ลูกถูกทำร้าย

ลูกถูกทำร้าย ใจลูกสำคัญ พ่อแม่ควรทำเรื่องนี้..ก่อนสายเกินแก้!!

event
ลูกถูกทำร้าย
ลูกถูกทำร้าย

ลูกถูกทำร้าย ส่งผลเสียทั้งร่างกายและจิตใจ ก่อให้เกิดความฝังใจหรือบาดแผลที่ยากจะฟื้นฟูให้กลับมาเหมือนเดิมได้ พ่อแม่ควรให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและเหมาะสม

ลูกถูกทำร้าย ใจลูกสำคัญ
พ่อแม่ควรทำเรื่องนี้..
ก่อนสายเกินแก้!!

เมื่อ ลูกถูกทำร้าย หรือประสบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ สมองจะบอกว่าสิ่งนั้นอันตรายและน่ากลัว ทำให้เมื่อเจอสิ่งที่ดูคล้ายกับเหตุการณ์ที่เคยประสบ สมองจึงสั่งให้หลีกเลี่ยงสิ่งนั้น เช่น เหยื่อที่ถูกข่มขืน อาจกลัวผู้ชายและหลีกเลี่ยงที่จะเข้าใกล้ เป็นต้น

โดยเรื่องนี้นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์  จิตแพทย์แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ได้ให้ข้อมูลคำแนะนำไว้ว่า..

มการศึกษามากมายเพื่อยืนยันว่าการทำร้ายร่างกายเด็กและการล่วงละเมิดทางเพศเด็กส่งผลต่ออนาคตของพวกเขาอย่างไร ที่เขียนและรู้กันทั่วไปคือสามารถก่อ โรคซึมเศร้า อันตรายของโรคซึมเศร้าใหญ่ๆ มี 2 ข้อ คือ เรียนหรือทำงานมิได้ กับ ฆ่าตัวตาย จะว่าไปการที่เด็กมัธยม นิสิตนักศึกษา หรือคนหนุ่มสาวทำงานมิได้ เป็นเรื่องน่ากลัวมากกว่าการฆ่าตัวตาย การเรียนหรือทำงานมิได้เป็นเรื่องทุกข์ทรมาน

ผลลัพธ์ของการที่ลูกถูกทำร้าย หรือถูกละเมิด อีกข้อหนึ่งที่รู้กันคือ เด็กจะก่อร่างสร้างตัวพฤติกรรมต่อต้านสังคม มีคำอธิบายสองข้อใหญ่ๆ

  • คำอธิบายทางจิตสำนึก ว่าเด็กพัฒนาบุคลิกภาพนี้เพื่อการป้องกันตัว พูดง่ายๆ ว่าการละเมิดได้ทำลายความไว้วางใจ ที่มีต่อโลกและผู้คน ครูซึ่งวัฒนธรรมใดๆ สอนว่าเป็นคนดีกลับเป็นผู้ลงมือกับเรา พ่อแม่ซึ่งควรจะป้องกันได้กลับไม่อยู่ป้องกัน ความไว้ใจโลกเป็นฐานแรกของพัฒนาการเด็กและวัยรุ่นเปรียบเสมือนฐานแรกของปิรามิดหรือบ้าน เมื่อเราโค่นเสาบ้านเสียแล้ว ข้างบนก็จะล่มลง เด็กจึงต้องพัฒนาความสามารถใหม่ๆ ขึ้นมา นั่นคือต่อต้านสังคม
  • อีกคำอธิบายหนึ่งเป็นเรื่องจิตใต้สำนึกหรือจิตวิเคราะห์ การละเมิดทางเพศในเด็กเล็กก่อนสามขวบเป็นเวลาวิกฤต ของการสร้างสายสัมพันธ์กับพ่อแม่ หากเกิดหลังจากนั้นจะไปรบกวนการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น ผลที่ได้คือเด็กพัฒนาความสามารถในการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยใช้เพศเป็นเครื่องมือมากกว่าที่จะใช้ความไว้วางใจ

