


อาการคนท้อง ที่เกิดมักเกิดกับแม่ตั้งครรภ์

เมื่อครูสาวให้เด็ก “เขียน” ชุดเดรสของเธอได้ งานศิลปะแสนสวยจึงเกิดขึ้น
คุณครูส่วนมากย่อมไม่ชอบให้ลูกศิษย์มาขีดเขียนชุดของพวกเธอแน่นอน แต่ ShaRee Castlebury ครูสาวให้เด็กเขียนชุดของเธอ โดยเด็กๆ ในชั้นเรียนเกรด 1 โรงเรียน Pat Henry Elementary, Oklahoma ที่เธอสอน สามารถเขียนรูปวาดลงบนชุดเดรสสีขาวของเธอได้ โดยไม่น่าเชื่อว่าจะออกมาเป็นผลงานที่สวยน่ารักได้ขนาดนี้ (more…)

ไส้กรอก แฮม เบคอน ของโปรดเด็กน้อย กินอย่างไร ห่างไกลมะเร็ง
เมื่อปลายปี พ.ศ. 2558 มีข่าวที่ทำให้เราต้องตื่นตัวเรื่องการกินไส้กรอก เบคอน แฮม เพราะข้อมูลที่ออกมาบอกอย่างชัดเจนว่า อาหารกลุ่มนี้มีส่วนทำให้เกิดมะเร็ง แต่ในรายงานไม่ได้มีคำแนะนำว่าควรกินอาหารเหล่านี้ “อย่างไร”
Amarin Baby & Kids มีคำอธิบายชัดๆ พร้อมคำแนะนำในการกินอาหารกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมโดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กๆ จาก รศ.ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต นายกสมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย นายกสมาคมพิษวิทยาแห่งเอเชีย และที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เป็นอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ทั้งแวดวงพิษวิทยา โภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหารมาฝากกันค่ะ
อ่านต่อ “ไส้กรอก แฮม เบคอน เสี่ยงมะเร็งขนาดไหน?” คลิกหน้า 2

ประโยชน์ที่พ่อและแม่ควรนอนใกล้กันกับลูกน้อย

คลิปนาทีชีวิต!! ทีมแพทย์เร่งผ่าคลอดเพื่อช่วยชีวิตทารก ออกจากท้องแม่ผู้เคราะห์ร้ายจากสงคราม”ซีเรีย”

8 สัญญาณเตือนโรคเลือดออกในสมอง

ลูกเป็นไข้หวัด ไม่รับประทานยา จะหายได้หรือไม่?

พ.ร.บ. ช่วยให้เด็กที่ท้องก่อนวัย ได้กลับมาเรียนหนังสือ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าว “พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : เด็กเยาวชนได้รับประโยชน์จริงหรือ?” โดยความร่วมมือของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือสสส. กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติหรือ UNFPA มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิงมูลนิธิแพธทูเฮลท์สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยและเครือข่ายยุวทัศน์กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็น พ.ร.บ. ช่วยให้เด็กที่ ท้องก่อนวัยอันควร ได้กลับมาเรียนหนังสือ
น.พ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าในวันที่ 29 ก.ค.นี้เป็นวันที่พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีผลบังคับใช้ซึ่งเด็กและเยาวชนจะได้รับสิทธิประโยชน์ 5 เรื่องที่สำคัญคือ
พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
1.สถานศึกษาต้องจัดให้มีการสอนเพศวิถีศึกษาอย่างเหมาะสมจัดหาและพัฒนาผู้สอนเพศวิถีศึกษาการให้คำปรึกษาช่วยเหลือและคุ้มครองวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ให้ได้รับการศึกษาต่ออย่างเหมาะสมรวมทั้งส่งต่อให้ได้รับสวัสดิการสังคม
- สถานบริการต้องให้ข้อมูลความรู้และจัดบริการอนามัยการเจริญพันธุ์รวมทั้งส่งต่อให้ได้รับสวัสดิการสังคม
3.สถานประกอบกิจการต้องให้ข้อมูลความรู้และส่งเสริมให้เข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์รวมทั้งส่งต่อให้ได้รับสวัสดิการสังคม
4.การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและ
- ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อคุ้มครองสิทธิของวัยรุ่น
น.พ.กิตติพงศ์ กล่าวว่าการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกฎหมายจึงกำหนดให้มี 5 กระทรวงหลักคือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงมหาดไทยกระทรวงแรงงานกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขโดยกำหนดให้รัฐมนตรีของแต่ละกระทรวงมีอำนาจออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติ
อ่านต่อ “พ.ร.บ. ช่วยเด็กที่ ท้องก่อนวัยอันควร ได้กลับมาเรียนหนังสือ” คลิกหน้า 2

