สมองส่วนหน้า

8 วิธีฝึก “สมองส่วนหน้า” ที่ให้ลูกได้มากกว่าทักษะ EF

Alternative Textaccount_circle
event
สมองส่วนหน้า
สมองส่วนหน้า
การพัฒนา สมองส่วนหน้า เป็นการฝึกทักษะสมองที่สำคัญ ที่พ่อแม่ควรฝึกลูกตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อให้ลูกมีสมาธิ เรียนรู้ไว แก้ปัญหาได้ รวมถึงสามารถควบคุมพฤติกรรม อารมณ์ และการแสดงออกทางอารมณ์ของตัวเองได้ ซึ่งเด็กที่มีทักษะนี้จะเติบโตอย่างมีคุณภาพ และประสบความสำเร็จในชีวิต
หากพ่อแม่ต้องการฝึกสมองส่วนหน้าให้ลูก สามารถทำได้อย่างไรบ้าง พญ. ศรินพร มานิตย์ศิริกุล ทิพย์อุดม เจ้าของเพจ “หมอสมองเลี้ยงลูกแฝด” มีคำแนะนำที่น่าสนใจมาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
ว่าด้วยเรื่อง สมองส่วนหน้า หลายๆ คนเคยได้ยินว่าสมองส่วนหน้ามีความสำคัญ และเวลาที่เราต้องการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก อ่านนิทานต่างๆ ทุกคนมักชอบพูดถึงคำว่า สมองส่วนหน้า และ EF หรือ executive function

สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่อะไร

จริงๆ แล้ว สมองส่วนหน้า ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ EF อย่างเดียวเท่านั้นนะคะ สมองส่วนหน้า ยังแบ่งย่อยเป็นส่วนต่างๆ ควบคุมทั้ง
  1. สมาธิ Attention
  2. Executive function
  3. การควบคุมตัวเอง inhibition
  4. impulse control
  5. การคิดวิเคราะห์วางแผนต่างๆ
  6. แก้ไขปัญหา problem solving
  7. การเข้าสังคมและพฤติกรรมต่างๆ
หลายๆ คนคงคิดว่าสมองส่วนหน้าพัฒนาสูงสุดอย่างรวดเร็วในช่วงวัยเด็ก แต่ความลับก็คือ สมองส่วนหน้ายังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ จนเสร็จสมบูรณ์ตอนอายุ 20 ปลายๆ เลยค่ะ
เพราะฉะนั้น การพัฒนาการฝึกฝนสมองส่วนหน้าก็ยังคงต้องทำต่อเนื่อง โดยเฉพาะวัยรุ่นเป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง ก็ต้องอาศัยสมองส่วนหน้าในการควบคุมตัวเอง คิดวิเคราะห์ ลองผิดลองถูก และยับยั้งชั่งใจ
และที่สำคัญคือ บางโรค เช่น สมองส่วนหน้าฝ่อ มักจะเกิดได้ค่อนข้างไวกว่าคนไข้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ สามารถเกิดได้ตั้งแต่อายุน้อยๆ บางทีอายุ 50 กว่าๆ ก็มีอาการแล้ว

8 วิธีฝึก สมองส่วนหน้า ที่ให้ลูกได้มากกว่า EF

การฝึกฝนการทำงานของ สมองส่วนหน้า ทำได้หลายวิธีมากๆ หมอขอยกตัวอย่างแค่บางส่วนที่ทำได้ง่ายๆ นะคะ

1. อ่านนิทาน

เรารู้อยู่แล้วว่านิทาน เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาของสมองส่วนหน้า เราสามารถสอดแทรกการคิดวิเคราะห์ การเข้าสังคม ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีภายในบ้าน ฝึกจินตนาการต่างๆ ให้ลูกได้ผ่านทางนิทานค่ะ

