สร้างความมั่นคง

สร้างความมั่นใจให้ลูก…เมื่อพ่อแม่ต้องแยกทาง

Alternative Textaccount_circle
event
สร้างความมั่นคง
สร้างความมั่นคง

หากพ่อแม่ต้องแยกทางจะมีวิธีสร้างความมั่นคงให้ลูกเป็นเด็กที่เติบโตมากับความสุขและเข้าใจพ่อแม่ได้อย่างไรคะ?

การหย่าร้างส่งผลกระทบกับทุกคนในครอบครัวทั้งพ่อแม่และลูกอย่างน้อย 2-3ปี เด็กๆมักรับรู้ถึงความขัดแย้งของพ่อแม่มาก่อนหน้านี้แล้วเมื่อคุณตัดสินใจหย่าร้าง คุณต้องเป็นผู้บอกข่าวนี้กับลูกเอง

ไม่ควรให้ลูกรู้จากผู้อื่น พ่อแม่ไม่ควรให้ร้ายอีกฝ่ายให้เด็กฟังแต่ควรอธิบายสาเหตุของความไม่ลงรอย เช่น แม่เสียใจเวลาที่พ่อกินเหล้าเมาพ่อกับแม่ไม่อยากอยู่ด้วยกันต่อไปแล้ว

การอธิบายให้ลูกฟังเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังมาก เช่นลูกจะอยู่กับแม่ แต่พ่อก็อยู่ไม่ไกล เราทั้งคู่ยังรักลูกมากเหมือนเดิมพ่อยังเป็นพ่อของลูกตลอดไป พ่อจะมาเจอลูกบ่อยๆเวลาไหนบ้างและให้บอกลูกบ่อยๆว่าการหย่าร้างไม่ได้เป็นความผิดของลูก เพราะเด็กมักจินตนาการว่าเป็นเพราะตัวเองทำอะไรไม่ดี   นอดีตเราเชื่อกันว่าแม่ควรเป็นผู้ดูแลลูกหลังการหย่าร้าง(เว้นแต่กรณีแม่มีความประพฤติไม่เหมาะสม)แต่ปัจจุบันพบว่าพ่อสามารถดูแลลูกได้ดีพอๆกับแม่ แต่ปัญหาที่พบคือการหย่าร้างมักเกิดจากความโกรธเคืองกัน จึงพยายามแย่งกันเป็นผู้ดูแลลูกโดยไม่คำนึงว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก ดังนั้นสิ่งสำคัญเวลาที่ต้องตัดสินใจเรื่องการดูแลลูกคือใครควรเป็นผู้ดูแลลูกมากกว่ากันลูกแต่ละคนมีความสัมพันธ์กับพ่อและแม่เป็นอย่างไรลูกชอบพ่อหรือแม่มากกว่ากัน

หลังหย่าร้างแล้วพ่อแม่ก็ควรพูดคุยและตัดสินใจร่วมกันเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของลูกและเรื่องสำคัญในชีวิตของลูก เช่น การเลือกโรงเรียน ปัญหาสุขภาพของลูกอย่ากีดกันอีกฝ่ายไม่ให้มีส่วนร่วม หากพ่อแม่ตกลงกันได้ด้วยดี ทั้งพ่อและแม่ยังมีบทบาทในชีวิตของลูกจะช่วยให้ลูกสามารถปรับตัว ใช้ชีวิตในสังคม มีสุขภาพจิตที่ดีและประสบความสำเร็จด้านการเรียนได้ดีกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่สามารถตกลงกันได้

นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ระบายความรู้สึกออกมา และให้ความมั่นใจแก่ลูกว่าสิ่งที่ลูกรู้สึกเป็นเรื่องปกติ พ่อแม่ยังรักลูกเหมือนเดิม แม้ลูกอาจจะเจ็บปวดแต่พ่อแม่จะช่วยให้ลูกได้หากทำให้ลูกรู้สึกมั่นคงและตอบสนองความต้องการของลูกให้รู้สึกว่าเป็นที่รักและเป็นคนสำคัญด้วยคำพูดการกระทำ และความคงเส้นคงวาจะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกมั่นใจว่าคุณยังรักลูกเหมือนเดิม

….อย่าลืมกอดและบอกรักลูกบ่อยๆด้วยนะคะ….

shutterstock

คุณแม่คุณพ่อกลับบ้านค่ำ มีเวลาเล่นกับลูกเพียง 1-2ชั่วโมงต่อวัน แต่วันหยุดเราก็อยู่ด้วยกันแบบนี้ลูกจะได้รับเวลาและความผูกพันกับเราเพียงพอหรือไม่คะ ?

