โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน

โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน รู้จัก เข้าใจ ไม่ตื่นกลัว!!

Alternative Textaccount_circle
event
โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน
โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน

โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน ไวรัสโควิด 19 ที่สามารถกลายพันธุ์ เปลี่ยนอาการ หลบภูมิ ลดหรือเพิ่มระดับความรุนแรง เรื่องที่เราควรรู้เพื่อเตรียมตัว มิใช่ตื่นตระหนก

โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน รู้จัก เข้าใจ ไม่ตื่นกลัว!!

ไวรัสโควิด 19 อยู่กับโลกเรามาจนถึงปัจจุบัน คงทำให้ใครหลาย ๆ คนเริ่มปรับตัวเพื่ออยู่กับเจ้าไวรัสร้ายนี้ได้บ้างไม่มากก็น้อย แต่สิ่งที่หลาย ๆ ฝ่ายกังวล เห็นจะเป็นการกลายพันธุ์ของเจ้าเชื้อไวรัสโควิด19 นี้ว่าจะกลายพันธุ์ไปเป็นแบบใด เมื่อกลายพันธุ์แล้วระดับความรุนแรงของโรคจะรับมือกันอยู่อีกหรือไม่ ความสามารถใหม่ของเจ้าเชื้อกลายพันธุ์นั้นจะเป็นอย่างไร และมันสามารถหลบภูมิคุ้มกันทั้งของร่างกาย และวัคซีนที่ฉีดกันไปแล้วได้มากน้อยแค่ไหน

โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน ชื่อเรียกไวรัสโควิด 19 ที่กลายพันธุ์ที่หลายคนกำลังตื่นตระหนก กังวล และเฝ้าจับตามองถึงความร้ายแรงของไวรัสที่กลายพันธุ์นี้ แม้ว่าเราควรตื่นตัวในการรับรู้ความเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันตัวจากไวรัสโควิด-19 แต่ก็มีคำเตือนจากหลาย ๆ ฝ่ายว่าตื่นรู้ แต่อย่าตื่นกลัว เพราะไวรัสโควิด -19 นี้ยังคงต้องอยู่กับโลกเราไปอีกพักใหญ่

ทำความรู้จัก เข้าใจโควิด-19 ป้องกันการตื่นกลัว!!

โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน ไวรัสกลายพันธุ์
โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน ไวรัสกลายพันธุ์

รู้จัก เข้าใจ …เดลตา!!

โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (Delta) มีความสามารถจับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น ติดง่ายขึ้น แพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ) 1.4 เท่า หรือ 60%  และแรงกว่าโควิด-ลงปอดได้เร็วขึ้น และยังอยู่ในร่างกายเราได้นานขึ้น อีกทั้งยังมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลตา พลัส (Delta Plus) ที่สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดหรือคล้ายอาการของโควิด-19 สายพันธุ์ทั่วไป โควิดสายพันธุ์เดลตายังเป็นที่จับตามองต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษในประเทศไทยเนื่องจากมีแนวโน้มของยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

สรุปการระบาดของสายพันธุ์เดลตา

  • พบการระบาดครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย
  • WHO เปิดเผยว่าโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา คือ ไวรัสกลายพันธุ์ที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก
  • ปัจจุบันพบการระบาดมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

ความน่ากลัวของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา

ซึ่งการแพร่กระจายเชื้อสายพันธุ์เดลตาสามารถแพร่กระจายได้ง่าย ในช่วงเวลาสั้น จากข้อมูลพบว่าใช้เวลาแค่ 5-10 วินาที หากอยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือพบเจอผู้ติดเชื้อ เชื้อก็สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่นได้ และยังสามารถลอยอยู่ในอากาศได้ถึง 16 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นหากเราเข้าไปอยู่ในห้องที่ไม่มีการถ่ายเทของอากาศ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์มาใช้นี้ ก็ยังมีโอกาสที่จะติดโควิดสายพันธุ์นี้ได้  นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายได้ในทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะเด็กเล็ก และจากความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย ทำให้มีโอกาสเพิ่มยอดผู้ติดเชื้อ 10 เท่าในทุก ๆ 11 วัน

สายพันธุ์เดลตาพลัส (Delta Plus) คืออะไร

สายพันธุ์เดลตาพลัส ถือเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์เดลตา ซึ่งจะมีการกลายพันธุ์ในกรดอะมิโน ที่เรียกว่า k417n เป็นกรณีกลายพันธุ์ที่คล้ายกับสายพันธุ์เบต้า หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งจะทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์นี้สามารถหลบเลี่ยงภูมิต้านทานได้ดีกว่า และติดต่อได้ง่ายที่สุดในไวรัสโควิด-19 ทุกสายพันธุ์

อาการที่พบในโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา

  • ปวดศีรษะ
  • เจ็บคอ
  • มีน้ำมูก
  • ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
  • มีอาการทั่วไปคล้ายหวัดธรรมดา
ข้อมูลอ้างอิงจาก vichaivej-nongkhaem.com

รู้จัก เข้าใจ…โอมิครอน!!

