ไวรัสซิกา คนท้องอันตราย

ไวรัสซิกา คนท้องอันตราย ต้องระวัง! โดนยุงกัดทำลูกหัวเล็ก

Alternative Textaccount_circle
event
ไวรัสซิกา คนท้องอันตราย
ไวรัสซิกา คนท้องอันตราย

ไวรัสซิกา คนท้องอันตราย ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะยุงตัวร้ายเป็นพาหะนำพาโรค

ยุงตัวร้ายนำพา ไวรัสซิกา คนท้องอันตราย ต้องระวังไม่ให้ยุงกัด

ฟ้าฝนไม่เคยเป็นใจ เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวแดดออก สภาพอากาศเย็น ๆ ชื้น ๆ ชุ่มฉ่ำน้ำฝนแบบนี้ ยุงลายจึงเพาะพันธุ์ได้ง่าย เพราะน้ำท่วมและน้ำขังเยอะ หนึ่งในโรคอันตรายที่ยุงตัวร้ายเป็นพาหะก็คือ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus disease) ซึ่งเป็นโรคที่คนท้องต้องระวัง เพราะถ้ายุงที่เป็นพาะหะกัดแม่ท้องขึ้นมา อาจทำให้ทารกในครรภ์หัวเล็กได้

การแพร่ระบาดของไวรัสซิกา เริ่มมาตั้งแต่ปี 2553 ต่อเนื่องมายาวนาน แต่มาแพร่หนัก ๆ ในช่วงกลางปี 2558 จนถึงช่วงต้นปี 2559 ไวรัสซิกา ได้กลายเป็นชื่อไวรัสที่ติดหูคนไทย เพราะมีการระบาดในแถบอเมริกาใต้ และแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น โดยสิ่งที่สำคัญมาก คือ ยุงลาย พาหะของโรคร้าย สำหรับคนทั่วไป อาการเจ็บป่วยอาจไม่ส่งผลรุนแรง แต่กับคนท้องนั้นตรงกันข้าม แค่โดนยุงกัด ก็ทำให้ทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติทางสมองได้แล้ว

สำหรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 2563 ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2563 ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคไข้ซิกา สะสมรวม 104 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.16 ต่อประชากรแสนคน โดยพบผู้ป่วยกระจายอยู่ในพื้นที่ 13 จังหวัด แม้ว่าตัวเลขในปีนี้จะไม่สูงมาก แต่ก็ประมาทไม่ได้ โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องระวังตัวเองมากเป็นพิเศษ เพราะการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ และแน่นอนว่า ส่งผลร้ายทำให้ทารกในครรภ์เกิดอันตราย

ไวรัสซิกา
คนท้องระวังเชื้อ

โรคไข้ซิกาจากไวรัสซิกา

โรคไข้ซิกาเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา ตระกูลฟลาวิไวรัส (flavivirus) สำหรับระยะฟักตัวของโรคไข้ซิกา จะใช้เวลาประมาณ 3 – 12 วัน โดยที่อาการของโรคไข้ซิกาจะคล้ายกับโรคที่เกิดจาก อาร์โบไวรัส (Arbovirus) เชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค เช่น

  1. โรคไข้สมองอักเสบ
  2. โรคไข้เหลือง
  3. โรคไข้เลือดออก

อาการของโรคไข้ซิกา

  • มีไข้
  • ผื่นแดง
  • เยื่อบุตาอักเสบ
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ปวดข้อ
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ

คนทั่วไปที่ร่างกายแข็งแรงปกติ จะเป็นอาการเหล่านี้เพียงเล็กน้อย เป็นอยู่ประมาณ 2 – 7 วัน ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์ก็อาจพบอาการเหล่านี้เช่นกัน ตัวคุณแม่เองอาจไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการน้อยกว่าจะรู้ว่า ติดเชื้อไวรัสซิกา

ไวรัสซิกา คนท้อง
ไวรัสซิกา คนท้อง

การติดต่อของเชื้อไวรัสซิกา

  • ยุงลายเป็นพาหะของไวรัสซิกา ถ้าถูกยุงลายที่เป็นพาหะกัดแม่ท้อง ก็เสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสซิกาได้
  • คนท้องที่ติดเชื้อไวรัสซิกา ยังส่งต่อเชื้อไปให้ลูกได้ อาจจะแพร่จากแม่ไปสู่ลูกผ่านทางรก หรือเลือดที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างแม่ลูก
  • ไวรัสซิกายังสามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ หรือการได้รับเชื้อจากผู้ให้เลือดที่มีเชื้อไวรัสซิกา

