คุณครูใจร้าย…ทำอย่างไรดี

ในการประชุมผู้ปกครองเมื่อคราวก่อน คุณแม่แก้วรู้สึกว่าคุณครูกระหน่ำวิจารณ์ลูกสาวของเธอในแง่ลบจนดูเหมือนไม่ยุติธรรมเอาซะเลย แบบนี้จะโต้ตอบอย่างไรดี

ฮัลโหลๆ หนูรับโทรศัพท์เป็นแล้วนะ


ช่วงนี้เจ้าตัวเล็กที่บ้านเป็นอะไรก็ไม่รู้ เห็นปุ่มเป็นไม่ได้ ขอเอานิ้วกดหน่อยเถอะ

ตอบคำถามเรื่อง “เพศ” อย่างไรดี

ให้ความสนใจเมื่อลูกถามคำถามเหล่านี้ โดยการบอกว่า “อืม ดีนะที่ลูกถามคำถามนี้” แทนที่จะบอกว่า “ทำไมหนูถามอย่างนั้น” หรือ “ไว้โตกว่านี้แล้วลูกจะรู้เอง” เพราะเป็นสิ่งดีที่ลูกรู้สึกสบายใจที่จะคุยกับคุณเรื่องนี้ ไม่ต้องรอให้ลูกเป็นฝ่ายตั้งคำถามก่อน พ่อแม่บางท่านอาจคิดว่าเมื่อลูกพร้อมจะเรียนรู้เรื่องเพศเขาก็จะตั้งคำถามเอง แต่สำหรับเด็กบางคน เขาอาจรู้สึกลำบากใจที่จะคุยเรื่องนี้ ซึ่งคุณไม่ต้องรอให้ลูกสงสัย แต่ค่อยๆ สอนไปทีละนิด จำไว้ว่า แม้ลูกจะไม่ถาม แต่เขาก็ควรได้รู้ค่ะ ไม่เป็นไรหากคุณจะไม่มีคำตอบให้ลูก หากคุณไม่รู้ ก็บอกว่าไม่รู้และจะไปหาคำตอบมาให้เขา หรือจะหาหนังสือมาอ่านเพื่อหาคำตอบไปพร้อมๆ กับลูกก็ได้ และหากคุณบอกข้อมูลอะไรที่ผิดพลาดไป ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพียงแต่กลับไปบอกลูกว่าคุณมีคำตอบที่ดีกว่ามาบอก ไม่เป็นไรเช่นกันถ้าคุณรู้สึกไม่สะดวกใจที่จะตอบคำถามลูก เพราะครอบครัวของคุณอาจไม่เคยพูดเรื่องนี้กับคุณเลย คุณสามารถบอกลูกได้ว่า “อืม แม่ไม่ค่อยรู้เรื่องผู้ชายผู้หญิงมากนักนะ เพราะยายไม่ค่อยเล่าอะไรให้แม่ฟัง แต่แม่ว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ แม่จะพยายามตอบเท่าที่รู้นะจ๊ะ” มองหาโอกาสเหมาะๆ ที่จะพูดคุยกับลูกเรื่องนี้ เช่น เมื่อเดินช็อปปิ้ง ขณะดูโทรทัศน์ หรือตอนอ่านหนังสือที่มีเรื่องของความสัมพันธ์ของชายและหญิง การสอนโดยใช้โอกาสเหล่านี้ทำให้ลูกได้เรียนรู้โดยไม่ต้องใช้วิธีการนั่งฟังเหมือนกำลังเรียนหนังสือ ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ควรช่วยกันสอนลูก หลายๆ บ้านยกให้คุณแม่เท่านั้นเป็นฝ่ายตอบคำถามเรื่องเหล่านี้กับลูก แต่ที่จริงแล้วเด็กต้องการมุมมองจากทั้งคุณแม่และคุณพ่อ และทำให้ลูกเข้าใจว่าเรื่องเพศศึกษาเป็นสิ่งที่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงพูดด้วยกันได้   บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

จัดพื้นที่ ให้ลูกตีลังกา ม้วนหน้า ม้วนหลัง

พอเกิดเสียงปึงปังที่แสนจะคุ้นหูคุณแม่เก๋ก็รู้ทันทีว่าน้องโก้วัย 5 ขวบผู้เป็นลูกชายกำลังฝึกกระบวนยุทธ์กายกรรมท่าใหม่อีกแล้ว

ปล่อยให้ลูกอนุบาลตัดสินใจ…แค่ไหนถึงพอดี

พ่อแม่ควรทำให้ลูกรู้สึกว่าเขามีอำนาจควบคุมโลกใบน้อยๆ ของตัวเอง โดยให้โอกาสเขาได้ตัดสินใจเองบ้าง แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าจุดพอดีอยู่ตรงไหน หรือควรปล่อยแค่ไหน ลูกถึงจะไม่เสียเด็ก

