โรคติดต่อ

ชวนแม่โหลดฟรี นิทานพี่ข้าวสวย-น้องข้าวต้ม รับมือ โรคติดต่อ หลังเปิดเทอม

Alternative Textaccount_circle
event
โรคติดต่อ
โรคติดต่อ

1 กรกฎาคม น้อง ๆ หนู ๆ ก็จะเปิดเทอมกันแล้ว หลังจากที่ต้องหยุดอยู่บ้านกันมานานจากสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19  แม้จะรอดพ้นมาแล้วยังมี โรคติดต่อ อื่นๆ ที่มีอาการแตกต่างกัน  เช่น  มีไข้ เจ็บคอ ไอแห้ง ๆ น้ำมูกไหล และหายใจเหนื่อยหอบ ซึ่งหากมีอาการตามข้างต้นควรไปพบแพทย์ทันที ส่วนวิธีป้องกันก็ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” บวกเพิ่มเข้ามาคือ สวมใส่หน้ากากอนามัย และคุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการพาลูกไปในสถานที่เสี่ยงที่มีคนพลุกพล่าน

นอกจากโควิด-19 ที่เราต้องเฝ้าระวังแล้ว ยังโรคภัยอื่นๆที่พร้อมจะทำลายสุขภาพลูกได้ทุกเมื่อ มาดูกันดีกว่าว่ามี โรคติดต่อ ยอดฮิตอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวังบ้าง มาทำความรู้จักกันเลยค่ะ

โรคติดต่อ

1) โรคไข้หวัดใหญ่

โรคนี้เกิดขึ้นบ่อยและอาการดูคล้ายไข้หวัดทั่วไปทั้ง ไข้สูง ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล แต่ถ้าลูกเป็นไข้หวัดใหญ่จะต้องมีอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กินได้น้อย แต่หากมีอาการรุนแรง อาจเป็นปอดบวม หรือติดเชื้อแทรกซ้อนจนถึงเสียชีวิตได้ เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ แต่ก็ป้องกันได้ด้วยการรับ “วัคซีนไข้หวัดใหญ่” ที่สามารถรับได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป และต้องได้รับการฉีดกระตุ้นทุกปี

2) โรคอาร์เอสวี (RSV)

เชื้อไวรัสที่ติดต่อกันได้ง่ายในเด็กเล็ก มักระบาดหนักในช่วงปลายฝนต้นหนาว (กรกฎาคมถึงตุลาคม) ของทุกปี อาการทั่วไปคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่มักรุนแรงกว่า ป่วยนานกว่า เป็นไข้นานกว่า บางรายอาจป่วยนานถึง 7-10 วัน ผู้ป่วยมักมีเสมหะเยอะ ไอเยอะ หายใจหอบเหนื่อย หากเชื้อลุกลามลงปอดจะทำให้เกิดหลอดลมฝอยอักเสบและปอดอักเสบ หรือปอดบวมได้ ปัจจุบันโรค RSV ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน จึงต้องรักษาตามอาการ  ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักหายได้เองหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน

โรคติดต่อ

3) โรคมือเท้าปากและโรคเฮอร์แปงไจน่า

โรคนี้เกิดจากไวรัส 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ที่ชื่อว่าไวรัสคอกแซกกี้ (Coxsackie Virus )และเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) แต่เมื่อลูกรับเชื้อแล้วมักแสดงอาการคล้ายกัน คือ มีไข้ ปวดศีรษะ มีน้ำมูก ไอ และเจ็บคอ อาการต่อมาที่สามารถสังเกตได้ชัดเจน ลูกอาจกินน้อยลง หรือเจ็บปากเพราะมีแผลร้อนในขึ้นเป็นตุ่มใส หรือพบผื่นเป็นตุ่มแดงหรือตุ่มเหลืองบนฝ่ามือ ฝ่าเท้า ก้น แขน ขา และอวัยวะเพศร่วมด้วย แต่เด็กส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง หายเองได้ในไม่กี่วัน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

สำหรับเฮอร์แปงไจน่า อาการเฉพาะของโรคนี้ผู้ป่วยมักมีไข้สูงลอยเฉียบพลัน บางครั้งสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส แต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ยกเว้นไข้สูงจนทำให้ชัก หรือเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำหากเด็กรับประทานได้น้อย

4) โรตาไวรัส

โรคท้องเสียเฉียบพลัน หรือโรคท้องร่วง พบได้บ่อยมากในเด็กเล็ก  ในแต่ละปีพบมีเด็กท้องเสียจนขาดน้ำรุนแรง ซึ่งจะส่งผลให้ไตวายเฉียบพลันจนถึงเสียชีวิต โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับไวรัสโรตา เป็นวัคซีนชนิดหยอด ให้ได้พร้อมวัคซีนตามวัยตั้งแต่อายุ 2 เดือน

โรคติดต่อ ทั้งหมดนี้สามารถป้องกันได้ หากคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้เท่าทัน วันนี้พี่ข้าวสวยและน้องข้าวต้มจึงมีนิทานมาฝากน้องๆ หนูๆ เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อกันค่ะ

 

》ดาวน์โหลดฟรี นิทานข้าวสวยข้าวต้มรับมือ โรคติดต่อ คลิกเลย《

บทความน่าสนใจอื่นๆ 

เปิดเทอมนี้ เตรียมของให้ลูกไปโรงเรียน ต้องมีอะไรบ้าง

แม่ต้องระวัง! โรคแทรกซ้อนโควิด-19 ในเด็ก ทำลูกป่วยหนัก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up