เด็ก 1-3 ปี
พัฒนาการเด็กเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งในวัย เด็ก 1-3 ปี เด็กจะ พูดจาโต้ตอบได้ดี เคลื่อนไหวของร่างกายได้มากขึ้น ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้
รวมเหตุ “ความกลัว” ของวัย 1-3 ปี
ย่างเข้าสู่ขวบปีที่ 2 พัฒนาการของลูกจะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เป็นหนังคนละม้วนกับขวบปีแรกทีเดียว ด้วยพัฒนาการนี้เองเป็นที่มาต่างๆ ของความกลัวร้อยแปด…
สอนลูกเตาะแตะรู้จักคำว่า “โกง”
เด็กวัยก่อนเรียนมีธรรมชาติของการพยายามสร้างกฎใหม่ๆ ตามใจชอบ เพราะอยากชนะเป็นหลัก เราจึงมีวิธีให้คุณพ่อคุณแม่แก้นิสัยนี้แบบง่ายๆ มาฝากกัน
พาลูกน้อยวิ่งฝ่า “ความกลัว”
ความกลัวของเด็กวัยเตาะแตะทั้งที่มีเหตุผลและดูไม่มีเหตุผล มีสาเหตุ*อาจนำไปสู่ผลเสียต่อพัฒนาการต่างๆ ได้ วิธีรับมือก็คือ…
เมื่อ ” แม่ ” แอบอิจฉาพี่เลี้ยง
ดิฉันให้คุณแม่เลี้ยงลูกวัย 1 ขวบในตอนกลางวันที่ไปทำงาน ตอนนี้ลูกชอบไปอ้อนคุณยายมากกว่า จนดิฉันเกิดความรู้สึกอิจฉา จะทำอย่างไรดีคะ จะส่งลูกไปอยู่ที่เนิร์สเซอรี่แทนคุณยายดีไหม
“ฝึกทักษะการเข้าสังคม” ก่อนเปิดเทอม
จากจอมซนที่อยู่บ้านมีแต่ผู้ใหญ่ประคบประหงม ทำโน่นทำนี่ให้ตลอด เจ้าตัวเล็กกำลังจะเข้าโรงเรียน จะต้องไปอยู่กับเด็กๆ วัยเดียวกันวันละหลายๆ ชั่วโมง และต้องทำตามกฎกติกาของคนหมู่มาก
3 วิธีสยบลูก เมื่อไม่ยอมฟังคำสั่ง
1. มั่นใจในตัวเองเข้าไว้ สิ่งที่คุณบอกไม่ใช่คำขอร้องหรือข้อเสนอแนะ แต่เป็น “คำสั่ง” ดังนั้นเมื่อคุณจะบอกให้ลูกทำอะไร ใช้น้ำเสียงที่จริงจังและอย่าเปิดโอกาสให้เขาโต้แย้ง 2. ประสานสายตา ก่อนที่จะบอกให้ลูกทำอะไร ขยับเข้าไปใกล้และประสานสายตากับเขา อย่าเพิ่งออกปากสั่งจนกว่าลูกจะหันมามองตาคุณ 3. ชัดเจน บอกลูกว่า “แม่อยากให้หนูทำ…และ…” รอจนกระทั่งลูกตอบว่า “โอเค” หรือ “ไม่เอา” ก่อน ถ้าเขาไม่ยอมทำตามหรือทำเป็นไม่ได้ยิน ทวนคำสั่งอีกครั้งโดยไม่แสดงอาการโกรธหรือหงุดหงิด ลูกจะรู้ว่าคุณตั้งใจให้เขาทำสิ่งนั้นๆ จริงๆ และจะไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตามด้วย บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง
9 เทคนิค ฝึกลูกให้รักการกิน
1. เสิร์ฟอาหารทีละน้อยๆ ถ้ากลัวลูกไม่อิ่มค่อยเติมให้อีกทีหลัง 2. ไม่เสิร์ฟของว่างระหว่างมื้อ 3. จำกัดเครื่องดื่มระหว่างมื้อและในมื้ออาหาร ของเหลวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำผลไม้ นม หรือแม้แต่น้ำเปล่าก็กินพื้นที่ในกระเพาะทั้งนั้น 4. ลอง Finger Food การกินอาหารเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เรื่องความมั่นใจในตัวเอง หนูๆ จะกินได้มากขึ้นถ้าเขาสามารถควบคุมจังหวะหรือปริมาณของอาหารที่จะเอาเข้าปากได้ 5. ทำให้น่าสนใจขึ้น เช่น