โอมิครอน omicron
โอมิครอน omicron

ปัจจุบันพบรายงานผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์นี้แล้ว แม้ว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วจะมีอาการไม่รุนแรงหรือแทบไม่มีอาการ อย่างไรก็ตาม เราควรต้องเฝ้าระวังและดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนและใครที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน แนะนำให้รีบไปรับวัคซีนป้องกันโควิดโดยเร็ว

และใครที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม เป็นระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไป สามารถรับวัคซีนเข็ม 3 (Booster Dose) เพราะร่างกายของเราต้องการระดับภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้น ที่สำคัญอย่าลืมป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด แม้ว่าจะเคยติดเชื้อโควิดมาแล้ว หรือฉีดวัคซีนครบแล้ว ก็ยังคงติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนนี้ได้!

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (B.1.1.529) จากรายงานส่วนใหญ่ในผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้วมักพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเล็กน้อยหรือแทบจะไม่แสดงอาการเลย โดยอาจพบอาการเหล่านี้ได้

  • อ่อนเพลีย
  • เหนื่อยง่าย
  • ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  • ไม่ค่อยมีไข้
  • จมูกยังได้กลิ่น
  • ลิ้นยังสามารถรับรสได้
  • อาจมีอาการไอเล็กน้อย
  • ปอดอักเสบ

ล่าสุด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเทศอังกฤษ ได้อัพเดทอาการใหม่ของผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มเติม 5 อาการ ซึ่งอาการเหล่านี้แตกต่างจากโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ

  • เจ็บคอ
  • ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
  • เหนื่อย อ่อนเพลีย
  • ไอแห้ง
  • เหงื่อออกมากตอนกลางคืน
ข้อมูลอ้างอิงจาก : www.sikarin.com  /Amir Khan (2021) 
รู้จัก เข้าใจ ไม่ตื่นตระหนก รู้วิธีป้องกันโควิด 19
รู้จัก เข้าใจ ไม่ตื่นตระหนก รู้วิธีป้องกันโควิด 19

ทำไม โอมิครอน ถึงมีแนวโน้มความรุนแรงของโรคลดลง??

  1. พบการติดเชื้อในเด็กเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ทั้งนี้อาการมักจะรุนแรงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น
  2. ผู้สูงอายุ และผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้ว อาการของโรคจึงลดลง
  3. การศึกษาในสถานการณ์จริง เช่น ในแอฟริกาใต้ พบว่าไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา
  4. จากการศึกษาในเซลล์ทดลอง ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนชอบเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนต้นมากกว่าเนื้อเยื่อปอด เป็นเหตุให้ไวรัสลงปอดได้น้อยกว่า
ข้อมูลอ้างอิงจาก ศ.นพ.ยง ภู่สุวรรณ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก วันที่ 10 มกราคม 2565

รู้จัก เ ข้าใจ เดลตาครอน!!

นักวิจัยไซปรัส ค้นพบ “เดลตาครอน” โควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์ “เดลตา” กับ “โอมิครอน”

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ลีออนดิโอส คอสตริกิส ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยไซปรัส ผู้คนพบไวรัสโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ ได้ตั้งชื่อไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่นี้ว่า “เดลตาครอน” เนื่องจากมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายโอมิครอนภายในจีโนมเดลตา

จนถึงขณะนี้ คอสตริกิส และคณะนักวิจัยของเขา ได้พบผู้ติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่นี้ 25 รายแล้ว แต่ระบุว่า ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้อีกหรือไม่ หรือผลกระทบที่เกิดจากไวรัสสายพันธุ์นี้เป็นอย่างไรบ้าง

“ในอนาคต เราจะได้เห็นว่า สายพันธุ์นี้จะเป็นไปทางโรคติดต่อทางพยาธิวิทยามากกว่า หรือจะเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น หรือจะเกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับสองสายพันธุ์ที่รุนแรง อย่าง เดลตา และโอมิครอน”

โดยบอกด้วยว่า คณะนักวิจัยได้วิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจจำนวน 25 รายการในไซปรัส หลังจัดลำดับพันธุกรรม 1,377 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการติดตามการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ในไซปรัส ความถี่ของการกลายพันธุ์มีแนวโน้มสูงในหมู่ผู้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งอาจแปรความได้ว่า เดลตาครอนมีความเชื่อมโยงกับการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ขณะนี้ เดลตาครอนยังไม่น่ากังวลแต่อย่างใด

ปัจจุบัน ไซปรัสกำลังเข้าสู่การระบาดของโควิด-19 เป็นระลอกที่ 5 ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงถึงวันละ 5,500 รายโดยประมาณ ขณะที่มีประชากรเพียงล้านคน

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.sanook.com วันที่ 9 /1/2565
social distancing รักษาระยะห่าง ป้องกันโควิด 19
social distancing รักษาระยะห่าง ป้องกันโควิด 19

เดลตา + โอมิครอน = เดลตาครอน จริงหรือ???

