แม่ให้นม

วิจัยชี้! แม่ให้นม ยิ่งเครียดน้ำหนักยิ่งเพิ่ม แนะ 6 เคล็ดลับดับเครียด

Alternative Textaccount_circle
event
แม่ให้นม
แม่ให้นม

เมื่อมีคนปลอบใจคุณแม่ให้นม เรื่องน้ำหนักตัวที่พุ่งปรี๊ดหลังคลอดลูก ว่า  “ไม่ต้องกังวลนะเธอ เดี๋ยวพอให้นมลูกแล้วน้ำหนักก็ลดลงเอง เชื่อฉันสิ” แต่แท้จริงแล้ว สิ่งที่พบ คือ หลังจากคุณแม่ให้นมลูกมาสักพักใหญ่ๆ  ก็ยังไม่มีทีท่าว่าน้ำหนักจะลดลง ซ้ำยังจะเพิ่มขึ้นอีก  มันเกิดอะไรขึ้นนะ?   มีอะไรผิดพลาดรึเปล่า??   วันนี้เรามาติดตามกันค่ะ   ว่าสาเหตุที่ทำให้คุณแม่น้ำหนักไม่ลดลง คืออะไรบ้างแม้เราจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างที่ใครๆ บอกแล้วก็ตาม

โดยปกติ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ถือ เป็นเทคนิควิธีธรรมชาติที่สามารถช่วยลดไขมันในร่างกายได้ เพราะการสร้างน้ำนมจะดึงเอาไขมันในร่างกายไปใช้ จากการวิจัยพบว่าการให้นมลูกสามารถช่วยเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้ถึง 500-800 กิโลแคลอรีต่อวัน หากให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง 4-6 เดือน ก็จะ ช่วยลดขนาดส่วนเกินของสะโพก หน้าท้อง ต้นแขน ได้

แต่ความจริงการลดน้ำหนักหลังคลอดด้วยการให้นมลูกอาจได้ผลกับแค่บางคน  เราอาจเห็นเพื่อนๆ ที่ท้องมาพร้อมๆ กัน น้ำหนักค่อยๆ ลดลงหลังคลอดในช่วงให้นมลูก แต่ก็มีอีกหลายคนที่น้ำหนักไม่ลดลงง่ายๆ หรือ ในขณะที่ผู้หญิงหลายคนดูไม่อ้วนหลังคลอด แต่จริงๆ แล้ว อาจเป็นเพราะเขาไม่สามารถกินอาหารได้เพียงพอที่จะทำให้น้ำหนักขึ้น หรือโดยเฉพาะเมื่อพวกเขาต้องให้นมลูกแฝด!

วิจัยชี้! แม่ให้นม ยิ่งเครียดน้ำหนักยิ่งเพิ่ม

จริงๆ แล้วยังมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เชื่อมโยงกับการลดน้ำหนัก เพราะดูเหมือนจะ พูดง่าย แต่ทำยาก ใช่ว่า แค่ “กินให้น้อยๆ  แล้วก็ออกกำลังกายบ่อยๆ สิ ” ซึ่งปัจจัยที่ทำให้คุณแม่ที่ให้นมลูกอยู่ อาจน้ำหนักไม่ลดลง หรือลดได้ยาก มีดังนี้ค่ะ

 1. คุณแม่เกิดความเครียดสะสม จากการคุมอาหาร

เมื่อคุณแม่ต้องการที่จะลดน้ำหนัก หลายคนอาจเลือกวิธีจำกัดปริมาณแคลอรี่ของอาหารในแต่ละมื้อ และหากคุณกำลังลดปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่กินมากเกินไป เพื่อพยายามลดน้ำหนักในช่วงให้นมลูก จำไว้เลยค่ะว่าวิธีนี้ อาจทำให้คุณแม่มีแนวโน้มที่จะควบคุมน้ำหนักได้ยาก และน้ำหนักอาจจะยิ่งเพิ่มขึ้นอีกด้วย