ลิเดีย อุ้มลูกชายออกกำลังกาย สควอช! กระชับขา ..ท่าเดียวจบ!
เห็นผลชัดๆ เมื่อการออกกำลังกายช่วยให้ผู้หญิงที่เพิ่งผ่านการตั้งครรภ์มานั้นกลับมาแข็งแรงและเฟิร์มได้เร็ว ดูตัวอย่างจากคุณแม่ลิเดีย ที่พาน้องดีแลน ลูกชายอุ้มไว้ในอ้อมกอด และ ออกกำลังกายในท่าสควอช (Squats) ซึ่งเป็นท่ายอดนิยมช่วยกระชับสัดส่วนต้นขาได้อย่างดี



ท่าสควอช (Squats) คืออะไร
การทำท่าสควอชนั้นหลักการคือยืนด้วยสองเท้าอย่างมั่นคงและยืดแขนออกไปด้านหน้าเพื่อยกหัวไหล่ขึ้น และหันปลายเท้าเฉียงเพื่อย่อเข่าลง โดยให้ลำตัวยกขึ้นลงในแนวดิ่งได้อย่างถนัด ขณะงอตัวลงให้ต้นขาขนานกับพื้น และดันสะโพกไปด้านหลังพร้อมทั้งหายใจออก เกร็งหน้าท้องและหลังต้องตรงอยู่เสมอ จากนั้นยกตัวขึ้นพร้อมกับหายใจออก (ไม่จำเป็นต้องขึ้นสุด)

การออกกำลังกายในหญิงตั้งครรภ์และเพิ่งผ่านการตั้งครรภ์นั้นจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งในกรณีคุณลิเดียนี้มีเทรนเนอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา คอยให้คำปรึกษา คุณแม่ท่านใดที่อยากออกกำลังกายหลังคลอดนั้นควรปรึกษาคุณหมอที่ดูแล และศึกษาข้อมูลเพื่อความปลอดภัยนะคะ
ที่มาภาพจาก : IG @lydiasarunrat, thailandbestbeauty
เรื่อง : สควอช คืออะไร?หันไปทางไหนก็สควอช สควอช จาก saosuay.com

