วัคซีน ป้องกัน IPD บรรเทาอาการ RSV

คุ้ม2ต่อ!! วัคซีน ป้องกันไอพีดี แถมลดโอกาสติดเชื้อ RSV

Alternative Textaccount_circle
event
วัคซีน ป้องกัน IPD บรรเทาอาการ RSV
วัคซีน ป้องกัน IPD บรรเทาอาการ RSV

Respiratory Syncytial virus(RSV)โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโรคอันตรายในเด็กเล็ก รู้หรือไม่ว่าไม่มีวัคซีนรักษาแต่การฉีดวัคซีน IPD ช่วยลดโอกาสติดเชื้อ RSV ได้

คุ้ม2ต่อ!! วัคซีน ป้องกันไอพีดี แถมลดโอกาสติดเชื้อ RSV

เมื่อเข้าสู่หน้าฝนโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจก็ถามหา หนึ่งในโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย และเป็นอันตรายอย่างมากในเด็กเล็ก และลูก ๆ ของเรานั้น คือ โรคติดเชื้อ RSV

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวในโซเชียลมีเดียว่า ในช่วงฤดูหนาวนี้มีโอกาสพบเด็กป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ได้นั้น กรมควบคุมโรค ขอให้ข้อมูลว่า โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus: RSV) เป็นโรคที่มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาจมีอาการรุนแรงได้มากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ จากข้อมูลศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า อุบัติการณ์ของโรค RSV ในเด็กของปี 2563 มีอัตราป่วยเท่ากับปี 2562 ในเดือนเดียวกัน และโรคทางเดินหายใจที่ตรวจหาเชื้อจะพบเป็น RSV มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้ป่วย โดยเฉพาะในเด็กเล็กแรกเกิด-5 ปี แสดงถึงมาตรการการป้องกันโรคทางเดินหายใจในเด็กขณะนี้ไม่ได้แตกต่างกับปีที่แล้วมากนัก อย่างไรก็ตาม การดูแลบุตรหลาน  ให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ก็ยังมีความสำคัญมาก

กล่าววันที่ 27 ตุลาคม 2563 ข้อมูลอ้างอิงจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

วันนี้ทาง ทีมแม่ ABK จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ RSV กับพญ.พัชรินทร์ มีศักดิ์ กุมารแพทย์ รพ.จุฬารัตน์9แอร์พอร์ต มาฝากแม่ ๆ เพื่อจะได้รู้ถึงโรคร้ายนี้ ที่ถึงแม้ดูอาการผิวเผินเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่หากลูกเราเกิดอาการรุนแรงก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน

ความแตกต่างระหว่างไข้หวัดและการติดเชื้อ RSV

เชื้อ RSV หรือชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Human orthopneumovirus เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจหลายโรค เช่น ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะโรคหลอดลมฝอยอักเสบในเด็กเล็ก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในปอด หรือปอดอักเสบได้ หากเป็นการติดเชื้อในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหัวใจและโรคปอด หรือผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ (ภูมิต้านทานโรคต่ำ) อาจมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงได้และอาจมีอันตรายถึงชีวิต

ไข้หวัดและการติดเชื้อ RSV มีความคล้ายคลึงกัน แต่ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น มีภาวะหอบหืด หรือเป็นโรคหัวใจ อาจเกิดภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรง และเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลวได้

สัญญาณและอาการติดเชื้อรุนแรงที่มักพบในทารกและเด็กเล็ก ได้แก่

  • มีไข้สูงขึ้นๆ ลงๆ (ประมาณ 38 องศา สำหรับเด็กอ่อนที่อายุไม่เกิน 3 เดือน)
มีไข้สูง อาการที่ควรเฝ้าระวังติดเชื้อ rsv
มีไข้สูง อาการที่ควรเฝ้าระวังติดเชื้อ rsv
  • จามบ่อย มีน้ำมูกไหลมีน้ำมูกเหนียว สีเหลือง เขียว หรือเทา
  • แน่นจมูก
  • ไออย่างรุนแรงจนเหนื่อย
  • ไอคล้ายเสียงหมาเห่า
  • หายใจมีเสียงวี๊ด (เสียงดังที่มักจะได้ยินเวลาหายใจออก)
  • หายใจเร็ว หอบ หรือหายใจลำบาก (เด็กที่มีอาการมักเลือกที่จะลุกขึ้นนั่งมากกว่านอนราบ)
  • อกบุ๋ม เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกและผิวหนังของทารกจะบุ๋มลงไปอย่างเห็นได้ชัดเวลาหายใจเนื่องจากต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการหายใจแต่ละครั้ง
  • ได้ยินเสียงปอดผิดปกติ
  • ตัวลายเขียว เนื่องจากขาดออกซิเจน
  • รับประทานน้อยลง เบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลียผิดปกติ (เซื่องซึม)
  • หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย
  • ผิวซีดเซียว

เมื่อใดควรไปพบแพทย์?

