มือเท้าปากเปื่อย

มือเท้าปากเปื่อย ระบาดอีกแล้วเตือนพ่อแม่ระวังเชื้อแรงขึ้น

Alternative Textaccount_circle
event
มือเท้าปากเปื่อย
มือเท้าปากเปื่อย

มือเท้าปากเปื่อย โรคเดิมแต่กลับมาคราวนี้รุนแรงขึ้น เมื่อลูกมีแผลตามปาก มือ หรือเท้าอย่าเพิ่งวางใจ เพราะเชื้อไวรัสตัวนี้น่ากลัว อันตรายพาติดคนทั้งบ้านได้

มือเท้าปากเปื่อย ระบาดอีกแล้ว!! เตือนพ่อแม่ระวังเชื้อแรงขึ้น

โรคมือเท้าปากเปื่อย ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในประเทศไทยเกิดการระบาดเป็นครั้งคราวพบได้มานานแล้ว แต่ที่สำคัญในปีนี้พบการระบาดของ มือเท้าปากเปื่อย ในตัวไวรัสที่รุนแรง อันตรายกว่าเดิม จากเชื้อ Enterovirus 71 และการติดเชื้อเป็นไปได้ง่ายมาก แถมเจลล้างมือแอลกอฮอล์ไม่สามารถฆ่าเชื้อตัวนี้ได้ด้วย!!

เมื่อวันที่ 2 ส.ค.65 นายแพทย์สุเมธ องค์วรรณดี ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา เปิดเผยว่า ช่วงนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว หลายพื้นที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง อากาศเย็นลง และมีความชื้น เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคมือ เท้า ปาก ที่มักพบบ่อยในช่วงนี้ ประกอบกับเป็นช่วงที่เด็กๆ เปิดเทอม และมีการรวมตัวกัน ดังนั้นจึงฝากเตือนครูพี่เลี้ยง ผู้ดูแลเด็ก และโรงเรียนอนุบาล ควรสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ระวังป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก หากมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เจ็บปาก ร่วมกับมีตุ่มพองเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือตุ่มแผลในปาก ควรแยกเด็กป่วยไม่ให้คลุกคลีกับคนอื่นๆ และไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อไป

ทั้งนี้ โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี สำหรับอาการของโรคมือ เท้า ปาก จะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมา 1-2 วัน จะมีอาการเจ็บปาก ร่วมกับมีตุ่มพองเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตุ่มแผลในปาก เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น ต่อมาจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ หากอาการไม่ดีขึ้น เช่น มีไข้ขึ้นสูง ซึมลง เดินเซ ชัก เกร็ง หายใจหอบเหนื่อย อาเจียนมาก ต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจติดเชื้อโรคมือ เท้า ปากชนิดรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

มือเท้าปากเปื่อย ระบาดในเด็กเล็ก
มือเท้าปากเปื่อย ระบาดในเด็กเล็ก

สถานการณ์ของโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 26 ก.ค.2565 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรค มือ เท้า ปาก อายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 8,798 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนสถานการณ์ของโรค มือ เท้า ปากในเขตสุขภาพที่ 9 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 25 ก.ค.2565 มีรายงานผู้ป่วยรวม 521 ราย แยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้

1.นครราชสีมา มีผู้ป่วย 87 ราย

2.ชัยภูมิ มีผู้ป่วย 85 ราย

3.บุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 128 ราย

4.สุรินทร์ มีผู้ป่วย 221 ราย

ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 3 ปี รองลงมาคือ 2 ปี และ อายุ 1 ปี ตามลำดับ

นายแพทย์สุเมธ องค์วรรณดี กล่าวต่อไปว่า แนะนำให้ครูพี่เลี้ยง ผู้ดูแลเด็ก และพ่อแม่ ผู้ปกครองดูแลและสังเกตอาการของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด

ที่มาจาก www.bangkokbiznews.com

โรคมือเท้าปากเปื่อย” เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้ หรือ Eneterovirus หลายชนิด แต่ส่วนใหญ่ที่พบคือ Coxsackie virus A16 และ Enterovirus 71 พบบ่อยในเด็กทารก และเด็กอายุต่ำกว่า ปี สำหรับประเทศไทยพบการระบาดตลอดทั้งปี แต่จะมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝนและช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น

*โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง มีลักษณะเฉพาะคือ มีตุ่มน้ำใสขอบแดงขึ้นที่บริเวณปาก มือ และเท้า”

มือเท้าปากเปื่อย โรคที่มากับหน้าฝน
มือเท้าปากเปื่อย โรคที่มากับหน้าฝน

อาการของโรค

หลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน จะเจ็บปากจนไม่อยากรับประทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงเจ็บที่ลิ้น เหงือก เพดานปาก กระพุ้งแก้ม และที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซึ่งต่อมาตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส ซึ่งบริเวณฐานของตุ่มจะอักเสบและแดง นอกจากนี้สามารถพบอาการที่ระบบอื่นได้อีก เช่น
– อาการทางระบบประสาท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
– อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย ถ่ายเหลว และคลื่นไส้อาเจียนได้
– อาการทางตา มักพบเยื่อบุตาอักเสบ
– อาการทางหัวใจ(พบไม่บ่อยแต่มีความรุนแรง)เนื่องจากสามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้
*อาการของผู้ป่วย อาจมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่จะทุเลาและหายเป็นปกติได้เองภายในประมาณ 7-10 วัน

มือเท้าปากเปื่อย ติดต่อง่ายมาก ระวัง!ติดทั้งบ้าน

อย่างที่ทราบกันดีว่า โรคมือเท้าปากเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายมาก ยิ่งเป็นการระบาดในเด็กเล็กยิ่งทำให้ป้องกันได้ยาก โดยเฉพาะเด็กที่เข้าเรียน ที่ต้องอยู่ในกลุ่มคนมาก ยิ่งทำให้การป้องกันการติดเชื้อยิ่งยากขึ้นไปอีกหลายเท่า นอกจากตัวเด็กเองที่ได้รับเชื้อ และต้องทรมานจากโรคมือเท้าปาก ยังสามารถเป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่บุคคลในครอบครัวได้อีกด้วย ซึ่งหากคนในครอบครัวนั้นมีผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงจากเชื้อไวรัสนี้ก็จะยิ่งเพิ่มอันตรายมากยิ่งขึ้น ดังเช่นครอบครัวของคุณแม่ผู้ใช้ @Kantika Nakapakorn ได้เล่าเรื่องราวของครอบครัวผ่านเพจ Drama-addict ไว้ว่า ลูกสาวคนที่สองติดเชื้อจากโรงเรียน และนำมาติดน้องคนเล็กที่เป็นผื่นภูมิแพ้บ่อย จึงทำให้อาการหนักกว่าปกติ

มือเท้าปากเปื่อย กับเด็กที่เป็นผื่นภูมิแพ้
มือเท้าปากเปื่อย กับเด็กที่เป็นผื่นภูมิแพ้
คุณแม่ที่ลูกเขาป่วยเป็นโรคมือเท้าปากฝากมาครับผม ช่วงนี้ระบาด พ่อแม่ที่มีลูกเล็กๆต้องระวังนะครับ
ช่วงนี้โรคมือปากเท้าเปื่อย มาแรงนะคะ
อันนี้น้องเป็นโรคมือเท้าปาก +กับอาการแทรกซ้อนภูมิแพ้ ผื่นเลยขึ้นทั้งตัว อันนี้เป็นไวรัสอีกตัวนึง ที่มีความรุนแรง
เริ่มแรกบ้านนี้มีลูกสาว 3คนคะ 2คนแรกไป ร.ร แต่เหตุเกิดจาก ลูกสาวคนที่สอง ติดมาจาก ร.ร แล้วนำมาติดสู่น้องคนเล็ก แต่เดิมทีน้องคนเล็กเป็นผื่นภูมิแพ้บ่อยอยู่แล้ว เลยทำให้ เป็นผื่นซ้ำเข้าไปอีก จนอาการ นั้น คูณ 2 จนกลายเป็นเพิ่มความรุนแรง ตอนนี้ น้องเข้าแอดมิด ที่โรงพยาบาลแล้วเรียบร้อยคะ
(จากในภาพคือสภาพอาการน้องแค่2วันเท่านั้น)
อาการเริ่มแรกคือมีไข้ต่ำๆ วันถัดมา เริ่มมีผื่นขึ้นที่ปาก มือ เท้า ก้น แล้วล่ามไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นในเด็กอายุน้อย จะมีความรุนแรงมากกว่าเด็กที่โตแล้ว ทางคุณหมอแจ้งว่า โรคติดไม่ใช่ติดกับเด็กอย่างเดียว สามารถติดกับผู้ใหญ่ได้ด้วยนะคะ ระยะแพร่เชื้อ 1-2 สัปดาห์ เคยติดแล้วหายแล้วติดซ้ำได้อีก
อนุญาติให้แชร์ภาพได้ กรณีศึกษา กรณีเตือนภัยนะคะ
เพราะไวรัสตัวนี้น่ากลัวจริง
Cr. FB Kantika Nakapakorn
ที่มา เพจ Drama-addict

