สอนลูกให้ซื่อสัตย์

7 เคล็ด(ไม่)ลับ สอนลูกให้ซื่อสัตย์ ตรงมาตรงไป โตไปไม่โกง

Alternative Textaccount_circle
event
สอนลูกให้ซื่อสัตย์
สอนลูกให้ซื่อสัตย์

สอนลูกให้ซื่อสัตย์ – ความซื่อสัตย์สุจริต คือ พื้นฐานที่สำคัญที่สุด ของการเป็นพลเมืองดีในสังคม ที่คุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก ไม่ว่าจะเรื่องใดก็แล้วแต่ในชีวิตที่ลูกต้องพบเจอต่อไปในอนาคต เช่น ในโรงเรียน เราจะสอนอย่างไร ไม่ให้ลูกมีนิสัยชอบลอกการบ้านเพื่อน หรือไม่ลอกข้อสอบเพื่อน จะสอนลูกอย่างไรให้ไม่พูดโกหกกับเพื่อนหรือครู หรือสอนอย่างไรไม่ให้ลูกอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง

เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงถึงความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นทั้งสิ้น ซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสังคมจะเป็นสังคมในอุดมคติได้ หากทุกคน ตรงไปตรงมา มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี เป็นที่ตั้ง เวลาเราเห็นข่าวในประเด็นเกี่ยวกับ พลเมืองดี คนมีความซื่อสัตย์ เช่น เจอเงินทองมูลค่ามากมาย แล้วประกาศตามหาเจ้าของเพื่อส่งคืนให้ โดยไม่เก็บเอาไว้เอง เราก็มักจะรู้สึกได้ว่ามันเป็นเรื่องดีๆ ที่น่าชื่นชม อย่างกรณีไม่นานมานี้ เด็กน้อย ชั้น ป.2 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี เก็บของมีค่าที่คนทำหล่นไว้ในบริเวณโรงเรียนได้  แล้วรีบแจ้งคุณครูเพื่อประกาศหาเจ้าของให้มารับคืน

สอนลูกให้ซื่อสัตย์
สอนลูกให้ซื่อสัตย์ (ขอบคุณภาพจาก siamrath)

สืบเนื่องจากที่โรงเรียน ธัมมสิริศึกษาสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี อาจารย์ อารีย์ คำนึงกิจ ผู้จัดการโรงเรียนธัมมสิริศึกษาสัตหีบ พร้อมด้วย นาย ทวี สุกแก้ว ผู้อำนวยการฯ ร่วมมอบใบประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ ให้กับ เด็กชาย ภาณุวิชญ์ สงโสด นักเรียนโรงเรียน ธัมมสิริศึกษาสัตหีบ ชั้นประถมศึกษาปีที่2  ที่ทำความดี

เก็บสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท พร้อมพระเหลี่ยมทอง มาส่งคืนให้กับทางโรงเรียน เพื่อตามส่งคืนให้กับเจ้าของ ซึ่งทางโรงเรียนได้ติดต่อเจ้าของมารับคืนเรียบร้อยแล้ว

นี่ละค่ะ เรื่องราวดี ๆ ที่น่าชื่นชม เวลาเห็นข่าวแบบนี้ ก็อดคิดไม่ได้ว่าคุณพ่อคุณแม่คงสอนน้องมาดีแน่ๆ

ลูกขโมยเงินแม่ แม่เลยพามามอบตัวกับตำรวจให้ช่วยสั่งสอน

ค่านิยมทางศีลธรรม 10 ประการ ที่พ่อแม่ควรสอนลูก

พ่อแม่ไม่ควรโกหกลูก อย่าหลอกเด็ก โตขึ้นลูกจะกลายเป็น เด็กเลี้ยงแกะ

จำไว้ว่าไม่ใช่เรื่องยาก ที่เราจะปลูกฝังเด็กคนนึงให้เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริตกับทั้งตัวเองและผู้อื่น แต่เราจำเป็นต้องปลูกฝังและพร่ำสอนอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ ค่ะ วันนี้เรามาดูเทคนิคดีๆ ในการสอนลูกให้เป็นเด็กที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรามา กันค่ะ

7 เคล็ด(ไม่)ลับ สอนลูกให้ซื่อสัตย์ ตรงมาตรงไป โตไปไม่โกง

1. โฟกัสเรื่องความซื่อสัตย์ให้ลูกสัมผัสได้

ในช่วงที่ลูกยังเป็นเด็กตัวเล็กๆ เราควรเริ่ม ปลูกฝังเรื่องความซื่อสัตย์  โดยการแสดงให้ลูกได้เห็นว่าความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่คุณให้ความสำคัญมาก  พูดคุยกับลูกโดยเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัย เช่นในเรื่องการพูดความจริง ไม่โกหกกัน  ควรบอกให้ลูกรู้อย่างชัดเจน  ว่าการโกหก สามารถทำลายความไว้วางใจได้  หรือ อาจสอนในมิติกว้างๆ ในเรื่องของการทำความดี ตามหลักศีล5 แก่ลูก ซึ่งสามารถแยกออกมาเป็นข้อๆ สอนลูกให้เข้าใจได้ง่ายๆ  อาทิ