ลูกฟันผุ เสี่ยงโรคหัวใจ ป้องกันด้วยการแปรงฟัน

รับมืออย่างไร? เมื่อลูกติด “กลาก เกลื้อน” มาจากโรงเรียน
สุขอนามัยของเด็กนั้นเป็นเรื่องสำคัญ แม้ว่าเราอาจจะสอนให้รักษาความสะอาด “ล้างมือ ล้างเท้า” ที่บ้านเป็นอย่างดี แต่เมื่อลูกอกไปเล่นดินเล่นทรายนอกบ้าน หรือเล่นในพื้นที่ร่วมกันในโรงเรียน ก็ยังคงเสี่ยงกับโรคภัยที่มาจากการรักษาสุขอนามัยอยู่ดี วันนี้ AMARIN Baby & Kids พาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักกับอีกโรคยอดฮิตที่ทำให้ผิวหนังของลูกนั้นไม่สวยงามกันค่ะ
มารู้จัก “กลาก เกลื้อน” กันเถอะ
โรค กลาก เกลื้อน เป็นโรคเชื้อรายอดนิยมสำหรับเขตเมืองร้อน พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นได้ทั่วตัว ถ้ารักษาไม่ถูกต้องจะไม่หายและไม่ควรซื้อยาทาเชื้อรามาทาเองเพราะจะทำให้เชื้อราดื้อยาและหายช้า
โรค กลาก เกลื้อน เกิดขึ้นได้อย่างไร
“กลาก” เกิดจากเชื้อราที่อยู่ตามพื้นดิน กิ่งไม้ ใบไม้ผุ ขนสัตว์เลี้ยง เช่น แมวและสุนัข ซึ่งติดต่อด้วยการสัมผัส หรือคลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคนั้นโดยใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น หวี กรรไกร กรรไกรตัดเล็บ ที่โกนหนวด และอาจติดจากร้านทำผม ร้านเสริมสวยได้อีกด้วย .
กลากขึ้นที่ผิวหนัง บริเวณที่เป็น ได้แก่ ที่อับชื้น เช่น ก้น รักแร้ ซอกนิ้วมือ มีลักษณะเป็นผื่นแดงเป็นวงกลม มีขอบชัดเจน หากไม่ได้รับการรักษาจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นอาจมีสะเก็ดหรือเม็ดพุพอง มีน้ำเหลืองไหล หากเป็นที่ศีรษะจะทำให้เส้นผมหัก แหว่งหายเป็นวงชัดเจน
กลากขึ้นที่เล็บ จะทำให้เล็บหนา ขรุขระ เมื่อใช้มีดขูดจะหลุดออกมาเป็นผง เล็บเหลือง เป็นจุดขาว พบบ่อยที่นิ้วเท้าที่ติดกันและที่ขาหนีบ
เมื่อสงสัยว่าเป็น ”กลาก”
กลาก หรือ เชื้อรา นั้นสังเกตยาก ควรให้แพทย์ตรวจสัก 1 ครั้งเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปตรวจกับโรงพยาบาลที่ครบวงจร และแจ้งระยะเวลาของอาการอย่างชัดเจน เพื่อให้แพทย์ขูดผิวหนังบริเวณดังกล่าวไปตรวจสอบด้วยวิธีย้อมสีเชื้อราจึงจะแยกประเทศได้ หรือในกรณีที่ยากต่อการประเมินแพทย์ก็จะนำไปเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการต่อ
วิธีการรักษา “กลาก”
คุณหมอจะให้ยาทาและยากิน ขึ้นอยู่กับอาการของโรค ซึ่งจะต้องกินจนกว่าผื่นจะหายและเป็นปกติ ซึ่งหากเป็นเชื้อราที่เล็บอาจจะต้องกินยา 6 – 12 เดือน หากเป็นรอยเชื้อรากลากบริเวณกว้างที่แผ่นหลัง เป็นนานไม่หายขาด จะต้องกินยาร่วมด้วยกับการทายา
หากลูกเป็นแล้วรักษาหายแล้ว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยดูแลสุขอนามัย ดังนี้
1.จะต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย อาบน้ำวันละ 2 ครั้ง และเช็ดตัวให้แห้ง
- ทาแป้งฝุ่นบริเวณข้อพับ
- ตากเสื้อผ้าของลูกให้แห้ง ไม่มีกลิ่นอับ
- เมื่อไปเล่นข้างนอกบ้านกลับมาให้ล้างเท้า ให้ลูกฟอกสบู่ และมีผ้าเช็ดเท้าสำหรับเช็ดให้แห้ง ไม่ปล่อยให้เท้าเปียกชื้น
- ไม่ใส่รองเท้าที่มีกลิ่นอับ ตากถุงเท้าในที่สะอาด ซักเปลี่ยนทุกวัน ไม่ใส่ซ้ำ
- อุปกรณ์ตัดเล็บต้องทำความสะอาดทุกครั้งก่อนนั้นไปใช้ มีภาชนะแช่แอลกอฮอล์
- เลือกเสื้อผ้าที่ไม่อบ ไม่คับ แขนสั้น และมีสีอ่อน เพื่อให้ลูกสบายผิว
อ่านเรื่อง “รับมืออย่างไร? เมื่อลูกติด “กลาก เกลื้อน” มาจากโรงเรียน” คลิกหน้า 2

