MQ (Moral Quotient)

6 เทคนิคดี ๆ สร้าง MQ (Moral Quotient) ให้รู้ผิดชอบชั่วดี โตมาให้เป็นเด็กดีในสังคม

Alternative Textaccount_circle
event
MQ (Moral Quotient)
MQ (Moral Quotient)

คงไม่ดีแน่ถ้าเราเอาแต่ส่งเสริมให้ลูกเก่ง ฉลาด แต่ขาดศีลธรรม ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้าง MQ (Moral Quotient) ฝึกให้ติดตัวลูกน้อยได้ตั้งแต่ยังเล็ก

MQ (Moral Oral Quotient) หมายถึง ความฉลาดทางจริยธรรมหรือศีลธรรม คือ เป็นคนที่รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว คิดดี ทำดี พูดดี ความเมตตาปรานี และรู้จักให้อภัย คนที่มี MQ จะสามารถคิดยับยั้งชั่งใจรู้จักเลือกทางที่ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้ผิดชอบชั่วดี ซึ่ง MQ นั้นไม่ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ แต่จำเป็นต้องได้รับการปลูกฝังกันมาตั้งแต่เด็ก

โดยเฉพาะในวัยเด็ก หากลูกได้รับการปลูกฝังด้านศีลธรรมและจริยธรรมอย่างต่อเนื่องก็จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการปลูกฝังความดีลงไปในจิตสำนึก ซึ่งจะทำให้ตัวเด็กสามารถพัฒนา MQ ได้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต ดังนั้นตัวของคุณพ่อคุณแม่มีส่วนสำคัญในการปลูกฝัง MQ ให้กับลูกได้ ทีมแม่ ABK มีเทคนิคปลูกฝังความดีให้ลูกแต่เนิ่น ๆ มาฝากค่ะ

6 เทคนิคดี ๆ สร้าง MQ (Moral Quotient) ให้ลูกรัก

การ พัฒนา mq moral quotient

1. ต้นแบบที่ดีได้จากพ่อแม่

แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่คือต้นแบบสำหรับลูกที่เป็นผ้าขาวจะซึมซับได้ง่าย อยู่ที่เราจะแต้มสีอะไรลงไป โดยเฉพาะเด็กในช่วงวัย 2-10 ปี มีพัฒนาการทางด้านจริยธรรมอยู่ในระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre-Conventional Level) ซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ เลียนแบบ ช่างสังเกตและจดจำ สิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือคนในครอบครัว ลูกจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงพฤติกรรมที่ “ดี” และ “ไม่ดี” จากพ่อและแม่ ดังนั้นเพื่อต้องการปลูกฝัง MQ ให้กับเจ้าตัวน้อยเริ่มต้นง่าย ๆ คือการ “ทำดี” เป็นตัวอย่างให้ลูกได้เห็น สร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่ลูก เช่น ความกตัญญูรู้คุณ การซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความมีเมตตา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีศีลธรรม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่สามารถทำเป็นตัวอย่างให้เห็นได้จากชีวิตประจำวัน เพื่อที่ลูกจะได้ซึมซับจดจำต้นแบบที่ดีเหล่านี้ไปประพฤติปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย

 2. แนะนำสั่งสอนให้รู้จักถูกผิด

เพราะเด็กกำลังเริ่มต้นสั่งสมประสบการณ์ เมื่อลูกทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรสั่งสอนและชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องโดยไม่ปล่อย ไม่เข้าข้าง ไม่ปกป้อง ว่ากันตามเหตุผลที่ถูกต้อง เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ผลเสียของการทำผิด แต่ก็ควรพูดด้วยอารมณ์ที่ใจเย็น ไม่ใช้คำพูดที่รุนแรง หรืออารมณ์ที่โมโหในการลงโทษลูก และเมื่อลูกทำความดี ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น ลูกกลับมาเล่าว่าวันนี้แบ่งปันขนมให้เพื่อนที่โรงเรียน เก็บเงินได้แล้วนำไปให้คุณครู ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ฯลฯ ก็สามารถชื่นชมลูกได้ด้วยคำพูดที่ดี เพื่อเป็นกำลังใจ และให้ลูกได้รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นเรื่องที่ดี เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เหล่านี้ลูกก็จะสามารถเข้าใจและแยกแยะในเรื่องที่ผิดถูกได้

3.ให้ลูกได้ใกล้ชิดกับศาสนาประจำครอบครัว

ในทุกศาสนานั้นสอนให้ทุกคนประพฤติดี คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปยังศาสนสถานที่ครอบครัวนับถือเพื่อให้ได้ซึมซับกับคำสอนตามหลักศาสนาและนำมาสอนลูกเพิ่มเติมด้วยคำอธิบายง่าย ๆ  เช่น ศาสนาพุทธก็พากันเข้าวัดฟังเทศน์ ตื่นเช้าตักบาตร สวดมนต์ไหว้พระ ศาสนาคริสตร์ก็พากันไปโบสถ์ในทุกวันอาทิตย์ หรือศาสนาอิสลามก็พากันไปมัสยิด เป็นต้น การให้ลูกมีได้โอกาสเรียนรู้หลักคำสอนตามศาสนาตามที่พ่อแม่นับถือตั้งแต่ยังเล็ก ถือเป็นการปลูกฝังคุณธรรมสร้างรากฐาน MQ ได้เป็นอย่างดี

