ขาดวิตามินบี1

แม่ให้นมห้ามอด ลูกอาจ ขาดวิตามินบี1 อันตรายถึงตายได้

Alternative Textaccount_circle
event
ขาดวิตามินบี1
ขาดวิตามินบี1

ทารก ขาดวิตามินบี1 เสี่ยงเป็นโรคหัวใจโต ตับโต ความดันในปอดสูง อันตรายถึงชีวิต แม่ที่ให้นมจึงไม่ควรอดอาหาร ลดความอ้วน เลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี1 กัน

แม่ให้นมห้ามอด ลูกอาจ ขาดวิตามินบี1 อันตรายถึงตายได้!!

ทารกเพศชาย อายุ 3 เดือน หัวใจล้มเหลว บินด่วนจากอมก๋อยมารักษาที่รพ.นครพิงค์ คาดเกิดจากขาดวิตามิน บี 1 (Cardiac beriberi) ‼️

เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2565 เวลา 12.29 น. ศูนย์รับแจ้งแหตุและสั่งการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ขอรับการสนับสนุนการลำเลียงทางอากาศสำหรับผู้ป่วยทารกชาย 3 เดือน วินิจฉัยเบื้องต้นภาวะหัวใจล้มเหลวจากการขาดวิตามิน บี 1 (Cardiac beriberi) ทั้งนี้ได้ประสานงานศูนย์นเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อแจ้งขอรับการสนับสนุนอากาศยานจากกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ รับผู้ป่วยจากสนามกีฬาเทศบาลตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ส่งรักษาต่อปลายทางโรงพยาบาลนครพิงค์ ได้รับการสนับสนุนอากาศยานจาก กองบิน 41 รุ่น EC 725 ชุดปฏิบัติการบินประกอบด้วย นต.กันต์ แก่นเมือง, รอ.ทรรณิณทร์ พุ่มเกิด, ชุดปฏิบัติการบิน Sky Doctor โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ประกอบด้วย แพทย์หญิงศุภพิไล เอื้ออารีย์, นายแพทย์ธีรพล ตั้งสุวรรณรักษ์, นายเชิดพงษ์ ปัญญา และนางสาวสุนิสา ต๋าจ๊ะ เมื่อเวลา 16.28 น. ได้รับการเข้ารับการรักษาต่อ ที่โรงพยาบาลนครพิงค์เป็นที่เรียบร้อย

ขอขอบคุณภาพและเรื่องราวอุทธาหรณ์จาก โรงพยาบาลนครพิงค์
ขอขอบคุณภาพและเรื่องราวอุทธาหรณ์จาก โรงพยาบาลนครพิงค์
⭐ โรคหัวใจจากการขาดวิตามิน บี 1 (Cardiac beriberi ) เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย สาเหตุเกิดจากการขาดวิตามิน บี 1 (Thiamine) ในกรณีเด็กเล็กที่ยังดื่มนมแม่ ทารกจะได้รับวิตามิน บี 1 จากนมแม่ แต่หากแม่ทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อย ก็จะทำให้ในน้ำนมมีวิตามิน บี 1 น้อยไปด้วย ทำให้ทารกได้รับวิตามิน บี 1 ไม่เพียงพอ ทารกจะมี หัวใจโต ตับโต ความดันในปอดสูง อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
เนื่องจากวิตามินบี 1 เป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเอง ต้องได้รับจากอาหาร อีกทั้งร่างกายยังสามารถสะสมไว้ในจำนวนจำกัด จึงจำเป็นต้องทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 เป็นประจำเพื่อป้องกันการเป็น Cardiac beri beri โดย
1. เลือกทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการ ซึ่งถ้าเป็นวิตามินบี 1 จะพบได้มากในข้าวซ้อมมือ ไข่แดง เนื้อสัตว์ นม ถั่ว โยเกิร์ต น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ และธัญพืช
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำลายวิตามิน B1 เช่น ปลาร้า หมาก พลู ชา หอยแมลงภู่ หอยกาบ
3. ไม่รับประทานอาหารที่มีเอนไซม์ Thiaminase ที่ลดการดูดซึม Thiamine
ได้แก่ กุ้งดิบ เนื้อสัตว์ดิบ และปลาน้ำจืดบางชนิด
ข้อมูลโดย
พญ.นันทวัน สุอังคะ
กุมารแพทย์ สาขาโรคหัวใจ
โรงพยาบาลนครพิงค์
ไม่ ขาดวิตามินบี1 แน่ถ้ารับประทานอาหารครบหมู่
ไม่ ขาดวิตามินบี1 แน่ถ้ารับประทานอาหารครบหมู่

ขาดวิตามิน บี 1 (Cardiac beriberi)

ทำความรู้จักวิตามินบี 1 สำคัญอย่างไร??