ทารกจะเป็นอย่างไรหากได้รับเชื้อไวรัสซิกาจากผู้เป็นแม่

การที่คนท้องติดเชื้อไวรัสซิกาจะส่งผลต่อสมองของทารก ให้เกิดความผิดปกติหรือเกิดภาวะบกพร่อง เช่น ภาวะศีรษะเล็ก (Microcephaly) ภาวะนี้ศีรษะของทารกจะมีขนาดเส้นรอบศีรษะเล็กกว่าทารกในวัยเดียวกัน ภาวะศีรษะเล็กไม่เพียงแต่ส่งผลแค่ขนาดของศีรษะเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง ส่งผลให้ทารกพิการได้  ไม่ว่าแม่ท้องจะติดเชื้อไวรัสซิกาในช่วงไตรมาสใดก็ตาม

 

ไวรัสซิกา

เครดิตภาพ : storm.mg

พญ.ชนิตา พิชญ์ภพ และผศ.ดร.นพ. นพพร อภิวัฒนากุล สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย อธิบายว่า ความผิดปกติของทารกอาจเกิดได้ แม้ว่าผู้เป็นแม่จะไม่มีอาการผิดปกติ โดยไวรัสจะเพิ่มจำนวนขึ้นภายในเซลล์ประสาทที่ตำแหน่ง neural progenitor cells ทำให้เซลล์ประสาทตั้งต้นถูกทำลาย จึงไม่เกิดการเพิ่มจำนวน (neuronal proliferation) การเคลื่อนย้าย (migration) และการพัฒนาเปลี่ยนแปลง (differentiation) ของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์สมองของทารกที่ติดเชื้อไม่มีการเจริญเติบโต เกิดสมองพิการแต่กำเนิดส่งผลต่อการได้ยิน การมองเห็น พัฒนาการและสติปัญญา

หากเข้าข่ายเฝ้าระวังต้องตรวจโดยการเจาะเลือด เก็บปัสสาวะ สำหรับผู้ป่วยที่อาการยังไม่ถึง 7 วัน หากป่วยนานกว่า 7 วัน จะตรวจเฉพาะปัสสาวะ เพราะเชื้อไวรัสซิกาอยู่ในเลือดได้แค่ 7 วัน แต่จะพบเชื้อในปัสสาวะได้อีก 1 เดือน

การรักษาโรคจากไวรัสซิกา

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่สามารถรักษาโรคจากไวรัสซิกาได้โดยเฉพาะ ทำได้เพียงรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการปวด หากทารกคลอดออกมาแล้วพบว่าทารกมีกะโหลกศีรษะเล็กผิดปกติจากไวรัสซิกา ที่เกิดจากภาวะกะโหลกเล็กจากสมองเล็ก ความผิดปกตินั้นตั้งต้นจากสมอง จึงทำได้เพียงรักษาอย่างประคับประคอง

วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิกา

  1. ป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัด ด้วยการไม่เดินทางไปในพื้นที่แพร่เชื้อหรือแหล่งน้ำขัง
  2. หมั่นกำจัดลูกน้ำ ไม่ให้มีน้ำขังในบริเวณรอบ ๆ บ้าน เช่น กระถางต้นไม้ ควรเทน้ำทิ้งเสมอหลังฝนตก ทำความสะอาดบ่อย ๆ และปิดฝาภาชนะที่สามารถบรรจุน้ำได้ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการยึดหลัก ปฏิบัติ 3 เก็บป้องกันไข้เลือดออก ไข้ซิกา ไข้ปวดข้อยุงลาย เก็บบ้านให้สะอาดปลอดโปร่ง เก็บขยะกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เก็บน้ำ ปิดให้มิดชิดไม่ให้ยุงลายวางไข่
  3. นอนในมุ้ง ปิดหน้าต่าง ปิดประตู เพื่อป้องกันยุงเข้าบ้าน
  4. แต่งตัวให้มิดชิดด้วยเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว แต่เนื้อหาต้องระบายอากาศด้วย
  5. ทายากันยุง หากเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเลือกยากันยุงจากสารสกัดธรรมชาติ เพื่อให้ปลอดภัยต่อตัวเองและทารกในครรภ์
ไวรัสซิกา คนท้อง
ไวรัสซิกา คนท้อง

คนท้องควรพบแพทย์ตามนัด ฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจร่างกายและติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ หากพบผื่นแดง มีไข้ ปวดตา (ตาแดง) ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดศีรษะ และอาเจียน ควรรีบไปพบแพทย์

อ้างอิงข้อมูล : rama.mahidol.ac.th, bumrungrad, pidst, paolohospital และ facebook.com/MTlikesara

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

แม่ท้องต้องรู้! เลือดล้างหน้าเด็ก อันตรายไหม? มีผลต่อลูกในท้องหรือไม่

อาการท้องไม่รู้ตัว เป็นไปได้จริงหรือ! จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังตั้งครรภ์?

หน้าฝนต้องระวัง โรคผื่นกุหลาบ เป็นตอนท้องอันตราย

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up