กิจกรรม ส่งเสริม mq
กิจกรรม ส่งเสริม mq

4. เรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมผ่านกิจกรรม

หนังสือนิทานคุณธรรม การร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความดี ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ การช่วยเหลือ การแบ่งปัน และความรักต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ เป็นสื่อที่สามารถสอนเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมให้เด็ก ๆ เรียนรู้และซึมซับด้วยความสนุก การอ่านนิทานหรือเนื้อเพลงประเภทนี้จะช่วยเสริมสร้างพื้นฐานนิสัยที่ดี อันจะนำไปสู่การพัฒนา MQ ทั้งทางด้านความคิด จิตใจ และปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีของลูกตั้งแต่ยังเล็กได้ เมื่อทำกิจกรรมจบ คุณพ่อคุณแม่สามารถลองตั้งคำถามในเนื้อเรื่องเพื่อสำรวจความสนใจของลูก พร้อมสอดแทรกคำสอนเพื่อปลูกฝังสิ่งดี ๆ พูดกระตุ้นให้ลูกคิดตาม ตลอดจนเปิดโอกาสให้ลูกได้ถามในสิ่งที่สงสัยเพื่อเด็ก ๆ จะได้รู้จักความหมายของคุณธรรมได้มากยิ่งขึ้นด้วย

บทความแนะนำ : โหลดฟรี! 12 นิทานคุณธรรมสำหรับเด็ก บ่มเพาะ “ความดี” ในใจลูก

5. สอนให้ลูกมี 2 ข.

โดยคุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูกรู้จักพูด “ขอบคุณและขอโทษ” ให้ติดเป็นนิสัย เช่น ให้ลูกกล่าว “ขอบคุณ” ทุกครั้งเมื่อมีคนช่วยเหลือหรือทำอะไรให้ รู้จักขอบคุณกับสิ่งรอบตัวในแม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ การฝึกให้รู้จักขอบคุณจะทำให้เด็กได้รู้จักคุณค่าของตนเองและผู้อื่น รวมถึงการกล่าวคำ “ขอโทษ” ทันทีเมื่อรู้ตัวว่าทำผิด ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักผิดชอบชั่วดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นการปลูกฝังคุณธรรมอย่างหนึ่งให้กับลูกน้อย และเป็นลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมด้วย

การ พัฒนา mq

6. พาลูกเป็นจิตอาสา สอนลูกให้รู้จักการให้ แบ่งปัน

นอกจากการแนะนำบอกลูกรู้จักให้แบ่งปันขนม ของเล่น กับพี่น้องหรือเพื่อน ๆ ช่วยงานครูเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่โรงเรียน การพาลูกลองไปทำกิจกรรมอาสาก็จัดว่าเป็นประสบการณ์ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้จักกับการให้สิ่งดี ๆ เป็นการช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน และทำความดีต่อผู้อื่นและสังคมได้ โดยแพทย์หญิงถิรพร ตั้งจิตติพร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ได้แนะนำว่า การทำงานจิตอาสาเป็นสิ่งที่ช่วยปลูกฝังให้เด็กมีทักษะชีวิตที่สำคัญ ได้แก่ การเสียสละ การมีน้ำใจ ความขยัน อดทน ความรับผิดชอบ การเข้าสังคม อ่อนน้อมถ่อมตน ลดความเห็นแก่ตัว มีเมตตาต่อกันทำให้สังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือการเห็นอกเห็นใจและเข้าใจผู้อื่น 

สำหรับเด็ก ๆ ก็สามารถทำกิจกรรมอาสาให้เหมาะสมกับวัยได้ เช่น วัยอนุบาล: งานอาสาควรเป็นกิจกรรมที่ทำง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ทักษะมากโดยทำร่วมกับพ่อแม่ เช่น แบ่งของเล่นหรือเสื้อผ้าให้ผู้อื่น ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านก็เป็นจิตอาสารูปแบบหนึ่ง วัยประถม : ที่มีกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่แข็งแรงและมีพัฒนาครบทุกด้าน สามารถช่วยทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น อาสาเก็บขยะ อาสาอ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตา บริจาคสิ่งของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ให้แก่ผู้ที่จำเป็น เป็นต้น กิจกรรมอาสาเหล่านี้ก็ถือเป็นรากฐานที่ดีต่อการสร้าง MQ ให้กับลูกได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.happyschoolbreak.com

จะเห็นได้ว่า การเสริมสร้าง MQ ให้ลูกตั้งแต่เนิ่น ๆ ถือเป็น Q ด้านหนึ่งที่เชื่อมโยงจาก Q ต่าง ๆ เช่น IQ EQ เมื่อมีความฉลาดทางคุณธรรมติดตัวก็เสมือนเป็นเกราะคุ้มกันให้ลูกได้เติบโตเป็นคนดีในสังคมได้ในชีวิต.

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :www.trueplookpanya.com

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจอื่นๆ :

8 กิจกรรมเพิ่ม EQ (Emotional Quotient) ให้ลูกเป็นเด็กดี มีความสุข และมีความฉลาดทางอารมณ์

7 เทคนิคสร้าง IQ (Intelligence Quotient) ความฉลาดของลูกที่เพิ่มพูนได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

Summary
Review Date
Reviewed Item
MQ (Moral Quotient)
Author Rating
31star1star1stargraygray

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up