พัฒนาการเด็ก

พัฒนาการเด็ก ช่วงอายุ 1 – 3 ปี เวลาทองแห่งการพัฒนา

Alternative Textaccount_circle
event
พัฒนาการเด็ก
พัฒนาการเด็ก

พัฒนาการเด็ก ช่วงอายุ 1–3 ปี เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ เป็นเวลาที่สมองเจริญเติบโตและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนากรของเด็กอย่างถูกวิธี

พัฒนาการเด็ก ช่วงอายุ 1 – 3 ปี เวลาทองแห่งการพัฒนา

คุณพ่อคุณแม่ย่อมอยากให้ลูกเติบโตขึ้นด้วยสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุข ช่วยเหลือตัวเองได้ และเป็นคนดีของสังคม เด็กที่จะเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพนั้น ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูอบรมของคุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยง รวบถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก ดังนั้น ทีมแม่ ABK จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ พัฒนาการเด็ก ช่วงอายุ 1 – 3 ปี มาให้คุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยง เพื่อจะได้ศึกษา และเป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เติบโตอย่างมีศักยภาพ

หัดให้ยืน-เดิน-เอง
หัดให้ยืน-เดิน-เอง

พัฒนาการเด็ก ช่วงอายุ 1 – 3 ปี เวลาทองแห่งการพัฒนา

อายุ พัฒนาการตามวัย วิธีการส่งเสริมพัฒนาการ
12-18  – ยืนเองได้ชั่วครู่  จูงมือเดิน  เดินได้เอง  – ให้ลูกมีโอกาสยืน เดิน ด้วยตัวเอง
เดือน  – วางของซ้อนกันได้ 2 ชิ้น  ใส่วงกลมลง  – ให้เล่นของเล่นที่ต้องลากดึง  ให้เล่นของเล่น
   ในช่อง  ปักหมุดลงในช่อง    เพื่อการเรียนรู้  เช่น  หมุดไม้  หยิบห่วงใส่
 – เรียกพ่อแม่ หรือพูดคำพยางค์เดียวที่มี    แท่งไม้
   ความหมาย  – พูดคุย ชี้บอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  ใช้คำ
 – บอกส่วนต่างๆบนใบหน้า 1-3 ส่วน    สั่งง่าย ๆ ให้ลูกทำตาม
 – ใช้ช้อนตักอาหารแต่ยังหกบ้าง  – ให้หยิบตักอาหารรับประทานเอง
18-24  – เดินได้คล่อง  วิ่งได้  จูงมือเดียวเดินขึ้น  – พาลูกเดินเล่นในสนามหญ้า  สนามเด็กเล่น
เดือน    บันได  เดินถอยหลัง  เตะลูกบอล    เตะบอล ปีนป่าย
 – วางของซ้อนกันได้ 4-6 ชั้น  แยกสี 2 สี  – ให้เล่นของเล่นที่ซับซ้อนกว่าเดิม เน้นเรื่อง
 – ขีดเขียนเป็นเส้นยุ่งๆ  ขีดเส้นตรงใน    ของสี  รูปทรง  มากขึ้น
   แนวดิ่งได้  – พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว  ให้ดูภาพ  เล่าเรื่อง
 – ชี้รูปภาพตามบอกได้    เล่านิทานสั้น ๆ
 – พูดคำโดดได้มากขึ้น พูดเป็นวลี 2-3  – เริ่มฝึกการขับถ่ายอุจจาระ  ปัสสาวะให้เป็นที่
  พยางค์ต่อก้นเมื่ออายุ 2 ปี  บอกชื่อเล่น    เช่น  กระโถนหรือส้วมที่ดัดแปลงให้เหมาะ
 – ใช้ช้อนตักอาหารเองได้  เริ่มถอดเสื้อ    กับลูก
   ผ้าเองได้  – สนใจเมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เหมาะสม  ฝึกให้
   ลูกมีทางเลือกเองบ้าง
3 ปี  – เตะบอล  ขว้างบอล  กระโดดอยู่กับที่  – ให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสนามกับเด็กอื่น  เล่น
   เดินขึ้นลงบันได  ขี่จักรยาน 3-4 ล้อ    ปืนป่าย  กระโดด   ขึ้นบันได  ขี่จักรยาน 3 ล้อ
 – เปิดหนังสือทีละแผ่น  ต่อก้อนไม้สูง 8    โดยดูแลให้ปลอดภัยระวังอุบัติเหตุ
   ชั้น  เขียนกากบาท  และวงกลมได้ตาม  – ฝึกขีดเขียน  ระบายสี  นับเลข  เล่นบทบาท
   ตัวอย่าง  รู้จักจำนวน 1-3 ชิ้น  รู้จักรอให้    สมมุติ  หาของเล่นที่มีสี  ขนาด  รูปทรง  หรือ
   และรับ    พื้นผิว  ที่แตกต่างกัน
 – พูดได้เป็นประโยค  โต้ตอบได้ตรงเรื่อง  – พูดคุยเล่านิทาน  ร้องเพลงกับลูก  ส่งเสริมให้
   บอกชื่อตัวเองได้  ร้องเพลงง่าย ๆ    ลูกพูด  เล่าเรื่อง  ร้องเพลง  และทำท่าทาง
   อาจพูดบางคำไม่ชัด    ประกอบเพลง
 – บอกเวลาจะถ่ายอุจจาระ  ถอดเสื้อผ้า  – สนใจความรู้สึกของลูก  และตอบสนองโดย
   และใส่เองได้ เริ่มเล่นเข้ากลุ่มแยกจาก    ไม่บังคับ หรือตามใจจนเกินไป
   แม่ได้บ้าง  – ฝึกให้ลูกรับประทานอาหาร  แต่งตัวเอง  และ
   ไปเข้าส้วมเมื่อจะถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะทุก
   ครั้ง โดยมีผู้คอยดูแลช่วยเหลือ
เล่นเพื่อการเรียนรู้
เล่นเพื่อการเรียนรู้

