ผู้ว่า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในมุมความเป็นพ่อให้แง่คิดอะไรกับเรา

Alternative Textaccount_circle
event
ผู้ว่า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ผู้ว่า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กับตำแหน่งผู้ว่ากทม.ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ไม่เว้นแม้แต่บทบาทของความเป็นพ่อที่สุดสตรองเพื่อลูก กับเรื่องราวดี ๆ ให้แง่คิดกับทุกคน

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในมุมความเป็นพ่อให้แง่คิดอะไรกับเรา!!

คงไม่ต้องกังขากันแล้วว่า ในเวลานี้คงไม่มีใครฮอตเกินชายผู้นี้ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 17 ที่เพิ่งได้รับตำแหน่งกันสด ๆ ร้อน ๆ ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนทุบสถิติมากถึง 1,375,978 คะแนน เรามาทำความรู้จักกับชายผู้แข็งแกร่งผู้นี้กันให้มากขึ้นอีกสักหน่อย กับหลากหลายบทบาทที่เขาได้รับในชีวิตจริง ที่บอกได้เลยเต็มเปี่ยมไปด้วยแง่คิด และแบบอย่างที่ดีให้เราได้นำไปใช้เป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตได้

เปิดประวัติผู้ว่า “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์”

“ชัชชาติ” เกิดเมื่อ 24 พ.ค. 2509 อายุ 56 ปี เป็นบุตรชายของ พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กับนางจิตต์จรุง สิทธิพันธุ์ (กุลละวณิชย์) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 2 คน คือ รศ.ดร. ปรีชญา สิทธิพันธุ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีพี่ชายฝาแฝด คือ รศ. นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

“ชัชชาติ” สมรสกับ ปิยดา สิทธิพันธุ์ (อัศวฤทธิภูมิ) พนักงานการบินไทย มีบุตรชาย 1 คน คือ แสนปิติ สิทธิพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้พิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิด โดยได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมเมื่อปี 2545

ผู้ว่า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ผู้ว่า ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ด้านการศึกษา

ระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น      : สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

ระดับอุดมศึกษา  : คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง คนเดียวในรุ่น

ระดับปริญญาโท   : สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) สหรัฐอเมริกา สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง

: คณบริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (ใบที่สอง)

ระดับปริญญาเอก : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ปี 2530

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.prachachat.net

ก้าวเข้าสู่ “การเมือง” ด้วยเหตุผลเพราะ “ลูก”

การเดินเข้ามาบนเส้นทางสายการเมืองนั้น เขาได้เริ่มจากการเป็นที่ปรึกษาแก่กระทรวงคมนาคม ในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 และรัฐบาลสมัคร โดยไม่มีตำแหน่งใด ๆ มาในฐานะนักวิชาการ จากนั้นจึงก้าวเข้าสู่การเมืองอย่างเต็มตัวในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และก้าวขึ้นนั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แทน “จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ” จึงเป็นจุดเริ่มตันของตำนาน “รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี”

การตัดสินใจเข้ารับตำแหน่ง ด้วยเหตุผลที่คุณชัชชาติได้ให้ไว้ว่า เพราะอยากให้ลูกชายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากลูกชายเพียงคนเดียว เป็นผู้พิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิด

ทัศนคติของลูกชายต่อ พ่อที่แกร่งที่สุดในปฐพี!!

เป็นที่รู้กันดีแล้วว่า ลูกชายคุณชัชชาตินั้น มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่กำเนิด แต่พ่อคนนี้มิได้นิ่งนอนใจ หรือโทษในโชคชะตา แต่กลับลุกขึ้นสู้ เพื่อให้ลูกได้ใช้ชีวิตที่ดีกว่า จึงทำให้เกิดวลีที่คุณชัชชาติได้ให้ไว้ว่า การเลี้ยงลูกมีความเสี่ยง

ความเสี่ยงที่ว่า คือเราอาจเลี้ยงลูกไม่ได้ตามทฤษฎีเป๊ะๆ อย่างผมมีลูกเป็นเด็กพิเศษ เราก็ไม่อยากให้เขาเจ็บปวดมากกว่านี้ เราก็ตามใจเขาบ้าง ไม่ค่อยกล้าดุเขา แต่เราก็ต้องระวัง ต้องมีสติ เอาความรู้ทฤษฎีมาประกอบเพื่อลดความเสี่ยงนั้น อย่างช่วง 20 ปีที่แล้วไม่ค่อยมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเด็กหูหนวก เราก็ต้องดิ้นรนเยอะ ต้องหาข้อมูลเยอะมาก