มีผลการวิจัย ในสหรัฐอเมริกา ที่แสดงให้เห็นว่าการจำกัดปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่รับประทาน สามารถเพิ่มระดับคอร์ติซอลในร่างกาย ซึ่งส่งผลให้คุณแม่รู้สึกเครียดขึ้นมาทันที และเมื่อระดับคอร์ติซอล และความเครียดของคุณแม่สูงขึ้น สิ่งที่ตามมา คือ โคเลสเตอรอลสูงขึ้นจากความเครียดสะสม หิวบ่อยขึ้น หรือ กินมากขึ้น เป็นต้น และนี่ยิ่งทำให้มีแนวโน้ม ที่น้ำหนักของคุณแม่ะจะเพิ่มขึ้นค่ะ

ดังนั้นการกินอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การไม่กิน หรือ กินน้อย อาจทำให้คุณลดน้ำหนักได้ยากขึ้น! อาจฟังดูแปลก แต่จริงค่ะ  นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงควรกินเมื่อคุณหิว เมื่อร่างกายของคุณพูดว่า “ขอฉันกินหน่อยเถอะได้โปรด!” หากคุณเพิกเฉยต่อความหิวของตัวเองเพราะคิดว่ามันจะช่วยลดน้ำหนักได้ คุณแม่กำลังคิดผิดค่ะ เพราะฉะนั้นการกินอาหารในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม จะช่วยให้เราไม่เครียดจนเกินไปได้ค่ะ

แม่ให้นม
แม่ให้นม

2. ฮอร์โมนแห่งความเป็นแม่

ร่างกายของคุณแม่หลังคลอด จะมีการผลิตฮอร์โมน ที่ชื่อว่า โปรแลคติน ( Prolactin)  ซึ่งเป็นฮอร์โมน ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการผลิตน้ำนมของคุณแม่ และยังช่วยเพิ่มความอยากอาหาร รวมทั้งช่วยชะลอการเผาผลาญไขมันอีกด้วย ซึ่งหมายความว่า เจ้าฮอร์โมนตัวนี้ ไม่ได้สั่งร่างกายของคุณเวลาคุณแม่กินอาหารแค่ว่า  “กินให้หมดสิ!” แต่มันยังบอกด้วยว่า “เก็บไขมันไว้ด้วยสิ! ”เป็นยังไงคะ เข้าท่ามั้ยละ ฮอร์โมนตัวนี้ ?

และเพื่อที่จะหล่อเลี้ยงมนุษย์ตัวเล็ก ๆ ของเรา คุณแม่ต้องมีพลังงานสำรองเพียงพอที่จะใช้ผลิตน้ำนมและรักษาสุขภาพของตัวเองเอาไว้ ดังนั้นร่างกายของเราฉลาดนะคะ ที่สามารถบอกให้คุณ กินและบอกตัวเองให้เก็บไขมันไว้เสริม ในกรณีที่คุณได้รับแคลอรี่ไม่เพียงพอ   จงจำไว้ว่า ร่างกายของคุณแม่กำลังทำในสิ่งที่ควรจะทำ เพื่อช่วยให้คุณและมนุษย์ตัวเล็ก ๆ ของคุณมีชีวิตอยู่ค่ะ สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้ คือกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพื่อผลิตน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของเจ้าตัวเล็ก เพราะหลังจากที่ทารกหย่านมแล้ว คุณแม่ก็ยังสามารถลดน้ำหนักได้ ไม่สายเกินไปหรอกค่ะ แค่อาจจะต้องมีวินัยกับตัวเองให้มากขึ้น  จำไว้ว่าอย่ากดดันตัวเองมากไป เพียงเพื่อต้องการให้น้ำหนักลด

เผยสูตร ดื่มน้ำลดความอ้วนได้ผลเริ่ด แถมสุขภาพดี!