1. ละเว้นจากการทำร้ายคนอื่น เช่น ไม่แกล้งเพื่อน ไม่รังแกเพื่อนที่โรงเรียน หรือสัตว์เลี้ยงที่บ้าน

2. ไม่ขโมยของของคนอื่น เช่น เงินของคุณพ่อคุณแม่ (รวมทั้งของคนอื่น) ของเล่นหรือกล่องดินสอของเพื่อน

3. ไม่ให้ทำร้ายจิตใจคนอื่น เช่น ขวางปา ทำลายของเล่นของเพื่อน หรือสิ่งของต่างๆ ที่คนอื่นหวงแหน

4. ไม่พูดโกหกหรือพูดถึงผู้อื่นในแง่ที่ไม่ดี  เช่น ไม่พูดโกหก ไม่พูดใส่ร้ายเพื่อน หรือพูดว่าคนอื่นให้เสียหาย รวมทั้งสอนให้ลูกกล้าที่จะยอมรับผิด

5. สอนให้ลูกรู้จักเลือกคบเพื่อนที่เป็นคนดี  การสอนเรื่องการเลือกคบเพื่อนที่ดี จะช่วยให้ลูกเติบโตขึ้นพร้อมกลุ่มเพื่อน ที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งไม่ดีต่างๆ

โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกใช้วิธีและโอกาสที่เหมาะสมกับธรรมชาติและความพร้อมของลูกได้ค่ะ

2. เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก 

หากคิดจะสอนเรื่องความซื่อสัตย์ให้กับลูก ก่อนอื่นคุณต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ด้าน ความซื่อสัตย์สุจริตให้ลูกเห็นก่อน  แม้ในบางเรื่องอาจจะดูยากที่จะพูดตรงไปตรงมากับลูก เช่น คุณไม่อยากให้ลูกกินขนมเยอะ เพราะกลัวว่าลูกจะฟันผุ เลยบอกลูก ว่า “พ่อไม่มีเงินซื้อให้ลูกแล้ว” ซึ่งอาจดูเป็นการปฏิเสธลูกด้วยการโกหกแบบตัดบท แทนที่จะอธิบายถึงสาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมถึงไม่อยากให้ลูกกินลูกอม  จำไว้ว่า ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ควรหลีกเลี่ยงการพูดโกหกลูก แต่ควรอธิบายด้วยคำพูดที่เหมาะสมที่สุดกับวัยของลูก

สอนการบ้านลูก

3. อย่าถามคำถามเมื่อคุณรู้คำตอบ

วิธีที่ดีในการยับยั้งการโกหก คือ ไม่สร้างสถานการณ์ ด้วยคำพูดใดๆ ที่อาจกระตุ้นให้ลูกรู้สึกอยากโกหกคุณ เช่น  หากคุณรู้ว่าพวกเขาไม่ได้เล่นของเล่นในห้อง คุณก็ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องถามลูกด้วยความเคยชินของตัวเอง ว่า “วันนี้เล่นของเล่นแล้วเก็บเรียบร้อยหรือยังลูก”  ถึงแม้ลูกจะไม่ได้เล่นของเล่น แต่เขาอาจจะบอกว่า “เก็บเรียบร้อยแล้วค่ะ/ครับ” เพราะเด็กก่อนวัยเรียน มักไม่กล้าพูดความจริง เนื่องจากกลัวว่าพ่อแม่จะตำหนิติเตียน และมักจะแก้ปัญหาด้วยการโกหก  ทางทีดี ในกรณีนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพูดให้ลูกรู้ว่าคุณรู้อยู่แล้วว่าวันนี้ลูกไม่ได้หยิบของเล่นออกมาเล่น เช่น “วันนี้ลูกไม่ได้เล่นของเล่นสิเนี่ย ห้องสะอาดเรียบร้อยเชียว”   วิธีนี้จะทำให้ลูกเกิดความรู้สึกได้ ว่าเขาไม่จำเป็นต้องใช้คำโกหกแบบง่ายๆ ขอไปที กับคุณไม่ว่าในกรณีใด ซึ่งถ้าเขาไม่ได้ทำในสิ่งไหนก็ตามที่คุณถาม ลูกก็จะบอกความจริงอย่างตรงไปตรงมา ว่าเขาไม่ได้ทำนะ

4. สอนลูกด้วยนิทาน

เช่น เล่านิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ  หรือ นิทานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ ที่สุดท้ายแล้วการเป็นคนไม่ดี ไม่มีความซื่อสัตย์ ไม่ได้มอบสิ่งดีๆ ให้  หมั่นเล่าให้ลูกฟังก่อนนอนจนเป็นกิจวัตร เพื่อให้ลูกเข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น ว่าการโกหก ไม่ซื่อสัตย์ ไม่ตรงไปตรงมา เป็นสิ่งที่ไม่ดี และยังทำให้คนอื่นเดือดร้อนอีกด้วย

