วิธีรับมือความเครียด

จิตแพทย์แนะ 4 วิธีรับมือความเครียด ในช่วงการระบาดของโควิด-19

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีรับมือความเครียด
วิธีรับมือความเครียด

วิธีรับมือความเครียด – ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 ทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก การดูแลรักษาสุขภาพและปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดตามแนวทางเพื่อป้องกันโรคเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ แต่นอกจากสุขภาพกายแล้ว เรื่องของสุขภาพใจก็เป็นสิ่งที่ได้รับผลกระทบและต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน ความเครียดเกิดขึ้นได้ง่ายมากในสถานการณ์อย่างเช่นทุกวันนี้  บางคนอาจแค่เครียดเฉยๆ และสามารถรับมือได้ แต่บางคนอาจเครียดจนเป็นปัญหา และสุดท้ายก็ตามมาด้วยโรคที่เกิดจากความเครียดต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก วันนี้เรามีแนวทางในการรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นเพราะการระบาดของโควิดโดยจิตแพทย์มาฝากกันค่ะ

จิตแพทย์ชี้ 4 วิธีรับมือความเครียด ในช่วงการระบาดของโควิด-19

อ.นายแพทย์ สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แนะวิธีรับมือความเครียด ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด -19 ด้วย 4 แนวทาง ดังต่อไปนี้

1.  สังเกตความผิดปกติของตัวเอง ทั้งร่างกายและจิตใจ

ก่อนอื่นเราต้องสังเกตสัญญาณของความเครียดที่เกิดขึ้นกับตัวเองมีอะไรบ้าง อาจเป็นสัญญาณทางร่างกายต่าง ๆ เช่น ปวดศรีษะ เวียนศรีษะ รู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรง ปวดท้อง หรือปวดตามที่ต่างๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณทางร่างกายอย่างแรกที่บ่งบอกว่าเรากำลังตกอยู่ในความเครียด นอกจากสัญญาณทางร่างกายแล้ว  ถ้าบางคนที่ได้สำรวจจิตใจตัวเองบ่อย ๆ หรือได้สัมผัสกับความคิดของตัวเองบ่อยๆ จะสามารถรับรู้ได้ว่าตัวเองเครียดมากกว่าปกติ คิดอะไรไม่ค่อยออก หรือมักคิดอะไรออกมาในเชิงลบ มองโลกในแง่ลบมองอะไร ๆ ก็เป็นสีเทา โลกดูหม่นหมองไปหมด มองไม่เห็นทางออกของปัญหา มองว่าชีวิตนี้ไม่มีความหวังอะไรอีกต่อไปแล้ว เริ่มรู้สึกไม่มีแรงและไม่รู้ว่าจะอยู่ไปทำไม ไม่ค่อยอยากทำอะไร ซึ่งนี่คือสัญญาณของความเครียดในระดับที่สูงขึ้น หากใครที่เกิดความเครียดในระดับสูงบ่อยๆ สามารถพัฒนาจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้

วิธีรับมือความเครียด
วิธีรับมือความเครียด

8 อาการ ป่วยเพราะเรียนออนไลน์ ที่เด็กไทยเสี่ยงเผชิญ!

แนวทางปฏิบัติตัวช่วงโควิด สำหรับ คนท้อง แม่หลังคลอด ทารกแรกเกิด

วิธีเยียวยาจิตใจเมื่อ ลูกเสียชีวิต คนที่ยังอยู่ ต้องจับมือกันไว้!

