โรคผิวหนัง

6 โรคผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
โรคผิวหนัง
โรคผิวหนัง

แพทย์เผย! 6 โรคผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อที่พบได้บ่อยในเด็ก … ที่สำคัญผู้ใหญ่ก็เป็นได้ด้วยนะ!!

 

 

หลายคนคิดว่า โรคผิวหนังอักเสบ นั้นเป็นโรคที่ไกลตัว เพราะเราดูแลและรักษาความสะอาดเป็นอย่างดี จึงเป็นไปได้ยากที่เราจะประสบกับโรคนี้ แต่หารู้ไม่ว่า โรคผิวหนังอักเสบ ที่ว่านี้พบได้บ่อยในเด็กและผู้ใหญ่เลยละค่ะ ซึ่งโรคดังกล่าวนั้นมักจะแสดงออกมาลักษณะของการเป็นผื่นในบริเวณที่เกิดโรค ซึ่งความรุนแรงก็แตกต่างกันออกไป

เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันดังนี้ค่ะ

  1. เชื้อไวรัส
  2. แบคทีเรีย
  3. รา
  4. ปรสิต

ศาสตราจารย์แพทย์หญิง ศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์แพทย์หญิง จิตติมา ฐิตวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ว่า โรคผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อนั้น พบได้บ่อยในชีวิตของคนเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก ๆ ด้วยแล้ว ซึ่งโรคที่พบได้บ่อยจะมีโรคอะไรบ้างนั้นไปดูกันค่ะ

6 โรคผิวหนังอักเสบ ที่พบได้บ่อย

โรคอีสุกอีใส

อีสุกอีใส
เครดิต: Medthai

เกิดจาก: โรคอีสุกอีใส นั้นเกิดจาก เชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า วาริเซลลา-ซอสเตอร์ (varizella-zoster)

ติดต่อได้โดย: ผ่านทางเดินหายใจ

อาการของโรค: เริ่มจากมีไข้ ขณะเดียวกันก็จะมีตุ่มแดงที่ทำให้เกิดความรู้สึกคันกระจายไปตามใบหน้า ลำตัว ต่อมาตุ่มแดงเปลี่ยนเป็นตุ่มใส ๆ คล้ายหยดน้ำ อีก 2-3 วันต่อมาก็จะเริ่มตกสะเก็ด และมีตุ่มใหม่เกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเป็นผื่นเต็มตัว สำหรับในเด็กนั้น ผื่นอาจจะน้อย อาการไม่มาก ผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงและมีตุ่มขึ้นมากกว่าเด็กค่ะ

วิธีการรักษา: ปกติแล้วจะหายได้เอง หากพบว่าลูกเป็นละก็ ให้ลูกดื่มน้ำเยอะ ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ ตัดเล็บให้สะอาด เช็ดตัวลูกทันทีหากพบว่ามีไข้ หากลูกมีอาการคันมาก ๆ ก็ให้ผ้าชุมน้ำเย็น หรือน้ำแข็งแปะไว้บริเวณดังกล่าวค่ะ

โรคงูสวัด

โรคผิวหนังอักเสบ
เครดิตภาพ: iStock
เกิดจาก: โรคงูสวัดที่ว่านี้ เกิดจากเชื้อไวรัสโรคอีสุกอีใสที่ซ่อนอยู่ในปมประสาทเส้นใดเส้นหนึ่ง แบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบที่เส้นประสาท เชื้อกระจายมาที่ผิวหนังเกิดตุ่มเหมือนอีสุกอีใสขึ้นตามบริเวณที่เส้นประสาทเส้นนั้นไปเลี้ยง ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคงูสวัด คือการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง จากอายุมากขึ้น โรคมะเร็ง โรคเอดส์ หรือได้รับยากดภูมิ
อาการ: ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทนำมาก่อนหรือเกิดพร้อมกับผื่น เป็นต้น ผื่นงูสวัดจะเป็นแนวยาวซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเท่านั้น ไม่พันรอบตัว เพราะเส้นประสาท 1 เส้นเลี้ยงแค่ครึ่งหนึ่งของลำตัว แม้ผื่นงูสวัดหายไปแล้ว ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งอาจมีอาการปวดเรื้อรังบริเวณนั้นไม่หายขาด

โรคหูดข้าวสุก

โรคผิวหนังอักเสบ
เครดิตภาพ: iStock
เกิดจาก: การติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วย จริงอยู่ที่โรคนี้จะไม่อันตรายเท่าไร แต่ก็สามารถติดต่อแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้
อาการ: มีลักษณะเป็นตุ่มนูนที่มีสีเดียวกับผิวหนังขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งพบได้มากกว่า 10 ตุ่มขึ้นไปตรงกลางตุ่มมักบุ๋ม ภายในตุ่มจะพบสารสีขาวแข็งคล้ายข้าวสุก หากลูกเป็นจะพบได้บ่อยในบริเวณลำตัว หน้าอก หลัง แขน และขาค่ะ
วิธีการรักษา: การจี้ไฟฟ้า พ่นไนโตรเจนเหลว ทายา แต่วิธีที่ได้ผลดีที่สุดคือแพทย์จะหนีบเอาตุ่มสีขาวออกให้หมดเพื่อทำลายเชื้อไวรัสภายใน เป็นต้น

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up