เรื่องที่เขียนมานี้น่ากลัว การที่ ลูกถูกทำร้าย หรือถูกละเมิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางเพศหรือทางร่างกายจึงเป็นอาชญากรรม มิพักว่าผู้ล่วงละเมิด จะเป็นใคร เป็นครู หรือพ่อแม่ กินความถึงผู้ยืนดูอยู่รอบๆ หรือรู้เห็นโดยไม่ทำอะไรด้วย เช่น ครูที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ครูใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือเป็นคุณแม่เองที่ปล่อยให้คุณพ่อกระทำกับลูกสาว ทุกคนเป็นผู้ล่วงละเมิดและสมรู้ร่วมคิดก่ออาชญากรรม

เรื่องการล่วงละเมิดเด็กทั้งทางเพศและร่างกายควรเป็นความผิดร้ายแรงเพราะได้สร้างบาดแผล ที่จะไม่มีวันหายโดยง่ายหากมิได้รับการจัดการโดยมืออาชีพ

> ดังนั้นเด็กทุกคน รวมทั้งเด็กทุกคนที่นั่งอยู่ในเหตุการณ์ ควรได้พบจิตแพทย์เด็กหรือนักจิตวิทยาที่มีประสบการณ์ทำงานด้านนี้โดยตรง เพราะการสัมภาษณ์ที่ดีจะช่วยเยียวยาได้มาก สมานแผลให้อย่างดีที่สุด อาจจะทำให้ดีได้จนไม่มีแผลเป็น หรือมีแผลเป็นก็ปิดสนิทแล้ว มิใช่ปล่อยปละละเลยให้มีแผลเปิดเรื้อรังติดตัวเด็กไปเช่นนั้นอีกนานหลายปีก่อนจะติดเชื้อรุนแรงในภายหลัง

มิใช่เด็กทุกคนจะจบลงที่โรคซึมเศร้าหรือบุคลิกภาพต่อต้านสังคม งานศึกษาระยะหลังพบว่าผลลัพธ์สุดท้ายขึ้นกับยีนหรือพันธุกรรมด้วย มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าเด็กชายที่ถูกทำร้ายหากมียีนที่กำหนดการแสดงออกของระดับสารสื่อนำประสาท monoamine oxidase A (MAO-A) ในระดับสูงจะมีโอกาสพัฒนาบุคลิกภาพต่อต้านสังคมมากกว่า

อีกการศึกษาหนึ่งศึกษาเรื่องความอ่อนไหวต่อแรงกดดันจากสิ่งแวดล้อม พบว่าเด็กทั้งชายหญิงที่มียีนซึ่งควบคุมการแสดงออกของสารสื่อนำประสาท 5HTT และ SLC6A4 ในระดับสูง มีโอกาสที่เด็กจะอ่อนไหวต่อความเครียดในชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากกว่าและเกิดโรคซึมเศร้าหรือฆ่าตัวตายได้มากกว่า

ลูกถูกทำร้าย

นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่มี short allele สองชุด มีโอกาสที่จะเกิดอารมณ์เศร้า มากกว่าเด็กที่มี long allele สองชุด (Kaplan&Sadock’s Comprehensive Textbook of Psychiatry, 10th edition, 2017.)

งานวิจัยสมัยใหม่ยังพบต่อไปว่า … นอกเหนือจากโรคซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย และบุคลิกภาพต่อต้านสังคมแล้ว ยังมีโอกาสเกิด PTSD และพฤติกรรมการใช้ยาเสพติด

PTSD หรือ Post-traumatic Stress Disorder คือกลุ่มอาการทางจิตเวชที่เกิดตามหลังภยันตราย แบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

  • ประเภทที่เกิดในเวลาไม่นานหลังได้รับภยันตราย
  • ประเภทที่จะใช้เวลานานหลายปีกว่าจะเริ่มมีอาการแรก

มีงานศึกษาโครงสร้างและการทำงานของของสมองเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก พบว่า ลูกถูกทำร้าย หรือ เด็กถูกละเมิด มีปริมาตรของฮิปโปแคมปัส และระดับการปฏิบัติการของอะมิกดาลาลดลง ทำให้เด็กจำเป็นต้องใช้กลไกอื่นในการจัดการความเครียด