เมนู อาหารลดน้ำหนัก แม่หลังคลอดผอมไว..ได้คุณค่า

แม่ท้อง แพ้อาหารทะเล ส่งผลต่อลูกยังไงมาหาคำตอบกัน

และจากที่ ได้กล่าวไปข้างต้นว่า ยิ่งคุณแม่เครียด ก็จะยิ่งทำให้ ควบคุมน้ำหนักได้ยากขึ้น เพราะฉะนั้นเราต้องไม่เครียดค่ะ แต่จะทำยังไงไม่ให้เครียด มาดูวิธีกันค่ะ

6 เคล็ดลับ ดับเครียด แม่ให้นม

1. ทำกิจกรรมที่ช่วยคลายเครียด

หาเวลาออกกำลังกาย ให้ได้อย่างน้อย 30 นาที 3-5 วัน ต่อ สัปดาห์  โทรเม้าท์มอยกับเพื่อนสนิท ออกไปเดินเล่น ดูคอนเสิร์ต ดูหนัง อยู่บ้านฟังเพลงโปรด ปลูกต้นไม้ เป็นต้น ซึ่งการทำกิจกรรมอะไรก็ตามที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อลดความเครียดของคุณแม่เท่านั้น แต่เพราะอย่างที่เราพูดไป ว่าการลดน้ำหนักหลังคลอดจะทำได้ง่ายกว่า ถ้าเราไม่เครียดค่ะ

2. โฟกัสเรื่องดีๆ ในชีวิตเรื่องอื่นบ้าง

เบนความสนใจไปที่เรื่องอื่นๆ บ้างจะช่วยได้มากค่ะ ในชีวิตคนเรายังมีเรื่องดีๆ รออยู่อีกเยอะ สูดหายใจลึกๆ ลองคิดดูดีๆ นะคะ เช่น การออกกำลังกายหลังคลอด ที่ให้ประโยชน์ มากกว่าแค่การลดน้ำหนัก เพราะช่วยเรื่อง บรรเทาอาหารปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเข่า หรือช่วยให้คุณแม่อาจกลับมามีความสุขกับเซ็กส์ได้อีกครั้ง เพราะมีพลังงานมากขึ้น รู้สึกแข็งแรงขึ้น เห็นมั้ยคะ ว่าการมุ่งความสนใจไปที่เรื่องอื่น ๆ บ้าง จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น ว่าร่างกายของเรามันน่าทึ่งแค่ไหน เซลลูไลท์อาจไม่ดูแย่อีกต่อไปก็ได้ค่ะ

3. จำไว้ว่ามันก็แค่ชั่วคราว

เมื่อถึงเวลาที่คุณตัดสินใจให้ลูกหย่านม  ก็จะกลายเป็นเวลาทองของคุณ ที่จะกลับมาลดน้ำหนักได้อย่างเต็มที่และลดได้ง่ายกว่าด้วยค่ะ เพราะฉะนั้นช่วงที่ให้นมลูกอยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องเครียดเลยค่ะ ให้คิดไว้ว่าเรากำลังทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ในการเป็น “แม่ของลูก” อยู่  แต่เมื่อลูกหย่านมแล้ว ให้คุณแม่ตั้งเป้าไว้เลยค่ะ ว่าจะลดน้ำหนักให้ได้ภายในกี่เดือนกี่ปี จำไว้ว่าคุณสามารถลดน้ำหนักได้ภายในหนึ่งหรือสองปีหลังจากลูกหย่านม คุณจะรู้สึกเหมือนเกิดใหม่อีกครั้ง! เมื่อได้เห็นหุ่นสวยๆ ของตัวเองเวลาที่ยืนส่องกระจกค่ะ

