พี่น้อง ทะเลาะกัน ช่วยให้ฉลาด

วิจัยเผย!! พี่น้องที่ชอบ ทะเลาะกัน ช่วยให้ฉลาดมากยิ่งขึ้น

Alternative Textaccount_circle
event
พี่น้อง ทะเลาะกัน ช่วยให้ฉลาด
พี่น้อง ทะเลาะกัน ช่วยให้ฉลาด

ทะเลาะกัน เรื่องน่าปวดหัวของพ่อแม่ ที่ต้องเปิดตำรากี่เล่มถึงจะหาวิธีหยุดพี่น้องทะเลากันได้ แต่ช้าก่อนวิจัยเผยให้เห็นข้อดียิ่งทะเลาะยิ่งฉลาดนะ

วิจัยเผย!! พี่น้องที่ชอบ ทะเลาะกัน ช่วยให้ฉลาดมากยิ่งขึ้น

ลูกทะเลาะกัน เรื่องน่าปวดหัวของคนเป็นพ่อเป็นแม่ ที่บางทีเป็นปัญหาจนอาจก่อให้เกิดความเครียดของพ่อแม่ขึ้นมาได้ แต่รู้หรือไม่ การ ทะเลาะกัน เป็นสิ่งดีต่อเด็ก ๆ นะ เมื่องานวิจัยได้เปิดเผยถึงข้อดีของการที่พี่น้องทะเลาะกันว่า เป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการในวัยเด็ก นักจิตวิทยา และผู้ก่อตั้ง Hey Sigmund ชื่อ Karen Young ได้กล่าวว่าการทะเลาะกันของพี่น้องช่วยให้เด็กสามารถรับมือกันสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ช่วยให้มีความฉลาดในการเข้าสังคมมากขึ้น ได้เรียนรู้การเห็นอกเห็นใจ การควบคุมอารมณ์ตนเอง และการมีน้ำใจต่อกันอีกด้วย

พี่น้อง ทะเลาะกัน มีข้อดีเหมือนกันนะเออ
พี่น้อง ทะเลาะกัน มีข้อดีเหมือนกันนะเออ

ใช่ว่าการทะเลาะกันทุกครั้ง จะส่งผลดีต่อพัฒนาการของเด็กเสมอไป หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ปฎิบัติตามกฎเหล่านี้เสียก่อน

เมื่อพี่น้องทะเลาะกัน พ่อแม่ไม่ได้มีหน้าที่เป็น “ศาล” ที่จะไปตัดสินว่าใครถูกใครผิด!! : นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

เรื่องพี่น้องทะเลาะกันตอนเล็กๆ หลายบ้านเข้าแทรกแซงเร็วมาก สอนนั่นนี่ บราๆๆๆ มากมาย ให้พี่เสียสละ ให้คนนี้ยอมคนนั้น พี่น้องต้องรักกันนะ รักกันมากๆนะ ให้คนนั้นยอมคนนี้ หากเป็นครอบครัวใหญ่ ฝ่ายแทรกแซงมากมาย คนนี้ต้องยอมคนนั้น คนนั้นต้องยอมคนนี้ แล้วจบลงด้วยการเขียนมาถามว่าพี่น้องทะเลาะกันตีกันอยู่ตลอด
เราควรรอ ปล่อยเขาตกลงกันเองนะครับ
เป็นหนึ่งในคำตอบที่นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ตอบคำถามพ่อแม่ในเพจเฟสบุ๊ก ถึงเรื่องราว พี่น้องทะเลาะกัน โดยมีข้อแนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังเผชิญปัญหาพี่น้องทะเลาะกันนั้น วิธีแก้ที่ดีสำหรับตัวเด็กเอง การปล่อยให้เด็กตกลงกันเอง พ่อแม่มีหน้าที่เพียงดู ปล่อยให้เขาตกลงกันเอง และไม่ควรเข้าไปยุ่งมากเกินไป เว้นแต่จะมีใครได้รับบาดเจ็บ อีกทั้งยังมีวิธีจัดการเมื่อลูกทะเลาะกันที่น่าสนใจมาฝากอีกด้วย
 “ตอนเล็ก ๆ เวลาเขาทะเลาะกันตามประสาเด็ก ๆ ผมเลือกที่จะอดทนพูดให้น้อยที่สุด รอให้เขาเย็นลง แล้วให้แก้ไขสถานการณ์กันเอง วิธีง่าย ๆ ที่ทำประจำ คือ  ให้เขายืนกอดเอวกัน มองหากัน ครั้งยิ้มก่อนแพ้!! ใช้ได้ผลทุกครั้งครับ โตมาทั้ง 3 คน ไม่เคยทะเลาะกันเลย มากสุดแค่งอนกัน 10 นาทีก็หาย”

