ลดเด็กอ้วน

โรคอ้วนอันตราย! จำเป็นต้อง ลดเด็กอ้วน

Alternative Textaccount_circle
event
ลดเด็กอ้วน
ลดเด็กอ้วน

โรคอ้วนอันตราย! จำเป็นต้อง ลดเด็กอ้วน

คุณพ่อคุณแม่หลายคนมักจะคิดว่า “เด็กอ้วน” คือเด็กน่ารัก น่ากอด แต่หารู้ไหมว่าความน่ารักที่มาจากความอ้วนนั้นอาจไม่เป็นผลดีกับเด็กเท่าไรนัก เพราะถ้าปล่อยให้เด็กอ้วนต่อไปเรื่อย ๆ ในระยะยาวจะมีปัญหาสุขภาพมากมายตามมาก้ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรร่วมกัน ลดเด็กอ้วน เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยค่ะ

 

สถิติของผู้เป็นโรคอ้วนในไทย

สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน พบคนไทยมีภาวะอ้วนราว 19.3 ล้านคน หรือประมาณ 34.1% ของประชากร อธิบายง่ายๆคือ 1 ใน 3 ของประชากรไทยมีภาวะอ้วน โดยถ้าเทียบในระดับภูมิภาคอาเซียน พบว่าไทยมีความชุกของโรคอ้วนในประชากรเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย

ขณะที่ข้อมูลจากกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานความชุกของปัญหาน้ำหนักเกินหรืออ้วนในผู้ใหญ่ ในปี 2564 อยู่ที่ 47.2% เพิ่มขึ้นจาก 34.7% ในปี 2559

สถิติที่ทำให้ต้อง ลดเด็กอ้วน

ที่น่ากังวลคือ พบปัญหาโรคอ้วนและน้ำหนักเกินในเด็กเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ ในปี พ.ศ.2564 โดยความชุกของโรคอ้วนและน้ำหนักเกินในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี อยู่ที่ 9.07% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 5.7%

สาเหตุของเด็กอ้วน

1.กินมากเกินความจำเป็น สังคมปัจจุบัน บ้านอยู่ใกล้ร้านสะดวกซื้อมากขึ้น และอาหารก็หาซื้อได้ง่ายมาก ๆ ทั้งน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ขนมหวานทำให้เด็ก ๆ ในปัจจุบันจึงนิยมบริโภคกันมากขึ้น

2.ร่างกายขาดการเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวน้อย เด็กสมัยนี้เอาแต่นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือไม่ก็จอมือถือ จอทีวีทั้งวัน ทำให้เด็กไม่ได้ขยับร่างกายหรือออกกำลังกายบ้างเลย จึงส่งผลให้กลายเป็นเด็กอ้วนในที่สุด

3.เด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมผง อาจจะอ้วนมากกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงโดยนมแม่ เนื่องจากว่าในนมผงบางชนิดอาจจะมีไขมันและโปรตีนบางชนิดก่อให้เด็กเกิดโรคอ้วนได้

4.อ้วนเพราะพันธุกรรม เด็กอ้วนบางคนอ้วนเพราะพ่อแม่อ้วน เพราะเมื่อร่างกายมียีนส์อ้วน เด็กก็จะเป็นเด็กอ้วน แต่ก็พบว่า เด็กที่อ้วนจากสาเหตุพันธุกรรมนั้นมีไม่มาก แต่ส่วนมากที่อ้วนจะเกิดจากอาหารและการเลี้ยงดูมากกว่า

ลดเด็กอ้วน
โรคอ้วนอันตราย!

ผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากโรคอ้วนในเด็ก

1.นอนกรน และอาจส่งผลให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เด็กที่อ้วนจำนวนมากมักจะหายใจติดขัดเวลานอน จึงส่งผลให้เด็กนอนกรน บางครั้งทำให้นอนหลับไม่สนิทหลับไม่ดี รวมถึงหากเด็กอ้วนมากและหายใจติดขัดรุนแรง อาจส่งผลร้ายแรงจนถึงขนาดที่ว่า หยุดหายใจขณะนอนหลับก็เป็นได้

2.เบาหวาน ความดัน ไขมันเลือดสูงในเด็ก เด็กอ้วนจะมีภาวะต่อต้านอินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ง่ายและเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานเมื่อเด็กโตขึ้น

3.กระดูกและข้อโดยเฉพาะข้อเข่าและข้อสะโพกผิดปกติเพราะต้องรับน้ำหนักมากเกินไป ส่งผลให้เด็กเสียบุคลิกภาพ

