สร้างสมดุลชีวิต

13 เทคนิค สร้างสมดุลชีวิต งานก็ไม่เสีย ครอบครัวก็แฮปปี้!

Alternative Textaccount_circle
event
สร้างสมดุลชีวิต
สร้างสมดุลชีวิต

สร้างสมดุลชีวิต – การมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ให้กับงานประจำและครอบครัวอย่างเท่าเทียมกันดูเหมือนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากสำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงานประจำ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่คุณจะเป็นได้ทั้งลูกจ้างที่ทุ่มเท และแม่ที่เต็มที่ไปกับลูกๆ แต่จริงๆแล้วเราอาจไม่ต้องทำให้ชีวิตยากเย็นขนาดนั้นก็ได้ค่ะ เพราะการทำงานประจำได้อย่างเต็ม พร้อมกับการสวมบทบาทของแม่ที่ไม่ขาดตกบกพร่องไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หากคุณเรียนรู้ที่จะหาจุดสมดุลชีวิตที่เหมาะสม เคล็ดลับต่อไปนี้อาจช่วยให้ชีวิตคุณแม่ที่มีสองบทบาทจัดการ ชีวิตง่ายขึ้นได้บ้างไม่มากก็น้อย

13 เทคนิค สร้างสมดุลชีวิต งานก็ไม่เสีย ครอบครัวก็แฮปปี้!

1. ลดบทบาทซูเปอร์มัมลงบ้าง

แม่มักถูกตัดสินว่า “ ทอดทิ้งลูก” เมื่อถึงคราวต้องกลับไปทำงานเต็มเวลา ในขณะที่ผู้เป็นพ่อ สังคมทั่วไปมองว่า การทำงานประจำ คือการ “หาเลี้ยง” ทั้งครอบครัว ดูแล้วเหมือนจะไม่ค่อยแฟร์กับคนเป็นแม่เลยจริงมั้ยคะ? เหตุผลของคุณแม่หลายๆ คนที่เลือกการกลับไปทำงานประจำหลังจากใช้สิทธิ์ลาคลอดจนครบโควต้ามีหลายเหตุผล เช่น ไม่ต้องการละทิ้งอาชีพ แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามการตัดสินใจเป็นแม่ที่ต้องทำงานประจำ ก็เป็นทางเลือกที่ควรชื่นชม หากคุณรู้สึกผิดที่ไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลาก็ถึงเวลาปล่อยมันไปได้แล้วค่ะ ทางที่ดีควรมุ่งเป้าไปที่สิ่งดีๆ ที่ชีวิตการทำงานของคุณมีส่วนช่วยเหลือครอบครัวของคุณให้มีความสุข จงมั่นใจว่าคุณได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทั้งครอบครัว รวมถึงตัวคุณเองแล้ว ด้วยสิ่งนี้ลูกของคุณจะรู้สึกถึงความรัก และเข้าใจในความเสียสละของคุณ

2. หาวิธีที่ช่วยให้สิ่งต่างๆในชีวิตง่ายขึ้น

เพื่อให้คุณสามารถทำงานได้มากที่สุด โดยใช้เวลาน้อยที่สุด คุณควรใช้ทางลัด และการวางแผนงาน ทั้งงานบ้าน งานประจำอย่างมีกลยุทธ์ เช่น สั่งซื้อของใช้ต่างๆ ที่จำเป็น ทางออนไลน์แบบที่มีบริการส่งถึงบ้านซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและทำให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ลืมของสำคัญอะไรไป กำหนดเวลาการประชุมทางโทรศัพท์ระหว่างการเดินทางของคุณและทำธุระอย่างรวดเร็วในช่วงพักกลางวัน เพื่อให้มีเวลาว่างมากขึ้นในระหว่างสัปดาห์ เตรียมชุดใส่ไปทำงานล่วงหน้าเพื่อที่คุณจะได้เพลิดเพลินกับลูกๆ ได้ในตอนเช้า แทนที่จะต้องรีบออกจากบ้านอย่างตาลีตาเหลือก