ขอขอบคุณที่มาจากบทสัมภาษณ์ของ mappalearning.co
เปิดประวัติผู้ว่า กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
เปิดประวัติผู้ว่า กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

Timeline การฝ่าฟันของคนเป็นพ่อ

“ลูกชายของผมเกิดเมื่อปี 2000 ร่างกายภายนอกของเขาปกติดี กระทั่งวันหนึ่งมีคนทักว่า ทำไมเรียกแล้วไม่หัน พออายุหนึ่งขวบกว่าๆ ผมตัดสินใจพาไปตรวจ พยาบาลบอกผลว่า ลูกชายของผมหูหนวก เคยเห็นเด็กหูหนวกส่งภาษามือ แต่ไม่คิดว่าจะเจอกับตัวเอง เป็นวินาทีเปลี่ยนชีวิตเลย ตอนนั้นผมตกใจ นั่งร้องไห้ สงสารลูกว่าอนาคตจะเป็นยังไง เราเหมือนปฏิเสธตัวเอง คิดว่าหมออาจตรวจผิด เลยไปตรวจที่อื่น แต่ทุกที่ก็บอกเหมือนเดิม ผมถึงขนาดไปไหว้พระ บนบานศาลกล่าว ขอให้เขาหาย ตอนลูกหลับก็เอาหูฟังเสียงดังๆ เปิดใส่ เผื่อจะกระตุ้นให้เขาได้ยิน เป็นความหวังลมๆ แล้งๆ เวลาผ่านไปเริ่มตกตะกอนว่าเป็นไปไม่ได้

“ผมเริ่มซื้อหนังสือเกี่ยวกับคนหูหนวกมาอ่าน ศึกษาบทความต่างๆ ทางเลือกมีทั้งการฝึกใช้ภาษามือ แต่คนอื่นสื่อสารด้วยยาก สังคมก็จะแคบ หรือใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเหมาะกับคนที่มีการได้ยินเหลืออยู่บ้าง หรือวิธีอ่านปาก ซึ่งก็ต้องใช้พร้อมเครื่องช่วยฟัง แต่ลูกของผมหูหนวกสนิทเลย อีกทางคือ การผ่าตัดประสาทหูเทียม สิบกว่าปีที่แล้วเมืองไทยมีอยู่บ้าง แต่เด็กที่ผ่ามักไม่ประสบความสำเร็จ คือพูดไม่ได้ แต่ผมคิดว่าถ้าทำสำเร็จ เขาจะสื่อสารกับคนทั่วไปได้เลย ผมเลยเลือกทางนี้

“ประเทศที่ผ่าตัดได้เยอะคือ ออสเตรเลีย ผมติดต่อไปหาหมอคนหนึ่ง เขาผ่ามานับพันคน บินไปคุยอยู่สองครั้ง แล้วถึงพาลูกไปตรวจ พอรู้ผลว่าผ่าได้ ตอนนั้นผมเป็นอาจารย์ เลยสอบเอาทุนจากรัฐบาลออสเตรเลียไปทำวิจัย แล้วพาลูกไปผ่าเมื่อเดือนธันวาคม 2002 ใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมง แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น คือเราต้องฝึกให้เขาเข้าใจเครื่องนี้ ปกติประสาทหูชั้นในมีลักษณะเป็นก้นหอย มีขนๆ อยู่ พอได้ยินเสียง ขนก็สั่น แล้วเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นสมอง แต่ลูกของผมไม่มี เลยใส่ขดลวดไฟฟ้าไปแทน เวลาพูดจะเหมือนที่เราพูดกัน แต่เขาจะได้ยินอีกแบบ สมมุติคำว่า พ่อ เขาก็จะได้ยินเป็น ตื๊ด ตื๊ด ตื๊ด