2. วิเคราะห์ความเครียด

เมื่อเราสังเกตตัวเองได้แล้วว่าเรากำลังมีความเครียด ขั้นถัดมา คือ ต้องวิเคราะห์ก่อน ว่าความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอะไร บางคนเจอสถานการณ์โควิดระบาดเหมือนกัน แต่ทำไมบางคนเขาไม่เครียดเท่าไหร่ แต่ทำไมเราถึงเครียดมากจนกระทั่งมันสะสมอยู่คนเดียว ซึ่งบางทีอาจเกิดจากความที่เราหงุดหงิดกับความไม่ได้ดั่งใจในชีวิตช่วงนี้ก็เป็นไปได้ ความเครียดที่มากกว่าปกติอาจเกิดจากการที่เราจัดการชีวิตตัวเองไม่ได้ หรือบางคนอาจเครียดเพราะปรับตัวไม่ได้ จากเดิมที่ทำงานเจอหน้าเพื่อนๆ เจอหน้าผู้คน ได้เชื่อมโยง ได้ประชุม เจอหน้าได้ทักทายคุยกัน การต้อง Work frome home อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน เพราะงานบางงานเอามาทำที่บ้านไม่ได้ สาเหตุของความเครียดของบางคน เช่น ต้องจัดการกับลูกที่บ้าน เพราะช่วงนี้เด็กต้องอยู่บ้าน เรียนออนไลน์  ซึ่งถ้าเป็นเด็กเล็กๆ เขายิ่งเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่มาก บางทีอาจทำให้พ่อแม่ทำอะไรไม่ได้เลย

บางคนอาจรู้สึกว่า จะเป็นพนักงานที่ดีก็เป็นไม่ได้ เพราะว่าลูกมาเรียกหาตลอดช่วงกลางวัน จะเป็นพ่อแม่ที่ดีก็รู้สึกว่าเป็นไม่ได้อีก รู้สึกผิดอีกเวลาที่ลูกเข้ามาแล้วไม่สามารถตอบสนองลูกได้เพราะต้องทำงาน เพราะฉะนั้นเหตุผลนี้อาจเป็นสาเหตุของความเครียดอีกแบบหนึ่ง ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนลองมองวิเคราะห์มากกว่าที่จะสุดอยู่แค่ว่าก็มันเครียด โควิดมันระบาด มันก็เลยทำให้เครียดนะ มันไม่มีจะกินมันก็เครียดนะ มันจนมันก็เครียดนะ การที่เราวิเคราะห์ความเครียดได้ ประโยชน์คือ จะได้รู้ได้ว่าเราจะไปแก้ตรงจุดไหน อยากให้มองลึกไปกว่านั้น ว่า อะไรกันแน่ที่เป็นสาเหตุของความเครียดที่จำเพาะสำหรับตัวคุณ

3. การจัดการความเครียด 

การจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น จริงๆ แล้วหลักการมันไม่ยาก เหมือนกับช่วงเวลาที่เราไม่มีโควิดถ้าเราเครียดแล้วเราทำยังไง เช่น เครียดก็ไปกินข้าว ดูหนัง ฟังเพลง แต่ตอนนี้มันอาจทำไม่ได้ จากเดิมต้องดูในโรงหนัง อาจเปลี่ยนมาดูซีรีย์หน้าจอ ในส่วนถัดมาถ้าเราจัดการด้วยตัวเองไม่ได้ ให้คิดว่ามีอะไรบ้างนะที่เราจะทำได้บ้าง เราลองวิเคราะห์ตัวเองว่า เช่น ทำไมเรากลายเป็นคนที่ไม่มีงานทำ ทำไมเจ้านายถึงได้เลิกจ้างเราก่อนที่จะเลิกจ้างคนอื่น

เรามีคุณสมบัติไหนมั้ยนะ ที่ทำให้เราแตกต่างจากคนที่เขายังจ้างอยู่ ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นบางคนอาจจะวิเคราห์ตัวเองแล้วพบว่า เป็นเรื่องของทักษะภาษาอังกฤษที่แตกต่างจากคนอื่นๆ ซึ่งช่วงนี้อาจจะเป็นโอกาสที่ดีก็ได้ที่เราจะตั้งเป้าหมายในการพัฒนาตัวเอง เราอยากเห็นตัวเองพัฒนาไปในทิศทางไหน แล้วเราลองพยายามที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย ไม่แน่ว่าบางคนอาจจะรู้สึกว่าสนุกกับสิ่งที่ได้ทำในส่วนนี้ซึ่งอาจทำให้ลืมความเครียดไปเลยก็ได้

วิธีรับมือความเครียด

ความเครียด ส่งผลต่อทารกน้อย พ่อแม่ควรระวัง!

