โรคทางจิตเวช เหตุกราดยิง

เมื่อผู้เสพคือผู้ป่วย แนะ 7สัญญาณเตือนเฝ้าระวังผู้ป่วย โรคทางจิตเวช

Alternative Textaccount_circle
event
โรคทางจิตเวช เหตุกราดยิง
โรคทางจิตเวช เหตุกราดยิง
กรมสุขภาพจิตแนะแนวทางการสังเกตเฝ้าระวังผู้ป่วยจิตเวชรุนแรงจากยาเสพติด
กรมสุขภาพจิต แนะคนในชุนชน ใช้แนวทางการสังเกตจาก 7 สัญญาณเตือน ในการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังผู้ป่วยจิตเวชรุนแรงจากยาเสพติด เพื่อลดการก่อเหตุความรุนแรงในสังคม และส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก ยาเสพติดเป็นปัญหาหลักที่ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ปัญหาการใช้สารเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ที่มีการแพร่ระบาดและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ติดสารเสพติดจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการทางจิต มีภาวะหวาดระแวง ได้แก่ อาการหลงผิด ประสาทหลอน ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ใช้ความรุนแรง มีการทำร้ายตนเอง ทำร้ายบุคคลใกล้ชิด ที่มักจะเห็นในข่าวปัจจุบันอยู่เป็นประจำ
ยาเสพติด ให้โทษทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น
ยาเสพติด ให้โทษทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น
สถานการณ์ผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทยพบ ผู้ใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่ง ใน 1 ปี มีจำนวน 1.4 ล้านคน แบ่งเป็นผู้ใช้สารเสพติด จำนวน 1.1 ล้านคน และเป็นผู้ติดสารเสพติด จำนวน 3.2 แสนคน ในจำนวนนี้เข้าสู่ระบบการบำบัดของ กรมสุขภาพจิต จำนวน 24,196 คนเป็นผู้ป่วยจิตเวชติดสารเสพติดรุนแรง จำนวน 5,757 คน และเป็นผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) จำนวน 577 คน

พบสถิติผู้ป่วยยาเสพติดที่มี โรคทางจิตเวช ก่อเหตุรุนแรงในสังคมเพิ่มมากขึ้น!!

พบสถิติผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชก่อเหตุรุนแรงในสังคมเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น 3.92 เท่า ในปี 2561 โดยผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชก่อเหตุรุนแรง จำนวน 267 ราย แบ่งเป็นชายจำนวน 259 ราย และเป็นหญิงจำนวน 7 ราย ลักษณะของการก่อความรุนแรงในสังคม แบ่งเป็น
  • การทำร้ายร่างกายตนเอง และผู้อื่นมากที่สุด จำนวน 90 คน
  • รองลงมาเป็นการทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย จำนวน 58 คน
  • ลักทรัพย์ จำนวน 47 คน
  • ทำลายข้าวของ จำนวน 44 คน

ทั้งนี้ จากรายงานพบว่า ผู้ที่ก่อเหตุรุนแรงในข่าวเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่เคยเข้ารับการบำบัด จำนวน 104 คน

7 สัญญาณเตือนเฝ้าระวังผู้ป่วย โรคทางจิตเวช รุนแรงจากยาเสพติด

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และใช้แนวทางการสังเกตจาก 7 สัญญาณเตือนผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดก่อความรุนแรง เพื่อช่วยลดโอกาสที่จะก่อให้เกิดความสูญเสีย และอันตรายต่อผู้อื่น หากเราพบผู้ป่วยที่เข้าข่ายจะได้รีบแจ้งเตือนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาดูแล และรับไปรักษาได้ทันก่อนเกิดเหตุร้าย โดยมีสัญญาณเตือน ดังนี้

  1. ขีดข่วน หรือกรีดตัวเองเป็นรอยแผล
  2. ส่งเสียงดัง หรือตะโกนด่าด้วยคำหยาบคายรุนแรง
  3. ข่มขู่จะทำร้ายผู้อื่น
  4. ทำร้ายผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บ
  5. พกพา หรือสะสมอาวุธโดยไม่สมเหตุสมผล
  6. รื้อ ขว้างปาข้าวของกระจัดกระจาย
  7. ทำลายสิ่งของจนแตกหัก
7สัญญาณเตือนเฝ้าระวังผู้ป่วย โรคทางจิตเวช จากยาเสพติด
7สัญญาณเตือนเฝ้าระวังผู้ป่วย โรคทางจิตเวช จากยาเสพติด

 

การเฝ้าระวังพฤติกรรม และอาการที่เข้าข่ายเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต โรคทางจิตเวช ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ได้แก่

  • หูแว่ว
  • เห็นภาพหลอน
  • หวาดระแวงไร้เ้หตุผล
  • อยากฆ่าตัวตาย
  • ทำร้ายตนเอง
  • ทำร้ายคนอื่น
  • พูดจาก้าวร้าว
  • พูดจาเพ้อเจ้อ
  • หลงผิด
  • แต่งกายแปลกกว่าคนปกติ

    ความรุนแรง จาก ผู้ป่วย โรคทางจิตเวช จากยาเสพติด
    ความรุนแรง จาก ผู้ป่วย โรคทางจิตเวช จากยาเสพติด

หากพบเห็นผู้ป่วยที่มีอาการต่างๆ  เหล่านี้ สามารถส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตอันเนื่องมาจากการใช้ยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง โดยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแจ้งเหตุฉุกเฉิน โทร. 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อนำตัวเข้ารักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลจิตเวช เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป เป็นการช่วยลดการก่อเหตุความรุนแรงในสังคม ตามแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 เพราะ อันตรายมีอยู่รอบตัวลูก พ่อแม่จึงต้องคอยเฝ้าระวัง

ข้อมูลอ้างอิงจาก  www.dailynews.co.th/prachatai.com/gnews.apps.go.th

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อุทาหรณ์ อุบัติเหตุในเด็กเล็ก พร้อม 6 วิธี ลดเสี่ยงเกิดเหตุ

15 สาเหตุการเสียชีวิตในเด็กอายุ 0-14 ปีทั่วโลก

หมดกังวลเรื่องอุบัติเหตุ! ด้วย 4 วิธีป้องกันอันตราย ให้ลูกน้อยมีอิสระ เรียนรู้ได้เต็มที่

ที่เที่ยวสำหรับเด็ก ปิดเทอมนี้ ทั้งสนุก ได้เรียนรู้ ใกล้กรุง!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up