และถ้าเด็กมีพันธุกรรมของ PTSD (ซึ่งมีงานวิจัยรองรับจำนวนมากหลังเหตุการณ์สึนามิในเอเชียเมื่อหลายปีก่อน) เด็กจะใช้กลไกลดการทำงานของสมองส่วน medial prefrontal cortex และ anterior cingulate cortex ทำให้เกิดอาการแฟลชแบ็ก มองเห็นภาพและได้ยินเสียงการถูกละเมิดเป็นครั้งๆ แฟลชแบ็กจะเป็นกลไกป้องกันตัวเพื่อหยุดการกำเริบของอาการ PTSD มิให้ลุกลามต่อไป จะเห็นว่าการรักษา PTSD เป็นเรื่องยากเพราะเราจะต้องเยียวยาทั้งตัวโรคและกลไกป้องกันตัวที่เป็นพยาธิสภาพนี้ไปพร้อมๆ กัน

ทั้งหมดที่เขียนมานี้เพื่อให้สังคมรับทราบถึงอันตรายที่ลูกถูกทำร้าย หรือ เด็กถูกละเมิด ที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าและไม่เห็นในวันนี้ที่อาจจะเกิดกับเด็กๆ ความผิดที่ทำนี้เป็นความผิดร้ายแรง มิใช่เฉพาะเรื่องการทำร้ายเด็กเล็กในโรงเรียน (ซึ่งควรได้รับการยกระดับเป็นความร้ายแรงสูงสุด) แต่รวมถึงการทำร้ายนักเรียนวัยรุ่น ไปจนถึงการล่วงละเมิดนักศึกษาหญิงโดยอ้างกระบวนการทางกฎหมายที่ไม่สมเหตุผลด้วย

ลูกถูกทำร้าย

คุณพ่อคุณแม่ควรทำอะไร? เมื่อพบว่า ลูกถูกทำร้าย

อันดับแรกและสำคัญมาก คือ ควรพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็กโดยเร็วเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยตนเอง ไม่ควรรอหน่วยงานใดๆ ให้เอิกเกริกหรือเป็นข่าว ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อลูกของเรา

หากไม่มีเงินควรไปที่โรงพยาบาลรัฐใกล้บ้านที่มีจิตแพทย์เด็ก นักจิตวิทยาคลินิก และเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาที่ได้มาตรฐาน เพื่อการตรวจรักษาและบรรเทาผลกระทบโดยเร็ว ลำพังการพบนักจิตวิทยาคลินิกและการผ่านเครื่องทดสอบที่ได้มาตรฐานก็เป็นการบำบัดที่ดีมากและช่วยเหลือเด็กๆ ได้มากมายครับ

Must read >> รวมรายชื่อ โรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์เด็กคอยแนะนำ! ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

หากมีเงินอย่ารีรอที่จะไปโรงพยาบาลเอกชนที่มีจิตแพทย์เด็ก นักจิตวิทยาคลินิก และเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาที่ได้มาตรฐานเช่นกัน
***การไปพบครั้งนี้ควรเป็นเรื่องส่วนตัวของครอบครัวของเรา ไม่มีความจำเป็นต้องเป็นข่าวหรือบอกใคร ให้เรื่องนี้เป็นความลับระหว่างเราและคุณหมอก็พอ ควรเลือกโรงพยาบาลที่ใส่ใจและแคร์เรื่องการปกปิดความลับผู้ป่วยของลูกเราอย่างดีที่สุด
อย่ามัวรอหน่วยราชการ และอย่ามัวเสียเวลากับการเอาผิดผู้กระทำผิด เรื่องหลังเป็นหน้าที่ของผู้ที่มีหน้าที่ซึ่งจะว่าไปก็คาดหวังผลลัพธ์ได้ไม่มาก

ขอบคุณข้อมูลจาก นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ , www.the101.world และ www.rama.mahidol.ac.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพด้านล่าง ⇓

คำถามที่ควรถาม…หลังลูกกลับจากโรงเรียน

เปิดกฎหมาย “ห้ามตีเด็ก” มีในประเทศใดบ้าง?

30 คำถามหลังเลิกเรียน ไขปริศนา ลูกถูกเพื่อนแกล้ง หรือไม่?

ส่งลูก เรียนอนุบาล แต่พ่อแม่ไม่อยากให้รร. “เร่งอ่านเขียน” จะทำอย่างไรดี?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up