 

งานวิจัยล่าสุดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกช่วยปลดปล่อยความรู้สึกผิดของพ่อแม่ที่ทำงานนอกบ้านไม่มีเวลาอยู่ใกล้ชิดกับลูก ให้สบายใจขึ้น รู้สึกผิดน้อยลงเป็นการศึกษาพ่อแม่ที่มีลูกวัย 3-11 ปี เพื่อดูว่าการใช้เวลากับลูกแบบใดที่ทำให้ลูกประสบความสำเร็จในชีวิตเมื่อเติบโตขึ้น

การวิจัยแสดงว่า ความรู้สึกผิดของแม่ๆจำนวนมากเกิดขึ้นเพราะความรู้สึกกดดันจากการที่ต้องดูแลลูกให้ดีแต่ก็มีความรับผิดชอบในงานที่ต้องทำมีความมุ่งหวังทางอาชีพที่ต้องเจริญก้าวหน้างานวิจัยนี้บอกว่าแม่ปัจจุบันใช้เวลาอยู่กับลูกมากขึ้นกว่าเมื่อ 45ปีที่แล้ว และบอกว่าพ่อแม่ที่กินอาหารเย็นพร้อมลูกเมื่อโตขึ้นเป็นวัยรุ่น ลูกจะมีปัญหาด้านพฤติกรรมน้อยกว่ารวมถึงปัญหาติดแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด หรือมีพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายน้อยกว่า และมีคะแนนด้านคณิตศาสตร์มากกว่านอกจากนี้ยังพบว่าพ่อแม่ที่มีความรู้สึกเครียด นอนไม่พอ วิตกกังวลหรือรู้สึกผิดตลอดเวลาจะทำให้ลูกมีปัญหามากขึ้น

หลักการสำคัญของพ่อแม่เวลาน้อย คือ การมีเวลาคุณภาพกับลูกลูกต้องการเวลาที่จะได้รู้จักคุณต้องการเรียนรู้ว่าพ่อแม่เป็นใครและใช้ชีวิตอย่างไรและในทางกลับกันลูกก็ช่วยให้คุณรู้จักตัวเองมากขึ้นด้วยเช่นกันเวลาคุณภาพคือช่วงเวลาที่อบอุ่น ใกล้ชิดและมีการตอบสนองที่เปี่ยมด้วยความรักจากพ่อแม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาต่อไปนี้คือวิธีการใช้เวลาที่มีคุณภาพกับลูก

1.ให้ความสำคัญกับลูกตลอดเวลาที่อยู่ด้วยกัน ตาดูลูก หูฟังลูกทำความเข้าใจเวลาลูกพูด แล้วคุณจะรู้สึกทึ่งกับสิ่งต่างๆที่ลูกทำได้

2.แยกแยะงานที่คุณจำเป็นต้องทำ/ไม่ต้องทำหรือสามารถให้คนอื่นทำแทนได้เพื่อประหยัดเวลา

3.ให้ลูกมีส่วนร่วม เปลี่ยนงานน่าเบื่อให้เป็นเวลาที่สอนลูกทำงานบ้านเช่น เก็บของเล่นหลังจากเล่นเสร็จ การไปจ่ายตลาดด้วยกันการทำอาหารด้วยกัน การล้างรถด้วยกัน แค่ขอให้เป็นเวลาที่มีความสุขสนุกสนาน

4.ถ้าต้องเช็คอีเมล์ อ่านจดหมาย ให้ทำหลังจากพาลูกเข้านอนแล้ว

5.และสุดท้ายคือ ทำทุกอย่างให้ดีที่สุดสำหรับตัวเองและครอบครัวแล้วไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ให้ทำที่ตัวเองทำแล้วรู้สึกสบายใจไม่เครียด ไม่รู้สึกกดดัน

banner300x250

 

เรื่อง : พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด คุณแม่ของน้องจูนและน้องบอย
ภาพ : Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up