แป้งเด็ก อันตราย

แป้งเด็ก อันตราย จริงหรือ? อย. ยืนยัน! ยังไม่พบการปนเปื้อนแร่ใยหิน

Alternative Textaccount_circle
event
แป้งเด็ก อันตราย
แป้งเด็ก อันตราย

แป้งเด็ก อันตราย จริงหรือ? ล่าสุดทางอย. ได้ออกมาแจ้งผลการตรวจและเฝ้าระวังการปนเปื้อนแร่ใยหินในแป้งเด็กว่า ยังไม่พบการปนเปื้อนในแป้งเด็กไทย

แป้งเด็ก อันตราย จริงหรือ? อย. ยืนยัน! ยังไม่พบการปนเปื้อนแร่ใยหิน

อย.แจงแป้งฝุ่นโรยตัวเด็กในไทย ปราศจากการปนเปื้อนแร่ใยหิน ย้ำมีการเฝ้าระวัง และเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ พร้อมเฝ้าระวังทั้งการผลิตและนำเข้า ขอให้ผู้บริโภควางใจ

ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US FDA) ได้ประกาศเตือนผู้บริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกาให้หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ Johnson’s Baby Powder Lot # 22318RB เนื่องจากตรวจพบแร่ใยหิน (asbestos) ชนิด chrysotile ปนเปื้อน 0.00002% ในตัวอย่างที่มีการขายทาง online จำนวน 1 ขวด พร้อมทั้งบริษัทฯได้สมัครใจเรียกคืนผลิตภัณฑ์รุ่นที่เป็นปัญหาออกจากท้องตลาด สำหรับในประเทศไทย ขอเรียนว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบที่ บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ประเทศไทย) จำกัด พบว่าผลิตภัณฑ์รุ่นที่เป็นปัญหามีจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น และได้เก็บตัวอย่างแป้งเด็กที่ผลิตในประเทศไทย ส่งตรวจวิเคราะห์หาแร่ใยหิน

ทั้งนี้ แป้งฝุ่นโรยตัวเป็นเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบหลัก คือ ทัลคัม (talcum) ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติ ช่วยดูดซับความชื้น ให้ความรู้สึกสบาย นุ่มลื่นผิว มีการใช้มาเป็นเวลานาน ทัลคัมที่นำมาใช้ในเครื่องสำอางต้องมีความบริสุทธิ์สูง ไม่มีการปนเปื้อนของแร่ใยหิน เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ปัจจุบันทัลคัมยังคงเป็นสารที่ปลอดภัย สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเรื่องสำอางได้ โดยมีข้อควรระวังว่า ขณะใช้อย่าให้แป้งเข้าจมูกและปากของเด็ก

แป้งฝุ่น
แป้งฝุ่น แป้งเด็ก อันตราย

รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม อย.ได้มีการติดตามเฝ้าระวังความปลอดภัยของเครื่องสำอางที่อาจมีการปนเปื้อนของแร่ใยหินมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์แป้งฝุ่นโรยตัวที่มีส่วนผสมของทัลคัม จำนวน 113 ตัวอย่าง ส่งตรวจวิเคราะห์ ไม่พบแร่ใยหิน รวมทั้งมีการเฝ้าระวังทั้งการผลิตและนำเข้า โดยด้านอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้เฝ้าระวังการนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะรุ่นการผลิตแป้งเด็กที่มีปัญหาไม่ให้เล็ดรอดเข้ามาในประเทศไทยเด็ดขาด ขอให้ผู้บริโภคไม่ต้องวิตกกังวลการปนเปื้อนแร่ใยหินจากผลิตภัณฑ์แป้งเด็กดังกล่าว

ขอบคุณข่าวจาก : www.hfocus.org

จากข่าวนี้ ทางอย. ได้ชี้แจงว่า ในแป้งฝุ่นโรยตัวมีส่วนผสมหลักคือ ทัลค์ (Talc) หรือ ทัลคัม (Talcum) อยู่แล้ว ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดูดซับความชื้น ลดการเสียดสีของผิวหนัง และป้องกันผดผื่น ผงทัลคัมทำมาจากแร่หินทัลค์ (Talc) ซึ่งประกอบด้วยธาตุแมกนีเซียม ออกซิเจน ซิลิกอน และบางส่วนอาจมีเส้นใยแร่ธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติอย่างแร่หิน ซึ่งถือเป็นสารก่อมะเร็งปะปนอยู่ ปัจจุบัน แป้งฝุ่นมี 2 เกรด คือ

  1. เกรดที่ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องปราศจากการปนเปื้อนของแร่ใยหิน หรือ เเอสเบสตอส (asbestos) ซึ่งเป็นแร่อนินทรีย์ที่เกิดตามธรรมชาติที่อยู่ในใยหิน มีคุณสมบัติที่สามารถฟุ้งกระจายได้ในอากาศ การหายใจที่มีฝุ่นละอองของแร่ใยหินปนเปื้อนสู่ร่างกายเป็นเวลานาน ๆ อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ เกิดโรคปอดอักเสบ ปอดบวม นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า แร่ใยหินเป็นสาเหตุของมะเร็ง และมะเร็งเยื่อหุ้มปอดอีกด้วย
  2. เกรดที่ใช้ในการผลิตยา อาหาร และ เครื่องสำอาง รวมถึงใช้ในการผลิต แป้งเด็ก ด้วย จากประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้แร่ใยหินเป็นวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เพื่อความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ต้องไม่มีแร่ใยหิน (Asbestos) ปนเปื้อนเด็ดขาด ซึ่งทางอย. ได้มีการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของ แร่ใยหินในผลิตภัณฑ์มาโดยตลอด และจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่พบการปนเปื้อนแร่ใยหินในแป้งเด็กเลย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ แป้งเด็ก อันตราย แค่ไหน? ก่อให้เกิดมะเร็งได้หรือไม่? อันตรายต่อลูกน้อยอย่างไร?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up