ลูกน้อยแบกกระเป๋าหนัก เสี่ยงปวดหลัง ทำให้เตี้ย

“เท้าแบนในเด็ก” กับเรื่องจริงที่พ่อแม่ควรรู้ (Flat Foot)
คุณพ่อคุณแม่หลายคนก็คงจะอดเป็นห่วงลูกน้อยไม่ได้เมื่อพบว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับลูก หากสังเกตว่าลูกน้อยเท้ามีลักษณะแบน ก็คงจะกังวลใจทันทีกลัวว่าลูกจะพบเจอปัญหา เท้าแบนในเด็ก ความจริงแล้วเท้าแบนในเด็ก เป็นโรคอย่างหนึ่งใช่หรือไม่ และจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของลูกน้อยในอนาคตบ้างหรือเปล่า
ภาพจาก texasfootdoctor.org
เท้าแบนในเด็ก คืออะไร และมีลักษณะอย่างไร
“เท้าแบนในเด็ก ก็คือเท้าที่ไม่มีอุ้งเท้า อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ปกติคนเราเท้าจะมีรอยเว้าบ้าง ลองเอาเท้าเปล่าที่เปียกน้ำมาย่ำบนพื้นดู เราจะเห็นว่ารอยจะเว้าไปตามรูปเท้าไม่ได้เต็มทั้งฝ่าเท้า ส่วนเท้าแบนก็คือตรงกันข้าม เท้าจะไม่มีรอยเว้า จะมีลักษณะแบนติดพื้นไปตลอด ถ้าเท้าเปียกน้ำแล้วเอาย่ำบนพื้นคนที่เป็นเท้าแบนจะเห็นเป็นรอยเต็มทั้งฝ่าเท้า ในเด็กส่วนใหญ่จะมีลักษณะเท้าแบนแบบที่เรียกว่า เท้าแบนแบบยืดหยุ่น คือเวลายืนก็จะเห็นว่าเท้าแบนเรียบติดไปกับพื้น แต่พอเขย่งปลายเท้าก็จะเห็นรอยเว้ารอยโค้งของเท้าเหมือนเท้าปกติ ส่วนเท้าแบนแบบแข็งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งนั้นเป็นภาวะผิดปกติที่พบได้น้อยมาก และสามารถตรวจเจอโดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