“หลังจากผ่าตัด ช่วงแรกเขาไม่พูดเลย เราก็เครียด ไม่รู้ว่ามาถูกทางหรือเปล่า ถ้าผิดก็ไม่รู้จะกลับไปยังไง การผ่าก็ไปทำลายของเดิมทั้งหมด ตอนนั้นพ่อแม่ต้องฝึกอาทิตย์ละ 3 ชั่วโมง เพื่อกลับมาฝึกลูก 24 ชั่วโมงที่บ้าน หลังหกเดือนเขาก็เริ่มพูดได้ เครื่องมีความละเอียดไม่เท่าหูคน ผมเลยเลือกฝึกภาษาอังกฤษเพราะวรรณยุกต์ไม่เยอะ อีกอย่างความรู้บนโลกนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ถ้าเขาพูดได้ อนาคตคงเรียนภาษาไทยได้ หลังจากนั้นเขากลับมาอยู่โรงเรียนอินเตอร์ พูดอังกฤษได้ พูดไทยได้นิดหน่อย เป็นเด็กหูหนวกหนึ่งในไม่กี่คนที่เรียนโรงเรียนคนปกติได้

“การมีลูกเป็นคนพิเศษ ทำให้ผมโฟกัสขึ้น ชีวิตเรามุ่งกับเขาเป็นหลัก ผมต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เพื่อที่จะอยู่กับเขาให้นานที่สุด เราอยู่เพื่อเขา ตอนนี้ลูกผมอายุ 15 เขาเข้าใจ รับได้ คุยกับเพื่อนได้ ด่ากันได้ ใช้อินเทอร์เน็ตได้ เวลาไหว้พระ ผมไม่เคยขอให้เขาเป็นเด็กเรียนเก่งเลย ผมขอให้เขาเข้าสังคมได้ มีเพื่อนที่ดี ชีวิตมีความสุข ผมพอแล้ว

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก เพจมนุษย์กรุงเทพ
กับบทบาทพ่อผู้แข็งแกร่ง
ับกบทบาทพ่อผู้แข็งแกร่ง

จากวันนั้นถึงวันนี้ กลายเป็นแบบอย่าง ความภาคภูมิใจของลูก

คลิปของ แสนปิติ สิทธิพันธุ์ ลูกชายของชัชชาติ ที่ได้พูดถึงคุณพ่อเอาไว้ ผ่านการให้สัมภาษณ์กับ Cochlear Southeast Asia ตั้งแต่ปี 2019 โดยที่ Cochlear เป็นคลินิกที่ให้การรักษา ผ่าตัดและฝังอุปกรณ์ประสาทหูเทียมเพื่อช่วยเหลือในเรื่องการได้ยิน เพราะในเรื่องนี้คนพ่อได้พยายามหาวิธีการช่วยเหลือเพื่อให้ลูกได้ยิน จนกระทั่งประสบผลสำเร็จโดยแสนปิติเล่าว่า พ่อแม่รู้ว่ามีอาการหูหนวก เพราะตอนอายุ 2 ขวบ ญาติ ๆ พยายามเรียกชื่อแต่ไม่ได้ตอบสนองต่อเสียงเรียก ซึ่งทำให้คุณพ่อและคุณแม่พาแสนปิติไปหาหมอ และหมอบอกว่าแสนปิติมีอาการหูหนวก โดยในช่วงแรกก็จะใช้เครื่องช่วยฟัง แต่มีปัญหาเรื่องการใช้งานที่ค่อนข้างยุ่งยากสำหรับเด็ก จึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาใหม่

จนในที่สุดคุณหมอก็แนะนำว่าสามารถผ่าตัดได้ ผ่านการผ่าตัดและฝังอุปกรณ์กับ Cochlear และในที่สุด แสนปิติก็สามารถใช้ชีวิตปกติเหมือนบุคคลทั่วไปได้ และด้วยความที่เป็นคนพูดเก่งและเป็นคนที่แอคทีฟมาก ๆ ชื่นชอบการเล่นกีฬาโดยเฉพาะคิกบ็อกซิ่ง

แสนปิติบอกว่า สำหรับเขาแล้ว คุณพ่อเป็นเหมือนเพื่อนสนิทคนหนึ่งเพราะอยู่เคียงข้างและสู้ไปกับเขาในทุก ๆ ช่วงเวลาของชีวิต พ่อไม่เคยยอมแพ้แม้ว่าชีวิตของเขาจะยากลำบากมากแค่ไหน สำหรับเขาแล้วพ่อคือแบบอย่าง เป็นคนที่เขาชื่นชอบ และชื่นชมในความกล้าหาญ และจะนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพราะพ่อสู้เพื่อผมมาตลอด

ที่มา : www.matichon.co.th

ฝากข้อคิดการเลี้ยงลูกในแบบ “ชัชชาติ”

