ครอบครัวสุขสันต์ ผูกพันแนบแน่น

เคยไหม? ย่องออกไปทำงานตอนเช้า แล้วเจ้าเตาะแตะเดินมาเห็นพอดี ทีนี้เลยร้องตาม ทั้งห้ามทั้งปลอบก็ไม่ฟัง แผดเสียงดังจนปากฉีก แถมมือตุ๊กแกยังเกาะไม่ปล่อยอีกต่างหาก เดือนนี้พ่อ (แม่) ไปสายหลายวันแล้วนะลูก

ต้นไทรและฝูงนก

ครอบครัวคือสิ่งที่มีค่าที่สุด การมีครอบครัวที่สมบูรณ์ พร้อมหน้าด้วย “พ่อ แม่ ลูก” สำหรับผู้เขียนถือเป็นพรอันประเสริฐจากท้องฟ้า เป็นโชคดีที่เราได้มีคู่ครอง มีลูก… บางทีเราไม่เคยรู้เลยว่าการมีครอบครัวทำให้เราพัฒนาอย่างก้าวกระโดดทั้งทางความคิด ความเข้าใจ ความอดทนและความเสียสละมารู้ตัวอีกครั้งว่าเราพัฒนาไปไกลมากเมื่อเห็นผู้ใหญ่หลายคนไม่สามารถเสียสละ อดทน หรือมีความเมตตาต่อผู้อื่นได้เท่ากับคนที่แต่งงานหรือมีครอบครัวแล้ว พลังชีวิตที่สำคัญของบรรดาพ่อ แม่ทั้งหลายคงจะหนีไม่พ้นมาจาก “ลูก” ลูกทำให้พ่อและแม่ได้เป็นผู้ใหญ่อย่างเต็มตัว และสมบูรณ์ ลูกทำให้พ่อและแม่ขยันขันแข็ง มีวินัย ยึดมั่นในหน้าที่การงาน…ธรรมชาตินี่ช่างเก่งและซับซ้อนจริงๆที่ใช้ครอบครัวเป็นกุศโลบายในการพัฒนาจิตใจและจิตวิญญาณคน ครั้งหนึ่งเราเคยจอดรถใต้ต้นไทร วันนั้นอารมณ์เสียมาก เหตุเพราะกลับมาเห็นลูกไทรและขี้นกหล่นลงมาเลอะทั่วตัวรถและหลังคารถ  ดูท่าแล้วต้องล้างรถกันใหม่เลย แถมไม่รู้ว่ายางของลูกไทรจะกัดสีรถอีกหรือเปล่า! โอ้!กลับบ้านมาเราก็ยังบ่นพึมพำต่อด้วยบ่นดังๆให้คนที่บ้านได้ยินอีก เจ๊แมวเดินผ่านมาได้ยินเข้าพอดี แกเลยพูดขึ้นมาว่า “อย่างนี้มั้งคะ เขาถึงเรียกว่าเป็นร่มโพธ์ร่มไทรของบรรดาสัตว์ต่างๆ” ในน้ำเสียงนั้นเป็นอารมณ์สนุกปนหัวเราะอีกซะด้วย …เลยทำให้เราเลิกบ่นและกลับมาคิดใหม่ว่า เออ…จริงเนอะ หลายครั้งเคยรู้สึกว่าผู้ใหญ่ที่มีครอบครัว มีลูก มีหลานมักจะเป็นที่พึ่งพิงทางใจของใครต่อใคร เหมือนเป็น “ร่มโพธิ์ร่มไทร” ที่มีลำต้นแข็งแรง แตกกิ่งก้านสาขา เป็นที่พึ่งพิงของเหล่านกกา ให้ได้เกาะกิ่งไม้และกินผล เป็นที่หลบฝนและลมแรงได้…เราอยากเป็นอย่างนั้นบ้าง ขอบคุณนะเจ๊แมวและคุณต้นไทร ที่ทำให้เราเข้าใจอย่างเห็นภาพว่าครอบครัวยังหมายถึงความห่วงใยสมาชิกร่วมชายคา ร่วมใช้ชีวิต ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมนามสกุลเดียวกัน ครอบครัวเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่อธิบายด้วยหนึ่งหน้ากระดาษไม่พอ เลยขอแบ่งปันว่าคิดถึงอะไรบ้างเวลาพูดถึงครอบครัวนะคะ คำว่าครอบครัวทำให้นึกถึง “ต้นกล้วย” ที่มักขึ้นเป็นกลุ่มเป็นกอ เมื่อต้นแก่หักล้มไป ต้นใหม่แทงหน่อขึ้นมา […]