ป้องกันไม่ให้ระบาด คุ้มครองสมาชิกในครอบครัว

เนื่องจากโรคนี้ติดต่อง่าย และอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง การป้องกันไม่ให้มีการระบาด เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะหากเชื้อไปติดในเด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือผู้สูงอายุ บุคคลที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ก็จะทำให้เป็นอันตรายได้

สอนลูกหมั่นล้างมือ แอลกอฮอล์เจลไม่สามารถฆ่าเชื้อได้
สอนลูกหมั่นล้างมือ แอลกอฮอล์เจลไม่สามารถฆ่าเชื้อได้
  • การดูแลรักษาความสะอาดทั่วไป และสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยการล้างมือ ฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่ายทุกครั้ง (การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้)
  • รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม
  • ควรใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อน ขวดนมร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเหลี่ยงการคลุกคลี อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ และให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายป่วย
  • หลีกเหลี่ยงการนำเด็กทารกและเด็กเล็กเข้าไปในสถานที่แออัด หรือที่ๆ เด็กอยู่รวมกันจำนวนมาก หรือเล่นของเล่นร่วมกันในที่สาธารณะในช่วงที่มีโรคระบาดมาก
  • ผู้ดูแลเด็กต้องตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อยๆ และรีบล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว เมื่อเช็ดน้ำมูกน้ำลาย หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม เสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระ
  • ไม่ไปเล่นในสระว่ายน้ำ และควรฆ่าเชื้อในสระว่ายน้ำด้วยคลอรีนในจำนวนที่เหมาะสม
  • ทำความสะอาดพื้น เครื่องใช้ หรือของเล่นเด็กที่อาจปนเปื้อน เชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ ด้วยน้ำยาฟอกขาว (คลอเร็กซ์) อัตราส่วน คือ น้ำยา 20 CC ต่อน้ำ 1000 CC และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง โดยเชื้ออยู่ในสภาพแวดล้อมได้ 2-3 วัน เชื้อตายง่ายในที่แห้งและร้อน ดังนั้นควรทำความสะอาดของเล่นด้วย
  • ถ้าพบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ควรรับแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขในพื้นที่โดยเร็ว เพื่อดำเนินการควบคุมโรคต่อไป

โรคนี้ไม่มีการป้องกันด้วยการวัคซีน ดังนั้นผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กควรเน้นที่สุขอนามัยของเด็กมากที่สุด โดยสอนให้เด็กล้างมือให้เป็นนิสัย ไม่เอาของเข้าปาก เป็นต้น

หากมีข้อสงสัยอื่นใด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.thonburi2hospital.com/www.si.mahidol.ac.th

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เช็ค 6 อาการ ติดโรคมือ เท้า ปาก มาจากโรงเรียน

วิธีสังเกต อาการมือเท้าปาก และ วิธีดูแลรักษาลูกโดยไม่ต้องแอดมิด

ประจําเดือนไม่มา กินยาอะไรดี!! ปัญหากลุ้มใจของสาวๆ

บอกหมดไม่กั๊ก วิธีสต๊อคนมแม่ พร้อมส่งนมข้ามจังหวัดฟรี!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up