จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง

จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง? จดออนไลน์ได้ไหม?

Alternative Textaccount_circle
event
จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง
จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง

เตรียมตัวให้พร้อม! จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง จดออนไลน์ได้ไหม? เสียค่าธรรมเนียมเท่าไหร่? ต้องจดที่ไหน? มีขั้นตอนในการจดอย่างไรบ้าง? ทีมแม่ ABK มีคำตอบ

จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง? จดออนไลน์ได้ไหม?

ทะเบียนสมรส นอกจากจะเป็นหลักฐานในการแสดงความรักแล้ว ยังเป็นเอกสารทางกฎหมายเพื่อยืนยันสถานะการสมรสของบุคคลสองคน ให้มีสถานะเป็นสามี-ภรรยา หรือ คู่ชีวิต ให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย ซึ่งทำให้การกระทำบางอย่างในทางกฎหมาย เช่น การกู้ยืม การครอบครองทรัพย์สินสมรส การครอบครองสินทรัพย์ ต่อให้เป็นการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่จะมีผลผูกพันทั้งสองคนทันที จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง? อ่านต่อได้ที่นี่เลยค่ะ

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส

  • ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิง
    มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
  • ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  • หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
    • คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
    • สมรสกับคู่สมรสเดิม
    • มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
    • ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
    • มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
  • ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ตามกฎหมาย

จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง?

  • บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  • สำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีชาวต่างประเทศ)
  • หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ตัวจริง)
  • พยานบุคคล จำนวน 2 คน
  • พยาน 2 คน (พร้อมบัตรประชาชนของพยานด้วย) ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
  • ถ้าเคยหย่ามาก่อน ให้พกหลักฐานการหย่าไปด้วย
  • กรณีคู่สมรสคนก่อนหน้าเสียชีวิต ต้องมีหลักฐานการเสียชีวิต เช่น ใบมรณบัตร ประกอบ
  • สูจิบัตรและทะเบียนบ้านของบุตร กรณีที่มีลูกก่อนที่จะจดทะเบียนสมรส
  • แบบฟอร์ม คร.1 ตัวนี้สามารถขอได้จากที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนที่ไปจดทะเบียนสมรส

ระเบียบในการขอจดทะเบียนสมรส

  • การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
  • คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
  • คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
  • คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคล จากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด
  • หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง การแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
จดทะเบียนสมรส
จดทะเบียนสมรส

ค่าธรรมเนียม

  • การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
  • ในกรณีการจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน เสียค่าธรรมเนียม 200 บาท และต้องจัดยานพาหนะ รับ – ส่ง นายทะเบียน
  • การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส

  1. รับเรื่อง – ผู้ร้องแจ้งความประสงค์ต่อนายทะเบียน โดยลงชื่อในคำร้องตามแบบคร.1 ที่นายทะเบียนเป็นผู้บันทึกข้อความ และจัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
  2. ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
    • นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
    • ผู้มีอำนาจให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้มีอำนาจให้ความยินยอมมาด้วยตนเอง)
    • ผู้ร้องขอเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนหรือไม่ หากหย่าแล้วต้องตรวจ สอบหลักฐานการหย่า หรือคู่สมรสตาย ให้ตรวจสอบหลักฐานการตาย
    • คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลที่ให้จดทะเบียน (กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล)
    • พยานอย่างน้อย 2 คน
  3. นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ร้องทั้งสองฝ่าย
  4. ผู้มีอำนาจในการจดทะเบียน ได้แก่ นายทะเบียน (นายอำเภอ / ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ / อำนวยการเขต / หรือผู้รักษาราชการแทน)
  5. หากผู้ร้องทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้บันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือเรื่องอื่น ให้นายทะเบียนพิมพ์รายละเอียดนั้นไว้ในช่องบันทึก
  6. ตรวจสอบข้อความในทะเบียนสมรส เมื่อพิมพ์ข้อความลงในทะเบียนสมรสแล้ว หากมีข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ทันทีก่อนการสั่งพิมพ์ กรณีไม่มีการแก้ไขและได้สั่งพิมพ์แล้วจะไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขได้อีก เพื่อเป็นการป้องกันการแก้ไขหรือลบข้อมูลโดยมิชอบ
  7. เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้สั่งพิมพ์ทะเบียนสมรส และใบสำคัญการสมรสเพื่อให้ผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอม (ถ้ามี) และพยานลงลายมือชื่อในทะเบียนสมรส  และนายทะเบียนลงลายมือชื่อในใบสำคัญการสมรส
  8. มอบใบสำคัญการสมรส ให้แก่คู่สมรสฝ่ายละหนึ่งฉบับ และนายทะเบียนเก็บรักษาทะเบียนสมรสไว้เป็นหลักฐาน
  9. การใช้นามสกุลของคู่สมรส ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างคู่สมรสให้ทางทะเบียนท้องที่บันทึกข้อตกลงของคู่สมรสว่าจะใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดโดยให้บันทึกต่อท้ายในแบบ คร. 2
จดทะเบียนสมรสออนไลน์
จดทะเบียนสมรสออนไลน์

จดทะเบียนสมรสออนไลน์

การจดทะเบียนสมรสออนไลน์นั้น หลายท่านเข้าใจผิดว่าเป็นการทำนิติกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ของทางกรมการปกครอง จริง ๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ เป็นเพียงการจองคิวเพื่อจดทะเบียนสมรสผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น คู่สมรสยังคงต้องไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต หรือสำนักงานทะเบียนเขตพื้นที่ กันอยู่เหมือนเดิมค่ะ เพียงแต่การจองคิวออนไลน์ เป็นการลดเวลาในการรอคิว และยังเป็นโอกาสในการเจอผู้คนหน้าแน่น และยังลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโควิด-19 ได้อีกด้วย

โดยวิธีการจองคิว ก็ง่ายแสนง่าย เพียงว่าที่คู่สามีภรรยาเข้าไปที่เว็บไซต์กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (https://q-online.bora.dopa.go.th/) เพื่อลงทะเบียนขอรับบริการล่วงหน้า โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด และ เบอร์โทรศัพท์ 10 หลักเพื่อทำการจอง เมื่อเข้าหน้าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะมีหน้ารับบริการที่เราจะต้องเลือกสำนักทะเบียนที่ต้องการเข้าไปจดทะเบียนสมรส โดยเลือกจังหวัด อำเภอ และสำนักทะเบียนใกล้บ้าน จากนั้นให้เลือกวันและเวลาที่ต้องการเข้ารับบริการ เลือกล่วงหน้าได้ถึง 15 วันเลย

ไขข้อข้องใจกันแล้วนะคะว่า จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง จดที่ไหน จะได้เมื่อไหร่ มีขั้นตอนอะไรบ้าง สามารถจดทะเบียนสมรสออนไลน์ได้หรือไม่ และเมื่อทำการจองเรียบร้อยแล้วก็เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียนสมรสให้พร้อม แล้วอย่าลืมไปให้ตรงเวลานัด เพื่อให้การจดทะเบียนสมรสทำได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

คุณแม่ควรรู้ไว้!! ประโยชน์ของ ทะเบียนสมรส ที่คุณอาจไม่เคยรู้

จดทะเบียนรับรองบุตร ทำอย่างไร ลูกอายุเท่าไหร่ถึงจดได้?

เอกสารแจ้งเกิด เพื่อเตรียมทำสูติบัตรให้ลูกน้อย

แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อได้ไหม? อนาคตจะมีปัญหาหรือไม่?

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักบริหารการทะเบียน, th.wikipedia.org, www.wongnai.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up