เตี้ยแคระแกร็น

เด็กไทย เตี้ยแคระแกร็น โลหิตจาง แคลเซียมวิตามินดีต่ำ

Alternative Textaccount_circle
event
เตี้ยแคระแกร็น
เตี้ยแคระแกร็น

เด็กไทย เตี้ยแคระแกร็น โลหิตจาง แคลเซียม วิตามินดีต่ำ

แม้ประเทศไทยจะมีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ แต่ปัญหาโภชนาการในเด็กก็ยังคงมีอยู่เสมอทั้งภาวะขาดสารอาหาร รวมไปถึงภาวะได้รับสารอาหารที่ไม่จำเป็นมากเกินไปจนเกิดโรคอ้วน ล่าสุดได้มีการสำรวจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า เด็กไทยมีปัญหา เตี้ยแคระแกร็น โลหิตจาง แคลเซียม และวิตามินดีต่ำ เป็นจำนวนมากค่ะ

การสำรวจภาวะโภชนาการในเด็ก

มีผลสำรวจโครงการ ภาวะโภชนาการ เด็กใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 2 หรือ SEANUTS II (South East Asian Nutrition Surveys II)  ซึ่งเป็นการสำรวจเด็กอายุ 6 เดือน – 12 ปี จำนวนเกือบ 14,000  ราย จากประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ระหว่างปีพ.ศ. 2562 – 2564 โดยมุ่งศึกษา ภาวะโภชนาการ การบริโภคอาหาร พฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็ก พบทุพโภชนาการถึง 3 ลักษณะ ได้แก่

  • ภาวะโภชนาการทางด้านขาด (undernutrition) อาทิ ภาวะเตี้ยแคระเกร็น
  • การขาดสารอาหารกลุ่มรอง (micronutrients deficiencies)
  • ภาวะโภชนาการเกิน ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน (overweight and obesity) ซึ่งมักพบร่วมในประเทศเดียวกัน หรือบางกรณีในครอบครัวเดียวกัน

เด็ก เตี้ยแคระแกร็น โลหิตจาง ขาดแคลเซียม วิตามินดีต่ำ

ผลการศึกษาล่าสุดนี้ ต่อยอดจากการศึกษาภายใต้โครงการ สำรวจภาวะโภชนาการเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 1 ในปีพ.ศ. 2555 โดยในครั้งนี้ยังพบปัญหา ดังนี้

  • เด็กเล็ก พบภาวะ เตี้ยแคระแกร็น และภาวะโลหิตจาง 
  • เด็กโต ประสบปัญหาภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วน

ในภาพรวมยังพบว่า เด็กส่วนใหญ่ ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน และพบกลุ่มที่มีภาวะพร่องวิตามินดี  จึงจำเป็นที่จะต้องเติมเต็มช่องว่างทางโภชนาการที่ขาดหาย ผ่านกิจกรรมและการให้ความรู้

เร่งแก้ปัญหาการเข้าถึง “โภชนาการ” ที่ดี

รศ.ดร.นิภา โรจน์รุ่งวศินกุล ที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการ SEANUTS II ในประเทศไทย อธิบายว่า โภชนาการที่ดี เกิดจากการบริโภคอาหารที่สมดุล ได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม พอเพียงและมีความหลากหลายของอาหาร หากเด็กไม่ได้รับโภชนาการและสารอาหารที่จำเป็น ก็จะไม่สามารถเติบโตและมีพัฒนาการอย่างเหมาะสมได้

  • ผลสำรวจที่ประเมินจากการบริโภคอาหาร พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ของเด็กในทั้ง 4 ประเทศ ที่ศึกษา ไม่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอ (เมื่อเทียบกับปริมาณค่าเฉลี่ยที่ควรได้รับในแต่ละวัน)
  • มากกว่าร้อยละ 84 ได้รับวิตามินดีต่ำกว่าเกณฑ์
เตี้ยแคระแกร็น
เด็กไทย เตี้ยแคระแกร็น โลหิตจาง แคลเซียมวิตามินดีต่ำ

อาหารที่เด็กควรได้รับเพื่อแก้ปัญหา เตี้ยแคระแกร็น ขาดสารอาหาร

1.เนื้อสัตว์ เป็นสารอาหารที่ให้โปรตีนช่วยเสริมสร้างสร้างกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อและฮอร์โมน  ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เพื่อเป็นการปลูกฝังนิสัยการบริโภคที่ดีให้แก่เด็ก และควรให้อาหารทะเล  เครื่องในสัตว์  สัปดาห์ละ  1-2  ครั้ง
2. ไข่เป็ด  ไข่ไก่  ควรได้รับวันละ  1  ฟองทุกวัน
3. ถั่วเมล็ดแห้ง เด็กควรกินถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ เพราะมีโปรตีน แคลเซียม และวิตามินบีสองมาก
4.นมสด ให้โปรตีนและแคลอรี่สูง และยังมีแคลเซียม วิตามินเอมาก ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต เด็กจึงควรดื่มนมทุกวันอย่างน้อยวันละ แก้ว
5.ผักใบเขียวและผักสีเหลือง ควรให้เด็กบริโภคในมื้ออาหารทุกมื้อ และควรสับเปลี่ยนชนิดให้หลากหลาย เพื่อให้เด็กได้รับวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน
6.ผลไม้สด  เป็นแหล่งที่ดีของวิตามิน และเกลือแร่โดยเฉพาะวิตามินซี เด็กควรได้รับผลไม้ทุกวัน และเลือกชนิดให้หลากหลายตามฤดูกาล
7.ข้าว  ก๋วยเตี๋ยวหรือแป้งอื่นๆ  ควรจัดให้เด็กในมื้ออาหารทุกมื้อ  หรือกินในรูปของขนมบ้างก็ได้ โดยเลือกข้าวหรือแป้งที่ผ่านการขัดสีน้อย เพราะมีวิตามินและแร่ธาตุมาก
8.ไขมันหรือน้ำมันพืช เป็นเหล่งที่ดีของพลังงาน และช่วยให้วิตามินที่ละลายในน้ำมัน ถูกดูดซึมได้ดีขึ้น ควรเลือกน้ำมันพืชเพื่อใช้ในการประกอบอาหารให้แก่เด็ก เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
9.น้ำ  ควรให้เด็กบริโภคน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว  หรือให้เพียงพอกับปริมาณที่สูญเสียไปในแต่ละวัน

สารอาหารแต่ละชนิดควรให้เด็กบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม เพราะถ้าให้ในปริมาณมากเกินจะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วนได้ค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

กรุงเทพธุรกิจ, ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

กรมอนามัยเตือน! ปล่อยลูก ฟันผุ เสี่ยงเด็กแคระแกร็น!!

อาหารกลางวันนักเรียน กินอะไร กระตุ้นพัฒนาการลูก

ไทรอยด์เป็นพิษ ลูกเป็นแต่เล็ก ส่งผลต่อพัฒนาการล่าช้า

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up