ฉีดวัคซีนป้องกันไอกรน ให้ครบ ป้องกันลูกป่วย
กรมควบคุมโรคเตือนคุณพ่อ คุณแม่ให้พาลูกน้อยแรกเกิด – 4 ขวบ ฉีดวัคซีนป้องกันไอกรน ให้ครบ เพราะพบผู้ป่วยโรคไอกรนต่อเนื่องในภาคใต้ และพบประปรายในพื้นที่อื่นๆ จากการเฝ้าระวังพบว่า ตั้งแต่ 1 ม.ค.-11 ส.ค. 59 พบผู้ป่วย 47 คน จากจังหวัดยะลา 29 คน นครราชสีมา 3 คน และอื่นๆ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาจากเด็กแรกเกิด – 4 ขวบ รองลงมาคือ 5-14 ปี และ 25-34 ปี ภาคที่เป็นมากที่สุดคือภาคใต้ รองลงมาคือภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยภาคเหนือยังไม่พบผู้ป่วย และคาดว่าจะพบผู้ป่วยต่อเนื่อง จึงขอแนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่พาลูกหลานไปฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนด และถ้ามีอาการไอมาก ไอเป็นชุด หรือไอนานเกินกว่า 1 สัปดาห์ ให้รีบพบแพทย์ เพื่อตรวจและรับการรักษาทันที หรือถ้าสงสัยสามารถโทรไปสอบถามข้อมูลได้ที่ 1422
กระทรวงสาธารณะสุข เตือนถึงโรคไอกรนด้วยเช่นกัน ว่าเป็นโรคที่อันตราย เสี่ยงโรคแทรกซ้อน และอาจทำให้ถึงชีวิต โดยเผยว่ามีเด็กไทยป่วย และเสียชีวิตด้วยโรคไอกรน จึงอยากให้พาลูกหลานไปฉีดวัคซีน โดยเฉพาะครอบครัวที่ต้องย้ายตลอด เช่น ครอบครัวที่ทำงานการเกษตร อุตสาหกรรม รวมถึงแรงงานต่างด้าวที่พาลูกหลานมาทำงานด้วย
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดได้กับทุกคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรค ทุกเพศ ทุกวัย ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งได้พัฒนาเป็นวัคซีนรวม 1 เข็ม สามารถป้องกันโรคได้ 3 โรค คือ คอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก เป็นวัคซีนพื้นฐานที่เด็กๆ ทุกคนต้องฉีด โดยฉีด 5 ครั้ง คือ อายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 1 ขวบครึ่ง และ 4 ขวบ ถ้าได้รับวัคซีนครบจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคไอกรนน้อยมาก หรือถ้าป่วยอาการจะไม่รุนแรง เพราะร่างกายมีภูมิคุ้มกันบางส่วนที่ได้จากวัคซีน
คุณหมอกล่าวต่อว่า ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ป่วยเป็นไอกรน มักจะมีอาการรุนแรง เพราะระดับภูมิต้านทานโรคยังน้อย อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบ ปอดบวม เช่นเมื่อปี 2556 ที่มีผู้ป่วย 46 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กต่ำกว่า 1 ขวบ โดยเฉพาะเด็กอายุ 1-3 เดือน พบประมาณ 33% และพบเด็ก 2 เดือนเสียชีวิต 2 คน
คนที่ 1 เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนคือปอดอักเสบ ได้รับการฉีดวัคซีนรวมเพียง 1 ครั้ง ทำให้ร่างกายยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้
คนที่ 2 เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนคือสมองอักเสบ ซึ่งยังไม่ได้ฉีดวัคซีน เนื่องจากป่วยก่อนวันฉีดวัคซีน
สาเหตุของโรคไอกรน
ไอกรนเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ส่วนใหญ่เด็กจะติดเชื้อจากผู้ใหญ่ในครอบครัวที่มีการติดเชื้อไอกรน แต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ถ้าลูกน้อยได้รับภูมิคุ้มกันมาจากแม่ไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้มีอาการรุนแรง และเสียชีวิต โดยทั่วไปโรคนี้ในวัยผู้ใหญ่จะไม่แสดงอาการ ทำให้ไม่มีอาการไอกรน จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน
ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 6-20 วัน ที่พบบ่อย 7-10 วัน ถ้าสัมผัสโรคมาเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการ แสดงว่าไม่ติดโรค
อาการของโรคไอกรน
นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจอักเสบ และเกิดอาการไอ ไอเป็นชุดๆ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้น จนทำให้เด็กหายใจไม่ทัน มีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียงวู๊ป สลับกับการไอเป็นชุดๆ สามารถติดต่อกันได้จากการไอ จาม เมื่อพบว่าลูกน้อยไอผิดปกติให้รีบรักษาโดยด่วน บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน
1.สัปดาห์ที่ 1 เด็กจะเริ่มมีน้ำมูก ไอ เหมือนโรคหวัดธรรมดา มีไข้ต่ำๆ ตาแดง น้ำตาไหล ยังวินิจฉัยโรคไอกรนไม่ได้ แต่จะสังเกตได้ว่าไอนานเกิน 10 วัน โดยไอแห้งๆ
2. สัปดาห์ที่ 3 ไอเป็นชุดๆ ไม่มีเสมหะ เริ่มไอกรน ไอถี่ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้ง หายใจเข้าดังวู๊ป
วิธีการป้องกันโรคไอกรน
การป้องกันการเสียชีวิตในภาวะนี้ทำได้โดยต้องพาลูกน้อยไปโรงพยาบาลตั้งแต่เริ่มป่วย เพื่อวินิจฉัยโรคและรักษาได้ทันท่วงที เพราะมียาปฏิชีวนะรักษาได้ และลดโรคแทรกซ้อน ทำให้รักษาชีวิตไว้ได้
1.พาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนตามที่กำหนดเอาไว้ในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กให้ครบตามช่วงวัย
2.หลีกเลี่ยงการพาลูกน้อยไปในสถานที่ที่แออัด หรือพื้นที่ที่มีโรคระบาด
3.ถ้าย้ายที่อยู่บ่อย เช่น รับจ้างก่อสร้าง ทำงานการเกษตร ควรพาลูกไปฉีดวัคซีนที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
การดูแลรักษาลูกน้อยเมื่อเป็นโรคไอกรน
1.ให้ลูกน้อยนอนพักผ่อน
2.ดื่มน้ำอุ่นให้มากๆ
3.อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
4.ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 6-10 สัปดาห์
เครดิต: H focus เจาะลึกระบบสุขภาพ, กระทรวงสาธารณะสุข, Eduzones