การวินิจฉัยการติดเชื้อ RSV สามารถดูได้จากอาการของผู้ป่วย เช่น มีภาวะไอ หอบ หายใจ เสียงดังวีด และหากลูกของคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีอายุน้อยกว่า 3 เดือน คลอดก่อนกำหนด มีโรคเกี่ยวกับปอด หรือหัวใจ มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ หรือมีอาการชนิดรุนแรงแม้เพียงอาการเดียวก็ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการทดสอบโดยการนำน้ำมูกหรือเสมหะไปตรวจเชื้อโดยตรง โดยทดสอบหาเชื้อไวรัส RSV (rapid RSV test) ซึ่งจะทราบผลได้ภายในเวลาประมาณ 10 นาที

การรักษา

เชื้อ RSV ยังไม่มียารักษาที่เฉพาะ จะเป็นการรักษาแบบประคับประคอง ได้แก่ พ่นยาเสมหะ ให้ออกซิเจน และให้สารน้ำในเลือด ซึ่งโดยทั่วไปจะหายเป็นปกติได้ภายใน 2 สัปดาห์ในกรณีที่ติดเชื้อไม่รุนแรง แต่หากติดเชื้อไวรัส RSV อย่างรุนแรง แพทย์จะให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้น้ำเกลือ และดูดเสมหะให้เป็นระยะ

ฉีด วัคซีน ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อรุนแรง
ฉีด วัคซีน ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อรุนแรง

การป้องกัน

การป้องกันการแพร่กระจายหรือติดเชื้อ คือ การรักษาความสะอาด หากมีอาการป่วยควรใส่หน้ากากอนามัย เพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจาย ควรมีการทำความสะอาดของเล่นเด็ก ข้าวของเครื่องใช้ และล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน หมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

 วัคซีน

ข้อมูลจากรพ.จุฬารัตน์9แอร์พอร์ตยังระบุอีกว่า เนื่องจากเชื้อ RSV มีหลายชนิด จึงไม่มีผลิตวัคซีนเฉพาะ แต่สามารถฉีดวัคซีน IPD เพื่อช่วยลดการติดเชื้อได้

เช่นเดียวกับเพจ Infectious ง่ายนิดเดียว ได้แนะนำ 1 ในวิธีป้องการติดเชื้อไวรัส RSV เนื่องจากอาจพบภาวะติดเชื้อร่วมกับเชื้ออื่นได้
-แนะนำฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่หรือ
-วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี (เชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae)
โดยเฉพาะคนไข้กลุ่มเสี่ยงได้แก่ อายุน้อยกว่า 2 ปี มีโรคประจำตัว อ้วน ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ มีโรคปอด หอบหืด คลอดก่อนกำหนด โรคหัวใจ

วัคซีนป้องกัน IPD คืออะไร

วัคซีนไอพีดี (IPD) เป็นวัคซีนสำหรับการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Streptococcus pneumoniae ชนิดลุกลาม เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้พบได้ในช่องจมูก ช่องปากในคนทั่วไปได้ถึง 35% โดยเฉพาะในเด็กอายุ 2-3 ปี ก่อโรคได้ หากไม่รุนแรงก็มีอาการเหมือนหวัดคออักเสบทั่วไป แต่หากมันลุกลามมักลุกลามไปยัง 3 ที่หลัก ๆ ก็คือ
1. ปอด ทำให้ปอดอักเสบ
2. ติดเชื้อในกระแสเลือด
3. เยื่อหุ้มสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ซึ่งเราจะเรียกโรคเหล่านั้นว่า ไอพีดี (invasive pneumococcal disease)

เนื่องจากในประเทศไทย วัคซีนชนิดนี้ยังค่อนข้างใหม่อยู่ จึงยังไม่ได้มีการศึกษา การตอบสนองของวัคซีนนี้ในเด็กไทย ในประเทศอเมริกามีการใช้วัคซีนนี้ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1998 โดยเด็กทุกคนจะได้รับวัคซีนป้องกัน IPD ตอนอายุ 2,4,6 และ 12-15 เดือน มีการเก็บข้อมูลผลของการให้วัคซีน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1998-2003 พบว่าอัตราการติดเชื้อแบบลุกลามลดลงเรื่อยๆ อัตราการเกิดปอดอักเสบและหูชั้นกลางอักเสบก็ลดลงด้วย นอกจากนั้น ยังพบว่าการเป็นพาหะก็ลดลงด้วย การแพร่เชื้อในชุมชนลดลง ผู้ใหญ่กลุ่มอายุมากกว่า 65 ปี มีอัตราการติดเชื้อลดลงด้วย