ผลเสียของการ พูดประชดลูก พ่อแม่ต้องหยุด ถ้าไม่อยากให้ลูกเกลียด!

ทำความเข้าใจ ภาวะรังที่ว่างเปล่า ก่อนลูกต้องห่างจากอ้อมอก

4. ปรึกษาแพทย์ 

ถ้าได้ลองจัดการตัวเองตามคำแนะนำต่างๆ แล้วไม่ได้ผล ให้ลองสังเกตว่าถ้าความเครียดเริ่มเยอะขึ้น จนกระทั่งเราเริ่มรู้สึกเป็นกังวลแล้ว หรือเริ่มไม่แน่ใจแล้วว่า เรากำลังจะเป็นโรคเครียด เป็นโรควิตกกังวล หรือกำลังจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า แนะนำว่ายังไงคงต้องรีบไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล ถึงแม้ว่าช่วงนี้โรงพยาบาลต่างๆ จะลการให้บริการลง แต่ส่วนใหญ่โรงพยาบาลต่างๆ ยังคงให้บริการกับเคสที่เป็นเคสฉุกเฉินของทุกอาการอยู่ตามปกติ ซึ่งอย่างไรก็ตาม หากไปโรงพยาบาลก็ควรต้องปฏิบัติ ตัวตามมาตราการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เน้นเรื่อง การเว้นระยะห่างทางสังคม ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ

สำหรับบ้านที่มีเด็กเล็กๆ และต้องเจอปัญหากับการที่ต้องทำทั้งงานส่วนตัว งานบ้าน และดูแลลูกๆ ลองปฏิบัติตามคำแนะนำของจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อจะได้หาทางออกให้กับปัญหาที่เจอได้ ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุดก็คือสภาพจิตใจและร่างกายของพ่อแม่เอง หากสภาพจิตใจหรือร่างกายของคุณพ่อคุณแม่ย่ำแย่แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบกับการต้องดูแลลูกๆ ไม่มากก็น้อย

นอกจากนี้เราอาจใช้แนวทางในการจัดการความเครียดมาปรับใช้กับเด็กๆ อาจสังเกตว่าลูกๆ มีความเครียดในแบบของตัวเองหรือไม่ในขณะนี้ เพื่อที่พ่อแม่จะได้ช่วยเหลือได้ทันท่วงทีก่อนที่อาการต่างๆ จะมากขึ้น พยายามสร้างบรรยากาศที่ดีภายในบ้านเพื่อให้สมาชิกห่างไกลความเครียด หากิจกรรมต่างๆ ทำร่วมกัน หากสาเหตุที่ทำให้ลูกเกิดความเครียดคือการไม่ได้ออกไปวิ่งเล่นหรือไปเที่ยวอกบ้านเหมือนเมื่อก่อน ให้อธิบายเหตุผลกับลูก ๆ ว่าเพราะเหตุใดเราจึงยังไม่สามารถออกไปเที่ยวข้างนอกบ้านได้ตามปกติ และอธิบายถึงอันตรายของโรค ทั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างทักษะให้เด็กๆ เกิดความฉลาดรอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี HQ สามารถตระหนักถึงความสำคัญต่อการมีสุขภาพที่ดีในสถานการณ์ปัจจุบัน และได้เป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่ได้ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดขของเชื้อโควิด-19

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ลูก เครียดเพราะเรียนออนไลน์ พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร?

หมอแนะวิธีแก้ แม่หงุดหงิดใส่ลูก เหตุเพราะโควิดพาชีวิตแม่เครียด!

วิจัยชี้! แม่ให้นม ยิ่งเครียดน้ำหนักยิ่งเพิ่ม แนะ 6 เคล็ดลับดับเครียด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up