5 สัญญาณเตือน “ลูกอาจมีปัญหาที่โรงเรียน”

ลูกมีปัญหาที่โรงเรียน …เมื่อถึงวัยและเวลาที่ลูกต้องไปโรงเรียน บางบ้านอาจเกิดปัญหา ลูกน้อยไม่ยอมไปโรงเรียน หากสังเกตเห็นสัญญาณเตือนเหล่านี้ พ่อแม่ควรรีบคุย

อยากฝึกลูกหัดเขียนเหรอ ไม่ยากเลย

เมื่อลูกลองจับดินสอเป็นครั้งแรก คุณอาจเห็นเจ้าตัวเล็กใช้วิธี “กำ” ด้วยมือน้อยๆ และยังไม่มีแรงพอจะเขียนเป็นตัวอักษร เรามีวิธีง่ายๆ ให้คุณสอนลูกจับดินสอเขียนมาฝากกัน

แม่ชักหวั่น กลัวลูกจะเบี่ยงเบน

ลูกชายชอบเล่นของเล่นของเด็กผู้หญิงและเอาเสื้อผ้าของเด็กผู้หญิงมาใส่เล่น…แปลว่าเขาเกิดความสับสนทางเพศหรือจะเป็นเกย์เมื่อโตขึ้นหรือเปล่านะ

4 เคล็ดลับรับมือลูก ” พูดไม่เพราะ “

ลูกพูดไม่เพราะ …เรื่องพฤติกรรมพูดไม่เพราะนี้ สื่อมีอิทธิพลแบบเต็มเปา เพราะเด็กๆ มักเลียนแบบสิ่งที่เห็นในละครหรือการ์ตูน

ถึงถนัดซ้าย ก็เขียนเก่งไม่แพ้ใคร

ถ้าลูกของคุณถนัดซ้าย คุณก็ต้องหาวิธีหรือตัวช่วยให้เขาเริ่มหัดเขียนหนังสือได้แล้วละ

วิธีหยุดพฤติกรรมกัดเล็บ

“กัดเล็บ” เป็นพฤติกรรมที่เห็นบ่อยในวัยเด็ก เด็กส่วนมากก็ไม่ติดขนาดเลิกไม่ได้ แต่ที่ไม่ถูกใจคุณพ่อคุณแม่ก็ตรงที่ไม่ค่อยน่าดูเอาเสียเลย และอาจติดเชื้อโรคด้วย

5 กลยุทธ์สงบศึก พี่น้องทะเลาะกัน

พี่น้องทะเลาะกันเป็นเหตุการณ์ที่ต้องเกิดขึ้นแน่ จะช่วยสร้างสันติระหว่างเจ้าตัวโตกับเจ้าตัวเล็กในตอนนี้และปลูกฝังให้เกิดมิตรภาพฉันพี่น้องในอนาคตได้อย่างไร

สอนลูกรักสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นได้ตั้งแต่เด็ก

เด็กยุคปัจจุบันเติบโตมากับปัญหาสิ่งแวดล้อม เราในฐานะพ่อแม่ ควร สอนลูกรักสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เขามีชีวิตที่เติบโตมาพร้อมกับธรรมชาติก่อนที่จะสูญสลายไป

4 วิธีแสนง่าย สอนลูกเล็กเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง

ในวัยนี้เจ้าตัวเล็กของคุณเริ่มสังเกตเห็นว่าสิ่งรอบตัวมีความเปลี่ยนแปลง และเขาก็ชอบมันเสียด้วย

ใจดีกับเพื่อนหน่อยสิลูก

แม่ทุกคนอยากให้ลูกเป็นเด็กที่ใจดี รู้จักเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น แต่ถ้าได้ยินลูกพูดกับเพื่อนว่า ไม่เล่นกับหวาน จะเล่นกับแนน !Ž

สอนลูกรู้จักอันตรายจากรถ

เวลาจะข้ามถนน แม้แต่เด็กที่ฉลาดที่สุดก็ยังไม่สามารถประเมินได้เลยว่า รถแล่นมาเร็วเท่าไรและอยู่ห่างแค่ไหน ดังนั้น ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่จึงควรป้องกันไว้ก่อน

พูดผิด…(สอนให้) พูดใหม่ได้

การที่ลูกวัย 3 ขวบวิ่งมาบอกคุณว่า “แม่จ๋า น้ำแดงเอา” หรือ “พ่อไปข้าวกินแล้ว” เป็นเรื่องที่ทำให้คุณควรรู้สึกกังวลใจหรือไม่

หนูเปลี่ยนชื่อแล้วนะ

คุณคงแปลกใจ ถ้าจู่ๆ ลูกวัย 3 ขวบก็เดินเข้ามาประกาศว่า ต่อไปนี้หนูจะไม่ใช้ชื่อ น้องดา แล้วนะแม่ ทุกคนต้องเรียกหนูว่า ดอร่า ค่ะ

keyboard_arrow_up