ค่านิยม

ค่านิยมทาง “ศีลธรรม” 10 ประการที่พ่อแม่ควรสอนลูก

Alternative Textaccount_circle
event
ค่านิยม
ค่านิยม

พ่อแม่ทุกคนย่อมอยากให้ลูกเติบโตไปเป็นคนดี ศีลธรรม ความประพฤติดีประพฤติชอบ อยู่ในศีลในธรรม จึงเป็นสิ่งที่ควรนำมาสอนลูก เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในจิตใจของลูกเมื่อเติบโตขึ้น

ค่านิยมทาง “ศีลธรรม” 10 ประการที่พ่อแม่ควรสอนลูก

พ่อแม่หลายคนเข้าใจผิดว่าการสอนให้ลูกรู้จัก ศีลธรรม จริยธรรม ต้องให้ลูกโตก่อน หรือให้ไปเรียนรู้จากที่โรงเรียน จริง ๆ แล้ว การสอนลูกเรื่อง ศีลธรรมและจริยธรรมนั้น สามารถสร้างให้เกิดเป็นค่านิยมติดตัวลูกได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก การสอนศีลธรรมให้เด็กเล็ก ไม่จำเป็นต้องมาพูดหรือสอนเป็นประโยคยาว ๆ คุณพ่อคุณแม่เพียงปลูกฝัง ทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง ถ้าคุณพ่อคุณแม่เป็นคนที่มีหลักศีลธรรม จริยธรรมเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ลูกน้อยจะได้เรียนรู้และทำตาม มาดูกันว่า ค่านิยมทางศีลธรรม 10 ประการที่ลูกควรมีเพื่อนำไปสู่ความสุขในชีวิต มีข้อไหนบ้าง

ค่านิยมทางศีลธรรม 10 ประการที่พ่อแม่ควรสอนลูก

  1. รู้จักให้ความเคารพ

พ่อแม่หลายคนสั่งสอนลูกให้เคารพผู้ใหญ่ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สอนอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ผิดค่ะ คนทุกคนสมควรจะได้รับความเคารพไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่หรือมีสถานะทางสังคมอย่างไร การให้ความเคารพต่อผู้อื่นเป็นค่านิยมทางศีลธรรมที่ลูกควรเรียนรู้ตั้งแต่ยังเด็ก เพราะสิ่งนี้มีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมของลูกที่แสดงต่อคนแปลกหน้าหรือผู้ใหญ่ เด็กที่เรียนรู้ถึงการแสดงการให้ความเคารพต่อผู้อื่น เมื่อเด็กคนนั้นโตขึ้น มักจะมีความระมัดระวังต่อการปฏิบัติตนต่อผู้อื่น

2. มีความเป็นครอบครัว

ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญของชีวิต ครอบครัวหล่อหลอมและหล่อเลี้ยงเด็กเล็กให้เป็นเติบโตผู้ใหญ่ที่ดีได้ คำว่าครอบครัว ไม่จำเป็นต้องมีทั้งพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พร้อมหน้า แต่คำว่าครอบครัวในที่นี้ หมายถึงกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดและมีความผูกพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องให้ลูกมีความรู้สึกถึงความเป็นครอบครัว และให้ลูก ๆ เข้าใจถึงความสำคัญของครอบครัว สิ่งนี้จะทำให้ลูกเติบโตขึ้นมาด้วยความเคารพและรักครอบครัวของตัวเองไม่ว่าจะมีทุกข์หรือสุข คำว่าครอบครัวก็จะปรากฏขึ้นในความคิดของลูกเป็นสิ่งแรก

3. รู้จักปรับตัวและประนีประนอม

ลูกควรจะได้เรียนรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่จำเป็นจะต้องเป็นไปตามที่ลูกต้องการ การให้ลูกรู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นหรือสิ่งอื่น ๆ และการประนีประนอมเพื่อลดความขัดแย้ง จะช่วยให้ลูกเป็นที่รักของคนในสังคมได้ไม่ยาก แน่นอนว่าการสอนให้ลูกรู้จักปรับตัวและประนีประนอม นั้นยากสำหรับเด็กเล็ก เพราะเด็กเล็กมักจะยังมีตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง และการประนีประนอมที่มากเกินไปอาจทำให้ลูกสูญเสียความมั่นใจได้ ดังนั้นการประนีประนอมในเด็กเล็ก จึงไม่ควรให้ลูกยอมคนอื่น ๆ ในทุก ๆ อย่าง สิ่งใดที่เป็นสิทธิ์ของลูก ก็ควรที่จะให้ลูกได้เป็นคนตัดสินใจว่าจะยอมให้หรือแบ่งสิ่ง ๆ นั้นให้กับเพื่อนหรือไม่ เช่น การแบ่งของเล่น หากของเล่นชิ้นนั้นเป็นของ ๆ ลูก เมื่อเพื่อนต้องการจะเล่นบ้าง คุณพ่อคุณแม่ควรถามความยินยอมของลูกก่อน ว่าจะแบ่งให้เพื่อนเล่นหรือไม่ หากลูกไม่ต้องการแบ่ง ก็ไม่ควรบังคับให้ลูกแบ่ง เป็นต้น

4. มีจิตอาสา

สอนให้ลูกรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น โดยช่วยทุก ๆ คนที่ต้องการความช่วยเหลือ ไม่จำเป็นว่าคน ๆ นั้นจะต้องเป็นคนยากไร้ หรือไร้โอกาสมากกว่าเรา ก็สามารถช่วยเหลือได้ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถสอนลูกต่อได้ว่าสิ่งที่ได้รับหลังจากช่วยเหลือผู้อื่นนั้น ไม่ใช่สิ่งของหรือสิ่งต่าง ๆ ตอบแทน แต่คือความสุขใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นนั่นเอง การปลูกฝังการมีจิตอาสาในตัวลูกนั้น จะช่วยให้ลูกเติบโตมามีความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจผู้อื่นได้ดี

บทความที่น่าสนใจ : กิจกรรมจิตอาสา ตามแนวรถไฟฟ้า..อาสาไหมเธอ!