ทำ 15 นาทีในแต่ละวันให้เป็นช่วงเวลาคุณภาพ เพื่อสร้างเกราะผูกพันให้กับลูกกันเถอะ

ความผูกพันในครอบครัวนี้เป็นเรื่องที่ในแวดวงจิตวิทยามีการพูดถึงกันมานาน ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยป้องกันปัญหาและพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆของวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ การใช้สารเสพติด หรือการกระทำผิดกฎหมายต่างๆนานา

นาทีแห่งความสัมพันธ์ นาทีแห่งความประทับใจ

เชื่อว่าทุกคนคงเคยมีนาทีอันแสนวิเศษในชีวิตกันมาแล้ว และองค์ประกอบหลักอันผลักดันให้เกิดนาทีมหัศจรรย์นั้นคือความรักนั่นเอง ลองมาฟังเรื่องราวซึ้งๆ ที่ผุ้คนบนโลกใบนี้ส่งผ่านเรื่องราวความรักและปรารถนาดีต่อกันจนเกิดนาทีอันงดงามยากลืมเลือน

“เถียงกับลูกไม่มีวันชนะหรอก” แล้วพ่อแม่ควรทำอย่างไรล่ะ เมื่อต้องกำราบเจ้าตัวป่วน

เมื่อเจ้าหนูเล่นบทร้ายขึ้นมา จะเกลี้ยกล่อมหรือหลอกล่อยังไงก็มีแต่จะเพลี่ยงพล้ำเสียรู้เจ้าหนู งั้นเรามาดูวิธีเจรจากับเจ้าตัวแสบจากผู้เชี่ยวชาญกันดีกว่า

รักแท้ = รักที่ไม่ได้มีแต่ให้

              ความรักที่เกิดขึ้นอยู่บนฐานของความยากลำบากและความเจ็บปวด หรือรักที่เกิดจากการร่วมทุกข์ ไม่ได้มีแต่ร่วมสุข คือความรักที่จีรังยั่งยืนและเป็นรักแท้ที่พ่อแม่มีให้ลูกได้อย่างเต็ม ภาคภูมิ   ความรักเป็นสิ่งสำคัญนะ ครับเป็นสิ่งจำเป็นที่มนุษย์คนหนึ่งจะมีเพื่อให้ได้รับการยอมรับและให้เกิด พื้นที่ของตนเอง ความรักระหว่างแม่ลูกก็ทำให้เกิดพื้นที่ในครอบครัว ความรักของครูและเพื่อนก็ทำให้เกิดพื้นที่ในสังคมหรือในชุมชน แต่เด็กจะแกร่งได้หรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับการได้รับความรักคุณพ่อคุณแม่จึงควรรักให้เป็นและพอเหมาะ ในขณะเดียวกันการแสดงความรักก็ไม่ได้ทำให้ลูกเหลิงอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ลูกเหลิงเพราะเราไม่เคยเปิดพื้นที่ให้ลูกเจอปัญหาและอุปสรรคเลยต่างหาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปตำหนิติเตียนลูกนะครับ เพียงแต่ให้เขาเจออุปสรรค เพื่อให้รู้จักจัดการอารมณ์และปัญหาของตัวเองบ้าง เวลาที่ลูกเติบโตขึ้นมาจะได้คุมสติเป็น สุดท้ายการฝึกรับมือกับปัญหาจะยกระดับกลายเป็นพลังอึดอดทนของเขาเอง   คุณ พ่อคุณแม่อย่ามองว่าการปล่อยให้เขาพบเจอกับปัญหาหมายความว่าเราไม่รักลูก หรือทำร้ายลูก เพราะความรักก็มีทั้งแบบที่แสดงออกและไม่แสดงออก เมื่อเราจะฝึกลูกเรื่องความอดทนอดกลั้น เราก็ใช้ความรักที่ไม่แสดงออก คอยเป็นพี่เลี้ยงอยู่ห่างๆ ให้เขาได้สร้างภูมิคุ้มกันของตัวเอง เท่ากับเรากำลังฝึกเขาด้วยความรักรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่นิยามความรักของพ่อแม่ไม่ได้มีแต่ให้และเด็กไม่ได้มีแต่ได้ แต่เป็นความรักที่ต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกัน เรื่องโดย : รองศาสตราจารย์ นพ. สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์และเรียบเรียง : นันทิดา สุวรรณาทิพย์ และกอบพร ถิรเจริญสกุล ภาพ: Shutterstock