ความผิดปกติทางพัฒนาการ

อายุ 18 เดือน หรือ 1.5 ปี

  • เดินไม่ได้
  • ไม่ชี้สิ่งต่าง ๆ ให้ดู
  • ไม่รู้ว่าสิ่งของที่ใช้เป็นประจำทุกวันคืออะไร หรือใช้เพื่ออะไร
  • ไม่เลียนแบบท่าทางของคนอื่น ๆ
  • ไม่เรียนรู้คำใหม่ ๆ หรือรู้คำศัพท์น้อยกว่า 4 คำ ซึ่งไม่รวมคำเรียกพ่อแม่อย่างปาป๊า มาม้า ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของ
  • ไม่แสดงความสนใจเมื่อพ่อแม่เพิ่งกลับมา หรือดูไม่กังวลเมื่อต้องห่างจากพ่อแม่
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมี

อายุ 2 ปี

  • เดินไม่มั่นคง หรือไม่คล่องตัว
  • ยังไม่เริ่มพูดเป็นวลีหรือประโยคสั้น ๆ เช่น กินข้าว กินนม อาบน้ำ เป็นต้น
  • ไม่รู้ว่าสิ่งของที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวันใช้ทำอะไร เช่น จาน ชาม ช้อน แปรงสีฟัน เป็นต้น
  • ไม่เลียนแบบพฤติกรรม คำพูด หรือคำศัพท์จากผู้อื่น
  • ทำตามคำบอกง่าย ๆ ไม่ได้
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมี

อายุ 3 ปี

  • มีปัญหาในการเดินขึ้นลงบันได
  • มีน้ำลายไหลออกจากปาก
  • พูดเป็นประโยคไม่ได้ หรือพูดไม่ชัดเป็นอย่างมาก
  • ไม่เข้าใจคำบอกหรือคำแนะนำง่าย ๆ
  • เล่นของเล่นง่าย ๆ ไม่ได้
  • ไม่เล่นบทบาทสมมติเป็นผู้อื่น
  • ไม่สบตาคนอื่น
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมี

ปัญหาการนอน

เด็กนอนไม่หลับ เมื่อไม่มีสถานการณ์บางอย่างที่ช่วยให้หลับ

พ่อแม่ไม่ควรฝึกให้ลูกเรียนรู้ที่จะหลับภายใต้สถานการณ์บางอย่าง เช่น ดูดนม อุ้ม หรือเขย่าตัว จนลูกหลับในอ้อมกอดของพ่อแม่ เพราะจะทำให้ลูกไม่เคยฝึกกล่อมตัวเองจนหลับเองได้ทั้งช่วงเริ่มต้นของการนอนหลับ หรือเมื่อตื่นกลางดึก หากไม่มีสถานการณ์เหมือนๆเดิม

การปรับพฤติกรรม

เมื่อเด็กอายุประมาณ 1 ปี พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกนอนพร้อมกับสิ่งที่จะช่วยให้ลูกสามารถหลับเองได้ ในช่วงเริ่มต้นของการนอน หรือเมื่อลูกตื่นมากลางดึก เช่น ผ้าห่มผืนโปรดของลูก ตุ๊กตาที่ชอบกอด เป็นต้น โดยพ่อแม่ควรกล่าวชื่นชมลูก เมื่อลูกสามารถหลับเองได้ ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมการนอนของลูก

ไม่ยอมเข้านอน

ควรฝึกลูกให้นอนอยู่บนที่นอนของเขาตั้งแต่แรก คอยลูบตัว ลูบหลังให้หลับไปเองโดยไม่ต้องอุ้มขึ้นมาตั้งแต่แรกเกิดเลยก็ได้ทำซ้ำๆ ทุกๆ ครั้ง สุดท้ายทารกก็จะเคยชินกับการเข้านอนแบบที่พ่อแม่สอน

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมเข้านอนในช่วงเวลากลางคืน

  • นอนช่วงกลางวันมากเกินไป
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ไม่วางกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน เช่น ให้ลูกนอนดึกในวันหยุด

การปรับพฤติกรรม

พ่อแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนช่วงกลางวันมากเกินไป ควรพาลูกออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ลูกมีสุขนิสัยการนอนที่ดี อีกทั้งต้องปรับกิจวัตรก่อนนอนให้ชัดเจน ฝึกลูกให้นอนใกล้เวลาที่กำหนดไว้

ช่วงอายุ 1 – 3 ปี เป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทางด้านร่างกาย สมอง และอารมณ์ ทีมแม่ ABK จึงหวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้มีความเข้าใจ พัฒนาการเด็ก ในวัยนี้ได้เป็นอย่างดี เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

50 ประโยคภาษาอังกฤษสั้นๆ ใช้สอนลูก ให้พูดได้แต่เด็ก!

เทคนิคเตรียมสมองลูกให้พร้อมคิดนอกกรอบ แม่ต้องเริ่มก่อน 2 ขวบ

8 วิธีเลือกและดูแลแปรงสีฟันลูก ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค

ลูกกินไข่ทุกวัน อันตรายไหม ให้กินมากน้อยแค่ไหนถึงจะพอดี

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.si.mahidol.ac.th, https://www.pobpad.com, http://www.thaipediatrics.org

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up