ประจำเดือนไม่มา กินยาอะไรดี

ประจําเดือนไม่มา กินยาอะไรดี!! ปัญหากลุ้มใจของสาวๆ

Alternative Textaccount_circle
event
ประจำเดือนไม่มา กินยาอะไรดี
ประจำเดือนไม่มา กินยาอะไรดี

ประจําเดือนไม่มา กินยาอะไรดี คำถามที่เป็นปัญหากลุ้มใจของสาว ๆ ทำให้เกิดความกังวลใจ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติใด ๆ ในร่างกายหรือไม่

ประจําเดือนไม่มา กินยาอะไรดี!! ปัญหากลุ้มใจของสาวๆ

ผู้หญิงหลายคนคงประสบปัญหา ประจำเดือนไม่มา ทั้งที่ตรวจการตั้งครรภ์แล้วแต่ผลปรากฏว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ แล้วสาเหตุเกิดจากอะไร ได้แต่คิดว่า ประจำเดือนไม่มา กินยาอะไรดี อย่าเพิ่งวิตกไปค่ะ ทีมกองบรรณาธิการ ABK ได้รวบรวมข้อมูลถึงสาเหตุมาให้แล้วค่ะ

ประจําเดือนไม่มา กินยาอะไรดี!! ปัญหากลุ้มใจของสาวๆ

ประจำเดือนไม่มา กินยาอะไรดี
ประจำเดือนไม่มา กินยาอะไรดี

ประจำเดือน คือ เลือดที่ไหลออกมาจากทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือนเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการสืบพันธุ์ของร่างกาย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยสมองจะสั่งให้ต่อมใต้สมองผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิกับอสุจิแล้ว แต่ถ้าหากไข่ไม่มีการปฏิสนธิกับอสุจิ เยื่อบุมดลูกก็จะหลุดลอกออกมากลายเป็นประจำเดือน โดยปกติประจำเดือนจะมาประมาณ 4-6 วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

ประจำเดือนไม่มา (Missed Period) หรือภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) คือ ภาวะที่ไม่มีรอบเดือนหรือประจำเดือนขาด ไม่มาตามปกติ ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 กรณี กรณีแรกเกิดขึ้นกับผู้ที่รอบเดือนครั้งแรกไม่มาเมื่ออายุถึงเกณฑ์ และอีกกรณีเกิดขึ้นกับผู้ที่เคยมีประจำเดือนแต่รอบเดือนขาดหรือไม่มาตามปกติ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีประจำเดือนประมาณ 11-13 ครั้งต่อปี โดยรอบเดือนปกติจะประมาณ 28 วัน (อยู่ในช่วง 21- 35วัน)  แต่ในบางครั้งประจำเดือนอาจไม่มาตามกำหนดในช่วงดังกล่าวคือเกิน 35 วัน โดย 2-3 ปีแรกนับตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน ประจำเดือนมักมาไม่สม่ำเสมอ ร่างกายอาจใช้เวลานานหลายปีในการปรับระดับฮอร์โมนที่ควบคุมการมีรอบเดือนให้สมดุล ทั้งนี้ อาการประจำเดือนมาไม่ปกติอาจเกิดขึ้นในช่วงปีสุดท้ายของการมีรอบเดือน สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่มามีหลายอย่าง ทั้งจากการทำงานของร่างกาย การใช้ชีวิตประจำวัน หรือระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ประสบภาวะนี้ควรไปพบแพทย์ เนื่องจากสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่มาบางสาเหตุอาจต้องได้รับการรักษา ประจำเดือนจึงจะกลับมาตามปกติ

สาเหตุของอาการประจำเดือนไม่มา มี  2 กรณี ได้แก่ ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ และภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea) คือ ภาวะที่ไม่เคยมีประจำเดือนเมื่ออายุถึง 15 ปี วัยรุ่นผู้หญิงมักเริ่มมีรอบเดือนในช่วงอายุระหว่าง 9-18 ปี โดยทั่วไปแล้วมักเริ่มมีรอบเดือนเมื่ออายุ 12 ปี
  • ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Amenorrhea) คือภาวะที่ประจำเดือนขาดไปอย่างน้อย 3 เดือน ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิถือเป็นภาวะขาดประจำเดือนที่พบได้บ่อย

อย่างไรก็ตาม ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิและภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ สามารถรักษาให้หาย และกลับมามีประจำเดือนได้ตามปกติ