ฝึกลูกรักการอ่าน

2. เกมส์จับคู่

การจับคู่ต้องอาศัยสมาธิ การสังเกต การหาจุดเชื่อมโยงในการจำ และยังต้องใช้ความจำระยะสั้นในการจดจำ ซึ่งความจำระยะสั้นจุดเริ่มต้นส่วนแรกก็คือสมองส่วนหน้าค่ะ

เล่นเกมจับคู่

3. ฝึกการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา

ให้เล่นเกมต่างๆ ที่ต้องใช้การวิเคราะห์แก้ปัญหา หรือเราอาจจะฝึกให้ลูกรู้จักคิดตามและคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ลูกเอาของออกจากกระเป๋าไม่ได้ ให้ลูกคิดว่าเกิดจากอะไร ลูกเปิดซิปแคบไปไหม หรือว่าของเล่นมันกางอยู่ต้องพับก่อนแบบนี้เป็นต้น ดังนั้นแม่ต้องให้เวลาลูก ในการคิดและแก้ปัญหาเองก่อนที่จะเข้าช่วยเหลือเสมอ
บางทีการพูดคุยกับลูกก็ช่วยได้ในส่วนนี้ เช่น อธิบายว่า แม่ทำแบบนี้เพราะอะไร รถจอดติดนานเพราะไฟแดง เดี๋ยวไฟเขียวรถก็ไป
เราใช้ไฟแดงเพื่อป้องกันไม่ให้รถชนกัน ไม่งั้นรถมาทุกทางไม่รู้ว่าใครไปก่อน หรือจริงๆ มีวิธีอื่น เช่น ใช้สะพานข้ามแยก เรามาช่วยกันคิดว่าใช้วิธีไหนได้บ้าง ฝึกเล่าให้ลูกฟัง อธิบายให้ลูกฟัง ค่อยๆ คิดไปด้วยกันก็ช่วยได้ค่อนข้างเยอะค่ะ

ฝึกคิดแก้ปัญหา

4. ให้ลูกรู้จักควบคุมตัวเอง เคารพกฎของสังคม หัดยับยั้งชั่งใจ

ช่วงนี้เด็กๆ ยังเล็กอยู่ ที่แม่ทำบ่อย คือ เวลาลูกเสียงดังที่ร้านอาหาร แม่จะพูดว่า “พี่ทานข้าวอยู่ เราทำเสียงเบาๆ กันนะคะ” ลูกจะได้รู้จักการเกรงใจผู้อื่น เคารพสิทธิของผู้อื่นและควบคุมตัวเอง ทุกวันนี้เวลาเด็กๆ เผลอทำเสียงดังแม่มองลูกก็จะยกนิ้วชี้ขึ้นมาปิดปากตัวเองทำเสียง ชู่ แล้วพูดว่าพี่ทานข้าวอยู่
เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี

5. ฝึกการแบ่งปัน Sharing

บ้านเราโชคดีมากที่มีลูก 2 คนวัยเท่ากัน ทำให้บางทีของเล่นต้องแบ่งปันกัน แบ่งอาหารกัน ตอนแรกเด็กอาจจะไม่เข้าใจเพราะคิดว่าอาหารคือของตัวเองทั้งหมด แม่จะใช้คำว่า Sharing อ่านนิทาน sharing โดยมีพื้นฐานว่าถ้าเป็นของลูก ลูกมีสิทธิ์เลือกว่าอยากจะให้หรืออยากจะเก็บไว้
ตอนหลังเวลาเด็กแย่งของกัน เด็กก็จะยื่นของให้กันเองด้วยหันมายิ้มให้แม่แล้วพูดว่า Sharing แม่ก็จะชมลูกก็จะภาคภูมิใจ  บางทีนิวโรอยากไปขอของฟรอนโท ลูกก็จะพูดว่า “ฟรอนโท Sharing เจ้ ” ซึ่งต่างจากตอนเด็กๆ ที่ไปหยิบของในมือของคนอื่นมาโดยตรง ลูกรู้จักการขอก่อนและรู้จักการรอ
นอกจากการ sharing ในบ้านแล้ว การแบ่งปันให้คนอื่นในสังคม ก็เป็นฝึกการพัฒนาสมองส่วนหน้าของลูกอีกทางนึงค่ะ