สร้างความมั่นใจให้ลูก…เมื่อพ่อแม่ต้องแยกทาง

งานวิจัยล่าสุดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกช่วยปลดปล่อยความรู้สึกผิดของพ่อแม่ที่ทำงานนอกบ้านไม่มีเวลาอยู่ใกล้ชิดกับลูก ให้สบายใจขึ้น

Crossing the Midline สอนลูกให้ข้ามเส้น

การสร้างสะพานเชื่อมระหว่างสมองสองข้างนี้จะเกิดขึ้นอย่างมากในช่วงสองสามปีแรกของชีวิต เมื่อเด็กอายุได้ 3-4 ปี และมีโอกาสได้ฝึกฝนข้ามเส้นมิดไลน์อย่างสม่ำเสมอ

ถึงจะหย่าแล้ว แต่พ่อแม่ก็ยังช่วยกันดูแลลูกได้เหมือนเดิม ด้วยหลัก Co-Parenting (มีคลิป)

เมื่อพ่อและแม่ต่างเอาความรู้สึกของลูกเป็นที่ตั้งและทำตามหลักการที่ถูกต้องของการดูแลลูกร่วมกัน (Co-Parenting) ลูกๆ ก็จะเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพค่ะ

เคยผิดหวังกับคำว่า “พ่อ” จนได้สัมผัสกับความรักของพ่อใหม่อีกครั้ง

แท้จริงแล้วความรักของพ่อที่ดิฉันเคยโหยหา มันไม่ได้อยู่ที่ไหนเลย ความรักของพ่ออยู่กับฉันเสมอและจะอยู่กับฉันและลูกๆ หลานๆ ตลอดไป

เพราะ “เรา” คือครอบครัว

ครอบครัวนั้นต้องมีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปจึงเรียกว่าครอบครัวได้ ครอบครัวเล็ก ๆของแม่นุก มีพ่อนก แม่นุก และมัดหวาย เมื่อใครคนหนึ่งล้มอีก 2 คนย่อมเซไปด้วย เพราะเรามีกัน 3 คน

