วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้

10 วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้ ที่พ่อแม่ควรสอนลูก

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้
วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้

10 วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้ ที่พ่อแม่ควรสอนลูก

เหตุการณ์ไฟไหม้ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะจะสร้างความเสียหายอย่างมากต่อชีวิต และทรัพย์สินต่างๆ เช่น ล่าสุดที่คุณหมอโอ๋ แพทย์หญิงจิราภรณ์ อรุณากูร จากเพจ เลี้ยงลูกนอกบ้าน ได้ประสบกับเหตุการณ์ไฟไหม้ขณะพักผ่อนอยู่ที่รีสอร์ทชื่อดัง  เพื่อป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับชีวิตของเรา วันนี้ ทีมแม่ abk จะมาบอกถึงสาเหตุที่มักทำให้เกิดไฟไหม้  วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้ รวมทั้งวิธีป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้ มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ

สาเหตุที่มักก่อให้เกิดไฟไหม้

สาเหตุของต้นเพลิงมี ดังนี้

  • เสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้ ถือเป็นสาเหตุในลำดับแรก ๆ ที่ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเสี่ยงทำให้เกิดเพลิงไหม้ ยังรวมถึงการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ด้วยนะคะ เช่น เตารีด หรือที่หนีบผม ก็เป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้บ้านเช่นกันค่ะคุณพ่อคุณแม่
  • วางเครื่องใช้ไฟฟ้าชิดกันเกินไป ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น หรือไมโครเวฟ หากวางชิดกันเกินไป ทำให้เกิดความร้อนสูง เนื่องจากไม่สามารถระบายความร้อนได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจดู และเว้นระยะห่างให้เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไฟไหม้
  • สายไฟชำรุด คุณพ่อคุณแม่ต้องห้ามใช้งานสายไฟที่ชำรุดเป็นอันขาด เพราะมีส่วนทำให้เกิดไฟช็อต ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมถึงทำให้เกิดประกายไฟเมื่อเสียบปลั๊ก ซึ่งอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ นอกจากนี้ การเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าจากปลั๊กพ่วงมากเกินไป ก็มีส่วนทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเหตุไฟไหม้ได้เช่นกันค่ะ
  • เปิดเตาแก๊สทิ้งไว้ ถือเป็นอีกหนึ่งความประมาทที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้บ้านในลำดับต้นๆ เพราะฉะนั้นหลังจากที่ทำอาหารเสร็จเรียบร้อย ควรตรวจเช็คให้ละเอียดว่าปิดเตาแก๊สดีแล้วหรือไม่
  • จุดเทียนทิ้งไว้ เป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่มักลงข่าวหน้าหนึ่งอยู่บ่อยครั้ง ส่งผลให้บ้านไหม้มอดไปเกือบทั้งหลัง เพราะฉะนั้นุณพ่อคุณแม่ห้ามจุดเทียนทิ้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นเทียนหอม หรือเทียนไหว้พระ หากต้องจุดก็ควรจุดให้ห่างจากเด็กเล็ก หรือสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันอันตรายและเหตุเพลิงไหม้

 

10 วิธีเอาตัวรอด เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้

หากเกิดไฟไหม้ขึ้นไม่ว่าที่ไหน คุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

  1. ตั้งสติ

ถือเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ คุณพ่อคุณแม่อย่าตื่นตระหนก ตั้งสติให้ดีแล้วรีบหาช่องทางพาตัวเองและลูกออกมาจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด

  1. กดสัญญาณเตือนภัย

หากเป็นตึกสูง อาคารสำนักงาน คอนโด หอพัก ใหุ้ณพ่อคุณแม่ ดึง หรือกดสัญญานแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่กล่องแดงข้างผนังทางเดินทันทีที่พบเหตุเพลิงไหม้ และควรตะโกนบอกทุกคนที่อยู่ในพื้นที่นั้นให้ทราบทั่วกัน

  1. โทรศัพท์แจ้ง 199

หากเกิดเหตุ “ไฟไหม้” ระดับรุนแรง และกินพื้นที่เป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ในบ้านเรือน ในชุมชน หรือในสำนักงาน หลังจากกดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้แล้ว ให้เตรียมพร้อมอพยพออกจากพื้นที่เกิดเพลิงไหม้ และรีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่เบอร์ 199 ทันที

  1. ใช้ถังดับเพลิง

หากไฟไหม้เพียงเล็กน้อย และบริเวณนั้นมีถังดับเพลิงให้คุณพ่อคุณแม่ใช้ถังดับเพลิงควบคุมเพลิงในเบื้องต้นก่อน โดยเริ่มจากดึงสลักนิรภัยออกจากคันบีบบริเวณหัวถังดับเพลิงโดยหมุนสลักจนตัวยึดขาด และดึงสลักทิ้ง ปลดสายฉีดออกจากตัวถังดับเพลิง โดยดึงจากปลายสายและใช้มือจับสายให้มั่นคง จากนั้นให้คุณพ่อคุณแม่กดคันบีบด้านบนของถังดับเพลิง เพื่อให้น้ำยาดับเพลิงพุ่งออกจากหัวฉีดไปยังต้นเพลิง ส่ายหัวฉีดของถังดับเพลิงให้ทั่วบริเวณต้นเพลิงค่ะ