สร้างสมดุลชีวิต
สร้างสมดุลชีวิต

3.ใช้บริการเนอสเซอรี่ที่ไว้ใจได้

การได้รู้ว่าบุตรหลานของคุณได้รับการดูแลอย่างดีเป็นสิ่งสำคัญต่อความสบายใจเมื่อคุณอยู่ที่ทำงาน ลองหาสถานรับเลี้ยงเด็ก พี่เลี้ยงเด็ก หรือคนที่คุณรู้จักที่คุณไว้วางใจที่จะฝากลูกของคุณไว้กับพวกเขาได้ สถานรับเลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพควรมีชั่วโมงที่ยืดหยุ่น อัตราส่วนของครูต่อจำนวนเด็กที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมที่สะอาดและกว้างขวางมีใบอนุญาตที่น่าเชื่อถือ สำหรับพี่เลี้ยงเด็กให้มองหาคนที่มีประสบการณ์และมีข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ควรให้คนเลี้ยงทดลองงานอย่างน้อยหนึ่งวันเพื่อสังเกตว่าพวกเขาเหมาะสมกับงานหรือไม่  ถ้าเป็นไปได้ให้ติดต่อกันตลอดทั้งวันและขอข้อมูลอัปเดต และขอดูรูปถ่ายลูกของคุณเป็นระยะๆ

แม่โพสต์เตือน! หลัง พี่เลี้ยงเด็ก ทำลูกหัวแตกจนต้องเย็บ

เนอสเซอรี่ เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย

คุณแม่รับสมัครพี่เลี้ยงเด็ก ค่าจ้างปีละ 2.2 ล้าน

4. พูดคุยอย่างเปิดอกกับหัวหน้างาน

การเป็นแม่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นพนักงานที่ทำงานด้วยประสิทธิภาพที่ลดลง อย่างไรก็ตาม หลังจากที่คุณมีลูกแล้ว มันอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างได้ แม่มักจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักเมื่อเด็กป่วยหรือมีนัดต่างๆ  ดังนั้นคุณแม่ที่ทำงานมักต้องการความยืดหยุ่นในตารางเวลาชีวิต แต่คุณแม่ที่เป็นพนักงานที่มีความมุ่งมั่นกับงานสมำเสมอ! พักกลางวันไม่ตรงเวลา ทำงานแม้ในวันหยุดสุดสัปดาห์ผู้หญิงเหล่านี้จะไม่ใช้ลูกมาเป็นข้ออ้างในการเย่อหย่อนต่อหน้าที่การงาน สิ่งสำคัญคือ ต้องแน่ใจว่าคุณได้สื่อสารกับหัวหน้าหรือผู้จัดการของคุณว่าความต้องการของคุณคืออะไร รวมถึงวิธีที่คุณจะทำงานของคุณให้ดีต่อไปได้ตามปกติ เปิดใจคุยกับหัวหน้า ไม่ยากหรอกที่เขาจะเข้าใจ และชื่นชมในความโปร่งใส และความทุ่มเทของคุณต่อทั้งครอบครัวและหน้าที่การงานที่คุณต้องรับผิดชอบ

5. ลดการรบกวน และการเสียเวลา

เวลามักเป็นของล้ำค่า เมื่อคุณเป็นแม่ที่ต้องทำงานประจำ ในที่ทำงานให้คำนึงถึงเวลาที่คุณใช้ในการสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน หากสิ่งนั้นส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของคุณ จำกัดช่วงพักกลางวันที่ยาวนาน และท่องอินเทอร์เน็ตเพื่อให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุดจากเวลาทำงานเมื่ออยู่ที่บ้านให้โฟกัสไปที่คู่ของคุณและลูกๆ ของคุณมากกว่าโทรศัพท์หรือทีวี เพื่อให้แน่ใจว่าเวลาที่ใช้ร่วมกันมีความหมาย

สร้างสมดุลชีวิต

6. อย่าปล่อยให้ชีวิตคู่เหี่ยวเฉา

กุญแจสำคัญ ที่ทำให้ครอบครัวมีความสุขเริ่มต้นด้วยชีวิตแต่งงานที่มีความสุข จงให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของคุณ เพราะมันจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสิ่งอื่น ๆ ถ้าเป็นไปได้ฝากลูกไว้กับปู่ย่าตายายหรือคนที่ไว้ใจได้ และออกไปเดทกันบ้างในคืนวันธรรมดา ทำสิ่งต่างๆ ที่คุณและสามีชอบทำ ก่อนที่จะเป็นพ่อแม่ วางแผนอย่างอื่นนอกเหนือจากอาหารค่ำในสถานที่ปกติของคุณ สนทนาอย่างตรงไปตรงมากับคู่ของคุณที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องงานหรือเด็กๆบ้าง