ความรักยังคงอยู่..แม้ในยามพลัดพราก

หากใครคนใดคนหนึ่งในครอบครัวมีอันต้องจากไปนั้นถือเป็นเรื่องที่ทำใจได้ยาก สิ่งที่พึงกระทำคือการเผชิญหน้ากับภาวะสูญเสียด้วยความกล้าหาญทั้งปวง บางครอบครัวอาจจะนำความรักมาเป็นแรงบันดาลใจให้ทำสิ่งที่งดงามสู่โลกต่อไป ดังเช่นครอบครัวของสาวน้อยโอเลเซีย เคิร์ก เกือบสามปีแล้วตั้งแต่คุณพ่อของสาวน้อยโอเลเซีย เคิร์ก จากไปด้วยโรคมะเร็งในสมอง หลังจากต่อสู้กับมะเร็งร้ายมานานถึง 17 เดือน โอเลเซียวัย 5 ขวบจากเมืองมิลวอกี้ตัดสินใจทำอะไรบางอย่างโดยมีคุณพ่อเป็นแรงบันดาลใจ คุณแม่อลิซาเบธ เคิร์ก เล่าวว่า โอเลเซียจำได้ดีว่าพ่อของเธอเป็นคนตลกและชอบเล่าเรื่องขำๆให้ฟังอยู่ตลอดเวลา แม้ในขณะที่คุณพ่อป่วยอยู่ในโรงพยาบาลก็ยังดูแลลูกสาวตัวน้อยด้วยการอ่านนิทานให้ฟังอีกด้วย ความรักที่คุณพ่อมอบให้แม้ยามป่วยไข้ทำให้ลูกสาวตื้นตันใจ จนโอเลเซียตั้งใจแน่วแน่ว่า จะช่วยเหลือคนอื่นๆด้วยการไว้ผมยาวและจะบริจาคผมของเธอให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งที่ผมร่วงจากการฉายแสง โดยตั้งใจจะตัดผมเป็นการฉลองวันเกิดครบห้าขวบ นำไปบริจาคให้มูลนิธิออโรร่าเพื่อทำวิกให้เด็กที่เป็นมะเร็งต่อไป “หนูอยากจะช่วยคนอื่นๆ เหมือนที่คุณพ่อชอบช่วยเหลือคนรอบข้างค่ะ” สาวน้อยกล่าว หลังจากตัดผมหางม้าหนาหนักออกไป โอเลเซียก็ยิ้มกว้างอย่างมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือเด็กอีกคนหนึ่งให้มีความสุขด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นเงินที่ได้จากงานปาร์ตี้จำนวนหนึ่งพันดอลลาร์หรือสามหมื่นห้าพันบาทก็นำไปบริจาคให้โรงพยาบาลมะเร็ง สาวน้อยตั้งใจว่าจะเลี้ยงผมให้ยาวอีกเพื่อจะตัดออกไปบริจาคเมื่อครบรอบวันเกิดเธอในเดือนกรกฎาคมปีหน้า แถมยังชวนลูกพี่ลูกน้องให้เลี้ยงผมเพื่อบริจาคอีกด้วย   การ์ดแทนหัวใจของแม่ ในท่ามกลางความสูญเสียนั้นไม่ได้หมายความจะสูญเสียความรักระหว่างกันไป คุณแม่เฮตเตอร์ แมคมานามี่ ชาวรัฐวิสคอนซินวัย 35 ปี เป็นห่วงลูกสาวตัวน้อยคือบรีอาน่าวัย 4 ขวบว่าจะไม่มีโอกาสได้รู้จักแม่ของตัวเองเพราะเธอคงอยู่ได้อีกไม่นานด้วยโรคมะเร็งทรวงอกระยะสุดท้าย จึงเกิดไอเดียที่จะเขียนการ์ดเก็บเอาไว้ให้ลูกอ่านหลังจากเธอจากโลกนี้ไปแล้ว โดยกล่าวว่า “เพียงหวังให้บริอาน่ารับรู้ว่าแม่รักเธอและอยากดูแลเธอมากขนาดไหน แม้ในยามบริอาน่าเติบโตขึ้นในแต่ละปีจากนี้แต่คงไม่สามารถมีชีวิตอยู่ดูแลลูกได้อีกต่อไปเพราะทุกคนก็รู้ว่ามะเร็งขั้นสุดท้ายทำให้เวลาของเราบนโลกนี้เหลือน้อยเต็มที จึงคงไม่ได้อยู่ดูบริอาน่าเจริญเติบโตแน่ หวังว่าลูกคงจะรักและภูมิใจในตัวแม่บ้าง แม้ในวันที่จากโลกนี้ไปแล้วก็อยากให้ลูกรู้ว่าหัวใจแม่อยู่กับลูกเสมอ” “ลูกจะได้การ์ดในทุกวาระและโอกาสแม้ว่าแม่จะไม่ได้อยู่กับลูกแล้วก็ตาม การ์ดบางใบ แม่ก็อาจจะเขียนนิดเดียวเท่านั้น การ์ดบางใบ แม่อาจจะเขียนเล่ายาวหน่อยนะ […]

12 ประโยคที่รับรองว่าคุณแม่ลูกอ่อนทุกคนอยากได้ยิน

คำพูดของเพื่อนและคนใกล้ชิดของคุณแม่ลูกอ่อนมีความหมายมากนะคะ มีคำพูดประโยคไหนนะที่จะช่วยสร้างกำลังใจดีๆ ให้กับคุณแม่บ้าง

เหนื่อย เครียด เลี้ยงลูก พบข้อคิดดีๆช่วยให้แม่มีความสุขได้

การเป็นแม่เป็นงานที่หนักและเหนื่อย ยิ่งถ้าคุณแม่เจอกับความเครียดอีก ชีวิตก็จะไม่มีความสุขเอาได้ง่ายๆ เรามีข้อคิดดีๆ 12 ข้อมาให้คุณแม่อ่านกันค่ะ

