คู่มือป้องกันโรคโควิด

จีนออก คู่มือป้องกันโรคโควิด 19 (ฉบับภาษาไทย) ต้องทำยังไงเพื่อให้รอดจากเชื้อไวรัสโคโรน่า

event
คู่มือป้องกันโรคโควิด
คู่มือป้องกันโรคโควิด

จีนรอด..เราก็ต้องรอด เผย!! คู่มือป้องกันโรคโควิด 19 ของจีน เวอร์ชั่นภาษาไทย จะมีวิธีรับมือและดูแลป้องกันตัวเองให้รอดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าได้ยังไงบ้าง ตามมาดูกันเลย

จีนออก “คู่มือป้องกันโรคโควิด 19” ฉบับภาษาไทย
จัดทำโดย มหาวิทยาลัยการแพทย์คุนหมิง

ช่วงที่ประเทศไทยตอนนี้กำลังเกิดการแพร่เชื้อโควิด-19 อย่างหนัก เนื่องจากมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 100+ ทุกวัน ซึ่งทางทีมแม่ ABK ก็ได้เกาะติดสถานการณ์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด พร้อมหาข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการรับมือกับเจ้าเชื้อไวรัสโคโรน่านี้

ซึ่งล่าสุดก็ไปเจอข้อมูลจาก เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict ที่ได้แชร์ หนังสือวิธีป้องกัน covid-19 จัดทำโดย มหาลัยวิทยาลัยแพทย์คุนหมิง ประเทศจีน เป็น คู่มือป้องกันโรคโควิด 19 ฉบับภาษาไทย โดยภายในเล่มเป็นความรู้เกี่ยวกับ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 การดูแลป้องกันตัวเองทั้งเมื่ออยู่ในบ้านและเมื่ออกนอกบ้าน รวมไปถึงวิธีเพิ่มภูมิคุ้มกัน ด้วยการรับประทานอาหารอะไรที่มีประโยชน์ ซึ่งในคู่มือได้มีการอธิบายเอาไว้อย่างครบถ้วน

ดังนั้นทางทีมแม่ ABK จึงได้สรุปข้อมูลจาก คู่มือป้องกัน covid-19 ออกมาให้อ่านถึงวิธีดูแลตัวเองและการเพิ่มภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันตัวเองและลูกน้อย ให้รอดจากเชื้อไวรัสโคโรน่า มาฝาก ตามมาดูกันเลย…

โควิด 19 อาการ เป็นอย่างไร ควรไปพบแพทย์ตอนไหน?

ซึ่งก่อนที่จะไปดูวิธีการป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสโควิด-19 คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักอาการของโรคนี้ก่อน เพื่อจะได้สังเกตตัวเองเป็น โดยเบื้องต้นหากมีไข้ (อุณหภูมิใต้รักแร้ ≥ 37.3°C) ไม่มีเรี่ยวแรง ไอแห้ง อาการเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถยืนยันว่าได้รับเชื้อมาแล้ว แต่หากมีอาการเหล่านี้ปรากฎขึ้นหลังไปในอยู่ในพื้นที่เสี่ยง …

  1. โดยก่อนหน้าที่จะแสดงอาการป่วย 14 วัน มีประวัติการเดินทางท่องเที่ยวหรือพักอาศัยในบริเวณที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค
  2. ก่อนหน้าที่จะแสดงอาการป่วย 14 วัน ได้มีการใกล้ชิดหรือสัมผัสกบผู้ป่วยโรคโควิด-19 (ได้รับการยืนยันจากการตรวจสอบกรดนิวคลีอิกที่ให้ผลเป็นบวก)
  3. ก่อนหน้าที่จะแสดงอาการป่วย 14 วัน มีการใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ที่เดินทางมาจากแหล่งแพร่ระบาดของโรค
  4. มีการไปรวมกลุ่มชุมนุม (ภายในระยะเวลา 14 ได้ไปหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่พบผู้ป่วยมากกวา 2 คนขึ้นไปที่มีไข้และโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ที่บ้าน สํานักงาน ห้องเรียน เป็นต้น )

จากที่กล่าวมาหากตัวเองหรือคนในบ้านมีอาการ ให้รีบแจ้งคนในครอบครัว และรักษาระยะห่าง พร้อมสวมใส่หน้ากากอนามัย แล้วรีบไปโรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยทันที

 

Must read >> เด็กติดโควิด-19 เพิ่ม เตือนพ่อแม่ระวัง อย่าพาเชื้อเข้าบ้าน

 

เชื้อโรคโควิด-19 ชอบคนประเภทไหน!