เช่นเดียวกับนักจิตวิทยา Karen Young ได้กล่าวสนับสนุนให้พ่อแม่ทำเช่นนี้เมื่อพี่น้องทะเลากัน พ่อแม่อาจให้โอกาสลูกได้อธิบาย และสามารถแนะนำ หรือสอนเพิ่มเติมได้ แต่ต้องหลังจากที่พวกเด็ก ๆ ได้แก้ไขปัญหากันไปได้บ้างแล้ว และเธอยืนยันอย่างหนักแน่นว่าไม่ว่าการทะเลาะวิวาทจะน่าหงุดหงิดเพียงใด พ่อแม่ไม่ควรเข้าไปตัดสิน และยุ่งมากเกินไป

“เราไม่จำเป็นต้องเข้าไปตัดสินใครผิดใครถูกให้พวกขา ยิ่งเราโดดเข้าไปมากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะยิ่งรอให้เราเข้าไปยุ่งทุกครั้ง โดยที่พวกเขาไม่แก้ปัญหาของตัวเองด้วยตัวเองกันเลย” Karen Young

เมื่อพี่น้อง ….  ทะเลาะกัน เป็นเรื่องดี!!

เหตุใดจึงดีที่ลูกของคุณพ่อคุณแม่ทะเลาะกัน?? คุณพ่อคุณแม่บางคนคงตอบสวนกลับว่าจะเป็นเรื่องดีไปได้อย่างไรเมื่อลูกทะเลาะกัน โดยปกติแล้วพ่อแม่ทุกคนย่อมอยากเห็นลูก ๆ รักใคร่ปรองดองกัน มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อต่อกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันอย่างแน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่า ความลับของการทะเลาะกันของพี่น้องนั้น เป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการในวัยเด็ก

พี่น้อง ทะเลาะกัน ปล่อยให้เด็กจัดการกันเอง
พี่น้อง ทะเลาะกัน ปล่อยให้เด็กจัดการกันเอง

ทะเลาะกัน เป็นเรื่องปกติของพัฒนาการเด็ก

การศึกษาในต่างประเทศพบว่าเด็กเล็กในวัย 2-4 ปีที่อยู่ร่วมกันจะทะเลาะกัน 6.3 ครั้งต่อชั่วโมง หรือพูดง่าย ๆ คือ ทะเลาะกันทุก 9.5 นาที  และจะค่อย ๆ ลดลงจาก 6.3 เป็น 3.5 ครั้งต่อชั่วโมงในกลุ่มเด็กที่มีอายุ 3-7 ปี จะเห็นได้ว่าการทะเลาะกันของเด็กนั้นเป็นเรื่องปกติตั้งแต่เด็ก เนื่องจากว่าในวัยเด็กนั้น เป็นวัยที่มีความยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric) อยู่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เขายังไม่เข้าใจเหตุผลของการอยู่ร่วมกัน จะทำสิ่งใดจะยึดความรู้สึกของตนเองเป็นที่ตั้ง ซึ่งการทะเลาะกันนั้นก็เปรียบเสมือนบทเรียนที่เด็กจะได้เรียนรู้ การเข้าสังคมนั่นเอง

ทุกความขัดแย้งสอนให้เด็กเติบโต!!

แม้ว่าพี่น้องทะเลาะกันจะเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่ไม่ต้องทำสิ่งใดเลย เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้น เด็กต้องได้เรียนรู้ผ่านความขัดแย้งนั้น ๆ ด้วย การทะเลาะกันของเด็กนั้น พ่อแม่ต้องคอยสอดส่องว่าพวกเขาสามารถจัดการปัญหา ด้วยการเคารพสิทธิ์ของกันและกัน สามารถปรับตัวเข้าหากัน ยอมรับ และจัดการกับความขัดแย้งนั้นได้อย่างเหมาะสมเพียงพอหรือไม่ โดยพ่อแม่ไม่จำเป็นต้องรีบเข้าไปจัดการปัญหาให้เด็กตั้งแต่ช่วงแรก แต่สามารถเข้าไปสรุป หรือแนะนำเพิ่มเติมเมื่อเห็นพวกเขาจัดการกับเรื่องขัดแย้งกันไปแล้ว เช่น สอนให้ลูกรู้จักโต้แย้ง และอธิบายถึงสิ่งที่เราต้องการได้ ให้ลูกรู้ว่าตอนไหนที่ควรถอย และโอนอ่อนผ่อนตาม รู้ถึงสิทธิในความเป็นพี่ เคารพดูแลในความเป็นน้อง สอนให้อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวที่สามารถช่วยเหลือ อภัยให้กันได้ เป็นต้น วิธีการเช่นนี้จึงสามารถเรียกได้ว่า ความขัดแย้งสอนให้เด็กเติบโตอย่างแท้จริง

 

อ่านต่อ >> วิจัยเผย!! พี่น้องทะเลาะกัน ช่วยให้ฉลาดมากยิ่งขึ้น คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up