน หากร้อนจัด แสดงว่ามีเปลวเพลิงอยู่ด้านนอก ห้ามเปิดประตูออกไป เพราะจะตกอยู่ในวงล้อมของกองเพลิง แต่หากไม่ร้อนให้เปิดประตูออกไปช้าๆ และอพยพตามเส้นทางหนีไฟที่ปลอดภัย

  1. หมอบคลานต่ำ

ให้คุณพ่อคุณแม่บอกลูกว่า ให้หมอบคลานต่ำ หรือย่อตัวใกล้กับระดับพื้นมากที่สุด เนื่องจากอากาศบริสุทธิ์อยู่เหนือระดับพื้นไม่เกิน 1 ฟุต เพื่ออพยพไปสู่ประตูทางออกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด

วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้
วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้

ขอบคุณภาพจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

  1. ห้ามใช้ลิฟท์

เมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟฟ้าจะดับ ทำให้คุณพ่อคุณแม่และลูกจะติดค้างภายในลิฟต์ ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้ แต่ให้ใช้บันไดหนีไฟในการอพยพออกจากอาคาร เนื่องจากมีช่องระบายอากาศ จึงช่วยลดการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย

  1. หากไฟไหม้เสื้อผ้าให้กลิ้งตัวกับพื้น

ให้คุณพ่อคุณแม่รีบถอดเสื้อผ้า หรือใช้วิธีนอนราบกับพื้นและกลิ้งตัวไปมาให้ไฟดับ อย่าวิ่งอย่างเด็ดขาด เพราะไฟจะลุกลามเร็วขึ้น

  1. ไม่หนีไปที่ห้องน้ำ

คุณพ่อคุณแม่ ห้ามพาลูกหนีไปที่ห้องน้ำเพราะปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการดับไฟ จะทำให้ถูกไฟคลอกเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังไม่ควรขึ้นไปอยู่ชั้นบนหรือดาดฟ้าของอาคาร เพราะไฟจะลุกลามจากชั้นล่างขึ้นสู่ชั้นบน

เมื่อออกจากตัวบ้าน หรืออาคารเรียบร้อยแล้วให้ไปรวมที่จุดรวมพล ห้ามกลับเข้าไปบริเวณที่ไฟไหม้อีกเพราะจะเกิดอันตรายได้ค่ะ

วิธีป้องกันการเกิดเหตุไฟไหม้

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในบ้าน มีข้อควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

  1. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน และสายไฟ ว่ามีการชำรุดหรือไม่
  2. เลือกใช้ปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  3. ถอดปลั๊กออกทุกครั้งหลังจากที่ใช้งานเสร็จ
  4. ตรวจเช็คเตา และก๊าซหุงต้ม ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ และควรปิดวาลว์ทุกครั้งหลังจากที่ใช้งานเสร็จ
  5. เก็บวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงให้ห่างจากความร้อน

หากคุณพ่อคุณแม่ระมัดระวังพฤติกรรมของตัวเองในเบื้องต้น หมั่นตรวจสอบจุดเสี่ยง ก็สามารถป้องกันไฟไหม้ได้ แต่ควรศึกษาและจดจำวิธีการเอาตัวรอดจากไฟไหม้ไว้ด้วย หากต้องประสบเหตุไฟไหม้จริง ๆ ค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

TQM, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก 

เตือน! ช่วยเด็กจมน้ำ อย่าอุ้มพาดบ่า พร้อมแนะวิธีที่ถูกต้อง

กฎ 9 ข้อ สอนลูกข้ามถนน อย่างปลอดภัย

อันตรายถึงชีวิต!! ป้อนข้าวลูกท่านอน ทารกสำลักถึงตาย

keyboard_arrow_up