ทั้งนี้ คุณพ่อหรือคุณแม่ที่ใช้งานถังดับเพลิง ควรอยู่ห่างจากบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ประมาณ 2 – 4 เมตร ทางด้านเหนือลม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดับเพลิง

วิดีโอการใช้ถังดับเพลิง ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

  1. ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูก

เริ่มจากใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปาก หรือใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาครอบศีรษะ ของทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูก เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกายที่อาจจะทำให้หมดสติและเสียชีวิต

  1. อย่าเปิดประตูทันที

หากต้องการออกจากห้องที่อยู่ ก่อนเปิดประตูให้คุณพ่อคุณแม่ แตะ หรือคลำลูกบิด ดูก่อน หากร้อนจัด แสดงว่ามีเปลวเพลิงอยู่ด้านนอก ห้ามเปิดประตูออกไป เพราะจะตกอยู่ในวงล้อมของกองเพลิง แต่หากไม่ร้อนให้เปิดประตูออกไปช้าๆ และอพยพตามเส้นทางหนีไฟที่ปลอดภัย

  1. หมอบคลานต่ำ

ให้คุณพ่อคุณแม่บอกลูกว่า ให้หมอบคลานต่ำ หรือย่อตัวใกล้กับระดับพื้นมากที่สุด เนื่องจากอากาศบริสุทธิ์อยู่เหนือระดับพื้นไม่เกิน 1 ฟุต เพื่ออพยพไปสู่ประตูทางออกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด

วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้
วิธีเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้

ขอบคุณภาพจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

  1. ห้ามใช้ลิฟท์

เมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟฟ้าจะดับ ทำให้คุณพ่อคุณแม่และลูกจะติดค้างภายในลิฟต์ ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้ แต่ให้ใช้บันไดหนีไฟในการอพยพออกจากอาคาร เนื่องจากมีช่องระบายอากาศ จึงช่วยลดการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย

  1. หากไฟไหม้เสื้อผ้าให้กลิ้งตัวกับพื้น

ให้คุณพ่อคุณแม่รีบถอดเสื้อผ้า หรือใช้วิธีนอนราบกับพื้นและกลิ้งตัวไปมาให้ไฟดับ อย่าวิ่งอย่างเด็ดขาด เพราะไฟจะลุกลามเร็วขึ้น

  1. ไม่หนีไปที่ห้องน้ำ

คุณพ่อคุณแม่ ห้ามพาลูกหนีไปที่ห้องน้ำเพราะปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการดับไฟ จะทำให้ถูกไฟคลอกเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังไม่ควรขึ้นไปอยู่ชั้นบนหรือดาดฟ้าของอาคาร เพราะไฟจะลุกลามจากชั้นล่างขึ้นสู่ชั้นบน

เมื่อออกจากตัวบ้าน หรืออาคารเรียบร้อยแล้วให้ไปรวมที่จุดรวมพล ห้ามกลับเข้าไปบริเวณที่ไฟไหม้อีกเพราะจะเกิดอันตรายได้ค่ะ

วิธีป้องกันการเกิดเหตุไฟไหม้

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในบ้าน มีข้อควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

  1. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน และสายไฟ ว่ามีการชำรุดหรือไม่
  2. เลือกใช้ปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  3. ถอดปลั๊กออกทุกครั้งหลังจากที่ใช้งานเสร็จ
  4. ตรวจเช็คเตา และก๊าซหุงต้ม ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ และควรปิดวาลว์ทุกครั้งหลังจากที่ใช้งานเสร็จ
  5. เก็บวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงให้ห่างจากความร้อน

หากคุณพ่อคุณแม่ระมัดระวังพฤติกรรมของตัวเองในเบื้องต้น หมั่นตรวจสอบจุดเสี่ยง ก็สามารถป้องกันไฟไหม้ได้ แต่ควรศึกษาและจดจำวิธีการเอาตัวรอดจากไฟไหม้ไว้ด้วย หากต้องประสบเหตุไฟไหม้จริง ๆ ค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

TQM, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก 

เตือน! ช่วยเด็กจมน้ำ อย่าอุ้มพาดบ่า พร้อมแนะวิธีที่ถูกต้อง

กฎ 9 ข้อ สอนลูกข้ามถนน อย่างปลอดภัย

อันตรายถึงชีวิต!! ป้อนข้าวลูกท่านอน ทารกสำลักถึงตาย

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up