ทารก 6 เดือน กินน้ำ

ปู่ย่าให้ ทารก 6 เดือน กินน้ำ หลังกินนมจะเป็นอะไรไหม?

Alternative Textaccount_circle
event
ทารก 6 เดือน กินน้ำ
ทารก 6 เดือน กินน้ำ

ทารก 6 เดือน กินน้ำ เพราะความเชื่อโบราณ ดีจริงหรือคิดไปเอง เปิดสถิติคนไทยให้ทารกกินน้ำก่อน6เดือนเกิน80%เหตุใดหมอถึงไม่แนะนำ ความเชื่อนี้ควรไปต่อหรือพอแค่นี้

ปู่ย่าให้ ทารก 6 เดือน กินน้ำ หลังกินนมจะเป็นอะไรไหม?

กรมอนามัย เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการให้น้ำเปล่าแก่ทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน ว่า มีผลการศึกษาช่วงเวลา และปัจจัยสำคัญในการเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมผสม หรืออาหารอื่น เมื่อปี 2559 ในกลุ่มแม่และผู้ดูแลหลักของทารก และเด็กเล็กอายุ 0-ปี จำนวน 1,147 คน จาก 16 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า อาหารอื่นที่ทารกได้กินมากที่สุดในช่วง 6 เดือนแรก คือ น้ำเปล่า โดยแม่หรือผู้ดูแลหลักของทารกและเด็กเล็ก ร้อยละ 86.4 เคยให้ทารกกินน้ำในช่วงก่อนอายุ 6 เดือน โดยเหตุผลหลักที่ให้ทารกกินน้ำเปล่าก่อนอายุครบ 6 เดือน คือ

ทารก 6 เดือน กินน้ำ ได้ไหม
ทารก 6 เดือน กินน้ำ ได้ไหม
  1. ให้ทารกดื่มน้ำเพื่อล้างปาก ร้อยละ 55
  2. คิดว่าการกินน้ำเป็นเรื่องปกติ ร้อยละ 21.7
  3. ผู้ดูแลที่ไม่ใช่แม่ให้กิน ร้อยละ 15.6
  4. ทำให้ทารกไม่มีอาการตัวเหลือง ร้อยละ 10.7
  5. ช่วยระบบขับถ่าย ร้อยละ 10.1
  6. ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ร้อยละ 5.9
  7. คิดว่าทารกอาจหิวน้ำ คอแห้ง ร้อยละ 4.1
  8. ทารกกินนมผสม ร้อยละ 3.7
  9. ป้องกันอาการลิ้นเป็นฝ้า ร้อยละ 2.7
  10. ให้กินน้ำเมื่อมีอาการสะอึก ร้อยละ 2.7
  11. ได้รับคำแนะนำจากหมอ พยาบาล ร้อยละ 2.1
  12. คิดว่าการกินน้ำบำรุงสายตา ร้อยละ 2
  13. มีคนอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัวแนะนำ ร้อยละ 2
  14. ทารกกินยา ร้อยละ 1.9
  15. เด็กเริ่มกินอาหารแล้วจึงต้องดื่มน้ำ ร้อยละ 1.6
  16. อื่นๆ ร้อยละ 4.3

อันตราย!! หากให้ ทารก 6 เดือน กินน้ำ

เหตุใดในปัจจุบันถึงมีการรณรงค์ไม่ให้ป้อนน้ำแก่ทารกก่อน 6 เดือน พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เด็กควรได้กินนมแม่อย่างเดียวติดต่อกันตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน โดยไม่ต้องให้น้ำหรืออาหารอื่น เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่ย่อยง่าย และถูกสร้างมาให้เหมาะสมที่สุดกับสภาพร่างกายของทารก ช่วยป้องกันการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ลดอัตราการเสียชีวิต พัฒนาระดับสติปัญญา

การป้อนน้ำให้ทารกอันตราย เพราะทารกมีน้ำหนักน้อยมาก การได้รับน้ำมากเกินไป สามารถทำให้เกลือแร่ในร่างกายเจือจางลง และเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ หรือ Water Intoxication ทำให้ชัก สมองบวม และเสียชีวิตได้

ข้อดีของการให้นมแม่เพียงอย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิด -6 เดือน

หากคุณแม่ยังคงไม่สบายใจกันว่า การให้นมแม่เพียงอย่างเดียวนั้นดีจริงหรือ เราลองมาดูถึงข้อดีของการให้นมแม่เพียงอย่างเดียวจนถึงอายุ 6 เดือนกันดูว่ามีข้อดีอะไรบ้าง

