เด็กเล่นมือถือ

วิจัยชี้! เด็กเล่นมือถือ-แท็บเล็ต เสี่ยงเครียด-วิตกกังวล-ซึมเศร้า

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กเล่นมือถือ
เด็กเล่นมือถือ

มีงานวิจัยออกมาแสดงให้เห็นถึงผลเสียของ เด็กเล่นมือถือ-แท็บเล็ต ว่าอาจทำให้กลายเป็นเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตได้ เช่น เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า ไม่สามารถทำงานได้สำเร็จ

วิจัยชี้! เด็กเล่นมือถือ-แท็บเล็ต เสี่ยงเครียด-วิตกกังวล-ซึมเศร้า

ในยุคนี้ที่มือถือ แท็บเล็ต และเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายผ่านมือถือ การติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้สิ่งเหล่านี้สร้างความบันเทิงแทนโทรทัศน์ เพราะสามารถเลือกได้ว่าจะดูรายการไหน เวลาใดก็ได้ จึงไม่แปลกที่ลูก ๆ มักจะใช้เวลาอยู่กับมือถือ-แท็บเล็ต ได้เป็นเวลานาน

เรารู้กันอยู่แล้วว่าเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรดูมือถือหรือแท็บเล็ตเลย เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการหลาย ๆ ด้าน แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กที่อายุมากกว่า 2 ขวบจะสามารถดูมือถือ แท็ปเล็ตได้ในเวลาไม่จำกัด ทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงนำบทความที่ได้วิจัยถึงปัญหาด้านสุขภาพจิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กจำนวน 40,000 คนที่มีอายุ 2-17 ขวบ ที่ใช้เวลากับมือถือ แท็ปเล็ตนานเกินไป ดังนี้

  • 46% ของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ที่เล่นมือถือนานเกินไป พบว่ามีแนวโน้มที่จะควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้และหงุดหงิดอารมณ์เสียได้ง่าย ๆ
  • 42.2% ของเด็กอายุ 14-17 ขวบ ที่เล่นมือถือนานเกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน ไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ
  • 9% ของเด็กอายุ 11-13 ขวบ ที่ใช้เวลาในการเล่นมือถือเพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน พบว่าไม่สนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสิ่งรอบตัว
ปัญหาสุขภาพจิต
เด็กเล่นมือถือ มากเกินไป เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต

จะเห็นได้ว่าเพียงการใช้เวลากับมือถือ 1 ชั่วโมงต่อวันก็มีผลกระทบกับเด็ก ๆ ได้ แม้ว่าจะมีผลกระทบเป็นจำนวนน้อยก็ตาม ซึ่งผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • มีแนวโน้มที่จะเป็นเด็กที่มีความวิตกกังวลมากจนเกินไปหรือซึมเศร้าได้
  • มีความสงสัย ความอยากรู้อยากเห็นน้อยลง ซึ่งความอยากรู้อยากเห็นนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่เด็ก ๆ จะต้องมีไว้เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
  • ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
  • ไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จได้

นี่เป็นเพราะสมองของเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ขวบอ่อนไหวต่ออุปกรณ์อิเล็คโทรนิกต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากสมองของเด็กกำลังพัฒนาและยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ นักวิจัยจึงแนะนำว่าให้ คุณพ่อคุณแม่จำกัดเวลาในการใช้อุปกรณ์อิเล็คโทรนิกต่าง ๆ โดยเฉพาะในขณะที่เรียน ทานข้าว และทำกิจกรรมอื่น ๆ โดยในเด็กที่มีอายุ 2-5 ขวบ ไม่ควรดูมือถือเกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และ ในเด็กวัย 6-17 ขวบ ไม่ควรดูมือถือเกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ เด็กเล่นมือถือ อันตราย และ 6 ขั้นตอนช่วยลูกไม่ให้ติดมือถือ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up