  โครงการจิตอาสา สอนลูกช่วยสังคมได้ง่าย ๆ แม้อยู่บ้าน

สอนลูกให้มีศีลธรรม
สอนลูกให้มีศีลธรรม

5. มีความเคารพต่อศาสนาของตนเองและศาสนาอื่น ๆ

ความเคารพต่อศาสนาของตนเอง คือ การปฏิบัติตามหลักคำสอนในศาสนาที่ตนเองนับถือ นอกจากนี้ยังควรสอนให้ลูกเข้าใจว่าทุก ๆ คนมีสิทธิ์ที่จะเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ การมีเพื่อนต่างศาสนา ไม่ใช่เรื่องแปลก

6. มีความเที่ยงธรรม

ความเที่ยงธรรม คือ การปฏิบัติได้ถูกต้องตามจารีต ประเพณี กฎหมายและศีลธรรม มีความยุติธรรม กล้าที่จะแย้งเมื่อเห็นสิ่งที่ผิด และกล้าที่จะยอมรับผิดเมื่อตนทำผิด เพื่อประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ต่อผู้อื่น

7. มีความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์ หมายถึง มีความซื่อตรง มั่นคงอยู่ในศีลธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ ซึ่งความซือสัตย์นี้จะไม่ทำให้บุคคลรอบข้างของเราเดือดร้อน ความซื่อสัตย์ เป็นศีลธรรมข้อสำคัญที่ควรสอนลูกตั้งแต่ยังเล็ก โดยการสอนให้ลูกพูดความจริง แม้ว่าความจริงนั้นจะเกิดจากความผิดพลาดของตนก็ตาม เช่น เมื่อลูกทำผิด และกล้ายอมรับว่าสิ่งที่ทำไปเป็นสิ่งที่ผิด คุณพ่อคุณแม่ควรว่ากล่าวตักเตือนในเรื่องที่ลูกทำผิดได้ แต่ก็อย่าลืมที่จะกล่าวชื่นชมที่ลูกมีความซื่อสัตย์ กล้ายอมรับความจริงด้วย เป็นต้น

8. ไม่ทำร้ายผู้อื่น

การทำร้ายผู้อื่นในที่นี่ ไม่ได้หมายถึงการทำร้ายทางกายเพียงอย่างเดียว การทำร้ายทางจิตใจและอารมณ์ผู้อื่นก็ถือเป็นการทำร้ายเช่นกัน ดังนั้น จึงควรสอนลูกไม่ให้ทำร้าย ไม่ว่าร้ายหรือกล่าวโจมตีใคร ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และอย่าลืมที่จะสอนลูกให้รู้จักขอโทษทันทีที่ลูกไปทำร้ายผู้อื่นทั้งทางกายหรือวาจา และไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

9. ไม่นำของของคนอื่นมาเป็นของตนเองโดยผู้อื่นไม่ยินยอม

เมื่อต้องการยืมหรือใช้ของของผู้อื่น ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นคนที่สนิทกันเพียงไร ก็ต้องขออนุญาติก่อนทุกครั้ง โดยคุณพ่อคุณแม่ควรใช้กฏเกณฑ์นี้กันเองในครอบครัวด้วย ควรสอนให้ลูก ๆ รู้ว่าของชิ้นไหนเป็นส่วนตัว ของชิ้นไหนเป็นของส่วนรวม และก่อนที่จะใช้ของส่วนตัวของพ่อหรือแม่ ควรขออนุญาติก่อนใช้ทุกครั้ง สิ่งนี้จะทำให้ลูก ๆ รู้จักเคารพสิทธิ์ของผู้อื่นและสิทธิ์ของตนเอง

10. ปลูกฝังให้รักการศึกษา

การศึกษาทุกชนิด เป็นอาวุธที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เราจะมีได้ และเป็นสิ่งที่จะอยู่ติดตัวเราไปตลอดชีวิต ดังนั้นการปลูกฝังให้ลูกรักการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนจากที่โรงเรียน หรือการศึกษาสิ่งต่าง ๆ นอกห้องเรียน ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ทั้งสิ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสอนให้ลูกรู้ถึงความสำคัญของการศึกษา ที่สำคัญควรเน้นไปที่ลูกจะได้เรียนรู้อะไรจากการศึกษานั้น ๆ ไม่ใช่ลูกจะได้คะแนนเท่าไหร่

ควรเริ่มปลูกฝัง ศีลธรรม ให้ลูกตั้งแต่ลูกยังเล็ก เพราะยิ่งสอนเร็วเท่าไหร่ ลูกก็จะทำจนติดเป็นนิสัยได้เร็วเท่านั้น เมื่อ ศีลธรรม เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของลูก ลูกก็จะสามารถกำหนดรูปแบบชีวิตของตนเองให้ไปในทางที่ถูกต้องได้

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ท่องศีล5 ลูกได้แค่จำ ลองวิธีใหม่ช่วยเข้าถึงแก่นธรรมง่ายๆ

แพ้ ภูมิคุ้มกันความผิดหวังที่แม่สร้างให้ลูกได้

5 นิทานคุณธรรม ปลูกฝังให้ลูกทำดีได้ตั้งแต่เล็ก!

สอนลูกให้เป็นคนดี มีจริยธรรมตั้งแต่แรกเกิด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : parenting.firstcry.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up