จากวันเดียวกัน ( 9/1/2565) ที่มีข่าวว่าพบเชื้อโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ติดเชื้อแล้ว 25 ราย ตั้งชื่อให้ว่า เดลตาครอน นั้น ก็มีนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของไวรัส มาให้ความเห็นกันว่า ยังเร็วเกินไปที่บอกว่า เดลตาครอน เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เป็นลูกผสมระหว่าง เดลตา และโอมิครอน ยังต้องรอผลตรวจสอบที่แน่ชัด และชื่อ เดลตาครอนนั้นก็ยังไม่นับว่าไม่เป็นชื่อทางการ เพราะทางองค์การอนามัยโลกยังไม่ได้รับรอง

วันที่ 9 ม.ค. 65 ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โควิดกลายพันธุ์ เดลตาครอน ว่าจากข่าวใหม่ ที่บอกว่า “ทีมนักวิจัยไซปรัส พบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ พบผู้ติดเชื้อแล้ว 25 ราย ตั้งชื่อให้ว่า เดลตาครอน” … ต้องเน้นเหมือนเดิมว่า “ใจเย็นๆ ครับ” It’s still too early to tell whether there are more cases of the strain or what impacts it could have. ยังเร็วเกินไปที่บอกว่า จะมีคนติดเชื้อนี้เพิ่มขึ้น หรือจะมีผลกระทบอะไรต่อมนุษย์บ้างคือแม้ว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในด้านพันธุกรรม จากการกลายพันธุ์บนจีโนมของไวรัส ก็ต้องดูก่อนว่า 1. มันก่อโรคที่รุนแรงขึ้นมั้ย 2. มันดื้อวัคซีนที่มีอยู่แค่ไหน 3. มันระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่หรือเปล่า … ถ้าไม่ใช่ ก็ยังไม่น่าจะนับว่าเป็น “สายพันธุ์ที่น่ากังวล” ครับ

อ่อ.. แล้วจริงๆ เชื้อนี้ ควรจะเรียกว่าเป็น “เดลต้ากลายพันธุ์” ตัวใหม่ ที่บังเอิญมีหลายจุดกลายพันธุ์ไปคล้ายโอมิครอน (omicron-like genetic signatures within the delta genomes) อย่าเข้าใจผิดกันว่ามันเป็นลูกผสมระหว่างเดลต้ากับโอมิครอนนะครับ ข่าวยังไม่ระบุแบบนั้น

แถมนิดนึงว่า ชื่อ “เดลตาครอน” นี้ ไม่นับว่าเป็นชื่อทางการขององค์การอนามัยโลกนะครับ อ่อ แล้วก็คนละเรื่องกับเชื้อ “เดลมิครอน” ด้วยนะครับ อันนั้นมันข่าวลือปลอมๆ

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.amarintv.com

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภา ระบุว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ เดลตาครอน (Deltacron) ว่ายังต้องรอผลตรวจสอบจึงจะสรุปได้ ถ้าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่จริงก็ต้องติดตามเก็บข้อมูลต่อไปว่า กระทบกับ 3 มิติทางด้านสาธารณสุขหรือไม่ ถ้าไวรัสสายพันธุ์ใหม่นั้นมีผลกระทบกับทางด้านสาธารณสุขแล้ว จึงจะมีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการอักษระกรีกว่า พาย Pi ซึ่งต่อจากโอมิครอน

ข้อมูลอ้างอิงจาก today.line.me
หมั่นล้างมือ ป้องกันไวรัสโควิด 19 โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน
หมั่นล้างมือ ป้องกันไวรัสโควิด 19 โอมิครอน เดลตา เดลตาครอน

ไวรัสโควิด 19 แม้ว่าจะอยู่กับโลกเรามาสักพักใหญ่แล้ว แต่ความที่เป็นไวรัสที่สามารถกลายพันธุ์ได้ จึงทำให้เหมือนเป็นเรื่องใหม่อยู่ตลอดเวลา การติดตามข่าวสาร เพื่อให้รู้จัก และเข้าใจในไวรัสแต่ละตัวจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ไม่ว่าเจ้าไวรัสจะกลายเป็นกี่สายพันธุ์ การสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ รักษาระยะห่างระหว่างกัน ก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไว้ช่วยป้องกันให้เราห่างไกล รอดพ้นจากไวรัสโควิด 19 ในทุกสายพันธุ์ได้ในระดับที่น่าพอใจอยู่ดี ดังนั้นเราจึงไม่ควรตื่นตระหนกกันมากเกินไปนัก ควรเรียนรู้เพื่อหาวิธีที่จะต้องมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย ร่วมไปกับไวรัสโควิด 19 ให้ได้

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

โอไมครอน (Omicron)ในเด็กมีสิทธิ์ติดเชื้อรุนแรงแค่ไหน?

มั่นใจได้ สธ.เตรียมตัวรับมือผู้ป่วยเด็ก โอไมครอน เอาอยู่

ชื่อลูกสาว 102 ชื่อ แบบน่ารักๆ เพราะๆ 2 พยางค์

อุทาหรณ์..แม่เตือน ล้างขวดนม ผิดวิธี เสี่ยงทำลูกติดเชื้อในกระเพาะอาหารได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up