สาเหตุประจำเดือนไม่มา

อาการประจำเดือนไม่มาหรือภาวะขาดประจำเดือนเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายอย่าง ซึ่งอาจเกิดจากความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย กิจวัตรในชีวิตประจำวัน ระดับฮอร์โมนในร่างกาย หรือการใช้ยาบางอย่าง สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่มาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ สาเหตุที่พบได้ทั่วไป และสาเหตุที่พบได้ไม่บ่อย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  • สาเหตุที่พบได้ทั่วไป อาการประจำเดือนไม่มาอันเกิดจากสาเหตุที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้
    • ตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ถือเป็นสาเหตุที่พบได้ทั่วไปมากที่สุด หากยังไม่แน่ใจว่าอาการประจำเดือนไม่มานั้น มีสาเหตุมาจากการตั้งครรภ์หรือไม่ ควรใช้ที่ตรวจครรภ์ตรวจให้แน่ใจ
    • การให้นมบุตร เนื่องจากโพรแลคติน (Prolactin) ที่เป็นฮอร์โมนสำหรับการผลิตน้ำนมอาจส่งผลยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนสืบพันธุ์ ทำให้ช่วงให้นมบุตรอาจยังไม่มีการตกไข่
    • เข้าวัยทอง วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนถือเป็นความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี ประจำเดือนจะเริ่มขาดเมื่อเข้าสู่วัยทอง เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเริ่มลดลง ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ เมื่อเลยวัยทองแล้ว รอบเดือนจะหยุดมา อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อายุ 40 ปีบางรายอาจประสบภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด (Premature Menopause)
    • ฮอร์โมนไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลทำให้ประจำเดือนไม่มาได้ ปัญหาดังกล่าวอาจมาจากเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองหรือต่อมไทรอยด์ ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ หรือระดับเทสโทสเตอโรนสูง ซึ่งทำให้ประจำเดือนขาด
    • น้ำหนักเพิ่มหรือลดมากเกินไป ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มหรือลดมากเกินไปอาจเกิดอาการประจำเดือนไม่มา โดยผู้ที่น้ำหนักตัวลดลงมากอย่างรวดเร็วนั้นมักรับประทานอาหารน้อย ทำให้ไม่มีสารอาหารไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนมากนั้น จะทำให้ร่างกายผลิตเอสโตรเจนมากซึ่งส่งผลต่อรอบเดือน และทำให้ประจำเดือนไม่มา
    • ออกกำลังกายมากเกินไป การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายออกแรงหนักหน่วง จะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวกับรอบเดือน เนื่องจากร่างกายสูญเสียไขมันมากเกินไปจากการหักโหมทำกิจกรรมดังกล่าว
    • เกิดความเครียด ผู้ที่มีความเครียดอาจส่งผลต่อรอบเดือน ทำให้ประจำเดือนมามาก มาน้อย เกิดอาการปวดท้องรุนแรงเมื่อมีรอบเดือน หรือประจำเดือนไม่มาเลย
    • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาจิตเวท ยาต้านซึมเศร้า ยารักษาโรคภูมิแพ้ ยาลดความดันโลหิต เนื่องจากตัวยาอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน
    • รับประทานยาคุมกำเนิด ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดอาจมีประจำเดือนมาน้อย มามาก มาไม่สม่ำเสมอ หรือไม่มาเลย โดยยาคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว ยาคุมแบบฉีด หรือห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนอาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาได้ อย่างไรก็ตาม หากหยุดใช้ยาคุมแล้ว จะกลับมามีประจำเดือนตามปกติ ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้ยารักษาทางจิตเวช ยาต้านซึมเศร้า ทำเคมีบำบัด ยารักษาความดันโลหิตสูง และสารเสพติดอื่น ๆ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับรอบเดือนด้วย
    • ประสบภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ภาวะนี้เกิดจากรังไข่มีถุงน้ำรังไข่เป็นจำนวนมาก โดยถุงน้ำเหล่านี้จะไม่ปล่อยไข่ให้ตกออกมา
    • ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขภาพและโรคต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เนื้องอกใต้สมอง
ประจำเดือนยังไม่มา
ประจำเดือนยังไม่มา

ประจําเดือนไม่มา กินยาอะไรดี!! ปัญหากลุ้มใจของสาวๆ

  • สาเหตุที่พบได้ไม่บ่อย ผู้ป่วยหรือผู้ที่ประสบปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจเกิดอาการประจำเดือนไม่มาร่วมด้วย โดยปัญหาสุขภาพเหล่านี้จัดเป็นสาเหตุของภาวะขาดประจำเดือนที่พบได้ไม่บ่อยนัก ได้แก่
    • รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด (Premature Ovarian Failure) หรือรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด คือภาวะที่หมดรอบเดือนก่อนอายุครบ 40 ปี สาเหตุของภาวะนี้เกิดจากการผ่าตัดศัลยกรรม การทำเคมีบำบัด และการฉายรังสีบริเวณท้องหรืออุ้งเชิงกราน
    • ท้องนอกมดลูก ภาวะนี้ถือเป็นภาวะที่พบได้ยาก และบางครั้งผลตรวจครรภ์อาจปรากฏออกมาเป็นลบ ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาและผลตรวจครรภ์ออกมาเป็นลบ แต่เกิดปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง มีเลือดออก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน ควรพบแพทย์ทันที
    • ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคลำไส้แปรปรวน วัณโรค โรคตับ หรือเบาหวาน อาจประสบภาวะขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนมาไม่ปกติได้ ส่วนในบางราย ที่อวัยวะเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์เกิดความผิดปกติ ก็อาจทำให้ประจำเดือนไม่มาหรือมาช้า โดยความผิดปกตินี้อาจเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด เนื้องอก หรือการติดเชื้อที่มดลูก ทั้งนี้ อาการประจำเดือนไม่มาเป็นอาการหนึ่งของการเกิดภาวะพังผืดในโพรงมดลูก (Asherman Syndrome) ซึ่งเกิดจากการขูดมดลูก
    • ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม ผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome) อาจทำให้ประจำเดือนมาช้าได้บางครั้ง