4. อยู่ท่ามกลางคนที่พร้อมจะเข้าใจ และให้กำลังใจ

ความรู้สึกโดดเดี่ยว ในการต้องต่อสู้กับเรื่องยากๆ คนเดียว ไม่ใช่เรื่องสนุกแน่ค่ะ คุณแม่ลองหาเพื่อนสนิท หรือ สมาชิกในครอบครัวที่พร้อมจะเข้าใจ สามารถร่วมปรับทุกข์ เป็นที่ปรึกษาให้เราได้ เช็คให้แน่ใจว่า ผู้คนที่อยู่รอบตัวคอยให้กำลังใจที่ดีกับเรา มากกว่าที่จะคอยติติง หรือวิจารณ์ทางลบ เวลาที่ได้ระบายถึงสิ่งที่เราทำอยู่กับคนที่เข้าใจเราจริงๆว่ามันยากแค่ไหนจะยิ่งช่วยให้เราสามารถเดินหน้าต่อไปสู่เป้าหมายข้างหน้าได้ค่ะ

5. ปรึกษาคุณหมอ

สำหรับคุณแม่บางคน อาจเป็นโรคไทรอยด์อักเสบหลังคลอด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดจากน้ำหนักเพิ่มขึ้น เนื่องจากต่อมไทรอยด์ของคนที่ป่วยด้วยโรคนี้เกิดการทำงานที่ผิดพลาด โดยไม่สามารถควบคุมระบบของร่างกายได้อย่างเหมาะสม รวมถึงระบบการเผาผลาญด้วย ดังนั้นหากคุณสงสัยว่าคุณกำลังจะป่วยด้วยโรคนี้อยู่ ให้ไปพบคุณหมอเพื่อตรวจเช็คและขอคำปรึกษาได้ค่ะ

แม่ให้นม

6. เตือนตัวเองว่าร่างกายของคุณสุดยอดแค่ไหน

คุณแม่อาจจะลืมไปว่าร่างกายของคุณ มันน่าทึ่งแค่ไหน?   ไม่นานมานี้ คุณแม่เพิ่งให้กำเนิดมนุษย์ตัวเล็กๆ และตอนนี้คุณก็กำลังให้อาหารมนุษย์ตัวเล็ก ๆ ด้วยน้ำนมที่ร่างกายของคุณผลิตเอง คุณแม่เป็นซูเปอร์ฮีโร่ตัวจริงค่ะ! และไม่สมควรที่จะรู้สึกกดดัน ที่จะต้องทำตามความคิดหรือคำพูดต่างๆ  ว่าร่างกายหรือหุ่นของคุณควรจะต้องเป็นอย่างไรหลังคลอด

มันอาจเป็นเรื่องยากที่จะ“ จัดการ” กับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น แต่ ลองถามตัวเองดูค่ะ  ว่าความกดดันนี้มาจากไหน?   เราต้องการลดน้ำหนักจริงหรือ?  หรือเราหลงคิดเพียงแค่ว่าควรลดน้ำหนักเพราะใครๆ เขาก็น้ำหนักลดกัน    การเรียนรู้ที่จะรักร่างกายหลังคลอด การลดน้ำหนัก และอีกมากมายไม่ใช่ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน   ต้องใช้ทั้งเวลาและความพยายามค่ะ

เมื่อคุณแม่ลดน้ำหนักได้ตามที่ต้องการ หลังการหย่านม และลูกก็โตขึ้นทุกวันๆ คุณแม่อาจจะปลูกฝังลูกได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ถึงวิธีการดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตัวเอง  อย่างที่คุณแม่ทำมาก่อน เพื่อให้ลูกเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กที่มี ความ ฉลาดในการดูแลรักษาสุขภาพ(HQ)มีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี และที่สำคัญ คือ มีความสุขและทำกิจกรรมต่างๆ ที่ชอบได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่ป่วยบ่อยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : jennadalton.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

หมอตอบชัด!!แม่ให้นมกินน้ำอัดลม ชา กาแฟ คาเฟอีนส่งถึงลูกไหม

วิธีรับมือสำหรับแม่ให้นม เมื่อลูกกลายเป็น เด็กแพ้อาหาร

แม่ให้นมกินทุเรียน แล้วน้ำนมเหม็น ลูกเมินนมแม่! จริงมั้ย?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up