ใน คู่มือป้องกันโรคโควิด 19 ฉบับภาษาไทย จากประเทศจีน เล่มนี้ได้บอกไว้ว่า ทุกคนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ทั้งนั้น แต่คนที่สุขภาพดี มีภูมิต้านทานแข็งแรง ออกกําลังกายสม่ำเสมอ มีจิตใจเบิกบาน โอกาสที่จะถูกแพร่เชื้ออาจจะค่อนข้างน้อย แต่คนที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอ เช่น คนแก่และเด็กน้อย ตลอดจนคนที่มักจะป่วยง่าย ก็มีโอกาสที่จะได้รับการแพร่เชื้อค่อนข้างสูง และมีอาการป่วยกจะค่อนข้างหนัก

7 วิธีป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่ออยู่ที่บ้าน (แนะนำโดย คู่มือป้องกันโรคโควิด 19 ฉบับภาษาไทย จากประเทศจีน)

1. ล้างมือบ่อยๆ คือต้องล้างมือให้สะอาดโดยทันที หลังเมื่อกลับมาจากการออกไปนอกบ้าน , ก่อนและหลังรับประทานอาหาร , หลังจากไอหรือจาม , หลังจากเข้าห้องน้ำ , หลังจากสัมผัสกับสัตว์และจัดการกับอุจจาระ

คู่มือป้องกันโรคโควิด
ขั้นตอนการล้างมือ ภาพจาก คู่มือป้องกันโรคโควิด 19 (ฉบับภาษาไทย)

2. ทำให้บ้านมีอากาศถ่ายเทสะดวก โดยเปิดหน้าต่างภายในห้องทุกวัน เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศอยู่เสมอ

3. ฆ่าเชื้อบ่อยๆ ทั้งโต๊ะ เก้าอี้ในบ้าน ถูพื้นบ่อยๆ โดยจะต้องทำความสะอาดทุกวันเป็นประจํา และหากมีแขกมาบ้าน ต้องรีบทําการฆ่าเชื้อสิ่งของต่างๆในบ้านโดยทันที และหากซักผ้าต้องผสมน้ำยาฆ่าเชื้อลงไปด้วยจะยิ่งดี

4. มีมารยาทในการจามและไอ คนในบ้านใช้กระดาษทิชชู่ หรือข้อศอกปิดปากและจมูก หรือสวมหน้ากากอนามัย ทุกครั้งขณะไอหรือจาม เช่นนนี้แล้วไวรัสก็จะไม่สามารถแพร่กระจายออกมาได้ ไม่ว่าคุณจะป่วยหรือไม่ก็ตาม

คู่มือป้องกันโรคโควิด

5. ใช้ชีวิตประจําวันตามปกติ และออกกําลังกายอย่างเหมาะสมที่บ้าน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้านของคุณ

6. ตรวจเช็คสุขภาพประจําวันของคุณและครอบครัว เมื่อพบว่าตนเองหรือคนในครอบครัวมีอาการป่วยดังนี้ ควรจะทําการกักตัว และไปพบแพทย์เพื่อรับความช่วยเหลือโดยทันที อาการที่เข้าข่ายต้องสงสัยว่าติดเชื้อ จะรวมถึง ตัวร้อน เป็นไข้ ไอ เจ็บคอ แน่นหน้าอก หายใจลําบาก เบื่ออาหาร ไม่มีแรง ซึม คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาแดง ปวดตามข้อหรือปวดกล้ามเนื้อบริเวณเอวและหลัง เป็นต้น

Must read >> รีวิว ปรอทวัดไข้ อุณหภูมิเท่าไหร่? แปลว่า ลูกมีไข้ กันแน่!

7. เตรียมพร้อมในการป้องกันครอบครัว

  • เมื่อตนเองหรือคนในครอบครัวออกไปข้างนอก จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยสวมใส่หน้ากากอนามัย ละอองเชื้อโรคก็จะถูกปิดกันโดยหน้ากากอนามัย ไม่สามารถปลิวเข้าปากและจมูกของผู้คนได้

  • หากพบว่าคนในครอบครัวแสดงพฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น การบ้วนน้ำลายหรือเสมหะลงบนพื้น เป็นต้น ให้ทําการห้ามและตักเตือนโดยทันที

  • หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็ นบุคลากรทางการแพทย์ จะต้องเตือนให้เพิ่มความระมัดระวังในการดูแลตนเองให้มากขึ้น

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :

 

อ่านต่อ >> วิธีป้องกันไวรัสโคโรน่า
เมื่อต้องออกนอกบ้าน” คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up