แอพเช็คประกันสังคม

วิธีเช็คเงินสมทบ-ค่าคลอดบุตร ผ่าน แอพเช็คประกันสังคม

Alternative Textaccount_circle
event
แอพเช็คประกันสังคม
แอพเช็คประกันสังคม

รู้ยัง? แม่ ๆ สามารถเช็คยอดเบิกสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ยอดเงินสมทบผู้ประกันตน ยอดเงินชราภาพ ยอดเงินค่าคลอดบุตร ผ่าน แอพเช็คประกันสังคม เช็คได้ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว

วิธีเช็คเงินสมทบ-ค่าคลอดบุตร ผ่าน แอพเช็คประกันสังคม

เงินประกันสังคมที่หลาย ๆ ท่านได้ส่งเงินสมทบไปทุกเดือนนั้น ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิต่าง ๆ ในการรักษาพยาบาล และสิทธิประโยชน์จากกองทุน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน โดยสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม มีดังนี้

สิทธิประกันสังคม
สิทธิประกันสังคม
  1. กรณีเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นโดยที่ได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมตามอัตราที่กำหนด โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องจ่ายสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน
  2. กรณีทันตกรรม เข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม (ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลได้จาก สำนักงานประกันสังคม ) สามารถรับค่าบริการทางการแพทย์ได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 900 บาทต่อปี
  3. คลอดบุตร สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 15,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง) อัพเดท 1 ม.ค. 2564
    ผู้ประกันตนหญิงได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอดเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเป็นระยะเวลา 90 วัน (ใช้สิทธิได้เฉพาะบุตรคนที่ 1 และ 2 เท่านั้น) กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร (บทความที่น่าสนใจ : แม่ท้องเฮ! สนช.ผ่านกฎหมายเพิ่มวัน “ลาคลอดบุตร” เป็น 98 วัน)
  4. สงเคราะห์บุตร ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาท อัพเดท 1 ม.ค. 2564 ตั้งแต่บุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ สามารถขอใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 3 คน โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 และจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน
  5. ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิตในกรณีทุพพลภาพร้ายแรง หากไม่ร้ายแรงจะได้รับตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามที่ประกาศฯ กำหนด โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน
  6. กรณีเสียชีวิต ผู้จัดการศพสามารถขอค่าทำศพได้ 40,000 บาท สำหรับเงินสงเคราะห์ หากผู้เสียชีวิตจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือนจะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 2 เดือน หากผู้เสียชีวิตจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ไม่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้เงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้าง 6 เดือน โดยมีเงื่อนไขคือ สาเหตุการเสียชีวิตต้องไม่เกิดจากการทำงาน และจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือนขึ้นไป
  7. กรณีชราภาพ 
    • บำนาญชราภาพ ถ้าจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ถ้าจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนจะได้รับการปรับเพิ่มบำนาญชราภาพอีกร้อยละ 1.5 สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนทุกๆ 12 เดือนที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนนั้น กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับตั้งแต่ได้สิทธิบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต
    • บำเหน็จชราภาพ ถ้าจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ ถ้าจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
  8. กรณีว่างงาน โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
    • ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วันในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
    • ในกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามระยะเวลา จะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานปีละไม่เกิน 90 วันในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ยซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
    • กรณีที่ว่างงานเพราะถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 ครั้งใน 1 ปีจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 180 วัน
    • กรณีว่างงานเพราะลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างมากกว่า 1 ครั้งใน 1 ปีจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

บทความที่น่าสนใจ : เปิด ลงทะเบียนว่างงาน รับเงินชดเชย โดนเลิกจ้าง หยุดทำงานเพราะพิษโควิด-19

ไม่ว่าจะเป็นกรณีว่างงาน คลอดบุตร ชราภาพ ทันตกรรม ฯลฯ ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าเงินต่าง ๆ ที่เราจะได้รับมีมูลค่าเท่าไหร่? ได้รับหรือยัง? ยอดเงินทันตกรรมของปีนี้เหลือเท่าไหร่? ในตอนนี้ ผู้ประกันตนไม่ต้องเสียเวลาโทรไปสอบถาม หรือไปที่สำนักงานประกันสังคม เพื่อสอบถามข้อมูลเหล่านี้อีกแล้ว เพียงแค่ดาวน์โหลด แอพเช็คประกันสังคม หรือ “SSO Connect” แอพพลิเคชั่นที่สำนักงานประกันสังคม(สปส.) จัดทำขึ้นเพื่อให้บริการแก่ผู้ประกันตนทุกคน โดยผู้ประกันตนสามารถใช้แอพพลิเคชั่นนี้แทนบัตรประกันสังคมเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยได้เลย นอกจากนี้ยังสามารถเช็คยอดเงินต่าง ๆ ได้ผ่านแอพฯ นี้เพียงแอพเดียว ขั้นตอนง่าย ๆ ในการดาวน์โหลด SSO Connect มีดังนี้

วิธีดาวน์โหลด และลงทะเบียน แอพเช็คประกันสังคม

  1. ค้นหาคำว่า SSO Connect ผ่านทาง Google play และ App Store กดดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น
SSO Connect
SSO Connect