8 วิธีช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ที่มีเบบี๋ฝาแฝด

ถ้าอยากจะช่วยแบ่งเบาภาระให้คุณพ่อคุณแม่ของลูกฝาแฝด เรามีวิธีเด็ดๆ มานำเสนอค่ะ

ส่งเสริมการเรียนรู้

ดิฉันจะพยายามอ่านหนังสือและเล่านิทานให้ลูกฟัง รวมทั้งพูดคุยกับเขา ดิฉันคิดว่าวิธีดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้มากขึ้น บางทีก็จะพาลูกไปเดินเล่น ไปเที่ยวสวนสาธารณะ สวนสัตว์ หรือสถานที่อื่นๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ว่าสถานที่ต่างๆนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร และการพาลูกออกไปเที่ยวนอกบ้านยังเป็นการฝึกให้ลูกรู้จักการเข้าสังคมด้วยค่ะ

การเรียนรู้เริ่มต้นที่….

Q สวัสดีค่ะ คุณหมอ คุณแม่เห็นข่าวสารยุคนี้ที่พูดถึงปัญหาการศึกษาของเด็กไทย เลยกังวลว่าลูกน้อยวัย 4 เดือนจะประสบกับปัญหาเรื่องนี้ไหม แล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องรับมือลูกน้อยอย่างไร นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งข้อสังเกตว่าเด็กๆ กว่าเขาจะไปโรงเรียนก็ต้องรอให้โตก่อน ถ้าอย่างนั้นระหว่างที่เขายังเล็กคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเขาดีคะ             เคยตั้งข้อสงสัยกันไหมคะว่า ในอดีตเด็กๆ ถูกเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนที่บ้านมากกว่าที่โรงเรียน แต่ยุคนี้กลับพบเด็กหลายคนไปโรงเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย และหากมาทำความเข้าใจเรื่องพัฒนาการของเด็ก จะเห็นว่าสมองของเด็กมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้รอว่ามาโรงเรียนจึงค่อยพัฒนา ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถอบรมเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกได้ตั้งแต่ที่บ้านค่ะ โดยการพัฒนาเครื่องมือสำหรับเรียนรู้ของเด็กซึ่งก็คือสมอง ให้เหมือนที่เราสร้างบ้าน คือ ต้องวางรากฐานที่มั่นคงก่อน ด้วยการ วางระบบสมอง สมองของเด็กมีการแตกกิ่งก้านสาขาและเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายสายใยประสาทด้วยการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม เราจึงควรบำรุงสมองด้วยอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเครือข่ายสายใยประสาทและให้เด็กได้สำรวจโลกอย่างเหมาะสมตามวัย เพื่อให้สมองของเด็กได้รับข้อมูลเข้าไป เข้าใจการพัฒนาสมอง เนื่องจากสมองทำงานด้วยการส่งผ่านกระแสประสาทขณะรับข้อมูล ดังนั้นยิ่งมีข้อมูลมากสมองก็จะยิ่งทำงานและเรียนรู้มาก ข้อมูลดังกล่าวมาจากประสบการณ์ตรงที่เด็กได้สำรวจโลกผ่านประสาทสัมผัสและการลงมือทำ เรียนรู้ผ่านการเล่น เพราะสมองของเด็กเล็กเรียนรู้โลกผ่านประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว ขณะที่เขาจ้องมองใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่ จ้องมองของเล่น หรือนกที่บินผ่าน (ตา) เขายังได้ยินเสียงพูดคุยกับเขา เสียงร้องเพลงให้เขาฟัง หรือเสียงนกร้องลมพัด(หู) ได้กลิ่นอาหารในบ้าน หรือกลิ่นดอกไม้ในสวน (จมูก) ได้สัมผัสใบหน้า หรือเงยหน้าและเอื้อมมือเพื่อจะคว้านก (สัมผัสที่ผิว การรับรู้กล้ามเนื้อข้อต่อ และการใช้กล้ามเนื้อ) รวมถึงเขายังอาจต้องนั่งทรงตัวบนตักคุณแม่ (Vestibular) ยิ่งลูกน้อยได้เล่น (ตามวัย) […]

อาการขาดความรัก ของ “พี่” เมื่อมี “น้อง”

หลังจากที่น้องเกิดมา คนพี่ก็เริ่มมีพฤติกรรมการอ้อนมากขึ้น ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้พี่ต้องน้อยใจน้องที่เพิ่งเกิด มาดูกันค่ะ

keyboard_arrow_up