สร้างสมดุลชีวิต

7. สร้างกิจกรรมครอบครัวที่พิเศษและมีความหมาย

ให้ช่วงเวลาที่คุณใช้ร่วมกับครอบครัวมีค่าอย่างแท้จริงโดยการวางแผนกิจกรรมที่ทุกคนจะรอคอยและเพลิดเพลินไปพร้อมกัน อาจกำหนดให้มี คืนเล่นเกมสำหรับครอบครัวในทุกสัปดาห์ หรือมีวันปิกนิกในสวนหลังบ้าน หรือไปเล่นมินิกอล์ฟ เดินเล่นกับครอบครัวในสวนสาธารณะใกล้บ้าน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เรามีโอกาสได้เคลื่อนไหว และมีการสนทนาที่ดี ลองขอความเห็นจากลูกๆ ของคุณ และให้พวกเขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าพวกเขาอยากทำอะไร หรืออยากจะไปที่ไหนด้วยยิ่งดี

8. ใช้ปฏิทินและการวางแผนล่วงหน้าในการจัดระเบียบชีวิต

ภาระทางจิตใจที่คุณแม่ที่ทำงานประจำต้องรับภาระ เป็นความรับผิดชอบที่ไม่มีใครเข้าใจได้ คุณเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตามการนัดหมายของแพทย์ ลงนามในใบอนุญาตนำอาหารเครื่องดื่ม จำวันเกิด เขียนการ์ดอยู่ด้านบนของเสื้อผ้า และขนาดรู้ว่ามีอะไรอยู่ในตู้เย็นและตู้กับข้าว อย่าปล่อยให้ของกินของใช้ในบ้านหมด  ลองใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยคุณวางแผนชีวิต และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เพื่อย้ำเตือนสิ่งต่างๆ มากมาย ที่คุณต้องทำ และปล่อยน้ำหนักทางจิตใจบางส่วนออกไป หรือจะเพิ่มกิจกรรมลงในปฏิทินที่แชร์ให้สามีทราบถึงกำหนดการต่างๆ ของคุณ และช่วยเหลือคุณได้ง่ายหากทำได้  จำไว้ว่าควรวางแผนล่วงหน้าให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดความฉุกละหุกในนาทีสุดท้าย

9. มอบหมายงานบ้านให้กับทุกๆ คน

ภาระงานบ้านไม่ควรตกอยู่ที่แม่เพียงคนเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีหน้าที่สำคัญในการดูแลลูกวัยแบเบาะ สามีของคุณควรช่วยคุณทำงานบ้านได้อย่างเต็มที่ และหากลูกของคุณโตแล้วให้มอบหมายงานง่ายๆ ให้พวกเขาทำเพื่อพวกเขาจะได้เรียนรู้ที่จะสร้างนิสัยที่ดีตั้งแต่เนิ่นๆ และมีบทบาทอย่างแข็งขันในการมีส่วนช่วยเหลือครอบครัว

8 เคล็ดลับกระตุ้นให้ลูกทำ งานบ้าน เสริมสร้างทักษะชีวิตแต่เล็กมีแต่ได้กับได้

ผลวิจัยชี้ชัด! ผู้ชายทำงานบ้าน จะทำให้ฉลาด สุขภาพแข็งแรง

แนะ! 10 เทคนิค สอนลูกให้ทำงานบ้าน แบบราบรื่น

10. พูดว่า “ได้ค่ะ” ให้น้อยลง

คุณไม่จำเป็นต้องตอบตกลงทุกคำเชิญของปาร์ตี้ที่ทำงาน หากมันทำให้คุณวิตกกังวลมากกว่าเพลิดเพลินหรือมีความสุข พิจารณาว่าตารางเวลาของคุณสามารถจัดการความเหมาะสมได้มากน้อยเพียงใด ควรเลือกกิจกรรมที่บุตรหลานของคุณชอบมากที่สุด อย่ารู้สึกแย่กับการปฏิเสธเพื่อนๆ หรือหัวหน้าที่ทำงาน เพราะหากคุณไม่รู้จักการปฏิเสธ จะทำให้คุณโดนแย่งเวลาชีวิต และสูญเสียความเป็นส่วนตัวไปโดยใช่เหตุ