  1. พัฒนาการทางสมอง งานวิจัยเผยว่าทารกที่กินนมแม่มีโอกาสในด้านพัฒนาการทางสมอง และเชาว์ปัญญา ที่ดีกว่าเด็กที่กินนมผสม สารอาหาร และวิตามินจากน้ำนมแม่ช่วยให้สมอง และเซลล์ประสาททำงานได้อย่างเต็มที่สมบูรณ์ สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะได้รับประโยชน์จากนมแม่เพื่อช่วยให้พัฒนาทางสมองเป็นไปอย่างปกติ และช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคจิตเวชได้ในอนาคตด้วย
  2. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ด้วยการสร้างแอนติบอดี้ (Antibody) และภูมิคุ้มกันจากแม่ที่ส่งผ่านต่อมาทางน้ำนม มาต่อต้านอาการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น ไข้หวัด แบคทีเรีย โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (RSV) เป็นต้น นอกจากนี้นมแม่ยังสามารถช่วยลดการเกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กได้ รวมไปถึงโรคร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไหลตายในเด็กทารก (SIDS) เป็นต้น
  3. ช่วยพัฒนาการทางร่างกายให้ลูกเติบโตได้อย่างปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็น และที่ร่างกายต้องการ ทำให้กระดูก และกล้ามเนื้อแข็งแรง นอกจากนี้การดูดนมแม่จากอกยังช่วยในเรื่องของสุขภาพช่องปากในเด็ก เมื่อฟันบนขึ้นจะเรียงตัวไม่ทับซ้อนกัน และไม่ผุกร่อนอีกด้วย
สารอาหารใน นมแม่
สารอาหารใน นมแม่

สารอาหารในน้ำนมแม่

สารอาหารในน้ำนมแม่มีการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาหลังการคลอดเพื่อให้เหมาะสมกับตัวลูกน้อย ผ่านกระบวนการสร้างน้ำนมในร่างกายของแม่ที่เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 (Colostrum) เป็นระยะ 1-3 วันแรก น้ำนมจะมีสีเหลือง (น้ำนมเหลือง) เนื่องจากมีแคโรทีนสูงกว่านมระยะหลังมาก น้ำนมในระยะนี้อุดมสมบูรณ์มาก มีโปรตีนที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกลือแร่ วิตามิน สารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของสมอง และการมองเห็นของลูก อีกทั้งยังมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับขี้เทาของลูกได้ด้วย

น้ำนมระยะที่ 2 (Transitional Milk) ในช่วงนี้น้ำนมจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น  ซึ่งมีสารอาหารเพิ่มขึ้นทั้งไขมัน และน้ำตาลที่มีเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

ระยะที่ 3 (Mature Milk) เมื่อผ่าน 2 สัปดาห์แรกแล้ว น้ำนมแม่จะมีปริมาณที่มากขึ้น และมีสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูก ได้แก่

  • โปรตีน ที่มีส่วนช่วยในการยับยั้งจากเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด เพิ่มภูมิต้านทาน และเอนไซม์ที่สามารถทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียได้
  • ไขมัน ที่เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ DHA (Docosahexaenoic Acid) และ AA (Arachidonic Acid) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทและการมองเห็น
  • น้ำตาลแลคโตส โดยพบว่าในนมแม่มีโอลิโกแซคคาไรด์หรือคาร์โบไฮเดรตสายสั้น (Human Milk Oligosaccharides หรือ HMOs) มากกว่า 200 ชนิด และมีปริมาณมากกว่าปริมาณที่พบในนมวัวถึง 5 เท่า และยังพบอีกว่า HMOs ในน้ำนมแม่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้
  • วิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ A, B1, B2, B6, B12, C, D, E, K และแร่ธาตุซึ่งได้แก่ เหล็ก แคลเซียม ไอโอดีน เป็นต้น
ทารก 6 เดือน กินน้ำ หลังกินนมได้ไหม
ทารก 6 เดือน กินน้ำ หลังกินนมได้ไหม

นอกจากนี้ในน้ำนมแม่ยังมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ได้แก่ แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) โกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) ที่มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบทางเดินลำไส้ เส้นเลือด ระบบประสาท และระบบฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโต

หาคำตอบมาให้แล้วที่นี่!! หากคุณยังคงให้ ทารก 6 เดือน กินน้ำ ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

เพื่อล้างปาก (55%) ป้องกันอาการลิ้นเป็นฝ้า (2.7%)