2. หากเป็นการเข้าใช้งานครั้งแรกจะต้องลงทะเบียนก่อน ด้วยการกรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อ-สกุล วันเกิด อีเมล์ พร้อมด้วยหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก เบอร์มือถือ และรหัสผ่าน บนหน้าแอพฯ หรือผ่านเว็บไซต์ sso.go.th เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนและป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นเข้ามาตรวจสอบข้อมูลแทน เมื่อเรียบร้อย รอรับข้อความ(SMS) เพื่อยืนยันตัวตนอีกครั้งผ่าน OTP เพียงเท่านี้เจ้าตัวก็สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย

ลงทะเบียนแอพเช็คประกันสังคม
ลงทะเบียนแอพเช็คประกันสังคม
ประกันสังคม
ประกันสังคม
แอพประกันสังคม
แอพประกันสังคม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกันตนสามารถ Login เข้าสู่ระบบเพื่อตรวจสอบยอดเงินต่าง ๆ ได้เลย

สิทธิประกันสังคม
สิทธิประกันสังคม

แอพเช็คประกันสังคม ตรวจสอบข้อมูลอะไรได้บ้าง?

ผู้ประกันตนทุกคนสามารถตรวจสอบข้อมูลประกันตนของตัวเองได้ทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการอยากจะรู้ ซึ่งจะมีข้อมูลใน 6 หมวดสำคัญที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกันควรจะต้องรู้ ดังนี้

  1. ตรวจสอบยอดเงินชราภาพ

ผู้ประกันตนจะทราบยอดเงินสมทบชราภาพทั้งหมดว่าเป็นจำนวนเงินกี่บาท นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดเป็นรายปีตั้งแต่ที่เริ่มจ่ายเงินสะสมผู้ประกันตน

2. ตรวจสอบเงินสมทบผู้ประกันตน

สามารถเลือกตรวจสอบได้เป็นรายปี ตั้งแต่เดือนแรก ปีแรกที่จ่ายเงินสมทบ จะมีข้อมูลทั้งวันที่ที่ชำระเงิน จำนวนเงินสมทบ อัตราเงินสมทบ และยอดรวมเงินสมทบในแต่ละปี ซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในการจ่ายเงินสมทบของตนเองได้อย่างชัดเจน ว่าในแต่ละเดือนแต่ละปีจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นหรือไม่

3. ตรวจสอบการเบิกสิทธิประโยชน์

ข้อมูลเกี่ยวกับวันที่จ่ายเงิน ช่องทางการจ่าย ประเภทสิทธิประโยชน์ที่จ่าย และจำนวนเงินที่จ่าย มีข้อมูลตั้งแต่ปีแรกที่สมัครเป็นผู้ประกันตน ทำให้แต่ละคนทราบได้ว่าที่ผ่านมาตนเองเคยใช้สิทธิประโยชน์อะไรจากประกันสังคมบ้าง

4. ตรวจสอบค่ารักษาทันตกรรม

ตามสิทธิผู้ประกันตนจะได้รับคนละ 900 บาทต่อปี เช่นเดียวกันหมวดนี้จะบอกวันที่จ่าย ประเภทสิทธิประโยชน์ จำนวนเงิน ช่องทางการจ่ายเงิน และยอดคงเหลือค่ารักษานี้ ผู้ประกันตนไม่ต้องสงสัยอีกต่อไปว่าในปีนี้ สิทธิค่าทันตกรรมใช้หมดไปแล้วหรือไม่ เพียงแค่เข้ามาตรวจสอบภายในแอพฯ

5. เปลี่ยนโรงพยาบาล

จะมีการแจ้งโรงพยาบาลตามสิทธิ์ปัจจุบันของผู้ประกันตน อีกทั้ง มีข้อมูลเปลี่ยนสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการกับประกันสังคม เพื่อให้ผู้ประกันตนทราบในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนโรงพยาบาลด้วย ซึ่งในการเปลี่ยนรพ.จะต้องระบุสาเหตุ อาทิ เปลี่ยนประจำปี ย้ายสถานประกอบการ หรือย้ายที่อยู่ และสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนโรงพยาบาลใหม่ได้ผ่านทางแอพฯ นี้ จะทราบผลภายใน 2 วันทำการ

6. ข่าวประชาสัมพันธ์

เรื่องราวและข้อมูลที่น่าสนใจที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานประกันสังคมจัดทำขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ประกันตน เช่น ประกันสังคม เปิดรับสมัครรพ.ในดวงใจ หรือ ประกันสังคม เปิดรับสมัครเครือข่ายประกันสังคมมาตรา 40 เป็นต้น

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

วิธี เช็คสิทธิ์ประกันสังคม ง่ายๆ แต่ละมาตรา 33 39 40 ต่างกันอย่างไร?

ผู้ประกันตนได้เฮ ครม. ไฟเขียวลดหย่อน เงินสมทบประกันสังคม เหลือ2% นาน 3 เดือน

ประกันสังคม กรณีเงินสงเคราะห์บุตร แบบครบถ้วน

เปิดโพย!! ค่าคลอดบุตร รพ.รัฐ’63พร้อมทริคช่วยประหยัด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม, www.komchadluek.net, news.trueid.net

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up