วิตามินบี 1 (thiamine: ไธอามีน) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ดังนั้น หลังจากรับประทานแล้ววิตามินชนิดนี้จะอยู่ในร่างกายไม่นานนัก หลังจากนั้นจะถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางไตแล้วขับออกไปกับปัสสาวะ ไม่เก็บสะสมไว้ในร่างกาย และมนุษย์ไม่สามารถสร้างวิตามินชนิดนี้ได้เอง เราจึงต้องการวิตามินบี 1 จากอาหารที่รับประทานอย่างสม่ำเสมอ

หน้าที่ของวิตามินบี 1

หน้าที่หลักของวิตามินชนิดนี้ คือ ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ (coenzyme) ของการสร้างพลังงานในร่างกาย โดยเฉพาะการเผาเผลาญแป้ง ช่วยให้เกิดการสร้างพลังงานให้แก่อวัยวะต่างๆ ได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาทอีกด้วย

แหล่งอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 1

แหล่งอาหารที่พบวิตามินบี 1 ในปริมาณมาก ได้แก่ ข้าวกล้อง ถั่ว งา จมูกข้าวสาลี นมถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน และเนื้อหมู อย่างไรก็ดี วิตามินบี 1 มีความไวสูงต่ออุณหภูมิ ดังนั้น อาหารอาจสูญเสียวิตามินบี 1 ได้ หากปรุงให้สุกเกินไป ผ่านการแปรรูป หรืออาหารแช่แข็ง

โดยทั่วไป หากเรารับประทานอาหารตามปกติมักไม่ค่อยขาดวิตามินบี 1 แต่มักพบปัญหาการขาดวิตามินบี 1 ในกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารแตกต่างไปจากปกติ เช่น

  • กลุ่มคนที่มีข้อจำกัดเรื่องชนิดของอาหารเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น ผู้ลี้ภัยหรืออาศัยในค่ายอพยพ ชาวประมงที่ออกเรือเป็นเวลานาน ๆ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่สามารถเลือกชนิดอาหารได้ตามต้องการเนื่องจากสภาพภูมิประเทศไม่เป็นใจ รวมทั้งยังมีปัญหาเรื่องการเก็บอาหารชนิดผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์อีกด้วย จึงมักพบว่า อาหารที่กลุ่มคนเหล่านี้รับประทานจะเป็นอาหารจำพวกแป้งเป็นหลัก   ซึ่งเป็นอาหารที่มี  วิตามินบี 1 น้อย แต่ร่างกายต้องใช้วิตามินบี 1 ในการเผาผลาญแป้งในปริมาณมาก สุดท้ายจึงทำให้เกิดการขาดวิตามินบี 1
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีโอกาสขาดวิตามินบี 1 เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลยับยั้งการดูดซึมของวิตามินบี 1 ที่บริเวณลำไส้เล็ก นอกจากนี้ยังเชื่อว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมักรับประทานอาหารโดยภาพรวมลดลง ทำให้ได้รับวิตามินบี 1 จากอาหารน้อยลงตามไปด้วย
  • ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีสารต้านไธอามีน (anti-thiamine factors) สารนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเมื่อเข้าไปในร่างกาย จะทำปฏิกิริยากับไธอามีน เกิดเป็นสารประกอบที่ไม่สามารถทำงานได้ ร่างกายจึงขาดไธอามีน ส่วนสารอีกชนิดหนึ่งนั้นสามารถทำลายไธอามีนได้โดยตรง ตัวอย่างอาหารที่มีสารต้านไธอามีนอยู่มาก ได้แก่ หมาก, ปลาดิบ, หอยดิบ และอาหารที่ผ่านการหมักแล้วมีการเจือปนของ mycotoxin ต่างๆ (mycotoxin คือสารพิษจากเชื้อรา)
  • หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงดังกล่าวนี้เป็นสภาวะที่ร่างกายของแม่ต้องการใช้พลังงานสูงมาก จึงมีความต้องการใช้ไธอามีนซึ่งเป็นโคเอนไซม์ในปฏิกิริยาการสร้างพลังงานจากอาหารมากขึ้นด้วย ดังนั้นหากรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 เท่าเดิมก็จะมีโอกาสเกิดการขาดวิตามินบี 1 ได้

