เรียน ว่ายน้ำ ตอนอายุกี่ขวบดี

เด็กจมน้ำพลูวิลล่าอีกราย!แบบนี้ควรเริ่มเรียน ว่ายน้ำ กี่ขวบ

Alternative Textaccount_circle
event
เรียน ว่ายน้ำ ตอนอายุกี่ขวบดี
เรียน ว่ายน้ำ ตอนอายุกี่ขวบดี

ว่ายน้ำ ให้เป็นทักษะชีวิตในการเอาตัวรอดปลอดภัยที่เด็ก ๆ ควรเรียนรู้ เมื่อมีข่าวเด็ก จมน้ำ พลูวิลล่าหลายราย ทำเอาคนโซเซียลเกิดคำถามควรให้เริ่มเรียนตอนกี่ขวบ

เด็กจมน้ำพลูวิลล่าอีกราย!แบบนี้ควรเริ่มเรียน ว่ายน้ำ กี่ขวบ??

จมน้ำ (Drowning / Submersion Injury) คือ ภาวะความบกพร่องระบบทางเดินหายใจอันเกิดจากการจมอยู่ใต้น้ำ ก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมง จากข่าวเศร้าที่ปัจจุบันเกิดเป็นประจำให้พบเห็นเกี่ยวกับการจมน้ำนั้น ทำให้ผู้ใหญ่เริ่มตระหนักถึงภัยจากน้ำ การจมน้ำในเด็ก ที่ใกล้ตัวกว่าที่เราคาดคิด

ข่าวเด็กจมน้ำเสียชีวิต เกิดถี่เฉลี่ยเดือนละ 4 คน

เหตุสลดเด็ก 7 ขวบ จมสระน้ำในพูลวิลล่า เสียชีวิตที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ล่าสุดทางผู้ปกครองไม่ติดใจการเสียชีวิต โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับเด็กชายที่พักอาศัยอยู่ในละแวกพูลวิลล่าเกิดเหตุ คาดว่าเด็กที่จมน้ำได้แอบปีนรั้วเข้ามาในบ้านพัก และเกิดพลัดตกลงไปในสระน้ำเสียชีวิต เมื่อผู้ดูแลที่พักมาพบได้แจ้งไปยังผู้ปกครอง สำหรับเหตุการณ์จมน้ำเสียชีวิตมีหลายกรณีที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ทีมกู้ภัยทางน้ำ ต้องงมหาร่างผู้เสียชีวิตเฉลี่ยเดือนละ 4-5 ราย ซึ่งถือเป็นภัยใกล้ตัวที่หลายคนละเลย

เด็ก จมน้ำ ว่ายน้ำ ไม่เป็น อันตราย
เด็ก จมน้ำ ว่ายน้ำ ไม่เป็น อันตราย

ผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำขณะนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กก่อนวัยเรียน และกลุ่มอายุ 13-14 ปี สถิติเฉลี่ยผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำเดือนละ 4-5 ศพ อุบัติเหตุจากการจมน้ำถือเป็นภัยเงียบ ที่หลายคนไม่ทันระวัง เพราะคนทั่วไปมักจะระวังอุบัติเหตุที่อยู่บนบก ยิ่งช่วงฤดูฝนจะมีเหตุเกิดขึ้นมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดจะมีการไปหาปลาแล้ววูบหมดสติจมน้ำเสียชีวิต ส่วนเด็กมักเกิดเหตุจากการชวนกันไปเล่นน้ำ หรือครอบครัวประมาทจนเด็กจมน้ำในบริเวณบ้าน

ที่มา : https://www.thairath.co.th

ระดับของการเกิดภาวะต่างๆ จากการจมน้ำ

  • Near Drowning คือ ภาวะรอดชีวิตจากการจมน้ำ โดยผู้ป่วยอาจรอดชีวิตเป็นเวลามากกว่า 24 ชั่วโมงหรือรอดชีวิตเพียงชั่วขณะ ภาวะนี้ถือเป็นภาวะก่อนจมน้ำเสียชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
  • Secondary Drowning คือ ภาวะแทรกซ้อนจากการจมน้ำ โดยมีน้ำเข้าไปในปอดผู้ป่วย ทำให้ปอดบวมหรืออักเสบ ส่งผลให้ร่างกายแลกเปลี่ยนออกซิเจนและหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปได้ยาก ผู้ที่ประสบภาวะนี้จะแสดงอาการออกมาหลังผ่านไปนานกว่า 24 ชั่วโมง
  • Dry Drowning  คือ ภาวะจมน้ำที่มีน้ำเข้าปากหรือจมูก ส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจกระตุกและปิดลง ภาวะนี้มักเกิดขึ้นทันทีหลังจมน้ำ
  • Immersion Syndrome คือ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันจากการจมน้ำที่เย็นมาก ซึ่งอาจเกิดจากการตอบสนองของระบบประสาทร่วมกับการบีบตัวของหลอดเลือด