การวินิจฉัยอาการประจำเดือนไม่มา

ผู้ที่ประสบภาวะขาดประจำเดือนโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์ทันที ซึ่งผู้ที่ประจำเดือนไม่มาแล้วควรไปพบแพทย์ ได้แก่

  • ผู้ที่มีอาการปวดท้องน้อย และคาดว่าอาจตั้งครรภ์
  • ผู้ที่ใช้ที่ตรวจการตั้งครรภ์และพบว่าตนเองท้อง หรือผู้ที่คาดว่าอาจตั้งครรภ์แม้ที่ตรวจครรภ์จะแสดงผลว่าไม่ได้ท้อง
  • ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาเป็นเวลา 2 เดือนโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาเป็นเวลา 2 เดือน ระหว่างรับประทานยาคุมกำเนิด แม้ว่าจะรับประทานยาคุมกำเนิดครบทุกเม็ด
  • วัยรุ่นอายุ 16 ปี ที่ประจำเดือนครั้งแรกยังไม่มา
  • วัยรุ่นอายุ 14 ปี ที่ไม่ปรากฏสัญญาณของการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
  • ผู้ที่ประจำเดือนขาดก่อนอายุครบ 45 ปี
  • ผู้ที่ยังมีประจำเดือนอยู่เมื่ออายุ 55 ปี

แพทย์จะตรวจร่างกายและถามคำถามเพื่อวินิจฉัยสาเหตุ เช่น ความปกติของรอบเดือน ประวัติการรักษาทั่วไป ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน และอาการที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ แพทย์อาจตรวจการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่ประจำเดือนไม่มาเป็นเวลา 3 เดือน การวินิจฉัยอาการประจำเดือนไม่มา ประกอบด้วย

  • การตรวจเลือด แพทย์ตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนในร่างกายของผู้ป่วย โดยจะดูฮอร์โมนโพรแลกติน (Prolactin) ลูทิไนซิงฮอร์โมน (Luteinizing Hormone) และฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน (Follicle Stimulating Hormone: FSH) หรือฮอร์โมนเอฟเอสเอช ซึ่งล้วนแต่เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับรอบเดือนผู้หญิง แพทย์จะวินิฉัยหาสาเหตุของอาการประจำเดือนไม่มาจากระดับฮอร์โมนเหล่านี้
  • การทำอัลตราซาวด์ แพทย์จะตรวจรังไข่และมดลูก เพื่อหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในอวัยวะดังกล่าว โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงประมวลภาพสแกนอวัยวะภายในร่างกายออกมา
  • การทำซีที สแกน แพทย์จะตรวจเนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในต่อมหรืออวัยวะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใช้ภาพเอกซเรย์จากหลายมุมมาประกอบกันและแสดงผลออกมาเป็นภาพสแกน

การรักษาอาการประจำเดือนไม่มา

วิธีรักษาอาการประจำเดือนไม่มาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดประจำเดือน ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพนั้น จะได้รับการรักษาที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้

  • ฮอร์โมนไม่สมดุล ผู้ที่ประสบภาวะขาดประจำเดือนจากปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุลจะได้รับฮอร์โมนเสริมหรือฮอร์โมนสังเคราะห์ เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้เป็นปกติ
  • ถุงน้ำรังไข่หลายใบ กรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ แพทย์อาจจ่ายยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อช่วยรักษาอาการ
  • รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ผู้ที่ประจำเดือนไม่มาจากสาเหตุนี้อาจได้รับการรักษาด้วยยาคุมกำเนิดแบบเม็ดหรือกลุ่มยาฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy: HRT)
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ผู้ที่ประสบภาวะขาดประจำเดือนจากสาเหตุนี้ จะได้รับยาที่ช่วยหยุดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ของต่อมไทรอยด์เพื่อรักษาอาการของโรค

บทความเกี่ยวกับปัญหา ประจำเดือนไม่มา กินยาอะไรดี ที่ทีมกองบรรณาธิการ ABK นำข้อมูลมาฝากนี้ คงช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาได้รับความรู้ความเข้าใจกันมากขึ้นนะคะ

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เช็กอาการ มดลูกโต สังเกตได้จากอะไร? รู้เร็วไม่ต้องผ่า!

วิธีเก็บสิ่งส่งตรวจHPVด้วยตนเองและ ตรวจภายในเจ็บไหม

ปากมดลูก สำคัญไฉนกับวัคซีนมะเร็งปากมดลูก 9สายพันธุ์

7 ตำแหน่งปวดท้อง บอกโรค ปวดตรงไหนเป็นอะไรรู้ได้ที่นี่

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://hellokhunmor.com, https://www.pobpad.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up