    ทารกได้รับวิตามินบี1 จากน้ำนมแม่ ดังนั้น แม่ห้ามอดช่วงให้นมลูก
    ทารกได้รับวิตามินบี1 จากน้ำนมแม่ ดังนั้น แม่ห้ามอดช่วงให้นมลูก

เบอริ-เบอรี่ (Beriberi)

กลุ่มอาการที่เกิดจากการขาดไธอามีน มีชื่อเรียกง่ายๆ ว่า beriberi (เบอริ-เบอรี่) อาการและอาการแสดงในผู้ที่ขาดไธอามีนมักเกี่ยวข้องกับระบบประสาทและหัวใจ ซึ่งมีอาการดังนี้

  • อาการที่เกี่ยวกับระบบประสาทผิดปกติ (dry beriberi) มักมีอาการชาตามมือและเท้า (numbness) อาจมีการรับความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไป รู้สึกเหมือนมีแมลงไต่ตลอดเวลาทั้งที่ความจริงไม่มี (paresthesia) นอกจากนี้อาจรุนแรงถึงขั้นกล้ามเนื้ออ่อนแรง และมีการรับรู้สติที่เปลี่ยนแปลงไป (alteration of consciousness)
  • อาการที่เกี่ยวกับระบบหัวใจ และหลอดเลือดผิดปกติ (wet beriberi) มักพบอาการคั่งน้ำ เกิดการบวมของแขนขาและอวัยวะต่างๆ อาจพบความดันโลหิตต่ำ น้ำท่วมปอด และบางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากระบบหัวใจ และหลอดเลือดล้มเหลวหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
  • ในบางรายอาจพบความผิดปกติร่วมกันทั้งระบบประสาท และหัวใจเลยก็ได้

ลูกน้อยกับวิตามินบี 1

วิตามินบี1 มีหน้าที่ในการสร้างพลังงาน ช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตประเภทอื่นๆ ให้เป็นพลังงาน อีกทั้งยังช่วยป้องกันระบบประสาทจากความเสียหาย หรือภาวะเสื่อมสภาพใดๆ วิตามินบี1 มีประโยชน์ในการสื่อสารจากระบบประสาทไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย สำหรับเด็กแล้ว ความต้องการวิตามินบี1 อยู่ระหว่าง 500 ถึง 900 ไมโครกรัมต่อวัน

แม่ให้นมไม่ควรอด จะทำให้ลูก ขาดวิตามินบี1 ได้
แม่ให้นมไม่ควรอด จะทำให้ลูก ขาดวิตามินบี1 ได้

สังเกตอาการลูกขาดวิตามินบี 1

การขาดวิตามินจะมีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ในช่วงแรกร่างกายจะไม่แสดงอาการใด ๆ ให้สังเกตได้ แต่หากปล่อยให้ขาดวิตามินจนถึงระดับวิกฤตจะแสดงอาการชัดเจน การขาดวิตามินในเด็กมักจะเป็นการขาดวิตามินหลายชนิดร่วมกัน ไม่ขาดเพียงตัวใดตัวหนึ่ง เพราะในอาหารชนิดหนึ่งมีวิตามินหลายตัว อาการขาดวิตามินในช่วงแรก ๆ จึงมีลักษณะไม่เฉพาะเจาะจง เช่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด งอแง เป็นต้น

เมื่อมีอาการขาดวิตามินบี 1 จะมีอาการเหล่านี้ โรคเหน็บชา แขนขาอ่อนแรง เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย และเกิดความรู้สึกสับสนได้

อาหารมีความสำคัญไม่ใช่เพียงแค่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่การรับประทานอาหารที่มีสัดส่วนเหมาะสมยังช่วยให้การทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างปกติ และสามารถส่งต่อถึงลูกน้อยได้อีกด้วย ดังนั้นคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกจึงไม่ควรอดอาหาร ลดความอ้วนในช่วงนี้ เพราะจะส่งผลต่อสารอาหารที่ส่งผ่านไปยังลูกน้อย ทำให้ลูกอาจได้รับอันตรายถึงชีวิตได้

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.facebook.com/NakornpingHospitalChiangmai/pharmacy.mahidol.ac.th

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

วิตามินดี…ดี๊ดีกว่าที่คิด!! รวม 5 อาหารที่มีวิตามินดีสูง

รีวิว “4 วิตามินซีเด็ก วิตามินรวม” อีกหนึ่งตัวช่วยที่แม่ควรรู้จัก!

5 อาการสัญญาณเตือน “โรคหัวใจในเด็ก” ที่พ่อแม่ควรรู้!

ทำอย่างไรดี ? ท่อน้ำนมอุดตันเพราะ “ไวท์ดอท (white dot)” !!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up