11. ลดความคาดเพอร์เฟกลงบ้าง

คุณแม่บ้างคนอาจติดกับตำแหน่งแม่ครัวมือหนึ่งที่ต้องปรุงอาหารที่ดีต่อสุขภาพและอร่อยในทุกวัน หรือต้องดูแลบ้านให้สะอาดไม่มีที่ติ และต้องการเป็นแม่ที่สมบูรณ์แบบ จริงๆ หากจะว่าไปแล้วไม่มีใครที่เรียกร้องสิ่งต่างๆ มากเท่าที่คุณเรียกร้องจากตัวคุณเอง เมื่อคุณลดความคาดหวังลงบ้าง คุณจะพบว่าคุณจะสามารถขจัดความเครียดที่ไม่จำเป็นมากมายออกไปได้ บ้านของคุณไม่จำเป็นต้องสะอาดสะอ้านทุกครั้งที่มีแขกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าแขกมีลูกๆ มาด้วย การซื้อคุกกี้เข้าบ้านแทนการอบด้วยตัวเองไม่ได้ทำให้คุณเป็นแม่ที่ไม่ดี อาหารที่ปรุงเองที่บ้านทุกวันแม้จะเป็นสิ่งที่ดี แต่อาหารที่ซื้อจากนอกบ้านก็สามารถเลี้ยงครอบครัวของคุณได้เช่นกัน

12. หาเวลาให้ตัวเองบ้าง

การหาเวลาให้ตัวเองเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความสงบภายในและความสมดุลชีวิต ท่ามกลางสภาพแวดล้อมการทำงานและชีวิตที่วุ่นวาย คุณแม่ส่วนใหญ่อาจมีนิสัยที่ไม่ดี ในการเอาความต้องการของตัวเองเป็นอันดับสุดท้าย เพื่อดูแลคนอื่นๆ ก่อน แต่ถ้าคุณไม่ดูแลตัวเองคุณจะคาดหวังได้อย่างไรว่าจะดูแลใครได้ดี? หาเวลาให้ตัวเองเป็นประจำ และทำกิจกรรมที่จะทำให้คุณผ่อนคลายและเติมพลัง และเกิดแนวคิดดีๆ บางอย่าง เช่น การทำสมาธิ โยคะ การออกกำลังกายการอ่านการเขียน การพูดคุยกับเพื่อนๆ หรือการปรนเปรอตัวเอง หรือลองเขียนลงในสมุดบันทึกแสดงความขอบคุณ มันจะช่วยให้คุณ มองสิ่งต่าง ๆ อย่างซาบซึ้งมากขึ้น และทำให้ความกังวลและความวิตกกังวลทุเลาลงได้ค่ะ

13. แบ่งปันสารทุกข์สุขดิบกับคุณแม่ที่ทำงานประจำคนอื่น ๆ บ้าง

คุณไม่ได้อยู่คนเดียว มีคุณแม่วัยทำงานหลายล้านคนที่ต้องเผชิญกับสิ่งเดียวกันกับคุณในแต่ละวัน คุณแม่ที่ทำงานเต็มเวลามีความยืดหยุ่นมากขึ้นในระหว่างสัปดาห์ในการจัดมีตติ้ง แต่คุณแม่ที่ทำงานก็สามารถมีชุมชนประเภทเดียวกันได้เช่นกัน ลองหาเพื่อนร่วมงานที่เป็นแม่ที่ต้องทำงานประจำเหมือนกัน เพราะพวกเธอคือผู้หญิงที่คุณจะสามารถมีความสัมพันธ์ในระดับที่แตกต่างไปจากเดิม นัดเจอกลุ่มแม่ๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือเดินเล่นด้วยกันหลังเลิกงาน การได้หัวเราะและร่วมกันแบ่งปันเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆ กับผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันจะทำให้ชีวิตคุณไม่เครียดจนเกินไปค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : lifehack.org

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เทคนิค บริหารเวลาส่วนตัว เวลาแม่น้อยต้องใช้สอยให้คุ้ม!

3 สเต็ปพร้อม…ก่อนแม่กลับไปทำงาน หมดปัญหาไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน

อยาก มีลูกคนที่สอง ต้องวางแผนการเงินอย่างไรดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up