ปัสสาวะบ่อย

ทำไมคนท้อง ปัสสาวะบ่อย “ฉี่”แบบไหนไม่ปกติ แม่ต้องระวัง!

Alternative Textaccount_circle
event
ปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะบ่อย

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อาจพบว่าตัวเองเริ่มมีอาการ ปัสสาวะบ่อย ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำถี่ขึ้น บางคนถึงขั้นวิตกว่าจะเกิดอันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า ทีมแม่ ABK ได้รวบรวมข้อมูลในเรื่องนี้เพื่อให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ได้เข้าใจและดูแลตัวเองมากขึ้นกันค่ะ

ทำไมคนท้อง ปัสสาวะบ่อย ?

กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะที่วางอยู่ด้านหน้าต่อจากมดลูก ทำหน้าที่ในการรองรับน้ำปัสสาวะที่ไหลมาจากท่อไต โดยกระเพาะปัสสาวะในร่างกายมีความสามารถในการยืดขยายตัวเองให้มากพอที่จะบรรจุน้ำปัสสาวะได้เกือบครึ่งลิตร ก่อนที่จะปวดปัสสาวะมาก จนต้องถ่ายปัสสาวะ “อาการปัสสาวะบ่อย” ที่แม่ท้องต้องเจอนั้นจัดเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้ใน 2 ช่วง คือในไตรมาสแรก (12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์) ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับคนท้องทุกคน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นและมดลูกที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ไปเบียดดันกระเพาะปัสสาวะ จนทำให้ไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ เมื่อกระเพาะปัสสาวะรับน้ำปัสสาวะได้เพียงประมาณ 100-200 มิลลิเมตร ก็จะทำให้คุณแม่ต้องเข้าห้องน้ำไปปัสสาวะบ่อยขึ้น รวมทั้งเลือดและของเหลวที่มากขึ้นในภาวะตั้งครรภ์ไหลเวียนมาหล่อเลี้ยงบริเวณอุ้งเชิงกรานและถูกขับออกมาทางไต จึงทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติได้ และจะมีอาการปัสสาวะบ่อยอีกครั้งในช่วงไตรมาสสุดท้าย (สัปดาห์ที่ 28-40) เนื่องจากร่างกายทารกในครรภ์มีการเติบโตมากขึ้นและในช่วงใกล้คลอดศีรษะของทารกเริ่มเคลื่อนตัวไปใกล้และกดลงบริเวณหัวหน่าว ซึ่งก็จะไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณแม่ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นนั่นเอง ซึ่งอาการนี้จะหายเป็นปกติได้เองหลังจากคลอดลูกแล้ว ดังนั้นในช่วงที่คุณแม่ท้องรู้สึกปวดปัสสาวะถึงแม้จะเดินอุ้ยอ้ายแต่ก็จำเป็นต้องเข้าห้องน้ำทุกครั้ง ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ส่งอันตรายต่อแม่และลูกในท้องตามมาได้

ทําไมคนท้องฉี่บ่อย

12 อาการฉี่ที่ไม่ปกติ แม่ท้องต้องระวัง!

แม้ว่าภาวะปัสสาวะบ่อยในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นสิ่งผิดปกติสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์ แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วยก็อาจเป็นอันตรายได้

1.ปัสสาวะแสบขัด

2.ปัสสาวะมีสีขุ่น/ สีแดง หรือสีน้ำตาลเข้ม

3.มีไข้สูง

4.มีอาการปวดท้อง

5.ปวดหลัง

6.มีเลือดออก

7.มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ

8.ปัสสาวะบ่อยมากขึ้น

9.มีอาการเจ็บปวดที่บริเวณด้านข้างและด้านล่างของท้อง หรือบริเวณขาหนีบ

10.ปัสสาวะลำบากหรือปัสสาวะไม่ออก

11.มีอาการปวดปัสสาวะอย่างรุนแรง

12.มีปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะ

อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่ากำลังติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หากปล่อยไว้นานอาจพบภาวะคลอดก่อนกำหนดหรือแท้ง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อแม่และลูกในท้องได้ จึงควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน

บทความแนะนำ : คนท้อง ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อันตรายกับทารกในครรภ์อย่างไร?