4.เป็นเด็กขาดความมั่นใจ เนื่องจากผิวหนังตามร่างกายโดยเฉพาะบริเวณข้อพับจะกลายเป็นปื้นสีดำเหมือนคนเป็นเบาหวานเนื่องจากเป็นภาวะที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน และในบางครั้งเด็กที่อ้วนก็มักจะโดนเพื่อนล้อ จึงอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เด็กกลายเป็นเด็กขาดความมั่นใจก็เป็นได้

จะเห็นได้ว่าโรคอ้วนในเด็กนั้นส่งผลกระทบทางสุขภาพมากกว่าที่คิด หากพบว่าลูกเข้าข่ายเด็กอ้วนควรรีบหาทางแก้ไขเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพที่จะตามมาในภายหลัง

ผลกระทบจากโรคอ้วนในทางเศรษฐกิจ

โรคอ้วนไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจอีกด้วย โดย 13.2% ของงบประมาณสาธารณสุขทั่วโลก คิดเป็นเงิน 9.9 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 29 ล้านล้านบาท สูญเสียไปกับปัญหาน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน โดยปัญหานี้ก่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 2 แสนล้านบาท หรือ 1.27% ของ GDP ทั้งประเทศ

ถ้าปัญหานี้ยังไม่ถูกแก้ไข ในอีก 40 ปีข้างหน้าอาจกระทบเศรษฐกิจของประเทศไทยได้สูงถึง 2.7 ล้านล้านบาท หรือ 4.88% ของ GDP ซึ่งนับเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากต่อประเทศไทย ความสูญเสียนี้คิดเป็นค่าใช้จ่ายทางตรง (Direct cost) สำหรับการรักษาพยาบาลเกือบ 5 หมื่นล้านบาท และค่าใช้จ่ายทางอ้อม (Indirect cost) 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

วิธี ลดเด็กอ้วน ในกลุ่มประเทศอื่น ๆ

นโยบายโครงการอาหารโรงเรียนของกลุ่มประเทศนอร์ดิก ทั้งสวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ก และบอลติก อย่างเอสโตเนีย จัดอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการมาเป็นเวลานานให้กับนักเรียนทุกคนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ในขณะที่เด็กในประเทศนอร์เวย์และเดนมาร์ก นำอาหารกลางวันแพ็กกล่องมาเองที่โรงเรียน

ที่โดดเด่นที่สุด คือสวีเดนและนอร์เวย์ ที่มีนโยบายการปฏิรูปอาหารกลางวันในโรงเรียน โดยเฉพาะเมนูอาหารที่ไม่มีน้ำตาล หรือที่เรียกว่า Sugar Free ที่นอกจากจะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นแล้ว ยังมีสุขภาพดี ส่งผลถึง พัฒนาการ การเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นด้วย

สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำเพื่อลูก

  • ควบคุมปริมาณอาหารของลูก ให้รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใยเป็นประจำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เช่น ของทอด ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยวที่ไม่มีประโยชน์ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล น้ำอัดลม
  • ให้ลูกทำกิจกรรมที่ได้ขยับร่างกายและออกกำลังกายไปในตัวอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ไม่ปล่อยให้อยู่หน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ ทีวี ไอแพด แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ เป็นเวลานาน โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุ 2-5 ขวบ ไม่ควรให้ดูเกินครึ่งชั่วโมงต่อวัน
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของลูกให้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เช่น ฝึกการเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ ฝึกทำงานบ้านง่าย ๆ
  • พาลูกเข้านอนให้เป็นเวลาและนอนให้เพียงพอ เพราะการนอนดึกหรือนอนน้อยนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งของความอ้วน

ถึงเวลาแล้วที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องกลับมาระมัดระวังภาวะอ้วนที่จะเกิดขึ้นกับลูกนะคะ เพราะโรคอ้วนส่งผลมากมายกับลูกที่รักของเราค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

ไทยรัฐออนไลน์, RAMA Channel,โรงพยาบาลเปาโล

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก 

อุทาหรณ์! ลูก ลำไส้อักเสบเรื้อรัง เพียงเพราะแม่อยากให้ลูกอ้วน

หยุด! ปัญหา “โรคอ้วน” ในคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย “เวชศาสตร์ชะลอวัย”

ลดน้ำหนักเด็กอ้วน ด้วย 10 เมนูอาหารจานเด็ด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up