สถิติที่พบ จะพบว่า ผู้ใหญ่และเด็กจะประสบอุบัติเหตุจมน้ำในที่ที่เล่นน้ำแตกต่างกัน

  • ทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี มักจมน้ำขณะอาบน้ำในอ่างอาบน้ำสำหรับเด็ก
  • เด็กเล็กอายุ 1–5 ปี มักจมน้ำในสระว่ายน้ำ
  • ผู้ใหญ่มักเสี่ยงจมน้ำเมื่อเล่นกีฬาหรือกิจกรรมผาดโผนทางน้ำ หรือเล่นน้ำในสระว่ายน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน ลำคลอง หรือแม่น้ำ

ช่วยคนจมน้ำถูกวิธี โอกาสรอดสูง!!

เมื่อเราพบเห็นคนจมน้ำ แม้จะมีข้อแนะนำว่าให้ควรช่วยเหลือทันที แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะไปช่วยเหลือคนจมน้ำ ควรจะรู้วิธีช่วยคนจมน้ำที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยต่อคนจมน้ำ และตัวผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือเองอีกด้วย

เด็กชอบเล่นน้ำ ว่ายน้ำ
เด็กชอบเล่นน้ำ ว่ายน้ำ
  • ควรใช้อุปกรณ์ที่มีด้ามจับยาวหรือเชือกโยนลงไปให้ผู้ที่จมน้ำจับในกรณีที่ยังมีสติ หรือว่ายลงไปในน้ำเพื่อนำตัวผู้ที่จมน้ำขึ้นมา โดยมีวิธีในการดึงคนจมน้ำเข้าฝั่ง ดังนี้
    • ดึงเข้าหาฝั่งโดยการกอดไขว้หน้าอก วิธีการนี้ผู้ช่วยเหลือ ต้องเข้าด้านหลังผู้จมน้ำ ใช้มือข้างหนึ่งพาดบ่าไหล่ด้านหลังไขว้ทะแยงหน้าอก จับข้างลำตัวด้านตรงข้ามผู้จมน้ำ มืออีกข้างใช้ว่ายเข้าหาฝั่ง ในขณะที่พยุงตัวผู้จมน้ำเข้าหาฝั่งต้องให้ใบหน้า โดยเฉพาะปาก และจมูกผู้จมน้ำอยู่พ้นเหนือน้ำ
    • วิธีดึงเข้าหาฝั่งด้วยวิธีจับคาง เป็นวิธีที่ผู้ช่วยเหลือเข้าด้านหลังของผู้จมน้ำ ใช้มือทั้ง 2 ข้าง จับขากรรไกรทั้ง 2 ข้างของผู้จมน้ำ แล้วใช้เท้าตีน้ำช่วยพยุงเข้าหาฝั่ง และพยายามให้ใบหน้าของผู้จมน้ำลอยเหนือผิวน้ำ
    • วิธีดึงเข้าฝั่งด้วยวิธีจับผม ผู้ช่วยเหลือเข้าด้านหลังผู้จมน้ำ ใช้มือข้างหนึ่งจับผมผู้จมน้ำไว้ให้แน่น แล้วใช้มืออีกข้างว่ายพยุงตัวเข้าหาฝั่ง โดยที่ปาก และจมูกผู้จมน้ำลอยเหนือผิวน้ำ วิธีเหมาะสำหรับผู้ที่ดิ้นมาก หรือพยายามกอดรัดผู้ช่วยเหลือ
  • ควรทำซีพีอาร์ให้แก่ผู้ที่จมน้ำทันทีในกรณีที่หยุดหายใจ โดยผายปอดและปั๊มบริเวณทรวงอก เพื่อช่วยให้เลือดลำเลียงออกซิเจนได้มากขึ้น
  • ห้ามขยับบริเวณคอหรือศีรษะผู้ที่จมน้ำ โดยเฉพาะขณะหมดสติ เนื่องจากผู้ประสบเหตุอาจได้รับบาดเจ็บที่คอหรือกระดูกสันหลัง
  • หากผู้ประสบเหตุจมน้ำในน้ำเย็น ควรถอดเสื้อผ้าที่เปียกออกและคลุมด้วยเสื้อผ้าอื่น ๆ หรือผ้าห่ม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะตัวเย็นเกิน
  • ควรโทรเรียกรถพยาบาลให้นำตัวส่งแพทย์เพื่อดูแล และรักษาต่อ

อ่านต่อ>> สมาคมกุมารแพทย์แนะ เด็กควรเริ่มเรียน ว่ายน้ำ ตอนอายุเท่าไหร่ดี คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up