เพิ่มสีสัน รูปร่าง หรือพื้นผิวของอาหารให้หลากหลาย 6. รับประทานด้วยกัน ถ้าเจ้าจอมซนต้องนั่งกินอาหารคนเดียว เขาอาจคิดว่าตนเองถูกกักขังและบังคับ เพราะฉะนั้น ชวนทุกคนในบ้านมากินข้าวพร้อมกันดีกว่า 7. ปิดทีวี 8. ชวนเพื่อนๆ ของลูกมากินข้าวหรือขนมด้วยกัน (บางมื้อ) เด็กๆ จะรู้สึกสนุกกับการกินอาหารมากขึ้น 9. รอดูท่าที เสิร์ฟอาหาร และรออยู่เงียบๆ สัก 20 นาที หากว่าลูกยังไม่ยอมแตะช้อนจึงค่อยออกปากเตือน ถ้าลูกยังไม่ยอมฟังก็เก็บโต๊ะไปได้เลย […]
หาวิธีบอกลูกเตาะแตะ เมื่อแม่เล่นด้วยไม่ได้
บางเวลาคุณก็เล่นกับลูกไม่ได้ หรือไม่ว่างจะเล่นด้วยจริงๆ แม้จะรู้ว่าช่วงที่เราเล่นกับลูกเป็นเวลาสำคัญของการพัฒนาทักษะต่างๆ ของลูก และเพิ่มพูนความผูกพันของคุณกับลูก เรามีวิธีแก้ปัญหานี้มาฝาก
มื้อนี้กินอะไรดีหนอ (หนูขอตัวช่วย)
ถามเจ้าตัวเล็กวัย 2 ขวบว่ามื้อนี้จะกินอะไรดี หนูน้อยนิ่งไปอึดใจ ก่อนตอบว่า “บะหมี่”
อย่าเพิ่งเบื่อ ถ้าลูกจะถามเยอะ
ลูกวัยเตาะแตะถามดิฉันวันละเป็นร้อยๆ ครั้งเลยค่ะว่า “นั่นอะไร” ทั้งๆ ที่บางอย่างเขาก็รู้คำตอบอยู่แล้ว ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรคะ
เล่นกับลูกแรงไป ใช่ว่าดี
สามีชอบเล่นกับลูกแรงๆ เพราะคิดว่าจะทำให้เขาแข็งแกร่งขึ้น แต่ทำไมลูกดูท่าทางตกอกตกใจเสียเหลือเกินคะ
แค่ชวนลูกคุย ก็เพิ่มการเรียนรู้ได้
ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา คุณเป็นฝ่ายคุยกับลูกเพียงคนเดียว แต่ตอนนี้ลูกจะเป็นฝ่ายพูดตอบคุณแล้วละ การที่จะฝึกลูกพูดเก่งขึ้น วิธีที่ดีที่สุดคือ ชวนลูกพูดคุย
จัดการวิธีไหนให้ลูกยอมกินข้าว
จะทำอย่างไรให้จอมซนประจำบ้านยอมนั่งกินข้าวที่โต๊ะดีๆ คะ คุณแม่จับนั่งทีไร เขาก็จะร้องไห้โวยวายทุกครั้ง
ลูกโกรธทีไร ใช้กำลังทุกที
คุณพร่ำสอนเจ้าตัวเล็กว่าการทุบตีเป็นสิ่งไม่พึงกระทำ แต่บางครั้งหนูน้อยก็ยังพลั้งเผลอ เหวี่ยงมือไม้ไปถูกตัวชาวบ้านเขาอยู่ดี
ไกวอย่างนี้สิสนุก (และปลอดภัย)
เมื่อน้องจูนวัย 3 ขวบได้เล่นชิงช้าแบบเด็กโตครั้งแรก คุณแม่เดือนบอกว่า “ดิฉันบอกลูกให้จับให้แน่นและไกวให้ลูกเบาๆ ค่ะ
สอนลูกเตาะแตะให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา
การรับรู้ความรู้สึกของคนอื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรานั้นสำคัญ เพราะลูกเราไม่ได้อยู่เพียงคนเดียวบนโลกใบนี้ เขาต้องสื่อสารและใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นอีกมากมายในสังคม
วิธีจัดเพลย์กรุ๊ป ไม่ให้ป่วน
อยากให้ลูกเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกันแถวๆ บ้าน หรือเล่นกับลูกๆ ของเพื่อนคุณ แบบเพลย์กรุ๊ป (Playgroup)
สอนลูกเตาะแตะให้ถนอมของกันหน่อย
ลูกมักจะชอบกำหนังสือจนยับหรือหักดินสอสี ดิฉันจะสอนลูกให้รักษาของต่างๆ ของเขาอย่างไรดีคะ