ยาแก้ไอ

ยาแก้ไอ สำหรับเด็ก เลือกอย่างไรปลอดภัยต่อลูกรัก

Alternative Textaccount_circle
event
ยาแก้ไอ
ยาแก้ไอ

เมื่อลูกเกิดอาการไอ ควรให้ลูกรับประทานยาเมื่อไหร่ ลักษณะอาการไอแบบไหนควรให้รับประทานยา ยาแก้ไอ มีกี่ชนิด เมื่อไหร่ควรพาลูกพบแพทย์

ยาแก้ไอ สำหรับเด็ก เลือกอย่างไรปลอดภัยต่อลูกรัก

การเจ็บป่วยของลูก ทำให้คุณพ่อคุณแม่วิตกกังวล แม้จะมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากละเลยไม่รักษา อาจทำให้เกิดอาการเรื้อรังได้ เช่น อาการไอ ซึ่งคุณหมอมักได้รับคำถามว่า ลูกมีอาการไอให้รับประทาน ยาแก้ไอ อะไรดี วันนี้ทีมกองบรรณาธิการ ABK ได้รวบรวมคำตอบมาให้แล้วค่ะ

ยาแก้ไอ สำหรับเด็ก
ยาแก้ไอ สำหรับเด็ก

ยาแก้ไอ สำหรับเด็ก เลือกอย่างไรปลอดภัยต่อลูกรัก

อาการไอ เกิดจากสาเหตุใด

ไอเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในทางเดินหายใจ อาจจะเป็นฝุ่นละอองหรือเสมหะที่เกิดจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ ร่างกายจะกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ โดยการไอออกมา สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่่ทำให้ไอเรื้อรังคือ การมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลม

สาเหตุของการเกิดอาการไอในเด็ก

  • สาเหตุจากการติดเชื้อ เช่น
    • เชื้อไวรัส อาการเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น หวัดโพรงจมูกและโพรงไซนัสอักเสบเฉียบพลันหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น
    • เชื้อแบคทีเรีย อาจทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม
    • เชื้อวัณโรค 
  • สาเหตุที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น
    • ภูมิแพ้โพรงจมูก
    • โพรงไซนัสอักเสบเรื้อรัง
    • โรคหืด
    • หลอดลมไวมากกว่าปกติ
    • กรดไหลย้อน
    • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
    • ความผิดปกติของโครงสร้างหลอดลม
    • นอนกรน
    • สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
    • ภาวะสำลักอาหารเรื้อรัง
    • โรคหัวใจบางชนิด
    • การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อากาศเป็นพิษ เช่น ควันบุหรี่สารเคมีควันจากการเผาไหม้
    • ความผิดปกติบางอย่างทางจิตใจ 
    • ฯลฯ 

ลักษณะอาการไอ

  • ไอแห้ง ๆ จากการระคายเคือง
  • ไอเปียก ๆ จากมีเสมหะหรือน้ำมูกลงคอ

ควรทำอย่างไรเมื่อเด็กเกิดอาการไอ

เด็กอาจมีอาการไอมาก แต่ไอไม่ออก ไอจนเหนื่อย หรือไอจนปวดท้อง อาการไอก็ยังคงอยู่ ทั้งนี้เนื่องจากเสมหะที่เหนียวมาก

การไอไม่ถูกวิธี มีเสมหะที่ค้างอยู่ในหลอดลม อาจเปรียบเสมหะเหมือนกับซอสมะเขือเทศที่เหลือติดอยู่ที่ก้นขวด การจะเอาออกมาต้องคว่ำขวดแล้วใช้สันมือเคาะที่ก้นขวด  เช่นเดียวกันกับเสมหะที่อยู่ในหลอดลม ต้องจัดท่านอนหรือนั่งในแนวที่ทำให้เสมหะไหลออกมาสะดวก จากนั้นต้องมี การเคาะ เพื่อให้เสมหะหลุดออกจากหลอดลม การสั่นสะเทือน เพื่อกระตุ้นการไอ ตลอดจนฝึก การไอ อย่างมีประสิทธิภาพเสมหะจึงหลุดออกมาได้

ในกรณีเด็กเล็กที่ไม่สามารถเอาเสมหะออกมาเองได้ การเคาะและไออย่างถูกต้อง จะช่วยให้เสมหะหลุดออกจากหลอดลมได้ หากมีเสมหะมาก ๆ ในเด็กเล็กอาจต้องใช้ลูกยางเบอร์ 1 ช่วยดูดเสมหะในปาก หากมีบางส่วนกลืนลงไปบ้าง ร่างกายก็จะขับออกมาเองได้

3 ท่าเคาะปอด กระตุ้นให้เด็กไอหรือระบายเสมหะออกจากหลอดลม

การเคาะควรทำเมื่อเด็กมีอาการ ไอ มีเสมหะมาก หายใจเสียงดังครืดคราด และเด็กยังไม่สามารถระบายเสมหะได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้สามารถช่วยลดความเหนียวของเสมหะ โดยการให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ

การเตรียมตัว สั่งน้ำมูก คายหรือดูดเสมหะที่มีในจมูกและปากออกมาก่อน ทั้งนี้ควรทำก่อนอาหารหรือหลังอาหาร  1 ชม.ครึ่ง – 2 ชม. เพื่อไม่ให้อาเจียนหรือสำลัก

ท่าที่1  อุ้มลูกให้หันหน้าเข้าหาอกคุณพ่อคุณแม่ ให้ศีรษะลูกพาดบนไหล่พ่อแม่ แล้วเคาะด้านหลังส่วนบนเหนือกระดูกสะบักขึ้นไป หลีกเลี่ยงการเคาะบริเวณกระดูกสะบัก

ท่าที่ 2  จัดท่านอนหงาย ให้ศรีษะหนุนหมอน ใช้ผ้าบางรองบริเวณหน้าอก เคาะบริเวณระดับไหปลาร้าถึงใต้ราวนม
หลีกเลี่ยงการเคาะบริเวณกระดูกหน้าอก

ท่าที่ 3  จัดท่าให้ลูกนอนตะแคง ยกแขนลูกขึ้นไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วเคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้าง ต่ำจากรักแร้ลงมาเล็กน้อย

ทั้งนี้ควรนำผ้าบาง ๆ มาวางบริเวณที่เคาะ เพื่อช่วยลดแรงกระแทก ควรเคาะโดยการใช้อุ้งมือ ต้องเคาะเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ และใช้เวลาเคาะแต่ละท่า 1-3 นาทีข้อควรระวัง ควรสังเกตอาการของลูกให้ดี เช่น ถ้าลูกเจ็บหรือปวดบริเวณที่เคาะ หรือมีประวัติการกระแทกที่หน้าอก มีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น ริมฝีปากซีดคล้ำ หายใจจมูกบาน ร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ ให้หยุดก่อน เพราะอาจเป็นอันตรายได้

 

อ่านต่อ…ยาแก้ไอ สำหรับเด็ก เลือกอย่างไรปลอดภัยต่อลูกรัก คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up