GEN ME กับ การ หลงตัวเอง

GEN ME!!Genที่ หลงตัวเอง คุณกำลังเลี้ยงลูกให้เป็นอยู่หรือเปล่า

Alternative Textaccount_circle
event
GEN ME กับ การ หลงตัวเอง
GEN ME กับ การ หลงตัวเอง

ทำไมเด็ก GEN ME ถึงมีความ หลงตัวเอง มากกว่ารุ่นอื่น ??

  • ความเจริญของเทคโนโลยี และสื่อต่าง ๆ 

ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้สื่อ เพราะเด็กยุคนี้เติบโตมากับความเจริญของเทคโนโลยี ยิ่งใช้โซเชียลในชีวิตประจำวันมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้เขามีพฤติกรรมหลงตัวเองมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Line, twitter,Tiktok หรือสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ สื่อเหล่านี้ถูกผลิตมาเพื่อคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ ด้วยรูปแบบการใช้งานที่ง่าย ทำให้เด็กสามารถแสดงตัวตนได้อย่างเต็มที่ ทั้งการโพสต์รูป การส่งต่อข้อมูลกันอย่างมากมาย รวมถึงการคอมเมนต์ และการสร้างความสัมพันธ์ผ่านทางโลกออนไลน์กับบทสนทนาของคนแปลกหน้า เด็กหลายคนจึงสรรหาการยอมรับผ่านโซเชียลมีเดีย แล้วเฝ้ามองการตอบสนองจากยอดไลก์

เด็กโตมากับสังคมโซเซียลมีเดีย และเทคโนโลยี
เด็กโตมากับสังคมโซเซียลมีเดีย และเทคโนโลยี
  • สังคมเน้นการแข่งขัน และรางวัล

รายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย อย่างรายการประกวดร้องเพลง รายการแข่งเต้น หรือเวทีที่ใช้ความสวยงาม ความสามารถ เด็กที่เติบโตมากับสื่อความบันเทิงประเภทนี้ จะถูกหล่อหลอมว่า ผู้คนพยายามพลิกผันชะตาชีวิตจากคนธรรมดาทั่วไปสู่การเป็นคนดังมีชื่อเสียงในสังคม ได้รับรางวัลแห่งชัยชนะ การเป็นคนดังจึงกลายเป็นความฝันของผู้คนรุ่นใหม่ และเด็กถูกปลูกฝังค่านิยมการทำทุกอย่างโดยได้รับรางวัลและการประกาศเกียรติคุณ พวกเขาเลยให้ความสำคัญตัวเองมากยิ่งขึ้น เสพติดความสำเร็จแบบสำเร็จรูปมากขึ้น

  • การเลี้ยงดู

การเลี้ยงดูก็มีความสำคัญที่จะทำให้เด็กเห็นตัวเองเป็นศูนย์กลาง พบว่าเด็กในยุคปัจจุบันเติบโตมากับพ่อแม่ Baby Boomer ที่มีโอกาสเลี้ยงดูและใช้เวลากับเด็กค่อนข้างน้อย บางคนผ่านความยากลำบากมาก็ไม่อยากให้ลูกหลานตกอยู่ในความยากลำบากเช่นกัน เด็กอยากได้อะไรก็ซื้อให้ เพราะตัวเองเคยอยู่ในภาวะที่ยากลำบากมาก่อน เด็กจึงเติบโตมากับเรื่องของวัตถุสิ่งของ ความเข้าใจในเรื่องจิตใจของคนอื่นเลยลดน้อยลง

  • Self Esteem ที่มากเกินไป

นอกจากนี้พ่อแม่ยุคใหม่อาจจะพยายาม ๆ ที่จะสร้างสิ่งที่เรียกว่า Self-Esteem ความนับถือตัวเองให้กับเด็ก ๆ นิยมสอนลูกแบบให้กำลังใจตลอดเวลา กีดกันไม่ให้เด็กได้เรียนรู้การพ่ายแพ้ โดยพ่อแม่บางคนจะพยายามทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ลูกได้รับชัยชนะ ไม่เคยได้พบกับประสบการณ์การผิดหวัง ทำให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก แต่ในแง่ลบเด็กจะไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวทำแล้วจะผิดพลาดทำให้ภาพลักษณ์ตัวเองเสีย เนื่องจากคนรอบข้างต่างพากันชมว่าเขาเป็นคนฉลาดอยู่ตลอดเวลา จึงแสดงออกด้วยท่าทางการ หลงตัวเอง เพื่อเก็บกดความกังวลนั้นไว้ หลายคนเริ่มเข้าใจว่าคำชมดีกว่าตำหนิ แต่การชมที่เยอะเกินไปก็นำผลที่ไม่ดี ทำให้เด็กคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลาง ตัวเองคือคนที่เจ๋งกว่าใคร ตัวเองคือคนที่ตำหนิไม่ได้ เพราะฉะนั้นการชมที่ไม่ถูกต้องก็นำไปสู่การหลงตัวเองของเด็ก ๆ ได้