คนท้องฉี่บ่อย

แม่ท้องดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อปัสสาวะบ่อย

ถึงแม้ว่าอาการปัสสาวะบ่อยขณะตั้งครรภ์จะเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ก็ควรดูแลตัวเองปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้ถูกวิธี ดังนี้

  • แม่ท้องควรดื่มน้ำให้เพียงพอหรือประมาณ 8 แก้วต่อวัน เพื่อทดแทนน้ำที่ถูกขับออกมาในรูปของปัสสาวะ ช่วยป้องกันไม่ให้ท้องผูก และไม่ให้ปัสสาวะเข้มข้นเกินไป อีกทั้งป้องกันไม่ใช่ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ เพราะในช่วงการตั้งครรภ์ร่างกายมีความต้องการน้ำมากกว่าปกติ แต่สามารถลดปริมาณดื่มน้ำลงในช่วงเวลากลางคืนเพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดปัสสาวะบ่อยในขณะนอนหลับและรบกวนการนอนพักผ่อนได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา หรือน้ำอัดลม เพราะจะไปกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะมากกว่าเดิมได้ อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์อีกด้วย
  • ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเด็ดขาด เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด หรือติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ พยายามปัสสาวะให้สุดทุกครั้ง และหลังปัสสาวะควรล้างทำความสะอาดให้ดีและเช็ดให้แห้งทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการอับชื้นที่อาจส่งผลให้เกิดเชื้อราได้

คนท้องปัสสาวะบ่อย

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องกลั้นปัสสาวะ เช่น การเดินทางไกลที่ทำให้คุณแม่ไม่สะดวกในการเข้าห้องน้ำระหว่างเดินทาง แต่เมื่อจำเป็นควรงดดื่มน้ำหนึ่งชั่วโมงก่อนออกเดินทางไปข้างนอก และควรถ่ายปัสสาวะก่อนออกจากบ้าน ก็จะช่วยแก้ปัญหาปวดปัสสาวะระหว่างทางไปได้ระดับหนึ่ง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ หรือมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เช่น อาหารรสจัด ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของมะเขือเทศเป็นหลัก เป็นต้น
  • ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหรือการขมิบช่องคลอดเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อปัสสาวะและขมิบให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานยกขึ้นและเข้าไปข้างใน หากทำได้เป็นประจำจะช่วยให้อาการปัสสาวะบ่อยลดลง ซึ่งการฝึกขมิบช่องคลอดสามารถทำได้กับผู้หญิงทุกวัย โดยเฉพาะคุณแม่ที่ผ่านการคลอดบุตรแบบธรรมชาติ เพราะจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณเชิงกรานแข็งแรงขึ้นด้วย
  • ป้องกันการปัสสาวะบ่อยด้วยการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง อาหารที่มีกากใยให้มากขึ้น รวมถึงผลไม้ที่ช่วยสร้างกากอาหารในลำไส้ทำให้ระบบการขับถ่ายของร่างกายทำงานได้ดี เช่น มะละกอสุก แคนตาลูป เป็นต้น เพื่อลดอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากอาการท้องผูกส่งผลให้เกิดแรงดันที่กระเพาะปัสสาวะมากขึ้น และทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น หากลดอาการท้องผูกได้ ก็จะทำให้ปัสสาวะได้ปกติมากขึ้น

อาการปัสสาวะบ่อยสังเกตได้ง่าย ๆ จากจำนวนครั้งที่ปัสสาวะในแต่ละวัน ซึ่งโดยปกติภายใน 24 ชั่วโมง คนเราจะปัสสาวะอย่างน้อย 6-8 ครั้ง และในระหว่างตั้งครรภ์อาการฉี่บ่อยที่ทำให้คุณแม่ต้องคอยเดินเข้าห้องน้ำบ่อยครั้งขึ้นนั้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่แม่ท้องทุกคนต้องเจอ หากดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธีตามคำแนะนำ ก็ไม่น่ามีอะไรวิตกกังวลไปนะคะ

นอกจากนี้คอยสังเกตว่ามีอาการผิดปกติอื่น ๆ หรือไม่ เพราะการรักษาภาวะปัสสาวะบ่อยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยแพทย์จะหาสาเหตุหลักที่ส่งผลต่อความผิดปกติในการปัสสาวะเป็นอันดับแรก เช่น อาการปัสสาวะบ่อยโดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์ก็จะทำการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อบรรเทาอาการและช่วยให้ความถี่ในการปัสสาวะลดลง

เรื่องปัสสาวะที่ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน แต่ในขณะตั้งครรภ์สำหรับเรื่องเล็ก ๆ ก็ไม่ควรมองข้ามนะคะ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายตอนท้องที่ส่งผลต่ออาการอื่น ๆ อีกมากมายที่แม่ท้องต้องเจอ เช่น ปวดหัว ปวดหลัง คัดเต้านม ท้องผูก ท้องอืด อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ฯลฯ อาการบางอย่างอาจไม่เป็นอันตราย แต่อาการบางอย่างหากปล่อยไว้นานก็อาจจะเป็นอันตรายส่งผลต่อสุขภาพได้ ซึ่งคุณแม่ต้องคอยสังเกตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์นะคะ.

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.sanook.comwww.pobpad.com

อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ คลิก :

 

ทําไมคนท้องถ่ายเป็นสีดํา แม่ท้องกินอะไรผิดไป!

หมอเตือน! ไม่อยาก ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อย่าทำสิ่งนี้!

ไขข้อสงสัย ท้องนี้ ปัสสาวะผิดปกติ หรือไม่?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up