5. แสดงให้ลูกเห็น ว่าคุณชมชอบกับเรื่องความซื่อสัตย์

เด็กเล็ก ๆ ส่วนใหญ่ จะมีแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ อย่างมาก เมื่อพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดในชีวิต ชื่นชมเขา หรือแสดงท่าทีว่า ดีใจ และพอใจ ที่ลูกได้ทำในสิ่งต่างๆ ที่ดี และเมื่อคุณแสดงให้ลูกเห็นว่าการ พูดความจริง ต่อกัน ทำให้คุณมีความสุข ลูกของคุณจะมีแนวโน้มในการเปิดรับ และซึบซับ การปลูกฝังเรื่องความซื่อสัตย์ได้ดี เช่น ชมว่า ” แม่ดีใจจัง วันนี้ที่หนูสัญญาว่าจะไม่แกล้งน้อง หนูก็ทำได้จริงๆ ด้วย เก่งมากค่ะ”  เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ลูกรู้สึกดี ที่ได้รับความไว้วางใจและคำชื่นชมจากพ่อแม่ และจะทำให้ลูกระลึกไว้ในใจได้ว่า การเป็นคนซื่อสัตย์ ทำตามคำสัญญา  คือ สิ่งดีๆ ในชีวิตที่เขาควรเป็นและทำ

6. ไม่ใช้ความรุนแรง เมื่อรู้ว่าลูกทำความผิด

คุณไม่ควรลงโทษลงโดยการใช้ความรุนแรง ทั้งทางวาจา และร่างกาย เมื่อลูกทำความผิด แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะคุมอารมณ์เสียของตัวเอง เช่น หากเราจับได้ว่าลูกโกหกในเรื่องใดก็ตาม ควรสงบสติอารมณ์ และถามลูกพูดคุยด้วยเหตุผล  เนื่องจากธรรมชาติของเด็กจะไม่กล้าพูดความจริง เพราะกลัวพ่อแม่จะโกรธ  ใส่อารมณ์ หรือลงโทษด้วยการใช้ความรุนแรง หากคุณแสดงออกต่อการทำผิดของลูกด้วยการใช้ความรุนแรง บ่อย ๆ ลูกจะกลายเป็นเด็กที่ไม่กล้าพูดความจริงกับพ่อแม่อีก สิ่งที่ควรทำ คือ สอนและบอกด้วยเหตุผลดีๆ ที่แสดงถึงความรักและใส่ใจ ลูกจะเกิดความอบอุ่นใจ และสัมผัสได้ถึงการให้อภัยของพ่อแม่ ที่พร้อมรับฟังและไม่ตีตรากล่าวหาลูก

สอนการบ้านลูก

 

7. ชื่นชมยกย่อง เมื่อลูกกล้าที่จะยอมรับผิด 

การที่ลูกกล้าบอกความจริงกับเรา ในสิ่งที่ลูกทำผิดมา ตามธรรดาของเด็ก เขาจะต้องใช้ความกล้าอย่างมากในการเดินมาสารภาพกับพ่อแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกกลัวพ่อแม่ลงโทษ หากเกิดกรณีที่ลูกเดินมาหาคุณ พร้อมบอกความจริงบางถึงสิ่งที่เขาได้ทำผิดมา ให้เราตอบแทนลูกด้วยคำชม ด้วยท่าทีจริงจัง หนักแน่น ซึ่งปฏิกิริยาเช่นนี้ของพ่อแม่ จะช่วยให้เด็กรู้สึกดี กับความซื่อสัตย์ของพวกเขา และเมื่อเจอสถานการณ์ที่ลูกคิดว่าเขาจะโกหกพ่อแม่ได้ง่ายๆ เขาอาจเลือกที่จะไม่ทำได้ค่ะ

การปลูกฝังลูกในเรื่องของความซื่อสัตย์ตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ จะช่วยให้ลูกบ่มเพาะความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในจิตใจ ทำให้เมื่อโตขึ้นเขาจะกลายเป็นคนที่มี ความฉลาดทางคุณธรรม(MQ) จากการที่คุณพ่อคุณแม่ช่วยให้ลูกได้ซึบซับความดีงาม การมีจริยธรรมและศีลธรรม เข้าไปในจิตใจ ซึ่งลูกจะเติบโตไปเป็นคนที่มีคุณธรรม สามารถควบคุมตนเองให้มีระเบียบวินัย ทำในสิ่งที่ถูกต้องเป็นนิสัยได้ค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : siamrath.co.th,haymarketca.com,greatschools.org

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เปิดเทคนิค สอนลูกให้ใจแกร่ง ฟันฝ่าอุปสรรคชีวิตได้ราบรื่น

6 เทคนิคคุยกับลูก สอนลูกให้คิดเป็น แก้ปัญหาเองได้

สอนลูกให้รู้จักความแตกต่าง หนูไม่ต้องเหมือนใคร เป็นตัวเองก็ดีมากพอแล้ว

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up