น้ำนมน้อย อยากให้มาบ่อยๆ ต้องทำแบบนี้

Alternative Textaccount_circle
event

น้ำนมน้อย อยากให้มาบ่อยๆ ต้องทำแบบนี้ ในช่วงแรกน้ำนมยังมาไม่มาก คุณแม่หลายท่านก็ถอดใจ ยิ่งหันไปเห็นแม่คนนั้น คนนี้ มีน้ำนมเยอะแยะ ใจเลยท้อแท้หนัก ยอมยกธงขาวโบกมือลา แล้วหันไปหานมผงก็มี ทั้งที่จริงๆ แล้ว น้ำนมของแม่น่ะมีเพียงพอสำหรับลูกเสมอ ฉะนั้นอย่าเครียด อย่าถอดใจ แล้วหันมาทำความเข้าใจในกระบวนการของมันกันดีกว่าค่ะ

น้ำนมน้อย อยากให้มาบ่อยๆ ต้องทำแบบนี้

น้ำนมน้อย อยากให้มาบ่อยๆ ต้องทำแบบนี้

น้ำนมน้อย ทำอย่างไรให้มีน้ำนม

  • การให้นมแม่ช่วง 2-3 วันหลังคลอด

ระยะนี้แม่อาจยังมี น้ำนมน้อย แต่ควรให้เด็กได้ดูดเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม และลดปัญหาเต้านมคัด การให้เด็กอยู่ห้องเดียวกันกับแม่ช่วยให้เด็กได้ดูดนมบ่อยเท่าที่ต้องการ เด็กบางคนยอมดูดตามเวลาที่โรงพยาบาลกำหนด แต่บางคนก็ไม่ เวลาพามาดูดมักเอาแต่หลับ พอพากลับไปที่ห้องเด็กอ่อนมักตื่น ก็ต้องพากลับไปกลับมาหลายเที่ยวกว่าจะได้ดูดนมแม่

หากโรงพยาบาลไหนสนับสนุนการให้นมแม่จะให้ลูกดูดนมแม่ทันทีในห้องคลอด เพราะเป็นเวลาที่ลูกตื่นตัวดีที่สุด ทารกส่วนใหญ่ที่ถูกวางไว้บนหน้าท้อง หรือ หน้าอกแม่ จะหันไปหาหัวนมแม่ได้เองโดยไม่ต้องช่วย หลังคลอด 1 ชั่วโมง เด็กจะเริ่มง่วง และไม่ค่อยหิวในระยะ 2-3 วันแรก ยิ่งถ้าแม่รับยาสลบ หรือยาแก้ปวดอาจผ่านมาทางน้ำนมได้ ทำให้ลูกหลับมากผิดปกติ แต่หลัง 3 วันไปแล้ว เขาจะตื่นบ่อยๆทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เป็นอย่างนี้ประมาณ 2-3 วัน ซึ่งทารกบางคนดูดเก่งมาก ต้องดูดวันละ 10-12 ครั้ง ใน 1-2 สัปดาห์แรก แล้วลดเหลือ 8-10 ครั้ง จนอายุประมาณ 1 เดือน

  • น้ำนมช่วงแรก

ระยะแรกเต้านมจะสร้างสารที่เรียกว่า คอลอสตรัม (Colostrum) เป็นสารเหลวสีเหลืองใสกว่าน้ำนม อุดมด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าและสามารถต้านเชื้อโรคได้ โดยมากน้ำนมแม่จะเริ่มมาในวันที่ 3-4 หลังคลอด ถ้าเป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่สอง หรือสามจะมาเร็วขึ้น หากเด็กแรกเกิดที่ได้อยู่ห้องเดียวกันกับแม่จะทำให้น้ำนมแม่มาเร็วกว่าการแยกห้อง แต่แม่ที่ยังไม่มีน้ำนมหลังคลอดก็ไม่ต้องกังวล เพราะเด็กไม่ค่อยเดือดร้อน โดยมากเด็กจะเริ่มดูดนมในช่วงหลังของสัปดาห์แรก และจะดูดบ่อยมากถึงวันละ 10-12 ครั้ง จนทำให้แม่บางคนคิดไปเองว่า น้ำนมน้อย กลัวตัวเองจะมีน้ำนมไม่พอ ความจริงเด็กได้รับนมมากแล้ว สังเกตจากอุจจาระปัสสาวะบ่อย

บทความแนะนำ น้ำนมเหลือง สิ่งมหัศจรรย์ปกป้องลูกจากโรคร้าย

ยิ่งทารกดูดบ่อยจะกระตุ้นให้น้ำนมผลิตเพิ่มขึ้นตามความต้องการ แม่บางคนอาจเคยได้ยินว่าอย่าให้เด็กดูดนมนาน เพราะจะทำให้แม่เจ็บหัวนม แต่ปัจจุบันมีคำแนะนำว่า ควรให้เด็กดูดนานเท่าที่ต้องการ เพราะการที่เด็กดูดนานไม่ได้เป็นสาเหตุของอาการหัวนมแตก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ติดตาม ลูกควรดูดบ่อยแค่ไหน คลิกต่อหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up