นมแม่มีสารต้านเชื้อราที่จะเกิดในช่องปากทารก และมีปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อร่างกายของเด็ก จึงไม่จำเป็นต้องป้อนน้ำตามเพื่อล้างปาก หากคุณแม่อยากล้างปากให้ลูก แนะนำให้ใช้ผ้าอ้อมสะอาดพันที่นิ้ว ชุบน้ำต้มสุกสะอาด เช็ดเหงือก ช่องปาก กระพุ้งแก้ม ให้ลูกน้อยหลังอาบน้ำก็พอ ก็สามารถแก้ไขอาการลิ้นเป็นฝ้าของลูกได้

คิดว่าการกินน้ำเป็นเรืองปกติ (21.7%)

นมแม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 80% ซึ่งเป็นปริมาณน้ำ และสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของทารกอยู่แล้ว ดังนั้นไม่จำเป็นที่ทารกจะต้องได้รับน้ำหลังอาหารเหมือนกับผู้ใหญ่ การที่ให้ลูกกินน้ำเข้าไปอีกยังเป็นอันตรายมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะจะทำให้ร่างกายของทารกได้รับน้ำมากเกินไป นอกจากจะทำให้อิ่มเร็วแล้ว ยังส่งผลให้กินนมได้น้อยลง เกลือแร่ในร่างกายเกิดการเจือจาง น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์อีกด้วย

ทำให้ไม่มีอาการตัวเหลือง (10.7%)

จากความเชื่อนี้ของนำคำตอบของทาง เพจ นมแม่แฮปปี้ ที่ได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้ว่า อาการตัวเหลืองเกิดจากเม็ดเลือดแดงที่แตกตัว แต่ละคนเหลืองมากน้อยไม่เท่ากัน ตับของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่จึงขจัดสารเหลืองออกจากร่างกายได้ช้า ซึ่งการป้อนน้ำไม่ช่วยให้หายเหลือง และนมแม่ไม่ทำให้เหลือง ส่วนทารกที่กินนมผงก็ตัวเหลืองได้สำหรับทารกที่กินนมแม่แล้วตัวเหลือง สาเหตุเพราะดูดผิดท่า อมไม่ลึก จึงไม่ได้น้ำนม หรือกินนมไม่บ่อยพอ นอนนานเกินไป หรือมีพังผืดใต้ลิ้น จึงดูดน้ำนมได้น้อย

อย่างไรก็ดี การแก้ปัญหาตัวเหลือง ไม่ควรเสริมน้ำหรือเสริมนมผง แต่ควรให้ลูกกินนมแม่บ่อย ๆ ดูดจริงจัง ไม่ตอด วันละ 8-10 มื้อ เพราะในน้ำนมส่วนหน้า มีแลคโตสช่วยให้ขับถ่ายสารเหลืองออกทางอุจจาระ

ทารกไม่กินน้ำ ตัวเหลือง จริงหรือไม่
ทารกไม่กินน้ำ ตัวเหลือง จริงหรือไม่

เหตุผลอื่น ๆ 

มีคำแนะนำ ดังนี้

  • เมื่อลูกสะอึก ปากแห้ง เหมือนหิวน้ำ ให้นมแม่แทนให้น้ำ
  • ลูกป่วยต้องกินยา ให้ลูกกินยา วิตามินในช่วง 6 เดือนแรกได้ตามจำเป็น
  • หากลูกจำเป็นต้องกินนมผง ไม่จำเป็นต้องให้น้ำเพิ่ม

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบกันอย่างที่กล่าวมาถึง สาเหตุที่ไม่ให้ทารกกินน้ำ ก่อน 6 เดือนแล้ว คงต้องช่วยกันสนับสนุน รวมถึงทำความเข้าใจกับคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย หรือผู้เลี้ยงดูลูกเราท่านอื่นที่ยังคงมีความเข้าใจผิด ๆ อยู่ โดยหากพวกท่านได้รับรู้ถึงข้อมูล ข้อเท็จจริงที่หมอได้แนะนำตักเตือนแล้ว เชื่อว่าผู้ใหญ่ทุกท่านต้องเข้าใจอย่างแน่นอน เพราะทุกคนก็หวังดีต่อลูก หลาน เหลน กันอย่างแน่นอน

ข้อมูลอ้างอิงจาก กรมอนามัย /mgronline.com/baby.kapook.com/เพจนมแม่แฮปปี้

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

4 วิธีกระตุ้นนมแม่ อย่างได้ผลดี ไม่เหนื่อย ไม่เจ็บ

โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง สำคัญแค่ไหนกับทารกแรกเกิด!

เด็กแรกเกิดตัวเหลือง อันตรายหรือไม่? รักษาอย่างไร?

7 ท่าคลานทารก เมื่อลูกน้อยคลาน ลูกเราคลานท่าไหนนะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up