วัคซีน ป้องกันและลดอาการป่วยได้
วัคซีน ป้องกันและลดอาการป่วยได้

สรุปผลของวัคซีน คือ

  1. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดเชื้อไอพีดี เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  2. ช่วยลดอัตราการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อนิวโมคอคคัส
  3. เชื้อทางอ้อมสู่คนกลุ่มอื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ เช่นเดียวกันช่วยลดจำนวนเชื้อพาหะในโพรงจมูก และลำคอของเด็ก ทำให้การแพร่กระจายเชื้อลดลง จึงเป็นการป้องกันการติด

มาทำความรู้จักกับวัคซีนกัน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรค IPD อยู่ 2 ชนิด คือ

  1. วัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ 23 สายพันธุ์ (เรียกย่อๆ PS 23) [Polysaccharide Vaccine 23 serotype ; PS23]
    วัคซีนนี้ครอบคลุมเชื้อก่อโรคแบบลุกลาม (IPD) ในเด็กได้ครอบคลุม 80% ของสายพันธุ์ที่ก่อโรค แต่พบว่าวัคซีนนี้ไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคนี้ที่ไม่ได้มาทางกระแสเลือด เช่น ถ้ามีการติดเชื้อปอดอักเสบจากการสำลักเชื้อเข้าไป วัคซีนจะไม่สามารถป้องกันโรคได้ นอกจากนั้นวัคซีนนี้ต้องให้ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป จึงจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่สามารถให้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบบลุกลาม
  2. นิวโมคอคคัส คอนจูเกต วัคซีนชนิด 7 สายพันธุ์ (เรียกย่อๆ ว่า PCV 7) [Pneumococcus conjugate Vaccine 7 serotypes ; PCV 7]
    วัคซีนนี้ครอบคลุมเชื้อก่อโรคได้ 7 สายพันธุ์ คือ 4, 6B,9V,14,18C,19F และ 23F พบว่าครอบคลุมสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของโรคในเด็กไทยได้ประมาณ 70% (จากข้อมูลการเก็บตัวอย่างเชื้อจาก 4 โรงพยาบาล) วัคซีนนี้ แนะนำให้ฉีดในเด็กอายุ2,4,6 และ 12-15 เดือน (4 ครั้ง ตามการฉีดของต่างประเทศ) สำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เช่น เด็กที่ไม่มีม้าม แนะนำให้ฉีดตามด้วยวัคซีน PS23 หลังอายุ 2 ปีด้วย

 

ลูกน้อยติดเชื้อ rsv ลงปอด ทรมาน
ลูกน้อยติดเชื้อ rsv ลงปอด ทรมาน

ผลข้างเคียงของวัคซีนที่พบ คือ อาจมีบวมแดงบริเวณที่ฉีด มีไข้ 2-3 วัน ในอนาคตอาจมีวัคซีนที่สามารครอบคลุมสายพันธุ์ก่อโรคได้มากขึ้นซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย

อย่างไรก็ดี วัคซีนเป็นเพียงการป้องกันการติดเชื้อ โดยในแต่ละเชื้อไวรัสมีสายพันธุ์มากมายหลายสายพันธุ์ วัคซีนไม่ได้ครอบคลุมทุกสายพันธุ์ จึงไม่ได้เป็นการคุ้มครองทั้ง 100% แต่การได้รับวัคซีนมาก่อนแล้ว แม้เกิดโรคขึ้น วัคซีนก็ยังช่วยบรรเทาอาการให้น้อยลงได้ ดังนั้นจึงแนะนำในการพาลูกไปรับวัคซีนป้องกัน IPD เพราะนอกจากจะได้รับการป้องกันเชื้อ IPD แล้วลูกยังลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อ RSV อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก  hd.co.th/saintlouis.or.th/รพ.จุฬารัตน์9แอร์พอร์ต/

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

RSV ไวรัส ในหน้าฝนทำร้ายสุขภาพลูก

วัคซีนสำหรับเด็ก มีวัคซีนพื้นฐานอะไรบ้างที่ต้องฉีด ?

อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

วัคซีน IPD ควรฉีดเมื่อไหร่ พร้อมตารางวัคซีน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up