คุณชัชชาติได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้กับทาง mappalearning.co ในบทความ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์: เพราะการเลี้ยงลูกมีความเสี่ยง สวัสดิการแห่งรัฐจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์ครอบครัวที่แข็งแกร่ง ลงเมื่อวันที่ 15/9/2021 เกี่ยวกับการความสัมพันธ์ระหว่างลูก กับการเลี้ยงดูไว้ ซึ่งได้ให้แง่คิดไว้น่าสนใจ ดังนี้

สายสัมพันธ์ระหว่างคุณชัชชาติกับลูกเป็นอย่างไร

ก็เป็นแบบตบจูบๆ (หัวเราะ) เป็นสไตล์วัยรุ่นๆ ผมศึกษาจากหนังสือหมอประเสริฐ (ผลิตผลการพิมพ์) ที่บอกว่าเด็กอายุ 0-3 ขวบ ถ้าครอบครัวมีความผูกพันกันจะช่วยดึงลูกไม่ให้เตลิด ยิ่งลูกเราหูหนวก เราไม่สามารถเชื่อมเขาด้วยเสียงได้ เขาไม่ได้ยินอะไร ช่วงผ่าตัดก็ต้องสัมผัสเขาเยอะๆ ต้องอุ้มกอด ต้องใช้ Visual Cue (การใช้ภาพและสีเพื่อสื่อความหมาย) ซึ่งการสัมผัสก็ช่วยทดแทนได้ เรื่องความสัมพันธ์มันไม่ได้ซับซ้อน แต่เราต้องให้เวลา ให้ความเอาใจใส่

ผมมีข้อสังเกตเรื่องความสัมพันธ์ 3 ข้อ คือ

หนึ่ง-ความสัมพันธ์เป็นไดนามิค หมายความว่า ความสัมพันธ์ของเรากับลูกช่วงหนึ่งก็แบบหนึ่ง พอลูกโตขึ้นความสัมพันธ์ก็เปลี่ยนตามสถานการณ์ เพราะฉะนั้นอย่าประมาท คิดว่าสถานการณ์ดีแล้ว ความสัมพันธ์ดีแล้ว เราต้องปรับความสัมพันธ์ให้สอดคล้องต่อความต้องการหรือความรู้สึกของลูกด้วย

สอง-ความสัมพันธ์คือการยึดโยง บางคนบอกว่าเป็นการยึดโยงลูกไว้ เหมือนเราเป็นสมอ แต่ผมว่าลูกเป็นสมอที่ยึดเราไว้มากกว่า เพราะมีอะไรเราก็คิดถึงเขา ความสัมพันธ์นี้ช่วยดึงให้เราอยากอยู่กับเขาตลอด

สาม-ความสัมพันธ์ที่ต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพราะโลกเปลี่ยนไปเร็ว มีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาก ดังนั้นถ้ามีปัญหาต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ อย่าเก็บไว้คนเดียว

แง่คิด และต้นแบบที่ดี ที่ได้รับจากคุณชัชชาติ
แง่คิด และต้นแบบที่ดี ที่ได้รับจากคุณชัชชาติ

สรุป 

แนวความคิดการดูแลลูกของคุณชัชชาตินั้นเรียกได้ว่าต้องเชื่อมโยงให้เข้ากันในทุกส่วน ร่างกายต้องแข็งแรง เพื่อพร้อมในการดูแล และเห็นลูกเติบโตไปได้นาน ๆ จิตใจต้องมุ่งมั่น เข้มแข็ง เป็นเสาหลัก และที่พึ่งพิงให้กับลูกได้ สร้างอนาคตของลูกที่ยั่งยืนด้วยสวัสดิการแห่งรัฐที่เอื้ออำนวยให้ทุกคนในสังคม เมื่อสังคมดีสายสัมพันธ์ของครอบครัวก็จะดี และสังคมที่ลูกอยู่ก็จะดีตามไปด้วย นับว่าเป็นแบบอย่างที่ดีแบบอย่างหนึ่งของสังคมเลยทีเดียว

ขอขอบคุณข้อมูล และภาพประกอบจาก https://www.facebook.com/chadchartofficial

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ลูก บกพร่องทางการได้ยิน ดูยังไง แก้อย่างไร

เขตบางขุนเทียน แจกผ้าอนามัยฟรี รับนโยบายชัชชาติ

10 นิทานอีสปสั้นๆ เล่าให้ลูกฟังก่อนนอน พร้อมคติสอนใจ

19 พิกัด พาลูกเที่ยวกรุงเทพฯ เด็กๆ สนุกแน่นอน โดย พ่อเอก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up