เรากำลังเลี้ยงลูกให้เป็น “ออทิสติกเทียม” ด้วย ทีวี แท็บเล็ต และเร่งเรียน หรือเปล่า?
ถ้าเด็กอายุ 3 ขวบแล้ว ยังไม่พูด ชอบเล่นคนเดียว ไม่สนใจใคร คุณกำลังนึกถึงอะไร อาการคล้ายออทิสติกใช่ไหมคะ แต่อย่าเพิ่งด่วนสรุป เพราะนี่อาจเป็นอาการของเด็กที่เป็นออทิสติกเทียมก็ได้…!?!
ออทิสติกเทียมมีจริง เป็นอาการที่เกิดจากการเลี้ยงดู มักพบในเด็กที่อยู่ในเมือง ครอบครัวมีฐานะดี เด็กมีพี่เลี้ยงคอยดูแล มักเป็นครอบครัวที่เร่งรีบ และใช้อุปกรณ์สื่อสาร เช่น ทีวี แท็บเลต เลี้ยงดูลูกแทนที่จะพูดคุย สบตา โอบกอดกัน ซึ่งปัจจุบันพบมากขึ้นเรื่อยๆ!
“แม้ออทิสติกเทียมจะแก้ไขได้ แต่ถ้ารู้ช้า ได้รับการแก้ไขช้า ลูกก็อาจมีพัฒนาการล่าช้าหรือพัฒนาไปเป็นออทิสติกจริงๆ ได้ การเลี้ยงลูกด้วยรักการเอาใจใส่ และการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพ่อแม่ ถ้าไม่อยากให้ลูกเสี่ยงเป็นออทิสติกเทียม” นี่คือคำแนะนำที่ดีที่สุด จาก ดร.วสุนันท์ ชุ่มเชื้อ อาจารย์ประจำและผู้เชี่ยวชาญการส่งเสริมการพัฒนาสมองและกระบวนการรู้คิดในเด็ก สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมการพัฒนาสมองที่สอดคล้องกับพัฒนาการ ซึ่งมีโอกาสได้ทำงานช่วยเหลือครอบครัวจำนวนมากที่มีลูกเป็นออทิสติกจริงๆ และออทิสติกเทียม
อ่านต่อ “ออทิสติกเทียม กับ ออทิสติก ต่างกันอย่างไร” คลิกหน้า 2

ช่วยฝึกลูกนั่ง คลาน ยืน เดิน อย่างถูกวิธี และไม่เร่งลูก
ท่าทางพื้นฐานอย่างการนั่ง คลาน ยืน และเดิน เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต่างรออย่างใจจดใจจ่อว่าลูกจะทำได้เมื่อไร รวมไปถึงอยากฝึกให้ลูกทำได้อย่างมั่นคงแข็งแรงด้วย Amarin Baby & Kids รวบรวมเทคนิคการช่วยหัดลูกมาให้แล้วค่ะ
1. 4 เดือน : พลิกคว่ำ
เมื่อลูกน้อยอายุราว 2 เดือน เขาจะเริ่มชันคอเวลานอนคว่ำ และการอุ้มเขาบ่อยๆ ให้อยู่ในท่านั่งก็เป็นการช่วยกระตุ้นให้ลูกชันคอได้ตรงหรือแข็งขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการพลิกคว่ำพลิกหงายในช่วงเดือนที่ 4 ซึ่งเป็นพัฒนาการก้าวสำคัญ
ทารกที่พลิกคว่ำพลิกหงายได้เอง กล้ามเนื้อหลังและแขนต้องแข็งแรงพอ เมื่อเขาพลิกตัวไปมาได้ เขาจึงจะยันตัวขึ้นนั่งและคลานได้ในขั้นต่อๆ ไป ดังนั้น ถ้าลูกไม่พลิกคว่ำพลิกหงาย เขาก็จะไม่นั่งไม่คลาน!
เรื่องการพลิกตัวเป็นธรรมชาติที่ลูกทำได้เอง คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องช่วยอะไรเป็นพิเศษ แค่จัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัยให้ลูกตอนพยายามพลิกหรือกลิ้ง ไม่ปล่อยลูกไว้ตามลำพังบริเวณพื้นที่มีลักษณะโค้งหรือไม่เรียบ และระหว่างเปลี่ยนผ้าอ้อมช่วยจับมือลูกไว้ก่อนจะดีกว่า เพราะลูกอยากพลิกตัวตอนไหนก็คือตอนนั้น แต่ครั้งแรกที่พลิกคว่ำสำเร็จ ลูกอาจตกใจและร้องไห้ อย่าลืมอุ้มกอดและลูบหลังปลอบขวัญลูกด้วยนะคะ