แบ่งปันเพื่อน

6. เล่นบทบาทสมมติ

การเล่นบทบาทสมมุติขายของทำกับข้าวให้แม่ทาน การเล่นเป็นพี่เลี้ยงดูแลน้องฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็ช่วยฝึกพัฒนาให้ลูกมีจินตนาการฝึกการแก้ปัญหา ฝึกการควบคุมตัวเอง ได้เช่นกัน

เล่นบทบาทสมมุติ

7. การทำงานบ้าน รับผิดชอบตัวเอง

เราสามารถฝึกสมองส่วนหน้าได้โดยการให้ลูกช่วยทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆตามอายุเช่น เช็ดกระจก กวาดบ้าน ถูบ้าน ดูดฝุ่น ดูดเศษขนมที่ลูกทำตก เวลาลูกถอดกางเกงให้ลูกเก็บใส่ตะกร้าเอง ให้ลูกฝึกการช่วยเหลือตัวเอง ใส่กระดุม ใส่กางเกง ฝึกการเข้าห้องน้ำฝึกการนั่งกระโถนชักโครกด้วยตัวเอง โดยทำตามช่วงวัยและตามพัฒนาการของลูกเท่าที่ลูกทำได้ค่ะ
ฝึกทำงานบ้าน
ฝึกทำงานบ้าน

8. การวาดรูประบายสี

ฝึกสมาธิ ฝึกการเปลี่ยนสี การใช้สีแบบต่างๆ ลูกต้องควบคุมน้ำหนักมือในการใช้สีแต่ละประเภท ต้องควบคุมตัวเองไม่ให้ระบายสีออกนอกกรอบ หรือยับยั้งชั่งใจไม่ให้ไประบายโซฟาและโต๊ะของแม่ กระตุ้นพัฒนาการต่างๆ ให้ลูกได้ดี รวมถึงกล้ามเนื้อมัดเล็กด้วยค่ะ

สอนลูกให้คิดบวก

จริงๆ ยังมีวิธีการต่างๆ ในการฝึกสมองส่วนหน้าอีกเยอะมากๆ ในช่วงอายุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหมากรุก การต่อจิ๊กซอว์ การเล่น A match ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้สามารถทำได้ตั้งแต่อายุน้อยๆ จนถึงวัยเกษียณก็ยังควรจะพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ค่ะ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 


การฝึกการทำงานของสมองส่วนหน้า ครอบคลุม Power BQ 10 ความฉลาดที่เด็กยุคใหม่ควรมีหลายด้าน เด็กจะได้ฝึกทั้งความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) จากการฝึกควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมของตัวเองผ่านการทำงานบ้าน, ฉลาดคิดเป็น (TQ) และฉลาดเผชิญอุปสรรค (AQ) จากการคิดวิเคราะห์ เล่นเกมแก้ปัญหา, ฉลาดคิดสร้างสรรค์ (CQ) จากการเล่นบทบาทสมมติ อ่านนิทาน วาดรูประบายสี, ฉลาดเข้าสังคม (SQ) จากการฝึกแบ่งปัน และยับยั้งชั่งใจ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากๆ ในการสร้างเด็กยุคใหม่ที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ และประสบความสำเร็จในชีวิต


ติดตามความรู้การพัฒนาสมอง และการเรียนรู้ของเด็ก กับคุณหมอศรินพร

ได้ที่เพจ หมอสมองเลี้ยงลูกแฝด

หมอสมองเลี้ยงลูกแฝด

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

11 เกมฝึกสมอง สอนลูกแก้ปัญหาไม่ละความพยายามง่ายๆ

8 ของเล่น เด็ก 4 ขวบ ฝึกสมอง สร้างสมาธิ เสริมพัฒนาการให้ลูกน้อยวัยอนุบาลโดยเฉพาะ!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up