โรค หลงตัวเอง
โรค หลงตัวเอง

ทำความรู้จัก “โรคหลงตัวเอง”

โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder หรือ NPD) เป็นโรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดหนึ่ง มักแสดงออกว่าเป็นคนที่เชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่ยอมรับในผู้อื่น ก่อให้เกิดพฤติกรรมต่อต้านสังคม เช่น การโอ้อวด การเรียกร้องความสนใจ การดูถูกดูแคลนผู้อื่น การไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และการบังคับผู้อื่นให้ทำตามสิ่งที่ตนต้องการ 

นักวิจัยมองว่า ผู้หลงตัวเองกลุ่มที่ยกตนให้เหนือผู้อื่น เป็นหนึ่งในโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) ประเภทที่ไม่มีความรู้สึกผิด และไม่รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนได้กระทำ ซึ่งเรียกกันว่า ไซโคพาธ (Psycohopath) แต่ไม่ว่าจะจัดอยู่ในกลุ่มใด คนหลงตัวเองอย่างสุดโต่งมักอาศัยพฤติกรรม เช่น การโกหก การข่มขู่ การด้อยค่า การให้ร้าย การควบคุมทางจิตใจ หรือแม้กระทั่งการทำร้ายร่างกายผู้อื่น เพื่อให้ตนได้เป็นจุดศูนย์กลาง และอยู่เหนือผู้อื่น

วิธีการรักษา

คนกลุ่มนี้ต้องได้รับการบำบัดจิตในระยะยาว เพื่อเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนมุมมอง อาจมีการใช้ยาแล้วแต่กรณีไป ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาจากการเป็นโรคนี้คือทำให้เข้ากับคนอื่นได้ยาก ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมลำบากนำมาซึ่งความเครียด และอาจมีอาการซึมเศร้าได้ง่าย

อย่าเลี้ยงลูกกับสมาร์ทโฟน
อย่าเลี้ยงลูกกับสมาร์ทโฟน

อ่านมาถึงจุดนี้ อาจเริ่มรู้สึกว่าการเป็นเด็กรุ่นใหม่นี้มีแต่เรื่องแย่ ๆ จริงหรือ แต่จริงๆ แล้วคนที่มีอายุอยู่ในช่วงชาว GEN ME ทั้งหลาย อย่าเพิ่งตระหนกตกใจ เพราะหากเรามีทัศนคติที่ไม่ได้เข้าข่ายที่จะก่อให้เกิดการ หลงตัวเอง คนรุ่นใหม่ก็ยังมีข้อดีอยู่หลายข้อในน่าชื่นใจกันนะ เช่น เราสามารถใกล้ชิดพ่อแม่ได้แม้จะอยู่ห่างไกล เพราะมีเทคโนโลยีที่เข้าถึง และสามารถมีความรู้กว้างขวาง รู้หลายๆ เรื่องราว จากการหาข้อมูลที่มีมากมายบนโลกอินเตอร์เนต และการที่จะหลงเชื่อในสิ่งที่ผิด ๆ หรือไม่นั้น คงต้องอยู่ที่ความเปิดใจรับฟังความเห็นต่าง การไม่ยึดแต่ตนเองเป็นที่ตั้ง การมีทักษะที่ดีในการใช้ชีวิต ซึ่งจุดนี้ คุณพ่อคุณแม่คงต้องย้อนมาดูวิธีการเลี้ยงดู ปลูกฝังลูก ๆ ของเรากันดูแล้วละว่า เราได้มีการเลี้ยงดูที่เหมาะสมและถูกวิธี มีการปลูกฝังทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับวัยให้แก่ลูกดีพอหรือยัง เมื่อถึงวันที่กระแสบริโภคนิยมเข้ามาปะทะตัวเด็กเต็ม ๆ มีสื่อไฮเทคเข้ามาถึงบ้าน ทักษะชีวิตที่ได้รับการปลูกฝังมาดี มันจะทำหน้าที่ป้องกันตัวให้กับลูกได้เป็นอย่างดี

พ่อแม่ควรอ่าน>> นักจิตวิทยาแนะวิธีเลี้ยงลูกให้ห่างไกล ภัยจากโซเซียลมีเดีย

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up